ความเห็นของคนความรู้น้อยอย่างผม เกี่ยวกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
1. เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างนึง แต่ในชั้นพิจารณาเอาอีกอย่างนึงมาเสนอ... เรียกง่ายๆก็คือ สอดไส้ ลักไก่ ในญัตติแก้รัฐธรรมนูญ
เสมือนปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม...
ตอบ : ในชั้นกรรมาธิการ สามารถแก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อความ ให้ต่างไปจากร่างเดิมที่ยื่นมาในตอนแรกได้อยู่แล้ว การรักษาร่างเดิม
จึงไม่ใช่ประเด็นความผิดแต่อย่างใด (คนเสนอร่างไม่โวยวาย แต่คนที่ไม่ได้เสนอร่างออกมาโวยวาย)
2. เสียบบัตรแทนกัน เป็นการใช้สิทธิ์ที่ไม่ถูกต้อง ทุจริต...ผิดกฎหมาย
ตอบ : ถึงตอนนี้มีเพียงข้อกล่าวหา พร้อมคลิปจากฝ่ายค้าน แต่ประธานสภายังสอบสวนหาตัวคนที่ฝ่ายค้านกล่าวอ้างยังไม่เสร็จ
ยังไม่รู้ว่าเป็นใครกันแน่ ทำความผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ และทำในช่วงเวลาใด (ทำตอนโหวตรับร่าง หรือตอนไหน
วันไหน) รัฐสภายังสอบสวนไม่เสร็จ ศาลแค่เอาข้อมูลที่ถูกกล่าวหามาตัดสิน...ถูกหรือผิด ลองคิดดู
3. กำหนดวันแปลญัตติไม่ถูกต้อง ทำให้มีผู้แปลญัตติไม่ครบ และไม่ครบองค์ประชุม
ตอบ : สำหรับการกำหนดวันแปรญัตตินั้น ในบทบัญญัติเรื่องนี้ถือเป็นดุลพินิจของประธานสภา ซึ่งประธานสภาได้ให้เหตุผลว่า
ถึงแม้ว่าจะมีผู้แปลญัตติครบทุกคน ตามวันที่กำหนด และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของ
กรรมาธิการ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ทั้ง 3 คณะ ตามที่ได้มีการประชุมกันไปแล้ว เพราะกระบวนการ
ตั้งกรรมาธิการฯ ในที่ประชุมรัฐสภา ถือว่าเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ส่วนการกำหนดวันแปรญัตติ เป็นเพียงขั้นตอนที่เปิด
โอกาสให้ สมาชิกรัฐสภาที่ไม่ใช่กรรมาธิการฯ เสนอคำแปรญัตติให้กับกรรมาธิการฯพิจารณา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพิจารณา
ในชั้นกรรมาธิการฯ แต่อย่างใด
4. เนื้อหาที่แก้แล้ว ไม่เป็นไปตามหลักแห่งการถ่วงดุลในระบอบประชาธิปไตย...พูดง่ายๆ แก้แล้ว เลวกว่าเก่า... ศาลจึงมีมติว่าการแก้
รัฐธรรมนูญครั้งนี้... ผิด ! ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญคือ ใช้ไม่ได้... แต่ความผิดยังไม่ถึงขั้นยุบพรรค...
ตอบ : สำหรับเรื่องนี้ ศาลไม่มีอำนาจที่จะมาตัดสินชี้ขาดว่า วิธีการสรรหา ส.ว. แบบไหนดี แบบไหนไม่ดี หรือแบบไหนดีกว่า เพราะใน
เวลาหนึ่ง ในสถานการณ์หนึ่ง ในภาวะบ้านเมืองแบบหนึ่ง อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการหา ส.ว. ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
เรื่องนี้เป็นอำนาจของรัฐสภา เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายข้อไหนมาตราไหนให้อำนาจ
ศาลมาพิจารณาเรื่องนี้ ถ้าศาลพิจารณาวินิจฉัยหรือตัดสินอะไรออกมาไม่ว่าจะตัดสินว่า เลือกตั้งทั้งหมดดีกว่า สรรหา
ทั้งหมดดีกว่า หรือ เลืกตั้งส่วนหนึ่งสรรหาส่วนหนึ่งดีกว่า หรือเลือกตั้งไม่ดี หรือสรรหาไม่ดี ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น
เพราะถ้าสมมุติว่าวันหนึ่ง ฝ่ายนิติบัญญัติเขาเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นปัญหา เขาร่างกฎหมายแก้ไขให้ยกเลิกศาล
รัฐธรรมนูญ แล้วเกิดมีฝ่ายค้านไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นสิ่ง
ที่ถูกต้องเป็นไปตามหลักประชาธิปไตย และเป็นการรักษาดุลยภาพของอำนาจ เราไม่ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญอยู่คู่ประเทศ
ไทยกันไปชั่วฟ้าดินสลายหรือ คำวินิจฉัยนี้เป็นการทำลายหลักการประชาธิปไตย เป็นการทำลายอำนาจนิติบัญญัติ เป็นการ
ทำให้เสียดุลยภาพของอำนาจหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปอย่างสิ้นเชิง...อย่าว่าแต่ยุบพรรคเลย แค่รับ
วินิจฉัยเรื่องนี้พวกท่านก็คิดผิดแล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ความเห็นของผม เกี่ยวกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ
1. เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างนึง แต่ในชั้นพิจารณาเอาอีกอย่างนึงมาเสนอ... เรียกง่ายๆก็คือ สอดไส้ ลักไก่ ในญัตติแก้รัฐธรรมนูญ
เสมือนปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม...
