อำนาจอธิปไตย และ กรรมวิธีประชาธิปไตย ของปวงชน ( ชาวไทย )

ขอเสนอความคิดเห็น ดังนี้

อำนาจอธิปไตย   คือ  อำนาจอันสูงสุด    ยิ่งใหญ่ที่สุด   ในอาณาเขต   ในดินแดน  บนพื้นที่  หรือ  บนแผ่นดิน   ที่ตนเอง  ได้ครอบ
                                                 ครอง  และ ได้ปกครองอยู่  ซึ่งหมายถึง   ความเป็นเจ้าของแผ่นดิน  หรือ  เจ้าของประเทศนั่นเอง
                
อำนาจอธิปไตย  เป็นของชนกลุ่มน้อย  หรือ  ชนส่วนน้อย   หมายถึง   ชนกลุ่มน้อย หรือ  ชนส่วนน้อย    มีอำนาจอันสูง
                                                สุดในการปกครองประเทศ   บริหารประเทศ  และ จัดการปัญหาต่างๆในประเทศ   โดยที่ชนส่วนใหญ่ของประเทศ    
                                                ไม่มีอำนาจ อธิปไตย  จึงเป็นแค่ผู้อาศัยประเทศ  และ ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ   ที่ออกโดยชนกลุ่มน้อย  หรือ  ชน
                                                ส่วนน้อย    การใช้อำนาจอธิปไตย กับ  ผู้ไม่มีอำนาจอธิปไตย  เราเรียกว่า  เผด็จการ  เช่นเผด็จการทหาร,
                                                รัฐตำรวจ,คอมมิวนิสต์, เป็นต้น

อำนาจอธิปไตย  เป็นของชนส่วนใหญ่  หรือ  ชนทั้งหมด ( ปวงชน )  หมายถึง   ประชาชนทุกคนมีอำนาจอันสูงสุดของประเทศ
                                               ทุกคนเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน  ปกครองประเทศร่วมกัน  บริหาร และ จัดการปัญหาต่างๆ   ในประเทศร่วมกัน  
                                               เมื่อทุกคนมีอำนาจสูงสุดเท่ากัน   อำนาจเผด็จการจึงถูกหักล้างกันเองจนหมดสิ้น   ดังนั้น  ในการปกครองประเทศ  
                                               จึงต้องใช้อำนาจที่ได้มาจาก  ประชาชนผู้มีอำนาจอธิปไตยโดยใช้  กรรมวิธีประชาธิปไตย  และผลของกรรมวิธี
                                               ประชาธิปไตยก็ได้อำนาจที่ เรียกว่า" อำนาจธิปไตย " เมื่อนำไปใช้ร่วมกับการปกครอง   เรียกว่า   การปกครอง
                                               (ประชาธิปไตย)


กรรมวิธีประชาธิปไตย  ของประชาชน   แบ่งออกได้  2 ประเภท

                        (1) กรรมวิธีประชาธิปไตย    บนความคิดเห็น  ที่เหมือนกัน    ตรงกัน    มีทิศทางที่  ไปทางเดียวกัน  ก่อเกิดความ
                                                 สามัคคีรักใคร่กลมเกลียว   เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ช่วยเหลือกัน  ร่วมกันคิด    ร่วมกันทำ   ร่วมกันแก้ไขปัญหา
                                                 เช่น  กลุ่มเหลือง(ธิปไตย)    กลุ่มเขียว(ธิปไตย)   กลุ่มประชาชน
                                                 (ธิปไตย)    เมื่อเกิดปัญหาอันเกิดจาก    มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน   ไม่ตรงกัน   ต้องใช้กรรมวิธี  
                                                 ที่2เข้ามาช่วย

                        (2) กรรมวิธีประชาธิปไตย   บนความคิดเห็น   ที่แตกต่างกัน   ไม่ตรงกัน    มีทิศทางที่  แตกต่างกัน   ต่างคน  ต่างคิด  
                                                 ต่างทำ จึงจำเป็นต้อง  มีการคัดเลือก  ทิศทางที่ดีที่สุด  โดย  มีความขัดแย้งน้อยที่สุด   แบ่งออกได้  
                                                  3  ประเภท                        
                                                                     (1)  คัดเลือกด้วยวิธี   ใช้ความรู้  หรือ ใช้ความสามารถ (การแข่งขัน)
                                                                                      เมื่อได้  ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป  จึงใช้ข้อ(2)            
                                                                     (2)  คัดเลือกด้วยวิธี   ใช้เสียงข้างมาก  หรือ  เสียงส่วนใหญ่ (ประชามติ)  
                                                                     (3)  คัดเลือกด้วยวิธี   ใช้โชคช่วย หรือ เสี่ยงดวง  ( จับฉลาก,จับใบดำ ใบแดง )

ผลของกรรมวิธีประชาธิปไตย   ก็คือได้   "อำนาจธิปไตย"  เราใช้อำนาจธิปไตย  ไปปกครอง (บังคับ,ควบคุม,กำกับ,ติดตาม
                              ตรวจสอบ   ประเมินผล  และ ให้คุณให้โทษ
)  กับเจ้าหน้าที่   ทั้งในระดับ  ท้องถิ่น  จนถึง ระดับประเทศ    
                              ให้ทำงาน   อย่างมีคุณภาพ  มีประสิทธิภาพ  และ  มีประสิทธิผล  สูงสุด


ดั่งคำกล่าวที่ว่า   การปกครอง(ประชาธิปไตย)      ประชาชนปกครองประชาชน   โดยประชาชน    เพื่อประชาชน

                                                                                                    
                                                                                                                       ขอบคุณครับ
                              
                                                                                                                        นอก   กำลา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่