คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 19
ขอแสดงความคิดเห็น
มีความคลาดเคลื่อนไปนิดหน่อย
อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจอันสูงสุด ยิ่งใหญ่ที่สุด ในอาณาเขต ในดินแดน บนพื้นที่ หรือ บนแผ่นดิน ที่ตนเอง ได้ครอบครอง
และ ได้ปกครองอยู่ ซึ่งหมายถึง ความเป็นเจ้าของแผ่นดิน หรือ เจ้าของประเทศ
อำนาจอธิปไตย เป็นของชนส่วนใหญ่ หรือ ชนทั้งหมด ( ปวงชน ) หมายถึง ประชาชนทุกคนมีอำนาจอันสูงสุดของประเทศ
ทุกคนเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ปกครองประเทศร่วมกัน บริหาร และ จัดการปัญหาต่างๆ ในประเทศร่วมกัน
เมื่อทุกคนมีอำนาจสูงสุดเท่ากัน อำนาจเผด็จการจึงถูกหักล้างกันเองจนหมดสิ้น แล้วจะใช้อำนาจอะไรปกครองประเทศ
ดังนั้น ในการปกครองประเทศ จึงต้องใช้อำนาจที่ได้มาจาก ประชาชนผู้มีอำนาจอธิปไตยโดยใช้ กรรมวิธีประชาธิปไตย และผลของกรรมวิธี
ประชาธิปไตย ก็ได้อำนาจที่ เรียกว่า" อำนาจธิปไตย " เมื่อนำไปใช้ร่วมกับการปกครอง เรียกว่า การปกครอง( ประชาธิปไตย )
ปวงชนชาวไทย ทุกคน ทุกอาชีพ สามารถใช้อำนาจอธิปไตย อันเป็นสิทธิ และ หน้าที่ ของท่าน
ทั้งในทาง นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ ด้วยความเสมอภาค และ เท่าเทียมกัน ทุกประการ
ขอบคุณครับ
มีความคลาดเคลื่อนไปนิดหน่อย
อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจอันสูงสุด ยิ่งใหญ่ที่สุด ในอาณาเขต ในดินแดน บนพื้นที่ หรือ บนแผ่นดิน ที่ตนเอง ได้ครอบครอง
และ ได้ปกครองอยู่ ซึ่งหมายถึง ความเป็นเจ้าของแผ่นดิน หรือ เจ้าของประเทศ
อำนาจอธิปไตย เป็นของชนส่วนใหญ่ หรือ ชนทั้งหมด ( ปวงชน ) หมายถึง ประชาชนทุกคนมีอำนาจอันสูงสุดของประเทศ
ทุกคนเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ปกครองประเทศร่วมกัน บริหาร และ จัดการปัญหาต่างๆ ในประเทศร่วมกัน
เมื่อทุกคนมีอำนาจสูงสุดเท่ากัน อำนาจเผด็จการจึงถูกหักล้างกันเองจนหมดสิ้น แล้วจะใช้อำนาจอะไรปกครองประเทศ
ดังนั้น ในการปกครองประเทศ จึงต้องใช้อำนาจที่ได้มาจาก ประชาชนผู้มีอำนาจอธิปไตยโดยใช้ กรรมวิธีประชาธิปไตย และผลของกรรมวิธี
ประชาธิปไตย ก็ได้อำนาจที่ เรียกว่า" อำนาจธิปไตย " เมื่อนำไปใช้ร่วมกับการปกครอง เรียกว่า การปกครอง( ประชาธิปไตย )
ปวงชนชาวไทย ทุกคน ทุกอาชีพ สามารถใช้อำนาจอธิปไตย อันเป็นสิทธิ และ หน้าที่ ของท่าน
ทั้งในทาง นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ ด้วยความเสมอภาค และ เท่าเทียมกัน ทุกประการ
ขอบคุณครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
ขอบคุณมากค่ะพี่โอ้ เปรียบเทียบเห็นภาพชัดเจนมาก เขียนกระทู้ดีๆ แบบนี้มาบ่อยๆ เลยค่ะ
ถึงศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในหมวดศาลแต่ทำงานร่วมกับองค์กรอิสระ และที่ผ่านมาหลายคนจงใจเพิกเฉยประเด็นที่เขาตัดสินแบบมีธงตั้งไว้ ไม่ว่าจะเรื่องทำกับข้าว เรื่องถนนลูกรัง แบบนี้พวกที่ยินดีปรีดา คงเพราะเขาตัดสินได้ถูกจริตพวกท่านกระมัง?
