คำถามคือ แล้วใครคือ “ปวงชนชาวไทย” ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดเอาไว้
แล้วปวงชนชาวไทยเหล่านั้นแสดงออกซึ่งอำนาจสูงสุดของตนได้อย่างไร
บนพื้นฐานของหลักประชาธิปไตยแล้ว ปวงชนชาวไทยย่อมสามารถใช้อำนาจอธิปไตยของตนได้ทั้งทางตรงคือ การใช้สิทธิเลือกตั้งหรือการลงประชามติ และทางอ้อมคือ ผ่านผู้แทนที่ตนเลือกเข้าไปทำหน้าที่ ทั้งนี้ โดยปรกติแล้วบรรดากระบวนการการใช้อำนาจอธิปไตยนั้นย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้วปวงชนชาวไทยเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถยกเลิกรัฐธรรมนูญและเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ในฐานะที่ตนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
ด้วยความเป็นนามธรรมของถ้อยคำที่ว่า “ปวงชนชาวไทย” จึงมักจะมีผู้กล่าวอ้างและหยิบฉวยไปสนับสนุนการกระทำของตนอยู่เสมอว่าเป็นการกระทำในนามของปวงชนชาวไทย แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าแท้จริงแล้ว “ปวงชนชาวไทย” นั้นมีความเห็นอย่างไร
การค้นหาเจตจำนงของปวงชนชาวไทยจึงต้องแสดงออกผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรม นั่นคือ การลงคะแนนของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการลงประชามติหรือลงคะแนนเลือกตั้ง เพราะนั่นเป็นช่องทางที่เจ้าของประเทศจะได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผลการตัดสินใจดังกล่าวจึงจะเรียกได้ว่าเป็นการตัดสินใจของ “ปวงชนชาวไทย” อย่างแท้จริง
แต่ลำพังการมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาร่วมชุมนุมแสดงออกเพื่อคัดค้านรัฐบาล โดยแอบอ้างความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามมาตรา 3 ผ่านในนามของ “มวลมหาประชาชน” นั้น ไม่มีทางที่จะเป็น “ปวงชนชาวไทย” ตามรัฐธรรมนูญได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการแสดงออกของมวลมหาประชาชนเหล่านี้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าชาวไทยที่เหลือซึ่งไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนหรือฝักฝ่ายของตนนั้น (ซึ่งอาจมากกว่า “มวลมหาประชาชนชาวไทย”) ไม่สมควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้อำนาจด้วยข้ออ้างต่างๆ
ส่วนหนึ่งของบทความใน
http://www.lokwannee.com/web2013/?p=42609
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ไม่ใช่ของมวลมหาประชาชน
แล้วปวงชนชาวไทยเหล่านั้นแสดงออกซึ่งอำนาจสูงสุดของตนได้อย่างไร
บนพื้นฐานของหลักประชาธิปไตยแล้ว ปวงชนชาวไทยย่อมสามารถใช้อำนาจอธิปไตยของตนได้ทั้งทางตรงคือ การใช้สิทธิเลือกตั้งหรือการลงประชามติ และทางอ้อมคือ ผ่านผู้แทนที่ตนเลือกเข้าไปทำหน้าที่ ทั้งนี้ โดยปรกติแล้วบรรดากระบวนการการใช้อำนาจอธิปไตยนั้นย่อมเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้วปวงชนชาวไทยเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถยกเลิกรัฐธรรมนูญและเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ในฐานะที่ตนเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
ด้วยความเป็นนามธรรมของถ้อยคำที่ว่า “ปวงชนชาวไทย” จึงมักจะมีผู้กล่าวอ้างและหยิบฉวยไปสนับสนุนการกระทำของตนอยู่เสมอว่าเป็นการกระทำในนามของปวงชนชาวไทย แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าแท้จริงแล้ว “ปวงชนชาวไทย” นั้นมีความเห็นอย่างไร
การค้นหาเจตจำนงของปวงชนชาวไทยจึงต้องแสดงออกผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรม นั่นคือ การลงคะแนนของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการลงประชามติหรือลงคะแนนเลือกตั้ง เพราะนั่นเป็นช่องทางที่เจ้าของประเทศจะได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผลการตัดสินใจดังกล่าวจึงจะเรียกได้ว่าเป็นการตัดสินใจของ “ปวงชนชาวไทย” อย่างแท้จริง
แต่ลำพังการมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาร่วมชุมนุมแสดงออกเพื่อคัดค้านรัฐบาล โดยแอบอ้างความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามมาตรา 3 ผ่านในนามของ “มวลมหาประชาชน” นั้น ไม่มีทางที่จะเป็น “ปวงชนชาวไทย” ตามรัฐธรรมนูญได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการแสดงออกของมวลมหาประชาชนเหล่านี้ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าชาวไทยที่เหลือซึ่งไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนหรือฝักฝ่ายของตนนั้น (ซึ่งอาจมากกว่า “มวลมหาประชาชนชาวไทย”) ไม่สมควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้อำนาจด้วยข้ออ้างต่างๆ
ส่วนหนึ่งของบทความใน http://www.lokwannee.com/web2013/?p=42609