วิพากษ์คำวินิจฉัยศาล รธน. "วรเจตน์-สมชาย-สุขุม" ชี้ชัดขัดหลักปกครอง ปชต.

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 00:36 น.  ข่าวสดออนไลน์



วิพากษ์คำวินิจฉัยศาลรธน. "วรเจตน์-สมชาย-สุขุม" ชี้ชัดขัดหลักปกครองปชต.

คอลัมน์ ทะลุคนทะลวงข่าว

สถานการณ์หลังศาลรัฐธรรมนูญมี คำวินิจฉัยกรณีส.ส.-ส.ว. 312 คน เข้าชื่อร่วมแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว.

มติ 6 ต่อ 3 ชี้ว่า กระบวนการแก้ไข ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดมาตรา 122 และ 126 วรรคสาม มาตรา 291 (1) วรรคหนึ่ง ขัดต่อหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสอง

อีกทั้งยังมีมติ 5 ต่อ 4 เห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความที่เป็นสาระสำคัญ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคหนึ่ง

แต่ยังไม่เข้าเงื่อนไขยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค

ส่งผลให้มีการไล่บี้ยื่นถอดถอนและดำเนินคดีอาญา ไม่ว่าจะเป็น นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภานายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา และส.ส.-ส.ว.ที่ร่วมชื่อ

รวมถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯและรมว.กลาโหม ในฐานะส.ส. ที่ร่วมโหวตวาระ 3

ล่าสุด พรรคเพื่อไทยเปิดเกมรุกกลับ ออกแถลงการณ์เตรียมรวบ รวมรายชื่อส.ส.และส.ว.ที่ประสบชะตากรรมเดียวกัน ยื่นถอดถอน และฟ้องร้องคดีอาญากับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก

สำหรับท่าทีของนักวิชาการด้านกฎ หมายและรัฐศาสตร์ ต่างมองว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณีนี้

ไม่สมเหตุสมผลมาตั้งแต่การรับวินิจฉัย

ตลอดจนไม่ให้ความสำคัญกับอำนาจการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง




นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน จากกลุ่มนิติราษฎร์

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปริญญาตรีนิติศาสตร์ มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทุนอานันทมหิดลไปเรียนปริญญาโทและปริญญาเอก นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกิททิงเกน เยอรมนี โดยสำเร็จด้วยคะแนนสูงสุด ชี้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับ คดีนี้ไว้วินิจฉัย เพราะศาลมีหน้าที่ตรวจ สอบการตราพ.ร.บ.ว่าเป็นกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

อีกทั้งคำวินิจฉัย มีเหตุผลหลาย ประการที่ขัดต่อหลักการปกครอง แบบประชาธิปไตย เช่น การคงส.ว. สรรหาไว้ เพื่อถ่วงดุลส.ว.เลือกตั้ง เพราะเกรงว่าหากมีแต่ส.ว.เลือกตั้ง จะเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย

หรือการระบุว่า อย่านำเรื่องของเสียงข้างมาก มาใช้เป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรม

ในแง่นี้ถือว่าไม่มีเหตุผลอย่างมาก เพราะศาลรัฐธรรมนูญก็ใช้มติเสียงข้าง มากเช่นกัน

ดังนั้น รัฐสภาควรมีการประชุมเพื่อ มีมติว่า คำวินิจฉัยคดีนี้ไม่ชอบด้วยรัฐ ธรรมนูญ

คำวินิจฉัยนี้ไม่มีผลใดๆ ที่เป็น การผูกพันองค์กรของรัฐ เพราะรัฐสภาเองก็เป็นองค์กรมีอำนาจพิทักษ์รัฐธรรมนูญเช่นกัน





ขณะที่ สมชาย ปรีชาศิลปกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นิติศาสตรบัณฑิต และนิติศาสตร มหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) จากรั้วธรรมศาสตร์

ระบุคำวินิจฉัยที่ออกมา หากมองในเชิงหลักการประชาธิปไตย จะ พบว่ามีปัญหามาก ส.ว.สรรหาแตะต้องไม่ได้

การชี้ว่าร่างแก้ไขนี้ขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งที่นายกฯ นำทูลเกล้าฯไปแล้ว ไม่ เคยมีในจารีตรัฐธรรมนูญไทย และ ศาลไม่มีข้อเสนอแนะว่าต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป

หากศาลยังมีคำวินิจฉัยแบบนี้อีก สุดท้ายก็ต้องแก้ปัญหาด้วยการแก้รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ อาจไม่ถึงกับยุบทิ้ง

แต่ต้องปรับเปลี่ยนที่มาของ องค์คณะตุลาการฯ ให้สอดคล้อง และเชื่อมโยงกับประชาชนมากกว่าที่เป็นอยู่




เช่นเดียวกับ นายสุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปริญญาตรีรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ปริญญาโทรัฐศาสตร์และสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็ม สหรัฐ

มีชื่อเสียงจากการเป็นวิทยากร พิธีกร นักพูด ในรายการอภิปราย ปราศรัย โต้วาที ทอล์กโชว์ต่างๆ

ยอมรับได้กับมติ 6 ต่อ 3 ที่ว่าการแก้ไขที่มาของส.ว. มีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

แต่รับไม่ได้กับมติ 5 ต่อ 4 ที่ชี้ว่าเนื้อหาของการแก้ไข เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 68 วรรคหนึ่ง เพราะหมายความว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แก้ไขไม่ได้

ที่สำคัญ ศาลรัฐธรรมนูญได้นิยามรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ว่า ในรัฐสภาต้องถ่วงดุลของส.ว.ทั้งจากสรรหาและเลือกตั้ง

โดยไม่เห็นด้วยกับประชาธิป ไตยที่ต้องให้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน

ทั้งที่การแก้ไขให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ถือเป็นความก้าวหน้าของประชาธิปไตย

พร้อมแนะด้วยว่ารัฐบาลไม่ต้อง รับผิดชอบใดๆ และไม่ต้องทำเรื่อง เพื่อขอถอนร่างกฎหมายดังกล่าวโดย เด็ดขาด

หากทำจะถูกมองว่ายอมรับว่าการแก้ไขนั้นผิดกฎหมาย และจะถูกฟ้อง ร้องต่ออีก

ขณะที่นายกฯระบุว่ากำลังให้คณะกรรมการกฤษฎีกาศึกษาคำวินิจฉัย เพื่อจะได้ดำเนินการหาทางออก


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5USXlPREkzTXc9PQ==&sectionid=
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่