หมายเหตุ - ส่วนหนึ่งของเนื้อหางานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "บทบาทการใช้อำนาจของตุลาการกับสถานการณ์
ทางการเมือง" ในโครงการ "เชิดชูครูกฎหมาย" เนื่องในงานรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ที่คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 เมษายน
สถิตย์ ไพเราะ
อดีตรองประธานศาลฎีกา
อยากให้สังเกตเวลาศาลตัดสินคดีจะมีอุดมการณ์โดยเฉพาะที่ต้องยึดถือ อย่างคดีแพ่งก็จะมีอุดมการณ์ในการ
วินิจฉัยเฉพาะเรื่อง หรือกฎหมายอาญาก็มีหลักที่ต้องยึดถือ ซึ่งคดีแพ่งก็อย่างหนึ่งอาญาก็อย่างหนึ่ง จะมาใช้
กับคดีรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะคดีรัฐธรรมนูญเป็นคดีทางการเมือง ต้องยึดหลักอุดมการณ์ทางการเมืองมา
วินิจฉัย มิฉะนั้นก็เกิดเรื่องอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
อุดมการณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย มี 5 ข้อ คือ 1.อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย 2.เสรีภาพ
สำคัญที่สุด 3.ความเสมอภาค 4.นิติรัฐ นิติธรรม 5.รัฐบาลต้องมาจากเสียงข้างมาก
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลทางการเมืองต้องยึดหลักนี้ เเต่ที่ตัดสินมาโดนโจมตีมาตลอดจากหลายฝ่าย และเห็นว่า
สายเกินเเก้เเล้ว ความน่าเชื่อถือต่ำกว่าศูนย์ไปเยอะเเล้ว เพราะมีการตัดสินขัดอุดมการณ์ประชาธิปไตยมาตลอด
ทำไมถึงเกิดเหตุอย่างนี้ขึ้นก็เพราะว่า ผู้ร่างอุดมการณ์ลืมร่างให้คำนึงว่า อำนาจตุลาการเป็นของประชาชน เเละ
อาจทำให้รู้สึกว่า อำนาจตุลาการเป็นของข้าพเจ้าและอาจคิดเลยไปว่า อำนาจสูงสุดเป็นของข้าพเจ้า
จากนี้เชื่อว่าอะไรจะเกิดกับบ้านเมืองก็คงต้องเกิดไม่มีใครห้ามได้ เลี่ยงไม่ได้ เเต่เกิดขึ้นเเล้วทุกคนต้องได้รับผล
กระทบ
การใช้อำนาจตุลาการ การวินิจฉัยที่ไม่ยึดโยงกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปไม่รอด เพราะว่าสังคมทุกวันนี้
เป็นประชาธิปไตยทั้งนั้น นอกจากภายในประเทศจะต่อต้านแล้วนอกประเทศก็จะต่อต้าน ไม่คบด้วย แล้วไทยเรา
จะอยู่อย่างไร เราจะไม่เลือกตั้งเเล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร
ขณะเดียวกันยังผิดหวังและแปลกใจที่อธิการบดีหลายเเห่งเลือกที่จะบอกให้นายกฯฉีกรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ด้วย
การออกไปจากการรักษาการ ซึ่งเรียกร้องให้คนทำผิดกฎหมายได้อย่างไร
รัฐธรรมนูญ มาตรา 197 เขียนชัดเจนว่า ศาลต้องตัดสินตามกฎหมาย ยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น
กฎหมายต้องเป็นหัวใจหลักที่ศาลจะต้องกอดไว้ให้ได้ ไม่ใช่ตั้งธงเเล้วเขียนตามธงที่ตั้งเอาไว้
ตุลาการถ้ามีเหตุผลที่รับได้ คนเขาก็ยอมรับ ก่อนนี้คำวินิจฉัยที่บอกว่า การเเก้ที่มา ส.ว.จากเเต่งตั้งเป็นเลือกตั้ง
