อำนาจอธิปไตย กับปวงชนชาวไทย บทความโดย วีรพงษ์ รามางกูร มติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
รัฐธรรมนูญฉบับถาวรทุกฉบับของประเทศไทยจะมีบทบัญญัติในการตราตรงกันเสมอว่า
"อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" หรือ "อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย"

แต่รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเกือบทุกฉบับ ก็จะทำการจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ
สภานิติบัญญัติ ที่แต่งตั้งโดย "รัฏฐาธิปัตย์" ที่ได้อำนาจรัฐมาจากการทำปฏิวัติ หรือ
รัฐประหาร จะมียกเว้นอยู่ก็เพียง 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญปี 2517 และรัฐธรรมนูญ
ปี 2540 รัฐธรรมนูญปี 2517 จัดร่างขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ ที่สมาชิกได้รับเลือกจากการ
เลือกกันเองของ "สภาสนามม้า" ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งขึ้นจำนวน 2,000 คน
ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ร่างขึ้นโดยสภาร่าง
รัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งสมาชิกทั่วประเทศ รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับนี้จึงได้รับ
การขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะยอมรับว่าเป็น
อำนาจอธิปไตยที่มาจากปวงชนชาวไทยมากที่สุด

ดังนั้น รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนั้น จึงได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นประชาธิปไตย มีความ
สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย
มากที่สุด
<
<
<
รัฐธรรมนูญของเราเกือบทุกฉบับได้จัดทำขึ้นโดยอำนาจจากการทำรัฐประหาร ด้วยเหตุนี้
รัฐธรรมนูญของเราจึงมีข้อจำกัดในการเป็นอำนาจอธิปไตยของประชาชนผ่านทางสภา
ผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีโดยตลอด ข้อจำกัดเหล่านี้น่าจะต้องถือว่าเป็นข้อสงวน
ของผู้ที่ยึดอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชนแล้วคืนอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้ประชาชน
เป็นการประนีประนอมระหว่างผู้ถืออำนาจรัฐก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับนั้นกับประชาชน จนมี
ผู้ตั้งฉายาของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ที่ร่างขึ้นโดยสภาแต่งตั้งว่าเป็นรัฐธรรมนูญ
ประชาธิปไตยครึ่งใบบ้าง รัฐธรรมนูญฉบับนั้นปลอมบ้างแล้วแต่จะเรียก

ก็เท่ากับว่าอำนาจอธิปไตยไม่เคยเป็นของปวงชนชาวไทยโดยสมบูรณ์ตลอดมา อาจจะมีข้อ
ยกเว้นก็เพียงแต่รัฐธรรมนูญสมัยปี 2540 ฉบับเดียว ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 ก็อาจจะถือ
ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับพระราชทานก็คงไม่ผิด ถ้าหากถือจากแหล่งที่มา เพราะร่างมาจาก
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากสภาสนามม้าซึ่งโปรดเกล้าแต่งตั้ง
<
<
<
เนื่องจากวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นสภาที่มีอำนาจในการแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลปกครองและองค์กรอิสระต่างๆ การเปลี่ยนองค์ประกอบของวุฒิสภาในส่วนที่ไม่ได้มา
จากประชาชน โดยยกเลิกเสีย ย่อมสอดคล้องกับหลักการการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
ของปวงชนชาวไทยมากขึ้น การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จึงเท่ากับการคัดค้านหลัก
การการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน จึงไม่เข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์คัดค้าน
ได้อย่างไร เพราะเป็นพรรคการเมืองของประชาชน ส่วน 40 ส.ว.ที่คัดค้านนั้นเข้าใจได้ ในด้าน
หลักการต้องเป็นอย่างนั้น ในขั้นปฏิบัติค่อยมาว่ากันอีกที

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นธรรมดาที่คณะรัฐประหารจะต้องสงวนอำนาจ
ของตนเอาไว้ไม่ยอมคืนให้ปวงชนชาวไทยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ก็ควรแก้มาตราในหมวดว่าด้วยการลงประชามติเสียใหม่
เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้แอบสร้างเงื่อนไขไม่ให้ผลของประชามติมีผลผูกพันในทาง
ปฏิบัติได้เลย

ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่า อำนาจอธิปไตยที่บัญญัติอย่างมีเงื่อนไขว่าเป็นของปวงชนนั้น
มากหรือน้อยเพียงใด ตราบใดที่ประชาชนทั้งหมดยังไม่มีส่วนในการสถาปนารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

แต่ก็คงต้องค่อยๆ แก้ไขเป็นรายมาตราไป จะทำอย่างไรได้

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382062150&grpid=&catid=02&subcatid=0207

สุดยอดเลยค่ะ  พี่โกร่ง  อธิบายแยกแยะให้เห็น ชัดเจน  ใครอยากจะเข้ามาโต้แย้ง  ก็เชิญได้เลย
อ้อ  ต้องตาม link  ไปอ่าฉบับเด็มๆ  กันด้วย  นี่ยังไม่ได้แตะ  เรื่อง  อำนาจตุลาการ ที่ไม่ได้
มาจากปวงชนชาวไทย  เลยนะ      นี่แค่พูดถึงหลักการ  แบบกว้างๆ เท่านั้น  
เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม



สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่