ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญ ถูกวิจารณ์ทั้งการตีความกฎหมาย การวินิจฉัยในหลายคดี และถูกมองเป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ มากกว่าจะเป็นองค์กรถ่วงดุล
ไม่ใช่ครั้งแรกที่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์ ก่อนหน้านี้ศาลได้ให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนที่มาวุฒิสภาให้มาจากการเลือกตั้ง เป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ก่อให้คำถามต่อแนวทาง และวิธีพิจารณา รวมทั้งองค์ตุลาการเอง
มายาคติว่าด้วยศาลของสังคมไทยที่ฝังรากลึกมานาน มักหนีไม่พ้นความศักดิ์สิทธิ์ เคร่งขรึม และอยู่ในฐานะที่ยากจะวิจารณ์ แต่หากพิจารณาการถกเถียงทางการเมืองในทศวรรษนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นหัวข้อหนึ่งที่ถูกพูดถึงหลายประเด็น ไม่เว้นแม้แต่ตัวองค์คณะตุลาการ หรือแม้กระทั่งข้อเสนอให้ยุบองค์กรนี้
หลังปฏิวัติสยาม 2475 การตีความรัฐธรรมนูญเป็นของผู้แทนราษฎรเพียงผู้เดียว แต่ครั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ดูเหมือนความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรชี้ขาดและตีความรัฐธรรมนูญจะชัดเจนมากขึ้น หลังการตรากฎหมายอาชญากรสงครามของรัฐสภา ถูกศาลฎีกาชี้ว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีการเอาผิดการกระทำก่อนกฎหมายบังคับ รัฐสภาจึงรู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง เหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทางรัฐธรรมนูญระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ และตุลาการ ไม่ใช่เริ่มในปัจจุบันอย่างที่เข้าใจกัน
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กลายเป็นองค์กรชี้ทางออกของทศวรรษ 2489 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญอีก 8 ฉบับที่บัญญัติรับรอง ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเป็น ศาลรัฐธรรมนูญ หลังปฏิรูปการเมืองปี 2540 โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะตุลาการ หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ถูกวิจารณ์มาตลอดทั้งที่มา และความขัดแย้งกับอำนาจนิติบัญญัติ
ศาลรัฐธรรมนูญกลับถูกวิจารณ์อย่างหนัก เริ่มตั้งแต่ 9 ตุลาการจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว วินิจฉัยล้มพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 5 ปี ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฉบับที่ 27 กรณีหลังนี้แม้แต่ประธานศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นก็ไม่เห็นด้วยที่จะนำมาใช้
แม้จะยืนยันวินิจฉัยตามตัวบทกฎหมาย แต่ศาลก็ถูกอีกฝ่ายวิจารณ์อย่างหนัก ตามด้วยกรณีให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่ง กรณีเป็นพิธีรายการโทรทัศน์ รวมถึงการยุบพรรคพลังประชาชน พร้อม 2 พรรคร่วมรัฐบาล และตัดสิทธิกรรมการบริหารตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 50 ที่รับรองประกาศคณะปฏิรูป ศาลรัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นองค์กรที่มีผู้สนับสนุน และคัดค้านตามขั้วการเมืองอย่างหนัก
แต่สำหรับประเด็นที่ถูกวิจารณ์ทั้งในกฎหมาย และหลักการทางประชาธิปไตยอย่างหนัก จนเกิดข้อเสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ คือ การวินิจฉัยแก้ไขรัฐธรรมนูญกรณีที่มาวุฒิสภาเมื่อปีที่ผ่านมา ให้เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามมาตรา 68 ทั้งๆที่ร่างนี้ต้องการให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
เช่นเดียวกับอีกหลายกรณี ทั้งพระราชบัญญัติลงทุนรถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้าน ที่ศาลหยิบยกความผิดเชิงกระบวนการ ซึ่งไม่ได้ทำให้ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุปของรัฐสภา เปลี่ยนไป นักวิชาการยังเห็นว่า ศาลมักกำหนดความหมายใหม่โดยไม่เป็นมาตรฐานเดียว ดัง 2 คำวินิจฉัยที่แตกต่างกัน คือ พระราชบัญญัติเงินกู้รถไฟความเร็วสูง กับ พระราชกำหนดไทยเข้มแข็ง ทั้งๆที่กฎหมายทั้งสองให้ความหมาย เงินกู้คล้ายคลึงกัน เช่นเดียวกับคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยไม่ได้พิจารณาว่าเหตุใดการเลือกตั้งจึงไม่สามารถสำเร็จได้ในวันเดียว
อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายเห็นว่า การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจตุลาการเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรชี้ขาดเมื่อมีข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ แต่นักวิชามองว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องคำนึงว่าการวินิจฉัยแต่ละครั้ง ต้องสอดคล้อง และปรับตัวให้เข้ากับเจตนารมย์ของระบอบประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นวังวนปัญหาของอำนาจบริหารและตุลาการไม่ต่างจากหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ที่มา :
http://news.voicetv.co.th/democracycrisis/103159.html