นั้นเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย นั่นเท่ากับบอกว่า พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันตก เเล้วใครจะ
ยอมรับได้
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการศาลยุติธรรม
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
กิตติศักดิ์ ปรกติ
คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ปัญหาวันนี้อยู่ที่ว่าคนเราอาจมองกฎหมายเเตกต่างกันเเละมองบทบาทศาลเเตกต่างกัน หลักใหญ่ของศาลที่เป็น
ผู้ตัดสินคดีนั้น คือ ศาลต้องเเสดงเหตุผลเเจ่มชัดในการตัดสินเเละมีเหตุผลในการตัดสินวินิจฉัย เพื่อความสมบูรณ์
ในคำพิพากษาวินิจฉัย ศาลต้องอ้างให้ได้ว่าการตัดสินคดีอาศัยข้อกฎหมายใด
ทั่วโลกมีข้อถกเถียงมากมาย เกี่ยวกับเรื่องตุลาการภิวัฒน์ หรือ การมีบทบาทเชิงรุกของตุลาการ และหลายประเทศ
ก็เชื่อว่า ปัญหาทุกๆ ปัญหาต้องหาข้อยุติได้ด้วยกฎหมาย เเม้กระทั่งเรื่องการเมือง ไม่ใช่ปล่อยให้การเมืองตัดสินไป
ด้วยอำนาจทางการเมืองเท่านั้น เพราะเหตุที่เกิดข้อพิพาทขึ้นมาสะท้อนให้เห็นว่า วิถีทางในทางการเมืองนั้นนำไป
สู่ความไม่สงบ และเกิดปัญหาต่อมาถกเถียงกันตามมาว่า การปล่อยให้อำนาจทางการเมืองมีอำนาจมากเกินไปจะ
เกิดความไม่สงบ หรือการให้ตุลาการมีอำนาจมากเกินไป จะเกิดความไม่สงบ ซึ่งในทางยุโรป เรื่องที่หาคำตอบไม่
ได้หลังจากการโต้แย้งกันแล้ว ก็ต้องมีผู้ตัดสินนั่นคือ ตุลาการ หรือเรียกว่าการทำให้ปัญหาการเมืองเป็นปัญหา
กฎหมาย เมื่อศาลได้ตัดสินแล้วก็จะเกิดความสงบ
ในยุโรปก็ถือกันว่าตุลาการภิวัฒน์ คือ การขยับตัวของอำนาจที่เคลื่อนจากฝ่ายนิติบัญญัติไปสู่ฝ่ายตุลาการนั่นเอง
เรื่องตุลาการภิวัฒน์ เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า เมื่อฝ่ายการเมืองยากจะตอบสนองของสังคมได้ในเวลาเกิด
ความเเตกเเยกของสังคม จนกระทั่งฝ่ายที่ควบคุมเสียงข้างมาก ไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความไว้วางใจที่จะดำเนิน
การแก้ไขปัญหาทางสังคม
การที่ฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทในขอบข่ายทั่วโลก เหตุผลสำคัญคือว่า ในจุดจุดหนึ่งฝ่ายเสียงข้างมากได้ทำลาย
หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์สำคัญของระบบเสียเอง เเละถ้าฝ่าฝืนเช่นนั้นก็ต้องมีคนคาน ซึ่งจะให้ฝ่ายการเมืองเสียงข้าง
น้อยคานก็ไม่ได้ ก็ต้องเอาฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกลางเป็นผู้มาคาน
บทบาทของตุลาการในแง่นี้จึงเป็นบทบาทที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เเต่ใน
ขณะเดียวกันนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องเหล่านี้บอกว่า กระบวนการตรากฎหมายและใช้กฎหมายโดยฝ่ายการเมืองนั้น
ไม่ได้ใช้เหตุผลอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประเทศที่ด้อยหรือกำลังพัฒนา ฉะนั้น จึงเป็นภารกิจของ
