วิกฤตศรัทธา กับการทำหน้าที่ของ ศาล รธน. ยุคปัจจุบัน
การทำหน้าที่ของตุลาการทุกศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ต้องทำตามอำนาจ
หน้าที่ ทีได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องพิจารณาพิพากษา
ให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและ
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยยุติธรรม
ต้องยึดหลักกฎหมายเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้จินตนาการ หรือ
ความคิดเห็นส่วนตนมาตัดสิน การที่ศาล รธน. รับคำร้อง
ในการตีความ รธน. มาตรา 68 ทั้ง ๆ ที่ รธน.วางหลักไว้
โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้ผู้ทราบการกระทำความผิดต้อง
ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดก่อน แต่ศาล รธน. กับใช้ดุลพินิจ
รับคำร้องไว้พิจารณาเสียเองเท่ากับศาล รธน. ทำหน้าที่
ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม รธน.เสียเองให้ตนมี
อำนาจหน้าที่เพิ่มเติมนอกจากที่ รธน.กำหนด
เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ล้ำเส้นฝ่ายนิติบัญญัติ
และล้ำเส้นองค์กรอัยการ ซึ่งกรณีอย่างนี้อันตรายอย่างยิ่ง
เพราะเท่ากับ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของตนให้อยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ
และองค์กรอัยการ สร้างความขัดแย้งขึ้นระหว่างองค์กร
โดยไม่เคยเกิดเรื่องเช่นนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย
สร้างความเสื่อมศรัทธาให้กับประชาชนเปรียบเหมือน
ศาล รธน. เป็นมวยวัด ไม่มีหลักมีเกณฑ์ใด ๆให้ยึดถือ
นอกจากนั้น ศาล รธน. ยังสร้างความเสื่อมศรัทธา
เพิ่มขึ้นมาอีก โดนการใช้ดุลพินิจรับพิจารณาคำร้องของ
นายสมชาย แสวงการ ที่ยื่นให้วินิจฉัย ตาม มาตรา 68
ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับคณะ สส. สว.
กระทำการเป็นกบฏใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีคำสั่งให้
เหล่าบรรดา ส.ส. และ ส.ว. ทั้งคณะที่ร่วมกันทำหน้าที่
ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ข้อกล่าวหาเหมือนเป็นกบฏ
การที่ไม่ยึดตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด
แต่ใช้จินตนาการในการพิจารณาคดีเปรียบเสมือน
ใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติม รธน. ด้วยตนเองจึงไม่แปลก
ประหลาดอย่าง ใด ๆ ที่จะมีหลายฝ่ายออกมาต่อต้าน
และไม่ยอมรับอำนาจของศาล รธน. เพราะเห็นว่า
ประเทศชาติจะอยู่ได้ด้วยความผาสุก สงบสุข
ผู้ที่รักษาความยุติธรรมต้องมีความยุติธรรม
การใช้ดุลพินิจที่ไม่เท่าเทียมกันก็อาจจะมองได้ว่า
ศาลให้ความยุติธรรมที่ไม่เสมอภาคกัน
อย่างกรณีเรื่องคล้ายกันที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
ได้ยื่นคำร้องกล่าวหาต่อศาล ระน.ขอให้นายวิรัตน์ กัลป์ยาศิริ
กับ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 11 คน และ
พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรค กระทำความผิดฐานรวมกันเป็นกบฏด้วย
เพราะได้กระทำความผิดร่วมกันกับเหล่าบรรดา
ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 312 คน ที่ทำหน้าที่
ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยการร่วมกันเข้าเป็นกรรมาธิการ(กมธ)
ในคณะ กมธ. พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
ตามข้อกล่าวหาที่ศาลรับพิจารณาคำร้องของนายสมชายฯ
ที่กล่าวหานายสมศักด์ฯ กับคณะ ข้างต้น ไว้พิจารณา
แต่ปรากฎว่าศาล รธน. กับไม่รับคำร้องของนายเรืองไกรฯ
ไว้พิจารณา ผู้คนหลาย ๆ ฝ่ายจึงอาจมองได้ว่า
ศาล รธน.ใช้ดุลพินิจที่ไม่เสมอภาคกัน
การที่มีสื่อสารมวลชน หรือ กลุ่มบุคคลออกมา
แสดงความคิดเห็นต่อต้านไม่ยอมรับอำนาจศาล รธน.
