รัฐธรรมนูญ คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชน ที่มิสามารถบัญญัติอย่างไรก็ได้......

บุคลากรที่จะก้าวเข้ามารับหน้าที่ ร่าง รธน.ประชาธิปไตย หรือ “สัญญาประชาคม” อย่างน้อยสมควรมีคุณวุฒิในตัวเองเพียงพอและเป็นที่ได้รับความเชื่อมั่นของปวงชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ ถึงความรู้ความเข้าใจและสมัตรภาพในการรับหน้าที่ในฐานะ “ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ” ในเมื่อบุคคลากรทั้งหลายได้เข้ารับหน้าที่โดยปวงชนหรือผู้แทนที่มีความชอบธรรมในสังคม ก็ไม่เคยได้โอกาศได้พิจารณาและตรวจสอบก่อนมอบอำนาจหน้าที่ให้ ฉนั้นโดยพื้นฐานบุคคลากรเหล่านี้เข้ารับหน้าที่อย่างมิชอบธรรมหรือโดยไม่ได้รับความยินยอมด้วยประการทั้งปวง รวมทั้งไม่มีสิทธิในการรับค่าชดเชยหรือค่าตอบแทนใดที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือภาษีของปวงชนทั้งหลาย เพราะเป็นลักษณะที่มิชอบด้วยกฎหมาย อันในความเข้าใจพื้นฐานของประชาชนก็เป็นข้อพิสูจน์ในตัวเองของบุคคลากรเหล่านี้โดยปริยาย ถึงการขาด คุณวุฒิและคุณสมบัติในการรับหน้าที่ร่าง รธน.ประชาธิปไตย เพื่อให้เป็น “กฎหมายสูงสุดของประเทศ” ครับ

คงไม่ต้องแยกแยะถึงที่มาของคุณวุฒิจากบุคคลากรเหล่านี้ เพราะไม่ได้อยู่ในความสนใจของผู้มีอำนาจอธิปไตย (ปวงชน) ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการมอบอำนาจหน้าที่เพื่อร่าง รธน.ประชาธิปไตย แต่ความสำคัญอยู่ที่ เหตุผลต่างๆ จากข้อแถลงถึงความคืบหน้าในร่าง รธน. ที่เป็นผลงานของ บุคคลากรทั้งหลายนี้ ถึงการที่ไม่สามารถยินยอมหรือยอมรับให้ร่าง รธน. เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ และไม่ยอมรับว่า การที่บุคคลากรทั้งหลายเหล่านี้ได้รับค่าตอบแทนจากทรัพย์สินแผ่นดิน(ภาษีประชาชน) โดยได้รับความสมยอมหรือชอบด้วยกฎหมาย ครับ

หลักการง่ายๆ ของ รธน.ประชาธิปไตย

๑.) รธน.ประชาธิปไตย คือสัญญาประชาคม ที่บัญญัติขึ้นโดยเจตนารมณ์ที่เป็นสิทธิอำนาจของปวงชนในสังคม เพื่อเฉพาะให้ “บริหารการใช้สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมในสังคม”  ฉนั้น ในกรอบของบทบัญญัติคือการวางกรอบการใช้อำนาจ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ โดยมีพันธะผูกพันธ์กับการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพพื้นฐานส่วนบุคคลและส่วนรวม โดย รัฐ และรวมถึงบุคคลากรในสถานะ จนท.รัฐ ทั้งหลาย ไม่ใช่ประชาชน เท่านั้น ที่จะมีกรอบ “อำนาจหน้าที่” เพื่อการนำเอา รธน. และกฎหมายประกอบต่างๆ ไปปฎิบัติบังคับใช้