ฝ่ายตุลาการที่จะเข้ามาคานอำนาจของฝ่ายการเมือง ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นบ่อยๆ ในประเทศต่างๆ ไม่ใช่เพียงแค่
ประเทศไทย
เมื่อใดก็ตามที่มีฝ่ายเสียงข้างมากที่มีอำนาจมาก เเต่มีเหตุผลน้อยก็จะเกิดเเรงต้านในสังคม และมีแนวโน้มว่าจะเกิด
ความรุนแรง ในสังคมแบบนั้นแหละฝ่ายตุลาการจะเข้ามามีบทบาทมาก เเต่ต้องอาศัยสติปัญญา กำกับไม่ให้ตนเอง
มีบทบาทมากเกินไป
สิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมาก ต้องยอมรับว่าตุลาการเรามีข้อบกพร่องเเละต้องพร้อมเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เเละ
ไม่ลงโทษคนวิจารณ์อย่างสุภาพมีเหตุผลเหล่านั้น เว้นเเต่ข่มขู่ศาลในการที่ไม่ควร
ตุลาการภิวัฒน์มีได้ เเต่ควรมีเเละควรใช้อย่างสร้างสรรค์เเละรับผิดชอบด้วย ต้องพร้อมรับการตรวจสอบ ซึ่งอำนาจ
การตรวจสอบที่สำคัญที่สุดคือ คำวิจารณ์จากสังคมอย่างมีเหตุผล ชั่งน้ำหนัก ไม่ใช่บอกว่าตุลาการภิวัฒน์ คือวิบัติ
อย่าพูดลอยอย่างปราศจากเหตุผล
....................
(ที่มา:มติชนรายวัน 27 เม.ย.2557)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1398610083&grpid=&catid=02&subcatid=0202
ตามไปอ่านเต็มๆกัน จาก link นะคะ แฟร์มาก เพราะ อ.จ.กิตติศักดิ์ สนับสนุน กปปส.
อ่านแล้วก็คิดต่อกันไปนะคะ กูรูกฎหมาย ทั้ง 2 ฝ่าย พี่สาวแค่แปะ มาให้อ่านกันเท่านั้น
ใครอยากสับ ยำ สรรเสริญ เชิดชู คนไหน มาเลย อยากอ่านมากค่ะ
บทบาท-อำนาจ"ตุลาการ" ภายใต้สถานการณ์การเมือง มติชนออนไลน์
ทางการเมือง" ในโครงการ "เชิดชูครูกฎหมาย" เนื่องในงานรำลึกศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ที่คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 เมษายน
สถิตย์ ไพเราะ
อดีตรองประธานศาลฎีกา
อยากให้สังเกตเวลาศาลตัดสินคดีจะมีอุดมการณ์โดยเฉพาะที่ต้องยึดถือ อย่างคดีแพ่งก็จะมีอุดมการณ์ในการ
วินิจฉัยเฉพาะเรื่อง หรือกฎหมายอาญาก็มีหลักที่ต้องยึดถือ ซึ่งคดีแพ่งก็อย่างหนึ่งอาญาก็อย่างหนึ่ง จะมาใช้
กับคดีรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะคดีรัฐธรรมนูญเป็นคดีทางการเมือง ต้องยึดหลักอุดมการณ์ทางการเมืองมา
วินิจฉัย มิฉะนั้นก็เกิดเรื่องอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
อุดมการณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย มี 5 ข้อ คือ 1.อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย 2.เสรีภาพ
สำคัญที่สุด 3.ความเสมอภาค 4.นิติรัฐ นิติธรรม 5.รัฐบาลต้องมาจากเสียงข้างมาก
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลทางการเมืองต้องยึดหลักนี้ เเต่ที่ตัดสินมาโดนโจมตีมาตลอดจากหลายฝ่าย และเห็นว่า
สายเกินเเก้เเล้ว ความน่าเชื่อถือต่ำกว่าศูนย์ไปเยอะเเล้ว เพราะมีการตัดสินขัดอุดมการณ์ประชาธิปไตยมาตลอด
