อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 3.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โอกาสนี้บรรดาท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ขอได้โปรดตั้งใจสดับวิชาแห่งการเจริญพระกรรมฐานในด้านอาหาเรปฏิกูลสัญญา สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญาในตอนนี้จะพูดถึง
อริยสัจ แต่ทว่าการเจริญพระกระกรรมฐานที่มีความสำคัญที่สุด ที่บรรดาพวกท่านทั้งหลายจะต้องลืมไม่ได้ นั่นก็คือ
การทรงอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ แล้วก็บทพิจารณาก็ดี ภาวนาก็ดี ที่ท่านทำอยู่ทั้งหมดนี้ จงอย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
นิวรณ์ 5 ประการ กับ
สังโยชน์ 10 ประการ นิวรณ์ 5 จะต้องหาทางระงับด้วยกำลังของฌาน สังโยชน์ 10 ประการต้องหาทางตัดด้วยปัญญา และสิ่งที่จะเว้นไม่ได้เลย นั่นก็คือ
ศีลต้องบริสุทธิ์เป็นปกติ อารมณ์สมาธิป้องกันนิวรณ์ไว้เป็นปกติ ใช้ปัญญาตัดสังโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ
สักกายทิฏฐิ ถ้าข้อนี้ตัดได้ถึงที่สุดท่านก็เป็น
อรหันต์
ต่อแต่นี้ไปชอบรรดาท่านทั้งหลายโปรดสดับ
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ในหมวดนี้ใกล้จะจบ คิดว่าคืนพรุ่งนี้ก็จบ นักศึกษาพระกรรมฐาน ถ้าศึกษาใหม่ก็ควรไปหาหมวดของอานาปานุสสติกรรมฐานมาศึกษา เพราะว่าหมวดนั้นอธิบายไว้ละเอียดแล้ว ก็สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญานี่เป็นหมวดเฉพาะท่านที่มีจิตตกอยู่ในอำนาจของ
พุทธจริต คือ คนฉลาด แต่ว่าท่านทั้งหลายก็จงอย่าประนามตนเองว่าเป็นคนโง่ และก็จงอย่าถือตัวว่าเป็นคนฉลาด อารมณ์ทั้ง 2 ประการนี้เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี หมายความว่าถ้าเราคิดว่าโง่ เราก็ปล่อยมือ ก็เลยไม่มีความฉลาด ถ้าเราคิดว่าเราฉลาด เราก็เหลิงตัวเกินไป ไม่สร้างความดี เป็นอันว่าเลวทั้งคู่
ฉะนั้นจงจำคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมครู ว่า
อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า
ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม คือเราไม่ประมาททั้ง 2 ประการ ไม่ประมาทว่าเราโง่เกินไป และก็ไม่ประมาทว่าเราฉลาดเกินพอดี เอาจิตใจควบคู่อยู่ในความดี คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สิ่งใดที่นอกเหนือไปจากคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันนั้น เราไม่เอา เพราะเวลานี้มีอยู่ดื่น คำสอนของพระพุทธเจ้ามี เขาเป็นพระอรหันต์กันนับไม่ถ้วน เข้านิพพานนับไม่ถ้วน แต่ทว่ากลับมาบอกว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เป็นเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ ว่า ภาวนาว่า
พุทโธ ไม่มีความหมาย ไม่มีเกณฑ์บรรลุมรรคผล สู้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ไม่ได้ ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ว่าเวลานี้แม้แต่พระอรหันต์ทั้งหมายท่านยังภาวนาว่า
