ด่วน! นายทะเบียนชี้คดียุบพรรคเพื่อไทยมีมูล ปม“ทักษิณ”ครอบงำ >>> วรงค์ กกต. 'ตุลาการ' เส้นสัมพันธ์เชื่อมโยงกลุ่มเดียว





คุณทักษิณ ชินวัตร ไม่มีเอกสารลงนาม 
- หนังสือเอกสารราชการ
- หนังสือเอกสารคำเตือน
- หนังสือเอกสารทั่วไปทุกฉบับ
และไม่พบเอกสารในลักษณะใกล้เคียง เช่น คำสั่ง แจ้งเตือน รายงานประชุม และอำนาจการแต่งตั้ง หนังสือชี้แจง หนังสือให้ถ้อยคำ ทุกฉบับ

คุณทักษิณ ชินวัตร
- ไม่มีพฤติกรรมการชำระเงินที่ผิดปกติ

การถูกควบคุมตัวตลอดในระยะเวลาของการรับโทษ 
ตรวจสอบความประพฤติและสามารถตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวได้ 

คนภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบ ต่างนำเรื่องเท็จ ข้อมูลที่สร้างขึ้นมา ใช้เพื่อประกอบการดำเนินคดีต่อผู้อื่น
ทั้งที่เอกสารและพยานเหล่านั้น 
ใช้สายสัมพันธ์เครือข่ายของกลุ่มผู้กระทำผิด 
เจตนาเพื่อใส่ความผู้อื่น ให้เกิดผลทางคดีความ

8 ปี คสช. 
องค์กรเหล่านี้ บุคคลเหล่านี้ ถูกจัดสรรแต่งตั้งขึ้น ภายในรัฐบาลนายประยุทธ์ จันทร์โอชา 
ที่มีนายประวิตร วงศ์สุวรรณ อยู่ร่วมในคณะรัฐบาลคสช. 
กกต.
ปปช.
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

