กำเนิดรัฐ
ปัญหาความแปลกแยกของอำนาจรัฐ
การต่อต้านอำนาจรัฐ
การปฏิวัติโดยปชช
กำเนิดรัฐ ...
รุสโซว่า บุคคลหลายคนมารวมตัวกัน แล้วมอบเสรีภาพให้กับ บุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง
ไปดำเนินการตามเจตนารมณ์ร่วมของประชาคม ให้ทำตามสัญญาประชาคม
เพื่อ ปกป้องและพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพของพวกเขาอย่างเสมอภาค อันยังการอยู่ดีมีสุขโดยเฉลี่ยถ้วนทั่วกันทั้งสังคม
ปัญหาความแปลกแยกของอำนาจรัฐ ...
รัฐบาล เมื่อได้อำนาจจากปชช. จากการเลือกตั้งแล้ว ถ้าดำเนินนโยบายตามสัญญาประชาคมที่ได้ประกาศไว้กับปชช.อย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ ก็ย่อมจักนำมาซึ่งประสิทธิพลอันยังความพึงพอใจมาสู่ปชช.ตามสมควร หรือเป็นที่นิยม
แต่รัฐสมัยใหม่ ที่มีความหลากหลาย บ่อยครั้ง ที่คณะบุคคลผู้มาทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง กลับไม่ได้ดำเนินการตามสัญญาประชาคม
หรือนโยบายที่ได้ประกาศไว้ตอนหาเสียง แต่กลับแสวงหาประโยชน์ที่แปลกแยกจากอำนาจ หน้าที่และการสนองตอบความต้องการของ
ปชช.หรือสังคมโดยรวม ด้วยการทุจริต หรือคอร์รัปชั่นทางนโยบาย และกฏหมายก็ไล่ไม่ทัน หรือไม่อาจเอื้อมไปเอาผิดได้
ประกอบกับการพยายามขยายอำนาจแผ่ซ่านไปยังอำนาจอธิปไตยส่วนอื่นๆ เกิดการครอบงำอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ
ซึ่งเป็นการทำลายดุลยภาพของระบอบประชาธิปไตย กลายเป็นเผด็จการโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเสียเองได้
การต่อต้านอำนาจรัฐ....
โทมัส เจฟเฟอร์สันได้กล่าวว่า เมื่ออำนาจรัฐเป็นเผด็จการ ประชาชนย่อมมีสิทธิและเป็นหน้าที่ที่ต้องออกมาต่อต้าน
ความหมายก็คือ เมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรมแต่แรก แต่กลับดำรงอยู่ ดำเนินไปอย่างทรยศต่อความไว้วางใจ
ของประชาชนเสียเเล้ว ประชาชนย่อมมีหน้าที่ และมีสิทธิโดยชอบที่จะออกมาต่อต้าน ขัดขืน และขับไล่ให้พ้นไปจาก
สภาพไร้ความหมายตามสารัตถะแห่งอำนาจรัฐที่ได้รับเลือกตั้งมาได้ ซึ่งเท่ากับ ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ
การปฏิวัติโดยปชช. ...
