"กิเลส" กับ "สังโยชน์" เป็นอย่างไร ต้องกำจัดอย่างไรจึงจะเป็นพระอรหันต์

ตกลงแล้ว "กิเลส" กับ "สังโยชน์" เป็นอย่างไร ต้องกำจัดอะไรกันบ้าง ถึงจะเป็นพระอรหันต์

ในวิกิพิเดีย ให้ความหมายของสังโยชน์ไว้ดังนี้

สังโยชน์ (บาลี: samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่

1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ

ในหัวข้อกิเลส วิกิพิเดียให้ความหมายไว้ดังนี้

กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก

กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้ายก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่

ประเภทของกิเลส มี 10 ประเภท คือ

1. อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต
2. โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ
3. โมหะ ความหลงใหล ความโง่
4. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา
5. ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ
6. วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
7. โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
8. ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา
9. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต
10. มานะ ความ ทะนงตน ถือตัว เย่อหยิ่ง ความเป็นตัวตน

นอกจากแล้ว ยังจะมีอาสวกิเลส อุปกิเลส ฯลฯ  ตกลงแล้ว เราจะต้องกำจัดอะไรบ้าง ถึงจะเป็นพระอรหันต์

ประการสำคัญก็คือ วิธีปฏิบัติ เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่