ระบอบอะไร อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร
ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็เป็น “ระบอบประชาธิปไตย”
ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยก็เป็น “ระบอบเผด็จการ”
เราต้องเข้าใจว่า ปัญหาพื้นฐานของชาติ คือ ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) กล่าวคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ปี 2475 แล้ว ประเทศของเราก็ยังคงมีการปกครองแบบ เผด็จการตลอดมา เป็นเวลา 81 ปี ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ ประชาชนธรรมดารู้และรู้สึกได้เป็นอย่างดี แต่นัก วิชาการและนักการเมืองในบ้านเรากลับไม่รู้ ซึ่งนอกจากไม่รู้แล้ว ยังหลอกให้ประชาชนรู้ผิดๆ อีกด้วย
ระบอบเผด็จการ ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยเป็นปัญหาหลักการคือหลักเผด็จการ ไม่ใช่ปัญหาบุคคล ความหมายตามหลักวิชาการคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย โดยชนส่วน น้อยนั้น อาจเป็นชนชั้นสูงก็ได้ชนชั้นกลางก็ได้ หรือชนชั้นกรรมาชีพก็ได้รวมทั้งเป็นทหารก็ได้ หรืออาจจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ก็ได้ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างกันโดยแต่ละกลุ่มผลประโยชน์ นั้น จะตั้งพรรคการเมืองของตนขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของตนซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แทนของ ประชาชน นักการเมืองบ้านเราจึงล้วนเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยทั้งสิ้นแต่เมื่อเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า พรรคการเมืองเหล่านั้นเป็นเผด็จการพรรคการเมืองเหล่านี้จะเป็น เผด็จการได้ก็ต่อเมื่อ มีอำนาจอธิปไตยด้วย
ดังนั้น ระบอบเผด็จการจึงมีองค์ประกอบดังนี้
1) เป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยที่ร่ำรวย
2)เป็นกลุ่มการเมืองหรือคณะหรือพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจรัฐ หรือเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตยของชาติ และของประชาชนดังนั้น เผด็จการที่แท้จริง จึงอยู่ที่ตัวคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาล มิใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญเลย แล้วเราจะไปแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร
การสร้างประชาธิปไตย หรือการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น ประชาชนต้องทำด้วยตนเอง โดย การทำให้ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Sovereignty of the People หรือ Popular Sovereignty) มิใช่การเรียกร้องให้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมา และเอารัฐธรรมนูญปี 2550 คืนไป และก็มิใช่การ เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย หรือการโค่นรัฐบาล หรือโค่นอำมาตยาธิปไตย หรือยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน แต่อยู่ที่ประชาชนต้องร่วมกันโค่น ระบอบเผด็จการ
การที่นักวิชาการและนักการเมืองตั้งสูตรว่า ทหารเป็นเผด็จการ และ พลเรือนเป็น ประชาธิปไตยนั้น ไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและหลักวิชา เพราะโดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว ยอดนักเผด็จการของโลกล้วนแต่เป็นพลเรือนทั้งสิ้น ไม่ว่า ฮิตเลอร์ มุสโสสินี หรือ โงดินห์เดียม ฯลฯ และตามหลักวิชาแล้ว คำว่าระบอบอะไร หมายถึง อำนาจเป็นของใคร เช่นระบอบประชาธิปไตย หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และระบอบเผด็จการหมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของ ชนส่วนน้อย ซึ่งชนส่วนน้อยนั้น อาจจะเป็น พรรคทหาร หรือเป็นพรรคของพลเรือนก็ได้ทั้งสิ้น
ในสถานการณ์ขณะนี้ เป็นสถานการณ์ปฏิวัติ คือ ประชาชนขัดแย้งกับระบอบเผด็จการ จึงเกิดการเคลื่อนไหวของประชาชน กดดันระบอบเผด็จการอย่างรุนแรง แต่บรรดานักการเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นฝ่ายเผด็จการ ไม่ต้องการเปลี่ยนอำนาจอธิปไตยให้เป็นของประชาชน จึงแบ่งขบวนการ เผด็จการออกเป็น 2 ขั้ว แล้วระดมสรรพกำลังเข้าต่อสู้กันเอง เพื่อต้องการเบี่ยงเบนกระแส ปฏิวัติของ ประชาชน หมายความว่าการเคลื่อนไหวมวลชนไม่ว่าจะใส่เสื้อสีอะไรก็ตาม จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ก็ตาม เป็น ปฏิวัติ (Revolution) เสมอ แต่มีการนำเป็น ปฏิกิริยา (Reaction) ดังนั้น ถ้ากระแสปฏิวัติ ของประชาชนมีความรุนแรงมากเท่าใด ก็จะยิ่งส่งผลให้ฝ่ายเผด็จการต่อสู้กันเองอย่างรุนแรงมากขึ้น เท่านั้น ไม่ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ชนะก็จะหลอกพาประชาชนไปสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่สร้างประชาธิปไตย ประชาชนจะต้องผ่านบทเรียนเหล่านี้ก่อนทั้งสิ้น ไม่ว่าในประเทศไหน ก่อนที่จะได้ ประชาธิปไตยที่แท้จริง
ระบอบประชาธิปไตย และ ระบอบเผด็จการ ต่างกันอย่างไร?
