ได้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแต่ยังมีความสับสนในข้อมูล และยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นัก จึงมาสอบถามเพื่อหาข้อเท็จจริงค่ะ
1. ประโยคที่ว่า "The social contract is made between subjects and subjects, not between subjects and sovereign" มีความหมายว่า
"สัญญาประชาคมเกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับประชาชน มิใช่ระหว่างประชาชนกับผู้ปกครอง" ซึ่งโทมัส ฮอบส์เชื่อในแนวความคิดนี้ที่ว่าสัญญาประชาคมเกิดจากประชาชนและประชาชน ว่าจะมอบอำนาจให้บุคคลที่สาม (ผู้ปกครอง) เพื่อให้มีอำนาจควบคุมพวกเขาทุกคน ไม่ใช่การที่ประชาชนทำสัญญากับผู้ปกครองเพื่อมาให้ปกครองพวกเขา
2. โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าปัจเจกบุคคลต้องสละสิทธิเสรีภาพบางประการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
3. รัฏฐาธิปัตย์ควรมีอำนาจที่เด็ดขาด ถึงขนาดที่อยู้เหนือกฎหมาย เนื่องจากหากรัฏฐาธิปัตย์มีอำนาจไม่มากพอจะทำให้บ้านเมืองเกิดความไม่มั่นคง
ถ้ามีแก้ไขข้อมูลหรือเสริมเพิ่มเติมตรงไหนรบกวนบอกด้วยนะคะ เพราะว่า จขกท. หาข้อมูลมาเป็นชั่วโมงก็ยังงไม่แน่ใจในหลักการที่แน่นอนเท่าไหร่ ก็เลยต้องมาร้องขอจาก ชาวพันทิปหน่อย ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
สัญญาประชาคมตามแนวคิดของ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)
1. ประโยคที่ว่า "The social contract is made between subjects and subjects, not between subjects and sovereign" มีความหมายว่า
"สัญญาประชาคมเกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับประชาชน มิใช่ระหว่างประชาชนกับผู้ปกครอง" ซึ่งโทมัส ฮอบส์เชื่อในแนวความคิดนี้ที่ว่าสัญญาประชาคมเกิดจากประชาชนและประชาชน ว่าจะมอบอำนาจให้บุคคลที่สาม (ผู้ปกครอง) เพื่อให้มีอำนาจควบคุมพวกเขาทุกคน ไม่ใช่การที่ประชาชนทำสัญญากับผู้ปกครองเพื่อมาให้ปกครองพวกเขา
2. โทมัส ฮอบส์ เชื่อว่าปัจเจกบุคคลต้องสละสิทธิเสรีภาพบางประการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
3. รัฏฐาธิปัตย์ควรมีอำนาจที่เด็ดขาด ถึงขนาดที่อยู้เหนือกฎหมาย เนื่องจากหากรัฏฐาธิปัตย์มีอำนาจไม่มากพอจะทำให้บ้านเมืองเกิดความไม่มั่นคง
ถ้ามีแก้ไขข้อมูลหรือเสริมเพิ่มเติมตรงไหนรบกวนบอกด้วยนะคะ เพราะว่า จขกท. หาข้อมูลมาเป็นชั่วโมงก็ยังงไม่แน่ใจในหลักการที่แน่นอนเท่าไหร่ ก็เลยต้องมาร้องขอจาก ชาวพันทิปหน่อย ขอบคุณล่วงหน้านะคะ