เมื่อรัฐโดยรัฐบาลเผด็จการได้บังเกิดขึ้น แทนที่รัฐโดยรัฐบาลที่ผดุงความเป็นประชาธิปไตย
ดังนั้น รัฐบาลที่ดำรงอยู่เช่นว่า จึงไม่อาจถือเป็นสัญญลักษณ์ประชาธิปไตยได้ เพราะ ได้กลายพันธุ์ หรือแปลกแยกจากต้นกำเนิด
ย่อมมีแนวโน้มสร้างปฏิกิริยาสะสมของแรงต้านทานขัดขืน ผุดบังเกิด มวลชนขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ แล้วไปสร้างคุณภาพใหม่
ของ จิตสำนึกปฏิวัติเพื่อการยกระดับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในสังคม ผลักดันและเป็นแนวหน้าการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ฝ่ายที่พยายามรักษาอำนาจไว้ ย่อมอ้างกฏกติกา หรือ กฏหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อการบังคับควบคุมให้หนักมือขึ้น
เพื่อกดทับการเปลี่ยนแปลงนั้น อาจมีการสร้างสถานการณ์รุนแรงอย่างจงใจ เพื่อให้เกิดการสูญเสีย และความกลัว
ในกรณีรัฐบาลไม่อาจทานทนต่อ ความไม่ชอบธรรมที่ตัวเองเป็นผู้ก่อขึ้นเองได้ แล้วใช้การยุบสภาหนีความผิด
เพื่อโยนไปสู่มายาคติ การเลือกตั้งเพื่อฟอกตัวกลับมาใหม่ ในนามเสียงข้างมากเลือกฉันมา
ย่อมนำไปสู่ การคัดค้านการเลือกตั้งใต้เงาปุโรหิตผู้ประกอบพิธีกรรมเลือกตั้งนั้น อยู่ดี เพราะ ภายใต้กฏกติกาและตัวเลือกนั้น
ไม่ได้ดำรงไว้ซึ่งคุณภาพการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม ก็เท่ากับ การยอมจำนนต่อแนวโน้มสิ่งที่การปฏิวัติปชช.ปฏิเสธ
การปฏิวัติโดยปชช.นั้น ได้มองข้ามพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งไปแล้ว พวกเขาต้องการความหลากหลายซึ่งแทนองค์ประกอบ
ของสถานะทางชนชั้นของตนอย่างถ้วนทั่ว ที่จักไปสถาปนาเจตจำนงร่วมแห่งรัฐอย่างมีบูรณาการ ซึงจักไม่แปลแยกจากพวกเขาอีกต่อไป
ประเด็นคือ
1 การเลือกตั้ง ในสถานการณ์วิกฤติ ย่อมนำไปสู่วงรอบเดิมของวิกฤติอยู่ดี หรือไม่?
2 การปฏิวัติโดยปชช. ถือเป็นการต่อสู้เพื่อการยกระดับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ ความชอบธรรมจึงไม่ทั่วพร้อมทั้งสังคม
เพราะ จะต้องมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หรือคัดค้าน อยู่แล้วจำนวนหนึ่ง (โดยเฉพาะจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมปชต.)
สถานะการต่อสู้เช่นนี้ จะหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้อย่างไร?
เรื่องของทุกคน
ปัญหาความแปลกแยกของอำนาจรัฐ
การต่อต้านอำนาจรัฐ
การปฏิวัติโดยปชช
กำเนิดรัฐ ...
รุสโซว่า บุคคลหลายคนมารวมตัวกัน แล้วมอบเสรีภาพให้กับ บุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง
ไปดำเนินการตามเจตนารมณ์ร่วมของประชาคม ให้ทำตามสัญญาประชาคม
เพื่อ ปกป้องและพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพของพวกเขาอย่างเสมอภาค อันยังการอยู่ดีมีสุขโดยเฉลี่ยถ้วนทั่วกันทั้งสังคม
ปัญหาความแปลกแยกของอำนาจรัฐ ...
รัฐบาล เมื่อได้อำนาจจากปชช. จากการเลือกตั้งแล้ว ถ้าดำเนินนโยบายตามสัญญาประชาคมที่ได้ประกาศไว้กับปชช.อย่างเคร่งครัดและมีประสิทธิภาพ ก็ย่อมจักนำมาซึ่งประสิทธิพลอันยังความพึงพอใจมาสู่ปชช.ตามสมควร หรือเป็นที่นิยม
แต่รัฐสมัยใหม่ ที่มีความหลากหลาย บ่อยครั้ง ที่คณะบุคคลผู้มาทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง กลับไม่ได้ดำเนินการตามสัญญาประชาคม
หรือนโยบายที่ได้ประกาศไว้ตอนหาเสียง แต่กลับแสวงหาประโยชน์ที่แปลกแยกจากอำนาจ หน้าที่และการสนองตอบความต้องการของ
ปชช.หรือสังคมโดยรวม ด้วยการทุจริต หรือคอร์รัปชั่นทางนโยบาย และกฏหมายก็ไล่ไม่ทัน หรือไม่อาจเอื้อมไปเอาผิดได้
ประกอบกับการพยายามขยายอำนาจแผ่ซ่านไปยังอำนาจอธิปไตยส่วนอื่นๆ เกิดการครอบงำอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ
ซึ่งเป็นการทำลายดุลยภาพของระบอบประชาธิปไตย กลายเป็นเผด็จการโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเสียเองได้
การต่อต้านอำนาจรัฐ....
