วิกฤตการณ์ทางการเมืองบนความขัดแย้ง 2 ขั้ว ศาลรัฐธรรมนูญถูกฉายภาพ
ให้ยืนอยู่ตรงข้ามรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยหลายคดีเป็นผลบวกต่อรัฐบาลและมีหลายคดีผลวินิจฉัยเป็นลบต่อ
พรรคเพื่อไทยและรัฐบาล
คดีใหม่ก็มีเข้ามาเมื่อศาลรัฐธรรมนูญลงมติรับคำร้องของนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา
ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี ส.ส.และ ส.ว. 312 คน เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา
68 และ 237 เข้าข่ายใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน
เรื่องนี้จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ติดตามคำให้สัมภาษณ์ของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต่อ “ทีมข่าวการเมือง” ถึงการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดย
“นายวสันต์” ออกตัวเสียแต่เนิ่นๆว่าจะไม่ขอพูดถึงประเด็นนี้เพราะจะเป็นการชี้นำ
การทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนมีอิสระ
แต่ละคดีผลคำวินิจฉัยจะออกมาเป็นอย่างไรผมยังเดาไม่ถูก
เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนจะทำความเห็นของตนเอง
โดยไม่เผยแพร่ความเห็นของตนเองให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นๆได้รับทราบ
แต่ความเห็นส่วนตัวอาจจะหลุดในที่ประชุมระหว่างที่อภิปรายก่อนลงมติได้เหมือนกัน
พอทำให้รู้ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนนั้นมีความเห็นอย่างไร
แต่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
และเวลาตัดสินคดีเราจะไม่สนใจบรรยากาศภายนอกที่มาเชียร์หรือมากดดัน
ขอบอกตามตรงไม่ว่าบรรยากาศที่มาเชียร์หรือมากดดันไม่มีผลอะไรต่อคดี
ที่ผ่านมามีการข่มขู่ เราก็ไม่สนใจ เรานิ่งพอสมควร
ไม่ใช่พอฝ่ายนี้คุกคามก็ต้องตัดสินให้เป็นโทษต่อฝ่ายที่คุกคามเราให้มากที่สุด
ทำเช่นนั้นไม่ได้ ถ้าทำอย่างนั้นก็ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ
แม้ต่อไปในอนาคตศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเจอแรงกดดันทางการเมืองก็ไม่หวั่นไหวหรือกลัว
เพราะใช้ข้อกฎหมายเป็นหลักตัดสินคดี หากใช้หลักรัฐศาสตร์บางทีต้องดูสถานการณ์
ถ้าถือแต่กฎหมายเต็มร้อยจะทำให้บ้านเมืองเสียหายก็ต้องคิดบ้าง
เหมือนกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง (การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291)
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 มีหลายคนชื่นชมเราที่ทั้งเหนื่อยและเสียสละ...
...ที่ประชุมถกเถียงกัน 2 ชั่วโมงก่อนลงมติ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ม็อบปะทะม็อบ
ช่วงนั้นบอกไม่ได้ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เมื่อเราลงมติรับคำร้องเรียบร้อย
ม็อบฝ่ายหนึ่งก็กลับบ้านม็อบอีกฝ่ายหนึ่งก็ชุมนุมต่อ ทำให้ม็อบไม่ปะทะกัน
ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิจารณ์ก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติ “ประธานศาลรัฐธรรมนูญ” บอกว่า
เราไม่ได้ก้าวก่าย แค่เพียงกำกับดูแลว่าฝ่ายนิติบัญญัติอย่าทำผิดกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ
การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ แต่อย่าทำผิดรัฐธรรมนูญหรืออย่าทำให้สังคมระแวง
จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดทอนอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เราไม่รู้สึกกังวล
