รายงานพิเศษชุดวิกฤตศรัทธาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 1 : เหตุของวิกฤตศรัทธาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
16 ปี ของการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2540 นับได้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการทำหน้าที่มากที่สุด โดยเฉพาะคำวินิจฉัยคดีที่เป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
ซึ่งถูกมองกันว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมาเป็นคู่ขัดแย้งแทนที่จะทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสิน นำมาซึ่งการเตือน 4 หยุดจากผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม
ส่วนหนึ่งจากการบรรยายธรรมในหัวข้อ "ธรรมะกับการปฏิบัติหน้าที่" เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา ของพระราชวิจิตรปฏิภาณ หรือ เจ้าคุณพิพิธ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งเตือนสติ 4 หยุด คือหยุดคิดว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก หยุดบอกว่าฝ่ายตนเป็นผู้จงรักสถาบัน หยุดกัดกันเหมือนสุนัข และ หยุดชักใยในที่แอบแฝง แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่ากฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพื่อให้เกิดการดุลและคานอำนาจตามหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540
สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ชุดนี้เป็นชุดที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งหลังการปฏิวัติรัฐประหาร 2549 ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญ 2550 ยังเพิ่มอำนาจไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทางพฤตินัย จึงเหมือนตัวรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจสูงสุด ทุกองค์กรและหน่วยงานต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
จึงทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ถูกสังคมจับจ้องและวิพากษ์เรื่องการทำหน้าที่และความเป็นกลางในฐานะกรรมการตัดสินหาข้อยุติความขัดแย้งทางกฎหมาย หลังมีคำวินิจฉัยในหลายคดีที่เป็นความขัดแย้งทางการเมือง กระทั่งมีข้อเสนอจากกลุ่มนักวิชาการให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญ
ที่มา :
http://news.voicetv.co.th/thailand/104495.html
1 พฤษภาคม 2557
เหตุของวิกฤตศรัทธาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 1
รายงานพิเศษชุดวิกฤตศรัทธาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 1 : เหตุของวิกฤตศรัทธาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
16 ปี ของการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2540 นับได้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการทำหน้าที่มากที่สุด โดยเฉพาะคำวินิจฉัยคดีที่เป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
ซึ่งถูกมองกันว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมาเป็นคู่ขัดแย้งแทนที่จะทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสิน นำมาซึ่งการเตือน 4 หยุดจากผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม
ส่วนหนึ่งจากการบรรยายธรรมในหัวข้อ "ธรรมะกับการปฏิบัติหน้าที่" เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา ของพระราชวิจิตรปฏิภาณ หรือ เจ้าคุณพิพิธ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งเตือนสติ 4 หยุด คือหยุดคิดว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก หยุดบอกว่าฝ่ายตนเป็นผู้จงรักสถาบัน หยุดกัดกันเหมือนสุนัข และ หยุดชักใยในที่แอบแฝง แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่ากฎหมายใดมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพื่อให้เกิดการดุลและคานอำนาจตามหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540
สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ชุดนี้เป็นชุดที่ 3 ได้รับการแต่งตั้งหลังการปฏิวัติรัฐประหาร 2549 ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญ 2550 ยังเพิ่มอำนาจไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทางพฤตินัย จึงเหมือนตัวรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจสูงสุด ทุกองค์กรและหน่วยงานต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
จึงทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ถูกสังคมจับจ้องและวิพากษ์เรื่องการทำหน้าที่และความเป็นกลางในฐานะกรรมการตัดสินหาข้อยุติความขัดแย้งทางกฎหมาย หลังมีคำวินิจฉัยในหลายคดีที่เป็นความขัดแย้งทางการเมือง กระทั่งมีข้อเสนอจากกลุ่มนักวิชาการให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญ
ที่มา : http://news.voicetv.co.th/thailand/104495.html
1 พฤษภาคม 2557