ธีรยุทธ ผู้ร้องคดีต่อ กกต. ศาล รธน.ไต่สวน-จบเร็ว นับถอยหลังยุบ'ก้าวไกล'
ก้าวไกลมีแผนซ่อนเร้น เสนอตั้ง กมธ.ศึกษาอำนาจศาล รธน.
-คิดว่าหลังจากนี้เมื่อศาล รธน.รับคำร้องคดียุบพรรคก้าวไกลไว้วินิจฉัย หากมีการสร้างกระแสพรรคก้าวไกลได้รับเลือกมาด้วยคะแนน 14 ล้านเสียง จะเป็นการสร้างแรงกดดันให้ศาลรัฐธรรมนูญในช่วงตัดสินคดีหรือไม่?
ผมได้ติดตามความเคลื่อนไหวของแกนนำพรรคก้าวไกล พรรคก้าวไกล สมาชิกพรรคมาเป็นระยะๆ พบว่าพฤติการณ์ของพวกเขาในช่วงนี้ มีเจตนาที่จะทำให้การบังคับตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 หรือคดีล้มล้างการปกครองบังคับใช้ไม่ได้ หรือมีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อกระทำการเยี่ยงนี้ มันอาจเข้าข่ายลักษณะอันอาจเป็นการละเมิดอำนาจศาล อีกทั้งอาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญด้วย เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 บัญญัติไว้ว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ"
จะเห็นได้ว่า รัฐสภาก็อยู่ในมาตราดังกล่าวด้วย และรัฐสภาก็เป็นหนึ่งในองคาพยพการเมืองการปกครองประเทศไทย ซึ่งตัว สส.ของพรรคก้าวไกล แม้ไม่ปรากฏชื่อว่าเป็นผู้ถูกร้องในคดียุบพรรค แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของพรรคก้าวไกล ก็ต้องน้อมรับปฏิบัติตาม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งไว้แล้วว่าให้หยุดหรือไม่ดำเนินการใดๆ ก็ต้องน้อมรับและปฏิบัติตาม แต่อย่างการที่ สส.พรรคก้าวไกลได้ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติด่วนเพื่อขอให้สภาฯ มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
"ลักษณะเช่นนี้ก็คือ มีเจตนาซ่อนเร้นที่จะใช้ สิทธิเสรีภาพที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ที่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการดังกล่าว ที่แม้จะเป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีเจตนาลึกๆ ซ่อนเร้นก็คือ จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และซ่อนเร้นในการที่ต้องการจะก้าวล่วงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ"
...ตรงนี้ก็จะคล้ายกับที่ศาลรัฐธรรมนูญ เขียนไว้ในคำวินิจฉัยของศาลในคดีล้มล้างการปกครองว่า เขา (พรรคก้าวไกล) เลือกที่จะเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 เพื่อต้องการยกเลิกมาตรา 112 ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ คือหากดูผิวเผินก็เหมือนจะเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ แต่ด้วยเจตนาอันซ่อนเร้นที่จะล้มล้างการปกครอง เจตนาซ่อนเร้นที่จะเซาะกร่อนบ่อนทำลาย จึงเป็นเหตุให้เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง เพราะเขาเลือกที่จะใช้กระบวนการทางนิติบัญญัติ ที่ดูเหมือนเป็นการกระทำโดยชอบ แต่ว่ามีการปิดบัง ซ่อนเร้นอำพรางเจตนาที่ไม่ดีอยู่
ตรงนี้ก็คล้ายกับตอนนี้ที่ สส.พรรคก้าวไกลร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการชุดดังกล่าวขึ้นมา ที่มีเจตนาซ่อนเร้นคือ ไม่ต้องการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล รธน. ที่เท่ากับกำลังฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ตอนนี้ก็กำลังติดตามพฤติกรรมเขาอยู่ หากเข้าข่ายอันควรก็อาจจะมีความเคลื่อนไหวจากผมตามมา
"ธีรยุทธ” ย้ำว่า การที่ สส.พรรคก้าวไกลจะเสนอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการมาศึกษาขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้ไว้กับสมาชิกรัฐสภาเพื่อให้สภาฯ มาศึกษาเรื่องต่างๆ ตามญัตติที่เสนอไปได้ แต่กรรมาธิการก็มีกรอบการทำงานอยู่คือแค่มาศึกษา แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะมาตรวจสอบหรือมาชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญทำถูกหรือศาลรัฐธรรมนูญทำไม่ถูก ทำได้แค่ศึกษาเท่านั้น ผลศึกษาเป็นอย่างไรก็ทำรายงานเสนอต่อสภาฯ ทั้งที่การแค่ศึกษาไม่จำเป็นต้องเสียเวลา เสียงบประมาณแผ่นดินมาตั้งกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ เพราะการศึกษาเพียงแค่นั่งอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็เข้าใจแล้ว ประชาชนอ่านเขายังเข้าใจเลย แต่คุณเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยที่มีความรู้มากกว่าประชาชนทั่วไป ศาล รธน.ก็วางข้อกฎหมายข้อต่างๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ ที่อ่านก็สามารถเข้าใจได้ ไม่จำเป็นต้องไปเสียงบประมาณแผ่นดิน
https://www.thaipost.net/articles-news/553536/
นับถอยหลังยุบ'พรรคก้าวไกล'
ก้าวไกลมีแผนซ่อนเร้น เสนอตั้ง กมธ.ศึกษาอำนาจศาล รธน.