เพราะที่ผ่านมาเราเจียมเนื้อเจียมตัวตลอดว่าเป็นผู้คุมกฎ กติกาเท่านั้น
จะไปก้าวล่วงโดยใช้ดุลพินิจไปกำกับดูแล ครม.และรัฐสภาไม่ได้
ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดไม่ให้เราเข้าไปยุ่ง ก็เข้าไปยุ่งไม่ได้
ศาลรัฐธรรมนูญของไทยไม่เหมือนศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมัน
ที่สามารถหยิบยกเรื่องต่างๆขึ้นมาวินิจฉัยได้เอง แต่ศาลรัฐธรรมนูญ
ของไทยจะต้องมีผู้ร้องตามช่องทางที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถึงจะนำ
เรื่องขึ้นมาวินิจฉัยได้
วันนี้เริ่มจะมีประเด็นใหญ่เกี่ยวกับคดีการเมืองร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญ อาทิ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไรในสถานการณ์การเมืองที่ร้อนในเดือน เม.ย. “นายวสันต์”
บอกว่า ผู้ที่จะร้องประเด็นดังกล่าวคงไม่มีทางเลือก
ความจริงคนที่อยู่ในฐานะผู้ดูแลทางด้านการเมือง
น่าจะคิดบ้างว่าทำอย่างไรถึงหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ถ้าหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้
ก็ไม่จำเป็นจะต้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ผมไม่เคยเห็นว่าคนที่อยู่ในฐานะผู้ดูแลทางด้านการเมืองพยายามที่จะหลีกเลี่ยง
ดังนั้น เมื่อตัดสินคดีอะไรลงไปก็จะมีฝ่ายหนึ่งพอใจ และอีกฝ่ายหนึ่งไม่พอใจ
ขณะนี้ไม่มีฝ่ายใดเลยที่พอใจคำตัดสินคดีการ เมือง
การไม่พอใจต่อคำตัดสินจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเสื่อมลงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสังคม
ถ้าเราทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา แล้วสังคมบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญเสื่อม
ผมคิดว่าสังคมน่าจะเสื่อมมากกว่า
สังคมมองว่าคดีที่เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทย ศาลรัฐธรรมนูญถูกวินิจฉัยให้ผิดแล้วผิดอีก
ขณะที่คดีเกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยถูกศาลรัฐ– ธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีความผิด
“นาย วสันต์” บอกว่า แต่ละคดีที่วินิจฉัยในรอบ 2 ปี
ผมลงความเห็นเป็นคุณกับพรรคเพื่อไทยเกือบทั้งหมด
พรรคเพื่อไทยชนะไปกี่คดีจะเล่าให้ฟัง
อาทิ พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
คดีตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีของคุณวราเทพ รัตนากร
รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถมยังถูกด่า
สื่อมวลชนพยายามตัดทอนเล่นงานผมว่าสองมาตรฐาน
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เคยโดนว่ามีความผิด ก็ต้องไปดูว่า
พรรคนี้ทำผิดอะไรบ้าง ผิดไม่ผิดอย่าไปตัดสินกันเอง
เราไม่ได้ไปห้ำหั่น ไม่ใช่อะไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องผิดทั้งหมด พรรคประชาธิปัตย์
ก็ไม่พอใจและไม่เห็นด้วยที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท
แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช้วิธีคุกคามและเคารพคำตัดสิน
ผมเคยบอกว่าตอนนักการเมืองเถียงกันในเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานและเวลา
เดือดร้อนก็จะมานั่งจับผิดกัน ศาลรัฐธรรมนูญไม่เป็นเครื่องมือของใคร
ขอยกตัวอย่างให้เห็นที่พูดกันในที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญ
เกี่ยวกับคดีที่ ส.ส.เข้าไปแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่ในช่วงน้ำท่วมว่า
ไฟกำลังไหม้ พนักงานดับเพลิงกำลังฉีดน้ำแต่พนักงานดับเพลิงเกิดปวดท้อง