ที่จริงแล้วองค์กรอิสระมีไว้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการบริหารงานมากที่สุด เพราะมีโครงสร้างและขั้นตอนการทำงานที่ค่อนข้างอิสระทางการเมือง เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ทั้งในด้านคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
แต่ แต่ แต่ องค์กรอิสระของบ้านเราทุกวันนี้ คล้ายเป็นองค์กรอภินิหารเข้าไปทุกที
- แทนที่จะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ แต่องค์กรนี้กลับเป็นตัวทำลายเสถียรภาพทางการเมืองโดยการมีอำนาจล้นฟ้า ล้มรัฐบาลที่มาจากประชาชน ด้วยเหตุผลประหลาดๆ
- บุคลากรไม่โปร่งใสเสียเอง
- ไม่มีมาตรฐานการทำงาน เอียงอย่างเห็นได้ชัด แล้วแต่ธงที่ตั้งไว้ แล้วค่อยหาเหตุผลมาประกอบคำตัดสิน
และยิ่งกำลังมีโครงสร้างที่ทำลายการถ่วงดุล สรุปว่า แทนที่จะเป็นที่พึ่งช่วยคุ้มครองผลประโยชน์ให้ประชาชน กลับสร้างข้อกังขา สร้างความรู้สึกเสียดายภาษีให้ประชาชน
อะไรที่มันไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ในสมดุล จะใช้งานไม่ได้ตามประสิทธิภาพ
สุดท้ายพัดลมเครื่องนี้ ไม่เย็น ทำงานอย่างทุลักทุเล แล้วยังกินไฟอีกต่างหาก ไม่เป็นเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นมาก็บุญ
ถึงศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในหมวดศาลแต่ทำงานร่วมกับองค์กรอิสระ และที่ผ่านมาหลายคนจงใจเพิกเฉยประเด็นที่เขาตัดสินแบบมีธงตั้งไว้ ไม่ว่าจะเรื่องทำกับข้าว เรื่องถนนลูกรัง แบบนี้พวกที่ยินดีปรีดา คงเพราะเขาตัดสินได้ถูกจริตพวกท่านกระมัง?
ที่จริงแล้วองค์กรอิสระมีไว้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการบริหารงานมากที่สุด เพราะมีโครงสร้างและขั้นตอนการทำงานที่ค่อนข้างอิสระทางการเมือง เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ทั้งในด้านคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
แต่ แต่ แต่ องค์กรอิสระของบ้านเราทุกวันนี้ คล้ายเป็นองค์กรอภินิหารเข้าไปทุกที
- แทนที่จะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ แต่องค์กรนี้กลับเป็นตัวทำลายเสถียรภาพทางการเมืองโดยการมีอำนาจล้นฟ้า ล้มรัฐบาลที่มาจากประชาชน ด้วยเหตุผลประหลาดๆ
- บุคลากรไม่โปร่งใสเสียเอง
- ไม่มีมาตรฐานการทำงาน เอียงอย่างเห็นได้ชัด แล้วแต่ธงที่ตั้งไว้ แล้วค่อยหาเหตุผลมาประกอบคำตัดสิน
และยิ่งกำลังมีโครงสร้างที่ทำลายการถ่วงดุล สรุปว่า แทนที่จะเป็นที่พึ่งช่วยคุ้มครองผลประโยชน์ให้ประชาชน กลับสร้างข้อกังขา สร้างความรู้สึกเสียดายภาษีให้ประชาชน
อะไรที่มันไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ในสมดุล จะใช้งานไม่ได้ตามประสิทธิภาพ
สุดท้ายพัดลมเครื่องนี้ ไม่เย็น ทำงานอย่างทุลักทุเล แล้วยังกินไฟอีกต่างหาก ไม่เป็นเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นมาก็บุญ
ความคิดเห็นที่ 16
การเมืองไทย หมดหวังตั้งแต่รัฐบาล ทักษิณ ถูกยึดอำนาจ สมัยพลเอก สนธิ บุญรัตลิน
ไบพัดอันที่สามของพัดลม คือไบตุลาการ เป็นดาบสุดท้าย ทำไห้การเมืองความยุติธรรม
หมดสิ้น หมดหวัง จากการตัดสิน ยุบพรรค ไล่ทำลายอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน จิตสำนึก คำปฎิญาณ ไม่เหลือไห้พึ่งได้เลยหรือ
รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูก การเหลือกตั้งครั้งหน้า ก็คงไม่ความเป็นประชาธิปไตย เหลือไว้ไห้พึ่งได้แน่นอน หมดหวังจริงฯ
ไบพัดอันที่สามของพัดลม คือไบตุลาการ เป็นดาบสุดท้าย ทำไห้การเมืองความยุติธรรม
หมดสิ้น หมดหวัง จากการตัดสิน ยุบพรรค ไล่ทำลายอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน จิตสำนึก คำปฎิญาณ ไม่เหลือไห้พึ่งได้เลยหรือ
รัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูก การเหลือกตั้งครั้งหน้า ก็คงไม่ความเป็นประชาธิปไตย เหลือไว้ไห้พึ่งได้แน่นอน หมดหวังจริงฯ
แสดงความคิดเห็น
รัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตย ตลก. การเมืองไทย ใบพัดลมบ้าน (The Mario)
ภาพประกอบไม่ได้มีเจตนาเพื่อโฆษณา
พัดลมบ้านประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆที่เราพอจะทราบหลักๆนั่นคือ สายไฟ+ปลั๊ก สวิทช์ส่วนควบคุมความเร็วรอบ มอเตอร์+แกนมอเตอร์ที่ผ่านการหา Alignment และ Centering แล้ว และส่วนของใบพัดลม โดยทั่วไปใบพัดลมบ้านจะมีอยู่ 3 ใบ
หลังจากที่สวมใบพัดลมเข้ากับแกนมอเตอร์แล้ว เดินเครื่องด้วยความเร็วรอบต่างๆ ใบพัดลมแต่ละใบจะมีแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ในทิศทางที่ตั้งฉากกับแนวแกนของมอเตอร์ที่ผ่านการหา Alignment และ Centering แล้ว ทำให้พัดลมเวลาเดินเครื่องมีความนิ่งและสมดุลในการหมุน ไม่เกิดแรงเหวี่ยงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ไม่เกิด Vibration ขึ้นในขณะเดินเครื่อง เนื่องจากความสมดุลกันของใบพัดทั้ง 3 ด้าน
ผมจะลองเขียนอะไรเล่นๆลงในเจ้าพัดลม 3 ใบนี้ แล้วมามองในภาพรวมของการเมืองไทย
เมื่อใบพัดน้ำหนักเท่ากัน การจัดเรียงทิศทาง-องศาที่เท่ากันจะเกิดการถ่วงดุลซึ่งกันและกันของแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ทั้ง 3 ใบพัด ไม่ให้ใบใดมีแรงเหวี่ยงมากเกินไปการหมุนของเจ้าพัดลมตัวนี้ก็จะมีความนิ่ง ไม่เกิดแรงเหวี่ยงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งจนสั่นและล้มค่ำในที่สุด
ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจอธิปไตย หรือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากปวงชนชาวไทย อันมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยอำนาจขององค์กรทั้ง 3 ฝ่าย จะต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน และอยู่ในลักษณะการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
การแบ่งอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยทั้งสามฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มีการถ่วงดุลอำนาจกันไม่ให้อำนาจใดมีอำนาจมากเกินไปหรืออ่อนแอ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจจนเกินขอบเขต
คำปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร “ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
คำปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ “ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยปราศจากอคติทั้งปวงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ”
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้บัญญัติขึ้นตามมาตรา 35 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่แทน และมีบทบาทสำคัญต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ก็ได้ขึ้นปฏิบัติการจากกระบวนการคัดสรรตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร ซึ่งการดำเนินการพิจารณาคดีต่างๆที่เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่าขัดต่อหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญอยู่เสมอ และขยายขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญออกไปเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด รวมถึงการก้าวก่ายอำนาจของฝ่ายบริการและฝ่ายนิติบัญญัติ
ผลงานในอดีตของศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2550
ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย จากการจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี โดยในภายหลัง นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น กล่าวถึงการวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ณ ขณะนั้นเป็นไปเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง ซึ่งไม่ได้วินิจฉัยคดีโดยวางอยู่บนพื้นฐานนิติรัฐ นิติธรรม
ตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหาในกรณีจ้างพรรคเล็กใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ซึ่งในภายหลังนายสุขสันต์ ไชยเทศ อดีตผู้อำนวยการพรรคพัฒนาชาติไทย และนายชวการ โตสวัสดิ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพัฒนาชาติไทย ซึ่งเป็นพยานปากเอกคดียุบพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สัญญาว่าจะให้เงินพยานพรรคเล็กคนละ 15 ล้านบาทและช่วยเรื่องคดีแลกกับการที่ให้พยานเหล่านี้ให้การว่าไปพบ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยาเพื่อรับการว่าจ้างให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยที่ความจริงแล้วมิได้มีเหตุการณ์ดังกล่าว โดยในระหว่างการดำเนินคดี นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้นำพยานเหล่านี้ไปเก็บตัวในเซฟเฮาส์ทางภาคใต้ และสุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยเหลือเรื่องคดีกับพยานพรรคเล็กเหล่านี้ดังที่สัญญาไว้แต่อย่างใด
พ.ศ. 2551
วินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดรายการชิมอาหาร ซึ่งในภายหลังนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ยอมรับว่าการวินิจฉัยถอด นายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้นผิดพลาด ด้วยการนำข้อกฎหมายมาวางก่อน แล้วค่อยนำข้อเท็จจริงมาพิจารณา
ตัดสินให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี
ยกคำร้อง กรณีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ มว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง
ยกคำร้อง กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง
พ.ศ. 2556
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของ ส.ว.เป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 68 โดยจากกรณีนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากต่อส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่กล่าวว่า
ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแม้จะให้ถือเอามติฝ่ายเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลยหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยไม่ฟังเหตุผลและขาดหลักประกันจนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืนตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากแต่ก็จะกลับกลายเป็นระบอบเผด็จการฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อระบอบการปกครองของประเทศไปอย่างชัดแจ้ง
ซึ่งในตอนท้ายของคำวินิจฉัย ก็มีเป็นการลงมติโดยเสียงข้างมากขององค์คณะตุลาการในการตัดสินเรื่องนี้
อาศัยเหตุดังได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นจึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าการดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 มาตรา 125 วรรค 1 และวรรค 2 มาตรา 126 วรรค 3 มาตรา 291 และมาตรา 3 และวินิจฉัยด้วยมติเสียงข้างมากว่า 5 ต่อ 4 ว่า มีเนื้อความที่เป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 อันเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1
จากบทบาทของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนี้เสมือนว่ามีอีก 1 อำนาจ ที่เข้ามาเพิ่มจาก 3 อำนาจแรกในข้างต้น
ผมจะมาลองเปลี่ยนใบพัดลมดู แล้วลองเขียนอะไรลงในนั้น
หากแม้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ที่ไร้ครหาเรื่อง 2 มาตรฐานในการตัดสิน เป็นอำนาจที่เป็นอิสระเฉพาะจากการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ย่อมต้องเป็นกลางและมิได้มีการถ่วงดุลหรือคานอำนาจกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พัดลมเครื่องนี้ก็จะหมุนไปด้วยความนิ่งเป็นปกติ ไร้ซึ่งครหาในการทำหน้าที่ แต่ความเป็นจริงเป็นเช่นไรแล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณา
และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังคงมีอยู่เช่นเคย โดยถูกกำหนดบทบาทหน้าที่ไว้ไม่ได้น้อยไปกว่าเดิม ยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจํานวน 9 คนนี้ ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาเพื่อแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา พูดกันง่ายๆก็คือ มาจาก สว. นั่นเอง (สว. ตาม รธน นี้มาจากการแต่งตั้งทั้งหมดจาก คสช)
ผมจะมาลองลงภาพพัดลมใหม่อีกครั้ง ขออภัยที่ภาพนี้ไม่สวยเพราะผมไม่ถนัดวาดภาพ
เมื่อเราให้น้ำหนักกับใบพัดใบใดมากเกินไป จะไม่เกิดสมดุลในการหมุนเพราะแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ของใบพัดนั้นจะมีมากกว่าแรงที่มาจากทิศทางอื่น ทำให้เกิด Vibration ในการเดินเครื่องขึ้นมา ทำให้เกินการสั่นและเหวี่ยงอย่างไร้ทิศทางจนพัดลมเครื่องนั้นล้มลงและพังเสียหายได้ เปรียบเสมือนกับการถ่วงดุลอำนาจของอธิปไตยที่กล่าวมาข้างต้น หากจะเดินหน้าประเทศไทยต่อไป การถ่วงดุลที่เหมาะสมของอำนาจทั้ง 3 ควรที่จะกันไม่ให้อำนาจใดมีอำนาจมากเกินไปหรืออ่อนแอ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจจนเกินขอบเขต
ในนามประชาชนไทยคนหนึ่ง อยากเห็นประเทศชาติเดินหน้าด้วยความนิ่ง ไม่เกิดแรงกระเพื่อมไปกับอคติมุมมองในการทำหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่พร้อมจะประหักประหารฝ่ายตรงข้าม หรือตรีตราความชอบธรรมให้กับฝ่ายที่ตนรัก โดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญที่เป็นของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน โดยเฉพาะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พวกท่านต้องแก้ข้อครหาที่ประชาชนมองว่าพวกท่าน 2 มาตรฐานออกไปให้ได้ และทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเมือง-เสถียรภาพทางการเมืองต้องมาแขวนอยุ่บนเส้นด้ายภายใต้อคติในการพิจารณาของพวกท่าน
ประเทศไทยไม่ใช่เครื่องสั่นสลายไขมัน ไม่ใช่เครื่องนวดผ่อนคลายหยอดเหรียญ ไม่ใช่อุปกรณ์ให้ความสุขทางเพศ ที่จะต้องใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ให้เกิดการสั่นสะเทือนในการใช้งาน ประชาชนบอบช้ำมามากแล้ว จงทำให้ประเทศชาติเดินหน้าด้วยความนิ่งและมีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นกลางที่สุด ในวันนี้-วันพรุ่งนี้และวันต่อๆไป จงสร้างมาตรฐานเดียวในการทำหน้าที่ให้ประชาชนเห็นและหยุดการคลางแคลงใจในการทำหน้าที่ ทุกหน้าในประวัติศาสตร์การเมืองไทยล้วนถูกจารึกไว้ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ยิ่งยุคปัจจุบันแล้วการบันทึกเรื่องราวต่างๆยิ่งเป็นไปได้ง่ายกว่ารุ่นก่อนๆหลายเท่าตัวนัก ไม่มีใครหนีความจริงไปพ้นว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นดีหรือไม่ดี ทุกๆอย่างหนีสายตาประชาชนไปไม่พ้น ทุกเรื่อง
ขอบพระคุณ พัดลมฮาตาริ ฐานข้อมูลประกอบกระทู้จากทรูปลูกปัญญา และวิกิพิเดียร์
The Mario 7 กรกฎาคม 2560