17 เมษายน 2557
ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญ ถูกวิจารณ์ทั้งการตีความกฎหมาย การวินิจฉัยในหลายคดี และถูกมองเป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ มากกว่าจะเป็นองค์กรถ่วงดุล
ไม่ใช่ครั้งแรกที่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์ ก่อนหน้านี้ศาลได้ให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนที่มาวุฒิสภาให้มาจากการเลือกตั้ง เป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ก่อให้คำถามต่อแนวทาง และวิธีพิจารณา รวมทั้งองค์ตุลาการเอง
มายาคติว่าด้วยศาลของสังคมไทยที่ฝังรากลึกมานาน มักหนีไม่พ้นความศักดิ์สิทธิ์ เคร่งขรึม และอยู่ในฐานะที่ยากจะวิจารณ์ แต่หากพิจารณาการถกเถียงทางการเมืองในทศวรรษนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นหัวข้อหนึ่งที่ถูกพูดถึงหลายประเด็น ไม่เว้นแม้แต่ตัวองค์คณะตุลาการ หรือแม้กระทั่งข้อเสนอให้ยุบองค์กรนี้
หลังปฏิวัติสยาม 2475 การตีความรัฐธรรมนูญเป็นของผู้แทนราษฎรเพียงผู้เดียว แต่ครั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ดูเหมือนความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรชี้ขาดและตีความรัฐธรรมนูญจะชัดเจนมากขึ้น หลังการตรากฎหมายอาชญากรสงครามของรัฐสภา ถูกศาลฎีกาชี้ว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีการเอาผิดการกระทำก่อนกฎหมายบังคับ รัฐสภาจึงรู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง เหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งทางรัฐธรรมนูญระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ และตุลาการ ไม่ใช่เริ่มในปัจจุบันอย่างที่เข้าใจกัน
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กลายเป็นองค์กรชี้ทางออกของทศวรรษ 2489 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญอีก 8 ฉบับที่บัญญัติรับรอง ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเป็น ศาลรัฐธรรมนูญ หลังปฏิรูปการเมืองปี 2540 โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะตุลาการ หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ถูกวิจารณ์มาตลอดทั้งที่มา และความขัดแย้งกับอำนาจนิติบัญญัติ
ศาลรัฐธรรมนูญกลับถูกวิจารณ์อย่างหนัก เริ่มตั้งแต่ 9 ตุลาการจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว วินิจฉัยล้มพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 5 ปี ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฉบับที่ 27 กรณีหลังนี้แม้แต่ประธานศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นก็ไม่เห็นด้วยที่จะนำมาใช้
แม้จะยืนยันวินิจฉัยตามตัวบทกฎหมาย แต่ศาลก็ถูกอีกฝ่ายวิจารณ์อย่างหนัก ตามด้วยกรณีให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่ง กรณีเป็นพิธีรายการโทรทัศน์ รวมถึงการยุบพรรคพลังประชาชน พร้อม 2 พรรคร่วมรัฐบาล และตัดสิทธิกรรมการบริหารตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 50 ที่รับรองประกาศคณะปฏิรูป ศาลรัฐธรรมนูญจึงกลายเป็นองค์กรที่มีผู้สนับสนุน และคัดค้านตามขั้วการเมืองอย่างหนัก
แต่สำหรับประเด็นที่ถูกวิจารณ์ทั้งในกฎหมาย และหลักการทางประชาธิปไตยอย่างหนัก จนเกิดข้อเสนอยุบศาลรัฐธรรมนูญ คือ การวินิจฉัยแก้ไขรัฐธรรมนูญกรณีที่มาวุฒิสภาเมื่อปีที่ผ่านมา ให้เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามมาตรา 68 ทั้งๆที่ร่างนี้ต้องการให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
เช่นเดียวกับอีกหลายกรณี ทั้งพระราชบัญญัติลงทุนรถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้าน ที่ศาลหยิบยกความผิดเชิงกระบวนการ ซึ่งไม่ได้ทำให้ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุปของรัฐสภา เปลี่ยนไป นักวิชาการยังเห็นว่า ศาลมักกำหนดความหมายใหม่โดยไม่เป็นมาตรฐานเดียว ดัง 2 คำวินิจฉัยที่แตกต่างกัน คือ พระราชบัญญัติเงินกู้รถไฟความเร็วสูง กับ พระราชกำหนดไทยเข้มแข็ง ทั้งๆที่กฎหมายทั้งสองให้ความหมาย เงินกู้คล้ายคลึงกัน เช่นเดียวกับคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยไม่ได้พิจารณาว่าเหตุใดการเลือกตั้งจึงไม่สามารถสำเร็จได้ในวันเดียว
อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายเห็นว่า การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจตุลาการเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรชี้ขาดเมื่อมีข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ แต่นักวิชามองว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องคำนึงว่าการวินิจฉัยแต่ละครั้ง ต้องสอดคล้อง และปรับตัวให้เข้ากับเจตนารมย์ของระบอบประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นก็จะกลายเป็นวังวนปัญหาของอำนาจบริหารและตุลาการไม่ต่างจากหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ที่มา : http://news.voicetv.co.th/democracycrisis/103159.html
17 เมษายน 2557