'นิติราษฎร์' แนะรัฐสภาปฏิเสธคำวินิจฉัยศาล รธน.
นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ชี้หากยอมรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว. จะเกิดชนวนวิกฤตรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีสถานะสมบูรณ์ พร้อมเสนอให้รัฐสภามีมติให้คำวินิจฉัยไม่ผูกพันรัฐสภา
รองศาสตราจารย์วรเจตน์ ยืนยันว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของส.ว. ยังมีสถานะสมบูรณ์ทางกฎหมาย เพราะคำวินิจฉัยของศาลไม่ได้ระบุว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ตกไป พร้อมเสนอให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน เพื่อมีมติว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไม่มีผลผูกพันต่อรัฐสภา
ขณะที่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการจากคณะนิติราษฎร์ เห็นว่า องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว.มีปัญหา เนื่องจากนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ไม่ได้เป็นองค์คณะที่วินิจฉัยรับคำร้องแต่เข้ามาร่วมวินิจฉัย ส่วนนายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ ภักดีธนากุล นายสุพจน์ ไข่มุกด์ เคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จึงมีส่วนได้ส่วนเสียกับการวินิจฉัยครั้งนี้ อีกทั้ง นายจรูญ อินทจาร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็เป็น1ในคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ดังนั้น ตุลาการจำนวนนี้จึงไม่อาจร่วมองค์คณะวินิจฉัยได้
นิติราษฎร์ แนะรัฐสภาปฏิเสธคำวินิจฉัยศาล รธน
'นิติราษฎร์' แนะรัฐสภาปฏิเสธคำวินิจฉัยศาล รธน.
นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ชี้หากยอมรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว. จะเกิดชนวนวิกฤตรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีสถานะสมบูรณ์ พร้อมเสนอให้รัฐสภามีมติให้คำวินิจฉัยไม่ผูกพันรัฐสภา
รองศาสตราจารย์วรเจตน์ ยืนยันว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของส.ว. ยังมีสถานะสมบูรณ์ทางกฎหมาย เพราะคำวินิจฉัยของศาลไม่ได้ระบุว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ตกไป พร้อมเสนอให้รัฐสภาประชุมร่วมกัน เพื่อมีมติว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไม่มีผลผูกพันต่อรัฐสภา
ขณะที่ นายปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการจากคณะนิติราษฎร์ เห็นว่า องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของส.ว.มีปัญหา เนื่องจากนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ไม่ได้เป็นองค์คณะที่วินิจฉัยรับคำร้องแต่เข้ามาร่วมวินิจฉัย ส่วนนายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ ภักดีธนากุล นายสุพจน์ ไข่มุกด์ เคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จึงมีส่วนได้ส่วนเสียกับการวินิจฉัยครั้งนี้ อีกทั้ง นายจรูญ อินทจาร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็เป็น1ในคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ดังนั้น ตุลาการจำนวนนี้จึงไม่อาจร่วมองค์คณะวินิจฉัยได้