พุทโธ อยู่ คำภาวนาถ้าทรงตัว จิตเป็นสมาธิ ปัญญามันก็เกิด คำว่า
พุทโธ เป็นพระนามความดีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราไม่เกาะพระพุทธเจ้า เราจะเกาะใคร อันนี้ช่วยกันนึกด้วย
ต่อนี้ไปฟังเรื่องราวของ
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ในด้านของอริยสัจ เราฟังกันแล้วว่า อาหารมีพื้นฐานมาจากความสกปรก ทีนี้ร่างกายเราเติบโตมาด้วยอาหาร อยากจะถามตนเอง คือควรจะถามตนเองว่า ร่างกายของเรานี่มันสะอาดหรือสกปรก ร่างกายที่คนเรารักอยากจะได้ นี่มันสะอาดหรือสกปรก เราเห็นจะตอบกันไม่ยากว่ามันสกปรก ถ้าสกปรกเราต้องการมาเพื่ออะไร การเห็นว่าสกปรก เป็นสมถภาวนา
ตอนนี้มาว่ากันถึงอริยสัจ อริยสัจนี่ก็ดี วิปัสสนาญาณ 9 ก็ดี หรือพูดถึงเรื่องขันธ์ 5 ก็ดี อายตนะ 6 ก็ดี ก็เป็นเรื่องของอริยสัจ คือ ขันธ์ 5 เหมือนกัน รวมความว่าวิปัสสนาญาณนี่มีอยู่เรื่องเดียวคือขันธ์ 5 ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะพิจารณาอริยสัจในยามสงัด จงทำใจของท่านให้สงัดจากนิวรณ์ 5 ประการเสียก่อนด้วยอำนาจของสมาธิ การเจริญสมาธิใน 40 แบบ จะใช้อะไรก็ได้ไม่ได้ว่า ใช้ข้อไหนก็ได้ที่เราข้องอยู่ไม่ผิด เมื่อจิตใจสบายแล้วก็นำกำลังใจมาคิด ปัญญามันจะเกิดด้วยอำนาจของสมาธิ ถ้าปัญญาเกิดด้วยอำนาจของสมาธิ มันเป็นปัญญาดีจริง ๆ
อริยสัจมีอะไรบ้าง คือ
1. ทุกข์ คำว่า ทุกข์ หมายถึงว่า การทนได้ยาก
2.สมุทัย เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือทุกข์จะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะสมุทัย คือ ตัณหา 3 ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
3.นิโรธ แปลว่า การปฏิบัติให้เข้าถึงความดับทุกข์ คือทุกข์มันหมดดับไปหมด ทีนี้ทุกข์จะหมดไปได้ก็ต้องอาศัย
4. มรรคปฏิปทา มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และมีสัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน
อันนี้เรียกว่า
อริยสัจ อริยสัจ แปลว่า ความจริงที่พระอริยเจ้ายอมรับนับถือ หรือว่ากฎของความจริงที่ทำบุคคลให้เป็นพระอริยเจ้า
ตอนนี้เราก็มานั่งพิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญา เราเอาอาหาเรปฏิกูลสัญญา มาเป็นอริยสัจ อาหาเรปฏิกูลสัญญาจริงเป็นสมถภาวนา ตอนนี้เราเอามาเป็นวิปัสสนาภาวนา
ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า โลกทั้งโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ ชีวิตของคนและสัตว์ที่เกิดมาในโลกมีแต่ความทุกข์ ทุกข์มันอยู่ตรงไหนล่ะ นี่เราพูดกันถึงเรื่องอาหาร อาหารที่เราจะกินเข้าไป อาหารมันนำสุขมาให้ หรือว่าอาหารมันนำทุกข์มาให้ ก่อนที่เราจะกินอาหาร ก่อนที่เราจะได้อาหารมา เราได้อาหารมาด้วยความสุขหรือด้วยความทุกข์ เอ้านั่งนึกกันดูซิ ฟังไปแล้วก็คิดตามไปด้วย อาหารที่มีความสำคัญคือข้าว แต่บางคนเขาไม่กินข้าว เขากินขนมปัง กินขนมเปี๊ยะ เขากินอะไรก็ช่างเถอะ ไอ้ของที่จะกินเข้าไป อาหารที่เรากำลังจะกินเข้าไปนี่ มันได้มาจากอะไร มันได้มาจากความสุข หรือมันได้มาจากความทุกข์ คิดออกหรือยัง ถ้าคิดไม่ออกจะตีใบ้ให้ ว่าอาหารข้าวแต่ละคำ กับแต่ละชิ้น และของใช้แต่ละสิ่งที่มันจะเป็นร่างกายของเราขึ้นมา เราจะกินให้อิ่ม ไอ้คำว่ากินให้อิ่ม มันเข้าไปสร้างเนื้อสร้างหนัง สร้างกระดูก เพราะว่าไอ้ของเก่ามันร่อยหรอลงไป ต้องเอาของใหม่เติมเข้าไป
ตอนนี้คิดไปด้วยนะ ฟังแล้วก็คิด อย่าไปนั่งฟังเป็นนิทาน แบบตุ๊กตาฟังเสียงเพลง มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ค่าอาหารทั้งหมดที่เราจะได้มาจากการงานใช่ไหม ถ้าเราไม่ทำงานไม่ทำการ ไม่หาทรัพย์สินมา ไม่หาอาหารมา เรานั่งเฉย ๆ นี่อาหารมันเกิดขึ้นได้หรือเปล่า อย่างนี้ทุกคนก็คงจะตอบว่าเกิดไม่ได้ ถ้าเกิดไม่ได้แล้วก็อยากจะถามว่าอาหารมันได้มาจากความสุข หรืออาหารมันได้มาจากความทุกข์
การทำงานเพื่ออยากจะได้ทรัพย์สินมาเพื่อซื้ออาหาร มันเหนื่อยหรือว่ามันนอนสบาย กว่าเราจะได้เงินเดือน สมมุติว่าคนมีเงินเดือน ถ้าพ่อค้าแม่ค้ากว่าจะได้กำไรเข้ามา พวกทำไร่ไถนากว่าจะมีผลขึ้นมาเอาเงินไปซื้ออาหาร หรือว่าเอาสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมาเป็นอาหาร ต้องใช้อะไรบ้าง อันดับแรกต้องใช้สมองคือปัญญา ทั้งนี้พราะอะไร ถ้าเราไร้ปัญญามันก็หาอะไรไม่ได้ ปัญญาที่จะได้อาหารมาก็ต้องนั่งคิดนอนคิดว่า ทำยังไงหนอ ถ้าเรายังไม่มีเงินเดือน อยากมีเงินเดือนก็ต้องพยายาม คิดซิว่าเงินดือนมันจะมาจากไทน เงินเดือนจะได้มาเพราะมีความรู้ความสามารถให้เขาจ้างเรา ไอ้ความรู้ความสามารถนี่มันมาจากไหนล่ะ ก็จะมาจากการศึกษามาจากการฝึกฝน
ถอยหลังไปถึงการศึกษา จะเรียนหนังสือเพื่อรับจ้างเขาเอาเงินเดือน มันก็ต้องไปตามเวลามาตามเวลา จะขี้เกียจก็ไม่ได้ ถ้าขี้เกี่ยจนี่ความรู้มันมีไม่ได้ การที่ต้องไปตามเวลามาตามเวลานี่ มันเป็นจุดบังคับหรือเป็นเหตุบังคับเราใช่ไหม เราจะพักผ่อนนอนหลับ ว่าวันนี้ไม่ไปเรียนหนังสือ ไม่เอาล่ะขี้เกียจ อีกสองสามวันค่อยไปเรียน เขาเรียนกันตอนเช้า ไม่เป็นไร เราไปบ่ายก็ได้ เราทำอย่างนี้ได้ไหม บางครั้งบางคราวเรารู้สึกไม่ค่อยสบาย หรือบางทีมีอาการเพลีย เพราะว่ากิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น แต่ถึงเวลามันก็ต้องไปเรียน เรียกว่าจำจะต้องไป ถ้าไม่ไปวิชาความรู้มันไม่ทันเขา ก็จะกลายเป็นคนที่ไม่ควรแก่การรับเงินเดือน คราวนี้ทำไง แล้วก็นั่งนึกว่า เอ๊ะตอนนี้มันสุขหรือว่ามันทุกข์ ที่เราต้องบังคับตนตามเวลาของเรา