ขอเข้าห้องน้ำก่อน และโยนสายยางทิ้ง
บังเอิญ ส.ส.คนหนึ่งอยู่ใกล้ตรงนั้นก็หยิบสายยางขึ้นมาฉีดน้ำ
ดับไฟ แต่กลับถูกมองว่าแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่
อย่างนี้มันไม่ถูกต้อง เรื่องหน้าสิ่วหน้าขวานทุกคนก็อยากจะช่วย
แต่วิธีการช่วยมันผิดๆถูกๆ อย่าเอามาเป็นสาระกันได้หรือไม่ บ้านเมืองเป็นอย่างนี้
จะให้ศาลรัฐธรรมนูญไปสร้างความพอใจกับทุกฝ่ายคงลำบาก
ยังมีประเด็นเกี่ยวกับคดีการเมืองที่จะเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น
คดียุบพรรคการเมืองต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะรับมืออย่างไร ไม่ให้ถูกโจมตี
“นายวสันต์” บอกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ที่ผ่านมาจะเห็นว่า
แต่ละเรื่องผ่านไป ทีละเปลาะๆ ท่ามกลางเสียงถอนหายใจที่โล่งอก
ดังนั้น เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับมือ
และจะต้องนิ่งเฉยต่อสิ่งที่ถูกโจมตี ใครอยากว่าอะไรก็ว่ามา
แต่การตัดสินเป็นหน้าที่ของ
ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วสังคมจะรู้เอง ไม่ใช่ สังคมที่แบ่งขั้ว
ซึ่งเวลานี้มันแย่คือถ้าพวกฉันพูดนั้นถูกไปหมด แต่ถ้าอีก
ฝ่ายพูดผิดหมด
แบบนี้ไม่รู้เรียกตัวเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชนได้อย่างไร
ไม่ได้ใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลย
ตอนนี้ไม่มีประโยชน์จะให้สติแก่สังคมแล้ว แม้แต่พระสงฆ์ยังไม่รอดถูก
โจมตีว่าพระรูปนี้จีวรแดง พระรูปนี้จีวรเหลือง
มีเรื่องคนภายนอกพยายามวิ่งเต้นหรือติด สินบนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ให้วินิจฉัยคดีออกมาตามที่ต้องการ “นายวสันต์” ยืนยันว่า ในส่วนของผมไม่มี
และไม่เคยได้ยินข่าว ในสังคมปัจจุบันคนที่จะวิ่งเต้น
หรือติดสินบนจะต้องรู้นิสัยของคนที่จะไปวิ่งเต้นด้วยว่า คนนี้รับสินบนหรือไม่
ถ้าคนคนนั้นไม่รับสินบน ยังวิ่งเต้นก็จะยิ่งเจ็บตัว
“ทีมข่าวการเมือง” ถามว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรที่สังคมมองศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
คดีการเมือง ถูกอำนาจที่มองไม่เห็นแทรกแซงในการวินิจฉัยคดี “นายวสันต์” ตอบทันควันว่า
“ไม่มีใครมายุ่งวุ่นวายกับผม คนอื่นผมไม่ทราบ แต่คิดว่าไม่มีเหมือนกัน
ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง
ไม่เคยมีใครมาชี้แนะว่าควรทำอย่างนั้นควรทำอย่างนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบสั่ง
ในชีวิตของผมได้รับแค่ใบสั่งจราจร...
...แต่ใบสั่งอื่นไม่มี ไม่มีใครมาสั่งได้ ขืนทำตามใบสั่งเราก็ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ
ที่ผ่านมามีคนคอยกล่าวหาศาลรัฐธรรมนูญว่าเข้าข้างฝ่ายโน้น เข้าข้างฝ่ายนี้
ตัดสินลำเอียง
แต่สิ่งที่ไม่ได้กล่าวหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ การทุจริต”.
ทีมข่าวการเมือง
http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/337334
เก็บตกเอา มาให้อ่านกัน ยามเช้า ใครนะ จะออกมาบอกว่า ที่ทำเนี่ยะ
ทำตามใบสั่งนะ ..... ใครเขาจะออกใบสั่ง แค่เปรยๆ หรือกระซิบที่ข้างๆหู
เขาจะเรียกว่าอะไร ?
ขำ...ค่ะ เทียบอะไร กับ "ใบสั่งจราจร" พูดแบบนี้ สมกับคนเรียน "กฎหมาย"
จริงๆ ตอนนี้ เหลือที่ยัง ยาว ...คือสายตา... ความจำสั้นมาก .....
เพื่อน ฟื้นความจำกันหน่อย สิคะ .... มีเรื่องอะไรบ้าง ที่จะเป็นกรณีศึกษากันได้
เกี่ยวกับการตัดสินของ ศาลรัฐธรรมนูญ
อิ..อิ .. ยังเมาอาหารเมื่อวาน งานมีตติ้งรดน.