ตอบ : ในชั้นกรรมาธิการ สามารถแก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อความ ให้ต่างไปจากร่างเดิมที่ยื่นมาในตอนแรกได้อยู่แล้ว การรักษาร่างเดิม
จึงไม่ใช่ประเด็นความผิดแต่อย่างใด (คนเสนอร่างไม่โวยวาย แต่คนที่ไม่ได้เสนอร่างออกมาโวยวาย)
2. เสียบบัตรแทนกัน เป็นการใช้สิทธิ์ที่ไม่ถูกต้อง ทุจริต...ผิดกฎหมาย
ตอบ : ถึงตอนนี้มีเพียงข้อกล่าวหา พร้อมคลิปจากฝ่ายค้าน แต่ประธานสภายังสอบสวนหาตัวคนที่ฝ่ายค้านกล่าวอ้างยังไม่เสร็จ
ยังไม่รู้ว่าเป็นใครกันแน่ ทำความผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ และทำในช่วงเวลาใด (ทำตอนโหวตรับร่าง หรือตอนไหน
วันไหน) รัฐสภายังสอบสวนไม่เสร็จ ศาลแค่เอาข้อมูลที่ถูกกล่าวหามาตัดสิน...ถูกหรือผิด ลองคิดดู
3. กำหนดวันแปลญัตติไม่ถูกต้อง ทำให้มีผู้แปลญัตติไม่ครบ และไม่ครบองค์ประชุม
ตอบ : สำหรับการกำหนดวันแปรญัตตินั้น ในบทบัญญัติเรื่องนี้ถือเป็นดุลพินิจของประธานสภา ซึ่งประธานสภาได้ให้เหตุผลว่า
ถึงแม้ว่าจะมีผู้แปลญัตติครบทุกคน ตามวันที่กำหนด และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของ
กรรมาธิการ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ทั้ง 3 คณะ ตามที่ได้มีการประชุมกันไปแล้ว เพราะกระบวนการ
ตั้งกรรมาธิการฯ ในที่ประชุมรัฐสภา ถือว่าเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ส่วนการกำหนดวันแปรญัตติ เป็นเพียงขั้นตอนที่เปิด
โอกาสให้ สมาชิกรัฐสภาที่ไม่ใช่กรรมาธิการฯ เสนอคำแปรญัตติให้กับกรรมาธิการฯพิจารณา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพิจารณา
ในชั้นกรรมาธิการฯ แต่อย่างใด
4. เนื้อหาที่แก้แล้ว ไม่เป็นไปตามหลักแห่งการถ่วงดุลในระบอบประชาธิปไตย...พูดง่ายๆ แก้แล้ว เลวกว่าเก่า... ศาลจึงมีมติว่าการแก้
รัฐธรรมนูญครั้งนี้... ผิด ! ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญคือ ใช้ไม่ได้... แต่ความผิดยังไม่ถึงขั้นยุบพรรค...
ตอบ : สำหรับเรื่องนี้ ศาลไม่มีอำนาจที่จะมาตัดสินชี้ขาดว่า วิธีการสรรหา ส.ว. แบบไหนดี แบบไหนไม่ดี หรือแบบไหนดีกว่า เพราะใน
เวลาหนึ่ง ในสถานการณ์หนึ่ง ในภาวะบ้านเมืองแบบหนึ่ง อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการหา ส.ว. ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
เรื่องนี้เป็นอำนาจของรัฐสภา เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายข้อไหนมาตราไหนให้อำนาจ
ศาลมาพิจารณาเรื่องนี้ ถ้าศาลพิจารณาวินิจฉัยหรือตัดสินอะไรออกมาไม่ว่าจะตัดสินว่า เลือกตั้งทั้งหมดดีกว่า สรรหา
ทั้งหมดดีกว่า หรือ เลืกตั้งส่วนหนึ่งสรรหาส่วนหนึ่งดีกว่า หรือเลือกตั้งไม่ดี หรือสรรหาไม่ดี ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น
เพราะถ้าสมมุติว่าวันหนึ่ง ฝ่ายนิติบัญญัติเขาเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นปัญหา เขาร่างกฎหมายแก้ไขให้ยกเลิกศาล
รัฐธรรมนูญ แล้วเกิดมีฝ่ายค้านไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นสิ่ง
ที่ถูกต้องเป็นไปตามหลักประชาธิปไตย และเป็นการรักษาดุลยภาพของอำนาจ เราไม่ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญอยู่คู่ประเทศ
ไทยกันไปชั่วฟ้าดินสลายหรือ คำวินิจฉัยนี้เป็นการทำลายหลักการประชาธิปไตย เป็นการทำลายอำนาจนิติบัญญัติ เป็นการ
ทำให้เสียดุลยภาพของอำนาจหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไปอย่างสิ้นเชิง...อย่าว่าแต่ยุบพรรคเลย แค่รับ
วินิจฉัยเรื่องนี้พวกท่านก็คิดผิดแล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