ระบอบประชาธิปไตย และ ระบอบเผด็จการ ต่างกันอย่างไร?

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ระบอบอะไร อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร

ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็เป็น “ระบอบประชาธิปไตย”

ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยก็เป็น “ระบอบเผด็จการ”  


ระบอบเผด็จการ ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยเป็นปัญหาหลักการคือหลักเผด็จการ ไม่ใช่ปัญหาบุคคล ความหมายตามหลักวิชาการคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย โดยชนส่วน น้อยนั้น อาจเป็นชนชั้นสูงก็ได้ชนชั้นกลางก็ได้ หรือชนชั้นกรรมาชีพก็ได้รวมทั้งเป็นทหารก็ได้ หรืออาจจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ก็ได้ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างกันโดยแต่ละกลุ่มผลประโยชน์ นั้น จะตั้งพรรคการเมืองของตนขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของตนซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แทนของ ประชาชน นักการเมืองบ้านเราจึงล้วนเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยทั้งสิ้นแต่เมื่อเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า พรรคการเมืองเหล่านั้นเป็นเผด็จการพรรคการเมืองเหล่านี้จะเป็น เผด็จการได้ก็ต่อเมื่อ มีอำนาจอธิปไตยด้วย

ดังนั้น ระบอบเผด็จการจึงมีองค์ประกอบดังนี้
1) เป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยที่ร่ำรวย
2)เป็นกลุ่มการเมืองหรือคณะหรือพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจรัฐ หรือเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตยของชาติ และของประชาชนดังนั้น เผด็จการที่แท้จริง จึงอยู่ที่ตัวคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาล มิใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญเลย แล้ว เราจะไปแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่