-คิดว่าหลังจากนี้เมื่อศาล รธน.รับคำร้องคดียุบพรรคก้าวไกลไว้วินิจฉัย หากมีการสร้างกระแสพรรคก้าวไกลได้รับเลือกมาด้วยคะแนน 14 ล้านเสียง จะเป็นการสร้างแรงกดดันให้ศาลรัฐธรรมนูญในช่วงตัดสินคดีหรือไม่?
ผมได้ติดตามความเคลื่อนไหวของแกนนำพรรคก้าวไกล พรรคก้าวไกล สมาชิกพรรคมาเป็นระยะๆ พบว่าพฤติการณ์ของพวกเขาในช่วงนี้ มีเจตนาที่จะทำให้การบังคับตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 หรือคดีล้มล้างการปกครองบังคับใช้ไม่ได้ หรือมีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อกระทำการเยี่ยงนี้ มันอาจเข้าข่ายลักษณะอันอาจเป็นการละเมิดอำนาจศาล อีกทั้งอาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญด้วย เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 บัญญัติไว้ว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ"
จะเห็นได้ว่า รัฐสภาก็อยู่ในมาตราดังกล่าวด้วย และรัฐสภาก็เป็นหนึ่งในองคาพยพการเมืองการปกครองประเทศไทย ซึ่งตัว สส.ของพรรคก้าวไกล แม้ไม่ปรากฏชื่อว่าเป็นผู้ถูกร้องในคดียุบพรรค แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของพรรคก้าวไกล ก็ต้องน้อมรับปฏิบัติตาม เมื่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งไว้แล้วว่าให้หยุดหรือไม่ดำเนินการใดๆ ก็ต้องน้อมรับและปฏิบัติตาม แต่อย่างการที่ สส.พรรคก้าวไกลได้ร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติด่วนเพื่อขอให้สภาฯ มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
"ลักษณะเช่นนี้ก็คือ มีเจตนาซ่อนเร้นที่จะใช้ สิทธิเสรีภาพที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ที่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการดังกล่าว ที่แม้จะเป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีเจตนาลึกๆ ซ่อนเร้นก็คือ จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และซ่อนเร้นในการที่ต้องการจะก้าวล่วงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ"
...ตรงนี้ก็จะคล้ายกับที่ศาลรัฐธรรมนูญ เขียนไว้ในคำวินิจฉัยของศาลในคดีล้มล้างการปกครองว่า เขา (พรรคก้าวไกล) เลือกที่จะเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 เพื่อต้องการยกเลิกมาตรา 112 ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ คือหากดูผิวเผินก็เหมือนจะเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ แต่ด้วยเจตนาอันซ่อนเร้นที่จะล้มล้างการปกครอง เจตนาซ่อนเร้นที่จะเซาะกร่อนบ่อนทำลาย จึงเป็นเหตุให้เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง เพราะเขาเลือกที่จะใช้กระบวนการทางนิติบัญญัติ ที่ดูเหมือนเป็นการกระทำโดยชอบ แต่ว่ามีการปิดบัง ซ่อนเร้นอำพรางเจตนาที่ไม่ดีอยู่
ตรงนี้ก็คล้ายกับตอนนี้ที่ สส.พรรคก้าวไกลร่วมกันลงชื่อเสนอญัตติขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการชุดดังกล่าวขึ้นมา ที่มีเจตนาซ่อนเร้นคือ ไม่ต้องการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล รธน. ที่เท่ากับกำลังฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ตอนนี้ก็กำลังติดตามพฤติกรรมเขาอยู่ หากเข้าข่ายอันควรก็อาจจะมีความเคลื่อนไหวจากผมตามมา
"ธีรยุทธ” ย้ำว่า การที่ สส.พรรคก้าวไกลจะเสนอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการมาศึกษาขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้ไว้กับสมาชิกรัฐสภาเพื่อให้สภาฯ มาศึกษาเรื่องต่างๆ ตามญัตติที่เสนอไปได้ แต่กรรมาธิการก็มีกรอบการทำงานอยู่คือแค่มาศึกษา แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะมาตรวจสอบหรือมาชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญทำถูกหรือศาลรัฐธรรมนูญทำไม่ถูก ทำได้แค่ศึกษาเท่านั้น ผลศึกษาเป็นอย่างไรก็ทำรายงานเสนอต่อสภาฯ ทั้งที่การแค่ศึกษาไม่จำเป็นต้องเสียเวลา เสียงบประมาณแผ่นดินมาตั้งกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ เพราะการศึกษาเพียงแค่นั่งอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็เข้าใจแล้ว ประชาชนอ่านเขายังเข้าใจเลย แต่คุณเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยที่มีความรู้มากกว่าประชาชนทั่วไป ศาล รธน.ก็วางข้อกฎหมายข้อต่างๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ ที่อ่านก็สามารถเข้าใจได้ ไม่จำเป็นต้องไปเสียงบประมาณแผ่นดิน
https://www.thaipost.net/articles-news/553536/