เราต้องเข้าใจว่า ปัญหาพื้นฐานของชาติ คือ ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime) กล่าวคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ปี 2475 แล้ว ประเทศของเราก็ยังคงมีการปกครองแบบ เผด็จการตลอดมา เป็นเวลา 81 ปี ซึ่งเป็นเรื่องง่ายๆ ประชาชนธรรมดารู้และรู้สึกได้เป็นอย่างดี แต่นัก วิชาการและนักการเมืองในบ้านเรากลับไม่รู้ ซึ่งนอกจากไม่รู้แล้ว ยังหลอกให้ประชาชนรู้ผิดๆ อีกด้วย
ระบอบเผด็จการ ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยเป็นปัญหาหลักการคือหลักเผด็จการ ไม่ใช่ปัญหาบุคคล ความหมายตามหลักวิชาการคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย โดยชนส่วน น้อยนั้น อาจเป็นชนชั้นสูงก็ได้ชนชั้นกลางก็ได้ หรือชนชั้นกรรมาชีพก็ได้รวมทั้งเป็นทหารก็ได้ หรืออาจจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ก็ได้ ที่มีผลประโยชน์แตกต่างกันโดยแต่ละกลุ่มผลประโยชน์ นั้น จะตั้งพรรคการเมืองของตนขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของตนซึ่งไม่ใช่เป็นผู้แทนของ ประชาชน นักการเมืองบ้านเราจึงล้วนเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยทั้งสิ้นแต่เมื่อเป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า พรรคการเมืองเหล่านั้นเป็นเผด็จการพรรคการเมืองเหล่านี้จะเป็น เผด็จการได้ก็ต่อเมื่อ มีอำนาจอธิปไตยด้วย
ดังนั้น ระบอบเผด็จการจึงมีองค์ประกอบดังนี้
1) เป็นผู้แทนของชนส่วนน้อยที่ร่ำรวย
2)เป็นกลุ่มการเมืองหรือคณะหรือพรรคการเมืองผู้กุมอำนาจรัฐ หรือเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตยของชาติ และของประชาชนดังนั้น เผด็จการที่แท้จริง จึงอยู่ที่ตัวคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาล มิใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญเลย แล้วเราจะไปแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร
การสร้างประชาธิปไตย หรือการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น ประชาชนต้องทำด้วยตนเอง โดย การทำให้ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Sovereignty of the People หรือ Popular Sovereignty) มิใช่การเรียกร้องให้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมา และเอารัฐธรรมนูญปี 2550 คืนไป และก็มิใช่การ เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย หรือการโค่นรัฐบาล หรือโค่นอำมาตยาธิปไตย หรือยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน แต่อยู่ที่ประชาชนต้องร่วมกันโค่น ระบอบเผด็จการ
การที่นักวิชาการและนักการเมืองตั้งสูตรว่า ทหารเป็นเผด็จการ และ พลเรือนเป็น ประชาธิปไตยนั้น ไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและหลักวิชา เพราะโดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว ยอดนักเผด็จการของโลกล้วนแต่เป็นพลเรือนทั้งสิ้น ไม่ว่า ฮิตเลอร์ มุสโสสินี หรือ โงดินห์เดียม ฯลฯ และตามหลักวิชาแล้ว คำว่าระบอบอะไร หมายถึง อำนาจเป็นของใคร เช่นระบอบประชาธิปไตย หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และระบอบเผด็จการหมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของ ชนส่วนน้อย ซึ่งชนส่วนน้อยนั้น อาจจะเป็น พรรคทหาร หรือเป็นพรรคของพลเรือนก็ได้ทั้งสิ้น
ในสถานการณ์ขณะนี้ เป็นสถานการณ์ปฏิวัติ คือ ประชาชนขัดแย้งกับระบอบเผด็จการ จึงเกิดการเคลื่อนไหวของประชาชน กดดันระบอบเผด็จการอย่างรุนแรง แต่บรรดานักการเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นฝ่ายเผด็จการ ไม่ต้องการเปลี่ยนอำนาจอธิปไตยให้เป็นของประชาชน จึงแบ่งขบวนการ เผด็จการออกเป็น 2 ขั้ว แล้วระดมสรรพกำลังเข้าต่อสู้กันเอง เพื่อต้องการเบี่ยงเบนกระแส ปฏิวัติของ ประชาชน หมายความว่าการเคลื่อนไหวมวลชนไม่ว่าจะใส่เสื้อสีอะไรก็ตาม จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ก็ตาม เป็น ปฏิวัติ (Revolution) เสมอ แต่มีการนำเป็น ปฏิกิริยา (Reaction) ดังนั้น ถ้ากระแสปฏิวัติ ของประชาชนมีความรุนแรงมากเท่าใด ก็จะยิ่งส่งผลให้ฝ่ายเผด็จการต่อสู้กันเองอย่างรุนแรงมากขึ้น เท่านั้น ไม่ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ชนะก็จะหลอกพาประชาชนไปสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยไม่สร้างประชาธิปไตย ประชาชนจะต้องผ่านบทเรียนเหล่านี้ก่อนทั้งสิ้น ไม่ว่าในประเทศไหน ก่อนที่จะได้ ประชาธิปไตยที่แท้จริง