8 ปีประยุทธ์ยังไม่รู้ชะตา แต่องค์กรอิสระที่มาจากความเห็นชอบโดยสภาแต่งตั้ง (จากคสช.) ยังคงทำงานอยู่
.
ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ องค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ต่างมีความสัมพันธ์ในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน การกำหนดให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรบริหารหรือองค์กรตุลาการต้องผ่านความเห็นชอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติมีความยึดโยงกับประชาชนเป็นหนึ่งในกลไกที่เปิดโอกาสให้ผู้แทนปวงชนได้ตรวจสอบผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรฝ่ายบริหารหรือฝ่ายตุลาการ ในอีกทางหนึ่ง ก็เป็นการสร้างความชอบธรรมให้ตำแหน่งที่ต้องผ่านความเห็นชอบโดยอำนาจที่มีความยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น
.
แต่หลังจากการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หน้าตาของฝ่ายนิติบัญญัติก็เปลี่ยนแปลงไป จากสภาที่มาจากประชาชนก็กลายเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง แม้ภายหลังปี 2562 จะมีการเลือกตั้งทั่วไป มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่วุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐ ก็ยังมีที่มาแบบ “พิเศษ” ไม่ยึดโยงกับประชาชน
.
โครงสร้างเช่นนี้ที่เป็นมานานกว่าแปดปี ทำให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญ รวมไปถึง “ศาลรัฐธรรมนูญ” ที่จะตัดสินชี้ชะตา 8 ปีพลเอกประยุทธ์ ล้วนแต่ต้องผ่านตะแกรงคัดกรองจาก “สภาแต่งตั้ง” มาแล้วทั้งสิ้น
.
  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คนได้ต่ออายุ 2 คนมาจากสนช. 5 คนมาจากส.ว.
ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นหนึ่งในองค์กรที่คสช. เข้ามามีบทบาทในการจัดสรรกับตำแหน่งแห่งที่ของตุลาการ โดยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2560 ตุลาการห้าคน ได้แก่ นุรักษ์ มาประณีต, ชัช ชลวร, บุญส่ง กุลบุปผา, อุดมศักดิ์ นิติมนตรี และจรัญ ภักดีธนากุล พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอยู่ในตำแหน่งมาจนครบวาระเก้าปีแล้ว ก่อนหน้านั้นหนึ่งเดือน วันที่ 5 เมษายน 2560 หัวหน้า คสช. จึงใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่ง ฉบับที่ 23/2560 กำหนดให้สรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปได้เลย โดยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูก โดยขั้นตอนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 23/2560 ก็เขียนไว้คล้ายกับขั้นตอนในรัฐธรรมนูญ 2550
.
แต่คำสั่งดังกล่าวยังไม่ทันได้ทำงาน วันที่ 20 เมษายน 2560 หัวหน้า คสช. ก็ใช้มาตรา 44 อีกครั้งออกคำสั่งฉบับที่ 24/2560 ให้งดเว้นการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามคำสั่งก่อนหน้านี้ เพื่อรอรัฐธรรมนูญใหม่และกฎหมายลูก และยืดอายุให้ตุลาการทั้งห้าคนทำงานต่อไปได้ จนกว่าจะมีกฎหมายลูกใช้บังคับ
.
เมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 (พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญฯ) บังคับใช้ ในบทเฉพาะกาล มาตรา 79 ก็กำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกยืดอายุด้วยคำสั่งหัวหน้าคสช. ทำงานต่อไปได้จนกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ด้วยบทเฉพาะกาลดังกล่าวทำให้อายุการทำงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งห้าคน ลากยาวมาจนถึง 31 มีนาคม 2563
.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม 2556 และวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 ยังเป็นตุลาการสองคนที่มาจากระบบคัดเลือกของรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งนี้ ยังมีข้อถกเถียงในประเด็นเรื่องการดำรงตำแหน่งของวรวิทย์ เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ให้มีวาระเก้าปี แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ให้มีวาระเจ็ดปี ต่อมาคณะกรรมการสรรหาวินิจฉัยโดยอ้างบทเฉพาะกาลของพ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญฯ ให้วรวิทย์ อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้จนครบเก้าปี เท่ากับว่า ทวีเกียรติ จะอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระเก้าปีในเดือนตุลาคม 2565 ขณะที่วรวิทย์ จะครบวาระเก้าปีในเดือนกันยายน 2566
.
ระหว่างช่วงที่ทวีเกียรติใกล้จะพ้นจากบัลลังก์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 8 - 22 สิงหาคม 2565 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ก็เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในโควตาศาสตราจารย์ด้านนิติศาสตร์ เพื่อมาแทนที่ทวีเกียรติ ผลปรากฏว่า มีผู้มาสมัครเพียง 1 คน เท่านั้น คือ ศาสตราจารย์อุดม รัฐอมฤต อายุ 63 ปี อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทั้งนี้ อดีตผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ 2560 จะได้นั่งบัลลังก์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป
.
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกสองคนมาจากความเห็นชอบของสนช. ได้แก่ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และปัญญา อุดชาชน ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดอีกห้าคนที่เหลือ ล้วนแต่ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาชุดพิเศษทั้งสิ้น โดยในการประชุมวุฒิสภา วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 วุฒิสภามีมติเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญสี่คน ได้แก่
.
1. อุดม สิทธิวิรัชธรรม
2. วิรุฬห์ เสียงเทียน
3. จิรนิติ หะวานนท์
4. นภดล เทพพิทักษ์
.
ต่อมาในการประชุมวุฒิสภาวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 วุฒิสภามีมติเห็นชอบบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
.
ตุลาการทั้งห้าคนได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 เมษายน 2563 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญห้าคนที่ได้รับการยืดอายุด้วยมาตรา 44 พ้นจากตำแหน่ง
.
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปี นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เข้ารับตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน 2558 ส่วนปัญญา อุชาชน เข้ารับตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2558 ทั้งสองคนจึงจะทำงานไปถึงปลายปี 2565 จึงจะหมดวาระ และทำการคัดเลือกใหม่โดย ส.ว. ชุดพิเศษ ส่วนอีกห้าคนที่จะทำงานไปถึงเดือนเมษายน 2570 และทำการคัดเลือกใหม่โดย ส.ว. ชุดใหม่ที่มาจากการแบ่งกลุ่มอาชีพ ไม่ได้มาจากคสช. โดยตรง
.



แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่