ทีนี้ต่อมาการเรียนหนังสือ เราไม่เคยเรียนหนังสือเลย เริ่มต้นในการเรียน ไอ้ตัว ก ตัวเดียว 3 วันบางทีมันเรียนไม่จบ เราต้องใช้จิตบังคับมันสมองของเราเพื่อให้รู้มีความเข้าใจตามคำสอนของครู อันนี้มันก็เป็นอารมณ์ฝืนใจ เพราะใจของเราไม่ต้องการงานประเภทนั้นมาก จิตใจเราต้องการอยู่ในความสงบ เป็นอิสรภาพ แต่เราต้องบังคับจิตใจของเราให้ไปเรียนหนังสือ กว่าจะจะอ่านหนังสืออกมันเหนื่อยเกือบตาย เข้าไปเย็นกลับ ดีไม่ดีกลับมาบ้าน พออ่านหนังสือออกบ้าง พอจะมีความเข้าใจบ้าง มาถึงบ้าน แทนที่จะนอนสบาย ๆ ครูก็ให้การบ้านมาอีก
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 3.2 https://ppantip.com/topic/43223764
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 3.1
ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โอกาสนี้บรรดาท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ขอได้โปรดตั้งใจสดับวิชาแห่งการเจริญพระกรรมฐานในด้านอาหาเรปฏิกูลสัญญา สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญาในตอนนี้จะพูดถึง อริยสัจ แต่ทว่าการเจริญพระกระกรรมฐานที่มีความสำคัญที่สุด ที่บรรดาพวกท่านทั้งหลายจะต้องลืมไม่ได้ นั่นก็คือ การทรงอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปกติ แล้วก็บทพิจารณาก็ดี ภาวนาก็ดี ที่ท่านทำอยู่ทั้งหมดนี้ จงอย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิวรณ์ 5 ประการ กับ สังโยชน์ 10 ประการ นิวรณ์ 5 จะต้องหาทางระงับด้วยกำลังของฌาน สังโยชน์ 10 ประการต้องหาทางตัดด้วยปัญญา และสิ่งที่จะเว้นไม่ได้เลย นั่นก็คือ ศีลต้องบริสุทธิ์เป็นปกติ อารมณ์สมาธิป้องกันนิวรณ์ไว้เป็นปกติ ใช้ปัญญาตัดสังโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ สักกายทิฏฐิ ถ้าข้อนี้ตัดได้ถึงที่สุดท่านก็เป็น อรหันต์
ต่อแต่นี้ไปชอบรรดาท่านทั้งหลายโปรดสดับ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ในหมวดนี้ใกล้จะจบ คิดว่าคืนพรุ่งนี้ก็จบ นักศึกษาพระกรรมฐาน ถ้าศึกษาใหม่ก็ควรไปหาหมวดของอานาปานุสสติกรรมฐานมาศึกษา เพราะว่าหมวดนั้นอธิบายไว้ละเอียดแล้ว ก็สำหรับอาหาเรปฏิกูลสัญญานี่เป็นหมวดเฉพาะท่านที่มีจิตตกอยู่ในอำนาจของ พุทธจริต คือ คนฉลาด แต่ว่าท่านทั้งหลายก็จงอย่าประนามตนเองว่าเป็นคนโง่ และก็จงอย่าถือตัวว่าเป็นคนฉลาด อารมณ์ทั้ง 2 ประการนี้เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี หมายความว่าถ้าเราคิดว่าโง่ เราก็ปล่อยมือ ก็เลยไม่มีความฉลาด ถ้าเราคิดว่าเราฉลาด เราก็เหลิงตัวเกินไป ไม่สร้างความดี เป็นอันว่าเลวทั้งคู่
ฉะนั้นจงจำคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมครู ว่า อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม คือเราไม่ประมาททั้ง 2 ประการ ไม่ประมาทว่าเราโง่เกินไป และก็ไม่ประมาทว่าเราฉลาดเกินพอดี เอาจิตใจควบคู่อยู่ในความดี คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สิ่งใดที่นอกเหนือไปจากคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันนั้น เราไม่เอา