ทำไมถึงเกิดเหตุอย่างนี้ขึ้นก็เพราะว่า ผู้ร่างอุดมการณ์ลืมร่างให้คำนึงว่า อำนาจตุลาการเป็นของประชาชน เเละ
อาจทำให้รู้สึกว่า อำนาจตุลาการเป็นของข้าพเจ้าและอาจคิดเลยไปว่า อำนาจสูงสุดเป็นของข้าพเจ้า
จากนี้เชื่อว่าอะไรจะเกิดกับบ้านเมืองก็คงต้องเกิดไม่มีใครห้ามได้ เลี่ยงไม่ได้ เเต่เกิดขึ้นเเล้วทุกคนต้องได้รับผล
กระทบ
การใช้อำนาจตุลาการ การวินิจฉัยที่ไม่ยึดโยงกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปไม่รอด เพราะว่าสังคมทุกวันนี้
เป็นประชาธิปไตยทั้งนั้น นอกจากภายในประเทศจะต่อต้านแล้วนอกประเทศก็จะต่อต้าน ไม่คบด้วย แล้วไทยเรา
จะอยู่อย่างไร เราจะไม่เลือกตั้งเเล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร
ขณะเดียวกันยังผิดหวังและแปลกใจที่อธิการบดีหลายเเห่งเลือกที่จะบอกให้นายกฯฉีกรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ด้วย
การออกไปจากการรักษาการ ซึ่งเรียกร้องให้คนทำผิดกฎหมายได้อย่างไร
รัฐธรรมนูญ มาตรา 197 เขียนชัดเจนว่า ศาลต้องตัดสินตามกฎหมาย ยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น
กฎหมายต้องเป็นหัวใจหลักที่ศาลจะต้องกอดไว้ให้ได้ ไม่ใช่ตั้งธงเเล้วเขียนตามธงที่ตั้งเอาไว้
ตุลาการถ้ามีเหตุผลที่รับได้ คนเขาก็ยอมรับ ก่อนนี้คำวินิจฉัยที่บอกว่า การเเก้ที่มา ส.ว.จากเเต่งตั้งเป็นเลือกตั้ง
นั้นเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย นั่นเท่ากับบอกว่า พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันตก เเล้วใครจะ
ยอมรับได้
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการศาลยุติธรรม
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
กิตติศักดิ์ ปรกติ
คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ปัญหาวันนี้อยู่ที่ว่าคนเราอาจมองกฎหมายเเตกต่างกันเเละมองบทบาทศาลเเตกต่างกัน หลักใหญ่ของศาลที่เป็น
ผู้ตัดสินคดีนั้น คือ ศาลต้องเเสดงเหตุผลเเจ่มชัดในการตัดสินเเละมีเหตุผลในการตัดสินวินิจฉัย เพื่อความสมบูรณ์
ในคำพิพากษาวินิจฉัย ศาลต้องอ้างให้ได้ว่าการตัดสินคดีอาศัยข้อกฎหมายใด
ทั่วโลกมีข้อถกเถียงมากมาย เกี่ยวกับเรื่องตุลาการภิวัฒน์ หรือ การมีบทบาทเชิงรุกของตุลาการ และหลายประเทศ
ก็เชื่อว่า ปัญหาทุกๆ ปัญหาต้องหาข้อยุติได้ด้วยกฎหมาย เเม้กระทั่งเรื่องการเมือง ไม่ใช่ปล่อยให้การเมืองตัดสินไป
ด้วยอำนาจทางการเมืองเท่านั้น เพราะเหตุที่เกิดข้อพิพาทขึ้นมาสะท้อนให้เห็นว่า วิถีทางในทางการเมืองนั้นนำไป
สู่ความไม่สงบ และเกิดปัญหาต่อมาถกเถียงกันตามมาว่า การปล่อยให้อำนาจทางการเมืองมีอำนาจมากเกินไปจะ
เกิดความไม่สงบ หรือการให้ตุลาการมีอำนาจมากเกินไป จะเกิดความไม่สงบ ซึ่งในทางยุโรป เรื่องที่หาคำตอบไม่
ได้หลังจากการโต้แย้งกันแล้ว ก็ต้องมีผู้ตัดสินนั่นคือ ตุลาการ หรือเรียกว่าการทำให้ปัญหาการเมืองเป็นปัญหา