โทมัส เจฟเฟอร์สันได้กล่าวว่า เมื่ออำนาจรัฐเป็นเผด็จการ ประชาชนย่อมมีสิทธิและเป็นหน้าที่ที่ต้องออกมาต่อต้าน
ความหมายก็คือ เมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรมแต่แรก แต่กลับดำรงอยู่ ดำเนินไปอย่างทรยศต่อความไว้วางใจ
ของประชาชนเสียเเล้ว ประชาชนย่อมมีหน้าที่ และมีสิทธิโดยชอบที่จะออกมาต่อต้าน ขัดขืน และขับไล่ให้พ้นไปจาก
สภาพไร้ความหมายตามสารัตถะแห่งอำนาจรัฐที่ได้รับเลือกตั้งมาได้ ซึ่งเท่ากับ ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ
การปฏิวัติโดยปชช. ...
เมื่อรัฐโดยรัฐบาลเผด็จการได้บังเกิดขึ้น แทนที่รัฐโดยรัฐบาลที่ผดุงความเป็นประชาธิปไตย
ดังนั้น รัฐบาลที่ดำรงอยู่เช่นว่า จึงไม่อาจถือเป็นสัญญลักษณ์ประชาธิปไตยได้ เพราะ ได้กลายพันธุ์ หรือแปลกแยกจากต้นกำเนิด
ย่อมมีแนวโน้มสร้างปฏิกิริยาสะสมของแรงต้านทานขัดขืน ผุดบังเกิด มวลชนขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ แล้วไปสร้างคุณภาพใหม่
ของ จิตสำนึกปฏิวัติเพื่อการยกระดับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในสังคม ผลักดันและเป็นแนวหน้าการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ฝ่ายที่พยายามรักษาอำนาจไว้ ย่อมอ้างกฏกติกา หรือ กฏหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อการบังคับควบคุมให้หนักมือขึ้น
เพื่อกดทับการเปลี่ยนแปลงนั้น อาจมีการสร้างสถานการณ์รุนแรงอย่างจงใจ เพื่อให้เกิดการสูญเสีย และความกลัว
ในกรณีรัฐบาลไม่อาจทานทนต่อ ความไม่ชอบธรรมที่ตัวเองเป็นผู้ก่อขึ้นเองได้ แล้วใช้การยุบสภาหนีความผิด
เพื่อโยนไปสู่มายาคติ การเลือกตั้งเพื่อฟอกตัวกลับมาใหม่ ในนามเสียงข้างมากเลือกฉันมา
ย่อมนำไปสู่ การคัดค้านการเลือกตั้งใต้เงาปุโรหิตผู้ประกอบพิธีกรรมเลือกตั้งนั้น อยู่ดี เพราะ ภายใต้กฏกติกาและตัวเลือกนั้น
ไม่ได้ดำรงไว้ซึ่งคุณภาพการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม ก็เท่ากับ การยอมจำนนต่อแนวโน้มสิ่งที่การปฏิวัติปชช.ปฏิเสธ
การปฏิวัติโดยปชช.นั้น ได้มองข้ามพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งไปแล้ว พวกเขาต้องการความหลากหลายซึ่งแทนองค์ประกอบ
ของสถานะทางชนชั้นของตนอย่างถ้วนทั่ว ที่จักไปสถาปนาเจตจำนงร่วมแห่งรัฐอย่างมีบูรณาการ ซึงจักไม่แปลแยกจากพวกเขาอีกต่อไป
ประเด็นคือ
1 การเลือกตั้ง ในสถานการณ์วิกฤติ ย่อมนำไปสู่วงรอบเดิมของวิกฤติอยู่ดี หรือไม่?
2 การปฏิวัติโดยปชช. ถือเป็นการต่อสู้เพื่อการยกระดับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ ความชอบธรรมจึงไม่ทั่วพร้อมทั้งสังคม
เพราะ จะต้องมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หรือคัดค้าน อยู่แล้วจำนวนหนึ่ง (โดยเฉพาะจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมปชต.)
สถานะการต่อสู้เช่นนี้ จะหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้อย่างไร?