ตลก.รัฐฯบ้าอำนาจ ตุลาการก้าวก่าย นิติบัญญัติ และบริหาร ในรัฐธรรมนูญอำนาจทั้งสามนี้เท่าเทียมกันไม่ใช่หรือ???

'นพดล'โพสต์ยก6ข้ออัด ตลก .รัฐฯ
'นพดล'โพสต์อัด ตลก.รธน.'ตัดสินที่มิชอบด้วยกฎหมายจะกัดกร่อนความเป็นนิติรัฐของประเทศ'
               9 ม.ค.57 นายนพดล ปัทมะ กรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัววันนี้ว่า "เรื่องคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแก้ไข มาตรา 190 มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่อยู่เหนือความคาดหมายของพรรคเพื่อไทย การตัดสินว่าการแก้ไขมาตรา 190 เรื่องอำนาจการทำหนังสือสัญญาของฝ่ายบริหาร ว่ามิชอบด้วยกฎหมายนั้นถือว่าเป็นการตัดสินที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังนี้ 1.การยื่นคำร้องตาม มาตรา 68 ต้องยื่นต่ออัยการก่อน ไม่สามารถยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

               2.การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้ตาม มาตรา 291 ยกเว้นการแก้ไขเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐจะทำไม่ได้ การแก้ไขมาตรา 190 จึงไม่ต้องห้าม
               
              3.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจแทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาซึ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ กรณีนี้เปรียบเสมือนเป็นการวิ่งคร่อมเลนของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน
               
              4.การที่ศาลอ้างเหตุผลว่าการแก้มาตรา 190 ในครั้งนี้จะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบการทำสัญญาของฝ่ายบริหารไม่ได้และเป็นการเสียดุลอำนาจ แต่ศาลกลับไปแทรกแซงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติในการแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นอำนาจของรัฐสภาในการแก้อย่างชัดแจ้ง จึงไม่เป็นการทำให้การถ่วงดุลอำนาจเสียไปเท่านั้น แต่เป็นการทำลายการถ่วงดุลไปเสียสิ้น
              
              5.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งที่ตัดสินคดีนี้ก็เคยพูดว่าให้รับรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ไปก่อน แล้วค่อยแก้ภายหลัง แต่เมื่อตัวแทนประชาชนจะแก้ กลับมาบอกว่าทำไม่ได้
              
              6.พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 190 เช่นกัน ก็ไม่เห็นว่ามีปัญหาอะไร


   

   


   


   


   


   

               จากคำตัดสินสะสมของศาลรัฐธรรมนูญที่วงการนักกฎหมายกังวลใจอย่างมากในความถูกต้องและความชอบด้วยกฎหมายของคำตัดสินที่ศาลรัฐธรรมนูญไปเติมข้อความในกฎหมายเสียเองในคดีเรื่องคำแถลงการณ์ร่วมที่ตุลาการบางคนอ้างว่า ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งผมขอเรียนว่าถ้าท่านได้ศึกษาคำตัดสินของศาลโลกอย่างถ่องแท้ ท่านจะทราบว่า


       คำแถลงการณ์ร่วมเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยทำให้ปกป้องรักษาพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตาราง กม. มิให้กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนได้ นอกจากนั้นนักกฎหมายกำลังเป็นห่วงการใช้กฎหมายสองมาตรฐาน คือ ฝ่ายหนึ่งทำอะไรก็ถูกหมด อีกฝ่ายหนึ่งทำอะไรก็ผิดหมด นักการทูตต่างประเทศสอบถามตนว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย


เพราะนักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่น และเห็นว่า "การตัดสินที่มิชอบด้วยกฎหมายจะกัดกร่อนความเป็นนิติรัฐของประเทศโดยคนไม่กี่คน"


   http://www.komchadluek.net/detail/20140109/176458.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่