กฎหมาย เมื่อศาลได้ตัดสินแล้วก็จะเกิดความสงบ
ในยุโรปก็ถือกันว่าตุลาการภิวัฒน์ คือ การขยับตัวของอำนาจที่เคลื่อนจากฝ่ายนิติบัญญัติไปสู่ฝ่ายตุลาการนั่นเอง
เรื่องตุลาการภิวัฒน์ เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า เมื่อฝ่ายการเมืองยากจะตอบสนองของสังคมได้ในเวลาเกิด
ความเเตกเเยกของสังคม จนกระทั่งฝ่ายที่ควบคุมเสียงข้างมาก ไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความไว้วางใจที่จะดำเนิน
การแก้ไขปัญหาทางสังคม
การที่ฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทในขอบข่ายทั่วโลก เหตุผลสำคัญคือว่า ในจุดจุดหนึ่งฝ่ายเสียงข้างมากได้ทำลาย
หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์สำคัญของระบบเสียเอง เเละถ้าฝ่าฝืนเช่นนั้นก็ต้องมีคนคาน ซึ่งจะให้ฝ่ายการเมืองเสียงข้าง
น้อยคานก็ไม่ได้ ก็ต้องเอาฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นกลางเป็นผู้มาคาน
บทบาทของตุลาการในแง่นี้จึงเป็นบทบาทที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เเต่ใน
ขณะเดียวกันนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องเหล่านี้บอกว่า กระบวนการตรากฎหมายและใช้กฎหมายโดยฝ่ายการเมืองนั้น
ไม่ได้ใช้เหตุผลอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประเทศที่ด้อยหรือกำลังพัฒนา ฉะนั้น จึงเป็นภารกิจของ
ฝ่ายตุลาการที่จะเข้ามาคานอำนาจของฝ่ายการเมือง ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นบ่อยๆ ในประเทศต่างๆ ไม่ใช่เพียงแค่
ประเทศไทย
เมื่อใดก็ตามที่มีฝ่ายเสียงข้างมากที่มีอำนาจมาก เเต่มีเหตุผลน้อยก็จะเกิดเเรงต้านในสังคม และมีแนวโน้มว่าจะเกิด
ความรุนแรง ในสังคมแบบนั้นแหละฝ่ายตุลาการจะเข้ามามีบทบาทมาก เเต่ต้องอาศัยสติปัญญา กำกับไม่ให้ตนเอง
มีบทบาทมากเกินไป
สิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมาก ต้องยอมรับว่าตุลาการเรามีข้อบกพร่องเเละต้องพร้อมเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เเละ
ไม่ลงโทษคนวิจารณ์อย่างสุภาพมีเหตุผลเหล่านั้น เว้นเเต่ข่มขู่ศาลในการที่ไม่ควร
ตุลาการภิวัฒน์มีได้ เเต่ควรมีเเละควรใช้อย่างสร้างสรรค์เเละรับผิดชอบด้วย ต้องพร้อมรับการตรวจสอบ ซึ่งอำนาจ
การตรวจสอบที่สำคัญที่สุดคือ คำวิจารณ์จากสังคมอย่างมีเหตุผล ชั่งน้ำหนัก ไม่ใช่บอกว่าตุลาการภิวัฒน์ คือวิบัติ
อย่าพูดลอยอย่างปราศจากเหตุผล
....................
(ที่มา:มติชนรายวัน 27 เม.ย.2557)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1398610083&grpid=&catid=02&subcatid=0202
ตามไปอ่านเต็มๆกัน จาก link นะคะ แฟร์มาก เพราะ อ.จ.กิตติศักดิ์ สนับสนุน กปปส.
อ่านแล้วก็คิดต่อกันไปนะคะ กูรูกฎหมาย ทั้ง 2 ฝ่าย พี่สาวแค่แปะ มาให้อ่านกันเท่านั้น
ใครอยากสับ ยำ สรรเสริญ เชิดชู คนไหน มาเลย อยากอ่านมากค่ะ