ศาลรธน.ปัดเอี่ยวการเมือง ลั่นไม่ใช่เครื่องมือใคร .... วิเคราะห์การเมือง ...ไทยรัฐออนไลน์
ให้ยืนอยู่ตรงข้ามรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยหลายคดีเป็นผลบวกต่อรัฐบาลและมีหลายคดีผลวินิจฉัยเป็นลบต่อ
พรรคเพื่อไทยและรัฐบาล
คดีใหม่ก็มีเข้ามาเมื่อศาลรัฐธรรมนูญลงมติรับคำร้องของนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา
ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี ส.ส.และ ส.ว. 312 คน เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา
68 และ 237 เข้าข่ายใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน
เรื่องนี้จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ติดตามคำให้สัมภาษณ์ของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต่อ “ทีมข่าวการเมือง” ถึงการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดย
“นายวสันต์” ออกตัวเสียแต่เนิ่นๆว่าจะไม่ขอพูดถึงประเด็นนี้เพราะจะเป็นการชี้นำ
การทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนมีอิสระ
แต่ละคดีผลคำวินิจฉัยจะออกมาเป็นอย่างไรผมยังเดาไม่ถูก
เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนจะทำความเห็นของตนเอง
โดยไม่เผยแพร่ความเห็นของตนเองให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนอื่นๆได้รับทราบ
แต่ความเห็นส่วนตัวอาจจะหลุดในที่ประชุมระหว่างที่อภิปรายก่อนลงมติได้เหมือนกัน
พอทำให้รู้ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนนั้นมีความเห็นอย่างไร
แต่เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
และเวลาตัดสินคดีเราจะไม่สนใจบรรยากาศภายนอกที่มาเชียร์หรือมากดดัน
ขอบอกตามตรงไม่ว่าบรรยากาศที่มาเชียร์หรือมากดดันไม่มีผลอะไรต่อคดี
ที่ผ่านมามีการข่มขู่ เราก็ไม่สนใจ เรานิ่งพอสมควร
ไม่ใช่พอฝ่ายนี้คุกคามก็ต้องตัดสินให้เป็นโทษต่อฝ่ายที่คุกคามเราให้มากที่สุด
ทำเช่นนั้นไม่ได้ ถ้าทำอย่างนั้นก็ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ
แม้ต่อไปในอนาคตศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเจอแรงกดดันทางการเมืองก็ไม่หวั่นไหวหรือกลัว
เพราะใช้ข้อกฎหมายเป็นหลักตัดสินคดี หากใช้หลักรัฐศาสตร์บางทีต้องดูสถานการณ์
ถ้าถือแต่กฎหมายเต็มร้อยจะทำให้บ้านเมืองเสียหายก็ต้องคิดบ้าง
เหมือนกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง (การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291)
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 มีหลายคนชื่นชมเราที่ทั้งเหนื่อยและเสียสละ...
...ที่ประชุมถกเถียงกัน 2 ชั่วโมงก่อนลงมติ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ม็อบปะทะม็อบ
ช่วงนั้นบอกไม่ได้ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เมื่อเราลงมติรับคำร้องเรียบร้อย
ม็อบฝ่ายหนึ่งก็กลับบ้านม็อบอีกฝ่ายหนึ่งก็ชุมนุมต่อ ทำให้ม็อบไม่ปะทะกัน
ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิจารณ์ก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติ “ประธานศาลรัฐธรรมนูญ” บอกว่า
เราไม่ได้ก้าวก่าย แค่เพียงกำกับดูแลว่าฝ่ายนิติบัญญัติอย่าทำผิดกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ
การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ แต่อย่าทำผิดรัฐธรรมนูญหรืออย่าทำให้สังคมระแวง
จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดทอนอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เราไม่รู้สึกกังวล