๒.) อำนาจบริหาร หรือ รัฐบาล ที่มีองค์ประกอบโดยบุคคลากรต่างๆ ที่ได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง ในฐานะ “ผู้แทนสังคม” ในกรอบเวลาจำกัด เพื่อให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนในการ “บริหารสังคม”  ฉนั้น ในบทบัญญัติใน รธน.ประชาธิปไตย จะระบุถึง คุณสมบัติ ที่มาโดยการได้รับการเลือกตั้งหรือสมยอมจากประชาชน กรอบการใช้อำนาจบริหาร และการใช้ดุลย์พินิจ ในสถานะผู้รับหน้าที่เป็น “ผู้แทนสังคมอันชอบธรรม”

๓.) อำนาจนิติบัญญัติ หรือ รัฐสภาผู้แทนประชาคม ที่มีองค์ประกอบโดยบุคคลากรต่างๆ ที่มีสถานะภาพในการเป็น “ผู้แทนประชาชน” เพื่อให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนในการ “ร่างและปฎิรูปสัญญาประชาคม” (รธน. และกฎหมายประกอบ) ในกรอบเวลาจำกัด บริหารสังคม”  ฉนั้น ในบทบัญญัติใน รธน.ประชาธิปไตย จะระบุถึง คุณสมบัติ ที่มาโดยการได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน กรอบการใช้อำนาจบริหาร และการใช้ดุลย์พินิจ ในสถานะผู้รับหน้าที่เป็น “ผู้แทนประชาชนอันชอบธรรม”

๔.) อำนาจตุลาการ หรือ กระบวนการยุติธรรม ที่มีองค์ประกอบโดยบุคคลากรต่างๆ ที่มีสถานะภาพในการเป็นองค์กรอิสระต่ออำนาจบริหารแต่มีพันธะทางพิจารณาอรรถคดีต่ออำนาจนิติบัญญัติ หรือ “เป็นผู้ให้ข้อยุติโดยธรรมกับปวงชน” นั่นเอง เพื่อให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนในการ “พิจารณาและพิพากษาอรรถคดีหรือกรณีพิพาทรวมทั้งมาตราการให้คุณหรือโทษ และหาข้อยุติโดยธรรมต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในสังคม” ฉนั้น ในบทบัญญัติใน รธน.ประชาธิปไตย จะระบุถึง คุณสมบัติ ตามคุณวุฒิและคุณสมบัติ ในกรอบวิถีทางของสาขาวิชาการ “นิติศาสตร์” เป็นสำคัญ เพื่อที่มาถึงการได้รับการเลือกตั้งจากอำนาจบริหาร ในสถานะผู้รับหน้าที่เป็น “องค์กรตุลาการอันชอบธรรม”

บัญญัติใดๆ ที่เป็นการจำกัดหรือริดรอนสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน ในร่าง รธน.ประชาธิปไตย อย่างเช่น การมีจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงเจตนารมณ์ ต้องห้ามการมีส่วนร่วมในการบัญญัติสัญญาประชาคมในทุกขั้นตอน ปฎิเสธอิสระเสรีภาพในการเลือกผู้แทนเพื่อใช้อำนาจอธิปไตย จำกัดกรอบเจตนารมณ์ในการเรียกร้องหรือกำหนดแนวทางปฎิรูปสังคมของมติชน เป็นสิ่งที่ บุคคลากรทั้งหลายที่เข้ารับอำนาจหน้าที่ในการ ประกอบร่าง รธน.ประชาธิปไตย จะปฎิเสธความรู้ความเข้าใจและความรับผิดชอบ ไม่ได้ ฉนั้นจากผลงานหลากหลายที่ปรากฎในสังคม อันในด้านวิชาการมองแทบไม่พบได้ ไม่เพียงแต่จะสร้างความกังหา ถึงคุณวุฒิและคุณสมบัติของบุคคลากรทั้งหลายเท่านั้น แต่ก็จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตุถึงร่าง รธน. ของบุคคลากรเหล่านี้ ว่าเป็นส่วนใหนของวิชาการว่าด้วย “ระบอบประชาธิปไตย” และมีเหตุผลใดที่สมควรได้รับความยอมรับโดยประชามติ ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่