เครดิตข่าวมติชน...
" นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอนหนึ่งในงานสัมมนา การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย โดยระบุถึง
คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีจัดรายการอาหาร "ชิมไปบ่นไป" ว่า เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน ทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย ต้องระบุก่อนว่านายสมัครรับจ้างจริงหรือไม่ ขณะที่การต้องรีบเร่งอ่านคำวินิจฉัยในวันตัดสินคดี ก็ทำให้การเขียนคำวินิจฉัยในคดีผิดพลาดได้ง่าย" นั้น ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญหวังผลในการช่วยเหลือใครหรือไม่ อย่างไร...
เพราะคำพูดที่ท่านพูดว่า "
คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีจัดรายการอาหาร "ชิมไปบ่นไป" ว่า เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน นั้น ดูเหมือนจะไปเข้าทางกรณีที่คุณเรืองไกรขอให้วินิจฉัยว่า มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวกรวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริจาคเงินเข้าพรรคโดยวิธีหักบัญชี เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน
ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญท่านออกมาพูดออกตัวไว้ก่อนว่า การนำ " ข้อกฎหมายขึ้นก่อน "เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ คำวินิจฉัยจึงผิดพลาดได้ง่าย
นี่หมายความว่าหาก กกต.นำเรื่อง มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวกรวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริจาคเงินเข้าพรรคโดยวิธีหักบัญชี ให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ศาลคงจะไม่นำ "ข้อกฎหมาย " ขึ้นก่อน ซึ่งหมายถึงการกระทำของ มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวกนั้น อาจจะต้องดูเรื่อง" เจตนา " แทนข้อกฎหมาย ใช่หรือไม่
หากเป้นเช่นนี้ก็ไม่มีทางที่ มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวก กระทำผิดกฎหมาย เพราะครั้งนี้การบริจาคเงินให้พรรคมีเจตนาชัดแจ้ง มีหลักฐานว่าการหักบัญชีนั้นเงินถูกโอนเข้าบัญชีพรรคแน่นอน แม้จะผิดไปจากข้อบัญญัติของกฎหมาย แต่ผลการกระทำออกมาเหมือนกัน การกระทำจึงดูเจตนาเป็นหลัก จึงทำให้มีเหตุผลเพียงพอที่จะ " ยกฟ้อง " ใช่หรือไม่
และมีความเป็นไปได้ที่ศาลคงจะสั่ง " ลงโทษ " ผู้ถูกกล่าวหา ให้
ละเว้นการกระทำดังกล่าว โดยเปลี่ยนไปเป็นบริจาคด้วยการออกตั๋วแลกเงินสั่งจ่ายให้พรรคให้ถูกต้อง ต่อไป ใช่หรือไม่
เพื่อนๆช่วยกับตรองและวิจารณ์ความเป็นไปได้หน่อยเถอะ
ทำไมประธานศาลรัฐธรรมนูญออกมาบอกว่าคำวินิจฉัยคดีท่านนายกสมัครใช้ไม่ได้(วินิจฉัยผิด)
" นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอนหนึ่งในงานสัมมนา การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย โดยระบุถึงคำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีจัดรายการอาหาร "ชิมไปบ่นไป" ว่า เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน ทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย ต้องระบุก่อนว่านายสมัครรับจ้างจริงหรือไม่ ขณะที่การต้องรีบเร่งอ่านคำวินิจฉัยในวันตัดสินคดี ก็ทำให้การเขียนคำวินิจฉัยในคดีผิดพลาดได้ง่าย" นั้น ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญหวังผลในการช่วยเหลือใครหรือไม่ อย่างไร...
เพราะคำพูดที่ท่านพูดว่า " คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีจัดรายการอาหาร "ชิมไปบ่นไป" ว่า เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฎหมายขึ้นก่อน นั้น ดูเหมือนจะไปเข้าทางกรณีที่คุณเรืองไกรขอให้วินิจฉัยว่า มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวกรวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริจาคเงินเข้าพรรคโดยวิธีหักบัญชี เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน
ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญท่านออกมาพูดออกตัวไว้ก่อนว่า การนำ " ข้อกฎหมายขึ้นก่อน "เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ คำวินิจฉัยจึงผิดพลาดได้ง่าย
นี่หมายความว่าหาก กกต.นำเรื่อง มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวกรวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริจาคเงินเข้าพรรคโดยวิธีหักบัญชี ให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน ศาลคงจะไม่นำ "ข้อกฎหมาย " ขึ้นก่อน ซึ่งหมายถึงการกระทำของ มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวกนั้น อาจจะต้องดูเรื่อง" เจตนา " แทนข้อกฎหมาย ใช่หรือไม่
หากเป้นเช่นนี้ก็ไม่มีทางที่ มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร และพวก กระทำผิดกฎหมาย เพราะครั้งนี้การบริจาคเงินให้พรรคมีเจตนาชัดแจ้ง มีหลักฐานว่าการหักบัญชีนั้นเงินถูกโอนเข้าบัญชีพรรคแน่นอน แม้จะผิดไปจากข้อบัญญัติของกฎหมาย แต่ผลการกระทำออกมาเหมือนกัน การกระทำจึงดูเจตนาเป็นหลัก จึงทำให้มีเหตุผลเพียงพอที่จะ " ยกฟ้อง " ใช่หรือไม่
และมีความเป็นไปได้ที่ศาลคงจะสั่ง " ลงโทษ " ผู้ถูกกล่าวหา ให้ละเว้นการกระทำดังกล่าว โดยเปลี่ยนไปเป็นบริจาคด้วยการออกตั๋วแลกเงินสั่งจ่ายให้พรรคให้ถูกต้อง ต่อไป ใช่หรือไม่
เพื่อนๆช่วยกับตรองและวิจารณ์ความเป็นไปได้หน่อยเถอะ