เพราะที่ผ่านมาเราเจียมเนื้อเจียมตัวตลอดว่าเป็นผู้คุมกฎ กติกาเท่านั้น
จะไปก้าวล่วงโดยใช้ดุลพินิจไปกำกับดูแล ครม.และรัฐสภาไม่ได้
ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดไม่ให้เราเข้าไปยุ่ง ก็เข้าไปยุ่งไม่ได้
ศาลรัฐธรรมนูญของไทยไม่เหมือนศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมัน
ที่สามารถหยิบยกเรื่องต่างๆขึ้นมาวินิจฉัยได้เอง แต่ศาลรัฐธรรมนูญ
ของไทยจะต้องมีผู้ร้องตามช่องทางที่รัฐธรรมนูญกำหนด ถึงจะนำ
เรื่องขึ้นมาวินิจฉัยได้
วันนี้เริ่มจะมีประเด็นใหญ่เกี่ยวกับคดีการเมืองร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญ อาทิ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญจะทำอย่างไรในสถานการณ์การเมืองที่ร้อนในเดือน เม.ย. “นายวสันต์”
บอกว่า ผู้ที่จะร้องประเด็นดังกล่าวคงไม่มีทางเลือก
ความจริงคนที่อยู่ในฐานะผู้ดูแลทางด้านการเมือง
น่าจะคิดบ้างว่าทำอย่างไรถึงหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ถ้าหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้
ก็ไม่จำเป็นจะต้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ผมไม่เคยเห็นว่าคนที่อยู่ในฐานะผู้ดูแลทางด้านการเมืองพยายามที่จะหลีกเลี่ยง
ดังนั้น เมื่อตัดสินคดีอะไรลงไปก็จะมีฝ่ายหนึ่งพอใจ และอีกฝ่ายหนึ่งไม่พอใจ
ขณะนี้ไม่มีฝ่ายใดเลยที่พอใจคำตัดสินคดีการ เมือง
การไม่พอใจต่อคำตัดสินจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเสื่อมลงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับสังคม
ถ้าเราทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา แล้วสังคมบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญเสื่อม
ผมคิดว่าสังคมน่าจะเสื่อมมากกว่า
สังคมมองว่าคดีที่เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทย ศาลรัฐธรรมนูญถูกวินิจฉัยให้ผิดแล้วผิดอีก
ขณะที่คดีเกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยถูกศาลรัฐ– ธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีความผิด
“นาย วสันต์” บอกว่า แต่ละคดีที่วินิจฉัยในรอบ 2 ปี
ผมลงความเห็นเป็นคุณกับพรรคเพื่อไทยเกือบทั้งหมด
พรรคเพื่อไทยชนะไปกี่คดีจะเล่าให้ฟัง
อาทิ พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
คดีตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีของคุณวราเทพ รัตนากร
รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถมยังถูกด่า
สื่อมวลชนพยายามตัดทอนเล่นงานผมว่าสองมาตรฐาน
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เคยโดนว่ามีความผิด ก็ต้องไปดูว่า
พรรคนี้ทำผิดอะไรบ้าง ผิดไม่ผิดอย่าไปตัดสินกันเอง
เราไม่ได้ไปห้ำหั่น ไม่ใช่อะไรพรรคเพื่อไทยก็ต้องผิดทั้งหมด พรรคประชาธิปัตย์
ก็ไม่พอใจและไม่เห็นด้วยที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ผ่าน พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท
แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช้วิธีคุกคามและเคารพคำตัดสิน
ผมเคยบอกว่าตอนนักการเมืองเถียงกันในเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานและเวลา
เดือดร้อนก็จะมานั่งจับผิดกัน ศาลรัฐธรรมนูญไม่เป็นเครื่องมือของใคร
ขอยกตัวอย่างให้เห็นที่พูดกันในที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญ
เกี่ยวกับคดีที่ ส.ส.เข้าไปแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่ในช่วงน้ำท่วมว่า