เพิ่มขึ้นจำนวนมากขึ้นเลย ๆ จึงไม่ใช่
เรื่องแปลกประหลาดแต่ประการใด /////
วิกฤตศรัทธา กับการทำหน้าที่ของ ศาล รธน. ยุคปัจจุบัน
การทำหน้าที่ของตุลาการทุกศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ต้องทำตามอำนาจ
หน้าที่ ทีได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องพิจารณาพิพากษา
ให้เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและ
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยยุติธรรม
ต้องยึดหลักกฎหมายเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้จินตนาการ หรือ
ความคิดเห็นส่วนตนมาตัดสิน การที่ศาล รธน. รับคำร้อง
ในการตีความ รธน. มาตรา 68 ทั้ง ๆ ที่ รธน.วางหลักไว้
โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้ผู้ทราบการกระทำความผิดต้อง
ยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดก่อน แต่ศาล รธน. กับใช้ดุลพินิจ
รับคำร้องไว้พิจารณาเสียเองเท่ากับศาล รธน. ทำหน้าที่
ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม รธน.เสียเองให้ตนมี
อำนาจหน้าที่เพิ่มเติมนอกจากที่ รธน.กำหนด
เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ล้ำเส้นฝ่ายนิติบัญญัติ
และล้ำเส้นองค์กรอัยการ ซึ่งกรณีอย่างนี้อันตรายอย่างยิ่ง
เพราะเท่ากับ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของตนให้อยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ
และองค์กรอัยการ สร้างความขัดแย้งขึ้นระหว่างองค์กร
โดยไม่เคยเกิดเรื่องเช่นนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย
สร้างความเสื่อมศรัทธาให้กับประชาชนเปรียบเหมือน
ศาล รธน. เป็นมวยวัด ไม่มีหลักมีเกณฑ์ใด ๆให้ยึดถือ
นอกจากนั้น ศาล รธน. ยังสร้างความเสื่อมศรัทธา
เพิ่มขึ้นมาอีก โดนการใช้ดุลพินิจรับพิจารณาคำร้องของ
นายสมชาย แสวงการ ที่ยื่นให้วินิจฉัย ตาม มาตรา 68
ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ กับคณะ สส. สว.
กระทำการเป็นกบฏใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีคำสั่งให้
เหล่าบรรดา ส.ส. และ ส.ว. ทั้งคณะที่ร่วมกันทำหน้าที่
ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ข้อกล่าวหาเหมือนเป็นกบฏ
การที่ไม่ยึดตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด
แต่ใช้จินตนาการในการพิจารณาคดีเปรียบเสมือน
ใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติม รธน. ด้วยตนเองจึงไม่แปลก
ประหลาดอย่าง ใด ๆ ที่จะมีหลายฝ่ายออกมาต่อต้าน
และไม่ยอมรับอำนาจของศาล รธน. เพราะเห็นว่า
ประเทศชาติจะอยู่ได้ด้วยความผาสุก สงบสุข
ผู้ที่รักษาความยุติธรรมต้องมีความยุติธรรม
การใช้ดุลพินิจที่ไม่เท่าเทียมกันก็อาจจะมองได้ว่า
ศาลให้ความยุติธรรมที่ไม่เสมอภาคกัน
อย่างกรณีเรื่องคล้ายกันที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
ได้ยื่นคำร้องกล่าวหาต่อศาล ระน.ขอให้นายวิรัตน์ กัลป์ยาศิริ
กับ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 11 คน และ
พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรค กระทำความผิดฐานรวมกันเป็นกบฏด้วย
เพราะได้กระทำความผิดร่วมกันกับเหล่าบรรดา
ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 312 คน ที่ทำหน้าที่
ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยการร่วมกันเข้าเป็นกรรมาธิการ(กมธ)
ในคณะ กมธ. พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
ตามข้อกล่าวหาที่ศาลรับพิจารณาคำร้องของนายสมชายฯ
ที่กล่าวหานายสมศักด์ฯ กับคณะ ข้างต้น ไว้พิจารณา
แต่ปรากฎว่าศาล รธน. กับไม่รับคำร้องของนายเรืองไกรฯ
ไว้พิจารณา ผู้คนหลาย ๆ ฝ่ายจึงอาจมองได้ว่า
ศาล รธน.ใช้ดุลพินิจที่ไม่เสมอภาคกัน
การที่มีสื่อสารมวลชน หรือ กลุ่มบุคคลออกมา
แสดงความคิดเห็นต่อต้านไม่ยอมรับอำนาจศาล รธน.
เพิ่มขึ้นจำนวนมากขึ้นเลย ๆ จึงไม่ใช่
เรื่องแปลกประหลาดแต่ประการใด /////