ไฟกำลังไหม้ พนักงานดับเพลิงกำลังฉีดน้ำแต่พนักงานดับเพลิงเกิดปวดท้อง
ขอเข้าห้องน้ำก่อน และโยนสายยางทิ้ง
บังเอิญ ส.ส.คนหนึ่งอยู่ใกล้ตรงนั้นก็หยิบสายยางขึ้นมาฉีดน้ำ
ดับไฟ แต่กลับถูกมองว่าแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่
อย่างนี้มันไม่ถูกต้อง เรื่องหน้าสิ่วหน้าขวานทุกคนก็อยากจะช่วย
แต่วิธีการช่วยมันผิดๆถูกๆ อย่าเอามาเป็นสาระกันได้หรือไม่ บ้านเมืองเป็นอย่างนี้
จะให้ศาลรัฐธรรมนูญไปสร้างความพอใจกับทุกฝ่ายคงลำบาก
ยังมีประเด็นเกี่ยวกับคดีการเมืองที่จะเข้าสู่ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น
คดียุบพรรคการเมืองต่างๆ ศาลรัฐธรรมนูญจะรับมืออย่างไร ไม่ให้ถูกโจมตี
“นายวสันต์” บอกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ที่ผ่านมาจะเห็นว่า
แต่ละเรื่องผ่านไป ทีละเปลาะๆ ท่ามกลางเสียงถอนหายใจที่โล่งอก
ดังนั้น เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับมือ
และจะต้องนิ่งเฉยต่อสิ่งที่ถูกโจมตี ใครอยากว่าอะไรก็ว่ามา
แต่การตัดสินเป็นหน้าที่ของ
ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วสังคมจะรู้เอง ไม่ใช่ สังคมที่แบ่งขั้ว
ซึ่งเวลานี้มันแย่คือถ้าพวกฉันพูดนั้นถูกไปหมด แต่ถ้าอีก
ฝ่ายพูดผิดหมด
แบบนี้ไม่รู้เรียกตัวเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชนได้อย่างไร
ไม่ได้ใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลย
ตอนนี้ไม่มีประโยชน์จะให้สติแก่สังคมแล้ว แม้แต่พระสงฆ์ยังไม่รอดถูก
โจมตีว่าพระรูปนี้จีวรแดง พระรูปนี้จีวรเหลือง
มีเรื่องคนภายนอกพยายามวิ่งเต้นหรือติด สินบนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ให้วินิจฉัยคดีออกมาตามที่ต้องการ “นายวสันต์” ยืนยันว่า ในส่วนของผมไม่มี
และไม่เคยได้ยินข่าว ในสังคมปัจจุบันคนที่จะวิ่งเต้น
หรือติดสินบนจะต้องรู้นิสัยของคนที่จะไปวิ่งเต้นด้วยว่า คนนี้รับสินบนหรือไม่
ถ้าคนคนนั้นไม่รับสินบน ยังวิ่งเต้นก็จะยิ่งเจ็บตัว
“ทีมข่าวการเมือง” ถามว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรที่สังคมมองศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
คดีการเมือง ถูกอำนาจที่มองไม่เห็นแทรกแซงในการวินิจฉัยคดี “นายวสันต์” ตอบทันควันว่า
“ไม่มีใครมายุ่งวุ่นวายกับผม คนอื่นผมไม่ทราบ แต่คิดว่าไม่มีเหมือนกัน
ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง
ไม่เคยมีใครมาชี้แนะว่าควรทำอย่างนั้นควรทำอย่างนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบสั่ง
ในชีวิตของผมได้รับแค่ใบสั่งจราจร...
...แต่ใบสั่งอื่นไม่มี ไม่มีใครมาสั่งได้ ขืนทำตามใบสั่งเราก็ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ
ที่ผ่านมามีคนคอยกล่าวหาศาลรัฐธรรมนูญว่าเข้าข้างฝ่ายโน้น เข้าข้างฝ่ายนี้
ตัดสินลำเอียง
แต่สิ่งที่ไม่ได้กล่าวหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ การทุจริต”.
ทีมข่าวการเมือง
http://www.thairath.co.th/column/pol/wikroh/337334
เก็บตกเอา มาให้อ่านกัน ยามเช้า ใครนะ จะออกมาบอกว่า ที่ทำเนี่ยะ
ทำตามใบสั่งนะ ..... ใครเขาจะออกใบสั่ง แค่เปรยๆ หรือกระซิบที่ข้างๆหู
เขาจะเรียกว่าอะไร ?
ขำ...ค่ะ เทียบอะไร กับ "ใบสั่งจราจร" พูดแบบนี้ สมกับคนเรียน "กฎหมาย"
จริงๆ ตอนนี้ เหลือที่ยัง ยาว ...คือสายตา... ความจำสั้นมาก .....
เพื่อน ฟื้นความจำกันหน่อย สิคะ .... มีเรื่องอะไรบ้าง ที่จะเป็นกรณีศึกษากันได้
เกี่ยวกับการตัดสินของ ศาลรัฐธรรมนูญ
อิ..อิ .. ยังเมาอาหารเมื่อวาน งานมีตติ้งรดน.