เพราะเวลานี้มีอยู่ดื่น คำสอนของพระพุทธเจ้ามี เขาเป็นพระอรหันต์กันนับไม่ถ้วน เข้านิพพานนับไม่ถ้วน แต่ทว่ากลับมาบอกว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เป็นเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ ว่า ภาวนาว่า พุทโธ ไม่มีความหมาย ไม่มีเกณฑ์บรรลุมรรคผล สู้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ไม่ได้ ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ว่าเวลานี้แม้แต่พระอรหันต์ทั้งหมายท่านยังภาวนาว่า พุทโธ อยู่ คำภาวนาถ้าทรงตัว จิตเป็นสมาธิ ปัญญามันก็เกิด คำว่า พุทโธ เป็นพระนามความดีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราไม่เกาะพระพุทธเจ้า เราจะเกาะใคร อันนี้ช่วยกันนึกด้วย
ต่อนี้ไปฟังเรื่องราวของ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ในด้านของอริยสัจ เราฟังกันแล้วว่า อาหารมีพื้นฐานมาจากความสกปรก ทีนี้ร่างกายเราเติบโตมาด้วยอาหาร อยากจะถามตนเอง คือควรจะถามตนเองว่า ร่างกายของเรานี่มันสะอาดหรือสกปรก ร่างกายที่คนเรารักอยากจะได้ นี่มันสะอาดหรือสกปรก เราเห็นจะตอบกันไม่ยากว่ามันสกปรก ถ้าสกปรกเราต้องการมาเพื่ออะไร การเห็นว่าสกปรก เป็นสมถภาวนา
ตอนนี้มาว่ากันถึงอริยสัจ อริยสัจนี่ก็ดี วิปัสสนาญาณ 9 ก็ดี หรือพูดถึงเรื่องขันธ์ 5 ก็ดี อายตนะ 6 ก็ดี ก็เป็นเรื่องของอริยสัจ คือ ขันธ์ 5 เหมือนกัน รวมความว่าวิปัสสนาญาณนี่มีอยู่เรื่องเดียวคือขันธ์ 5 ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะพิจารณาอริยสัจในยามสงัด จงทำใจของท่านให้สงัดจากนิวรณ์ 5 ประการเสียก่อนด้วยอำนาจของสมาธิ การเจริญสมาธิใน 40 แบบ จะใช้อะไรก็ได้ไม่ได้ว่า ใช้ข้อไหนก็ได้ที่เราข้องอยู่ไม่ผิด เมื่อจิตใจสบายแล้วก็นำกำลังใจมาคิด ปัญญามันจะเกิดด้วยอำนาจของสมาธิ ถ้าปัญญาเกิดด้วยอำนาจของสมาธิ มันเป็นปัญญาดีจริง ๆ
อริยสัจมีอะไรบ้าง คือ
1. ทุกข์ คำว่า ทุกข์ หมายถึงว่า การทนได้ยาก
2.สมุทัย เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ คือทุกข์จะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะสมุทัย คือ ตัณหา 3 ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
3.นิโรธ แปลว่า การปฏิบัติให้เข้าถึงความดับทุกข์ คือทุกข์มันหมดดับไปหมด ทีนี้ทุกข์จะหมดไปได้ก็ต้องอาศัย
4. มรรคปฏิปทา มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และมีสัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน
อันนี้เรียกว่า อริยสัจ อริยสัจ แปลว่า ความจริงที่พระอริยเจ้ายอมรับนับถือ หรือว่ากฎของความจริงที่ทำบุคคลให้เป็นพระอริยเจ้า
ตอนนี้เราก็มานั่งพิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญา เราเอาอาหาเรปฏิกูลสัญญา มาเป็นอริยสัจ อาหาเรปฏิกูลสัญญาจริงเป็นสมถภาวนา ตอนนี้เราเอามาเป็นวิปัสสนาภาวนา
ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า โลกทั้งโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ ชีวิตของคนและสัตว์ที่เกิดมาในโลกมีแต่ความทุกข์ ทุกข์มันอยู่ตรงไหนล่ะ นี่เราพูดกันถึงเรื่องอาหาร อาหารที่เราจะกินเข้าไป อาหารมันนำสุขมาให้ หรือว่าอาหารมันนำทุกข์มาให้ ก่อนที่เราจะกินอาหาร ก่อนที่เราจะได้อาหารมา เราได้อาหารมาด้วยความสุขหรือด้วยความทุกข์ เอ้านั่งนึกกันดูซิ ฟังไปแล้วก็คิดตามไปด้วย อาหารที่มีความสำคัญคือข้าว แต่บางคนเขาไม่กินข้าว เขากินขนมปัง กินขนมเปี๊ยะ เขากินอะไรก็ช่างเถอะ ไอ้ของที่จะกินเข้าไป อาหารที่เรากำลังจะกินเข้าไปนี่ มันได้มาจากอะไร มันได้มาจากความสุข หรือมันได้มาจากความทุกข์ คิดออกหรือยัง ถ้าคิดไม่ออกจะตีใบ้ให้ ว่าอาหารข้าวแต่ละคำ กับแต่ละชิ้น และของใช้แต่ละสิ่งที่มันจะเป็นร่างกายของเราขึ้นมา เราจะกินให้อิ่ม ไอ้คำว่ากินให้อิ่ม มันเข้าไปสร้างเนื้อสร้างหนัง สร้างกระดูก เพราะว่าไอ้ของเก่ามันร่อยหรอลงไป ต้องเอาของใหม่เติมเข้าไป
ตอนนี้คิดไปด้วยนะ ฟังแล้วก็คิด อย่าไปนั่งฟังเป็นนิทาน แบบตุ๊กตาฟังเสียงเพลง มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ค่าอาหารทั้งหมดที่เราจะได้มาจากการงานใช่ไหม ถ้าเราไม่ทำงานไม่ทำการ ไม่หาทรัพย์สินมา ไม่หาอาหารมา เรานั่งเฉย ๆ นี่อาหารมันเกิดขึ้นได้หรือเปล่า อย่างนี้ทุกคนก็คงจะตอบว่าเกิดไม่ได้ ถ้าเกิดไม่ได้แล้วก็อยากจะถามว่าอาหารมันได้มาจากความสุข หรืออาหารมันได้มาจากความทุกข์
การทำงานเพื่ออยากจะได้ทรัพย์สินมาเพื่อซื้ออาหาร มันเหนื่อยหรือว่ามันนอนสบาย กว่าเราจะได้เงินเดือน สมมุติว่าคนมีเงินเดือน ถ้าพ่อค้าแม่ค้ากว่าจะได้กำไรเข้ามา พวกทำไร่ไถนากว่าจะมีผลขึ้นมาเอาเงินไปซื้ออาหาร หรือว่าเอาสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมาเป็นอาหาร ต้องใช้อะไรบ้าง อันดับแรกต้องใช้สมองคือปัญญา ทั้งนี้พราะอะไร ถ้าเราไร้ปัญญามันก็หาอะไรไม่ได้ ปัญญาที่จะได้อาหารมาก็ต้องนั่งคิดนอนคิดว่า ทำยังไงหนอ ถ้าเรายังไม่มีเงินเดือน อยากมีเงินเดือนก็ต้องพยายาม คิดซิว่าเงินดือนมันจะมาจากไทน เงินเดือนจะได้มาเพราะมีความรู้ความสามารถให้เขาจ้างเรา ไอ้ความรู้ความสามารถนี่มันมาจากไหนล่ะ ก็จะมาจากการศึกษามาจากการฝึกฝน
ถอยหลังไปถึงการศึกษา จะเรียนหนังสือเพื่อรับจ้างเขาเอาเงินเดือน มันก็ต้องไปตามเวลามาตามเวลา จะขี้เกียจก็ไม่ได้ ถ้าขี้เกี่ยจนี่ความรู้มันมีไม่ได้ การที่ต้องไปตามเวลามาตามเวลานี่ มันเป็นจุดบังคับหรือเป็นเหตุบังคับเราใช่ไหม เราจะพักผ่อนนอนหลับ ว่าวันนี้ไม่ไปเรียนหนังสือ ไม่เอาล่ะขี้เกียจ อีกสองสามวันค่อยไปเรียน เขาเรียนกันตอนเช้า ไม่เป็นไร เราไปบ่ายก็ได้ เราทำอย่างนี้ได้ไหม บางครั้งบางคราวเรารู้สึกไม่ค่อยสบาย หรือบางทีมีอาการเพลีย เพราะว่ากิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น แต่ถึงเวลามันก็ต้องไปเรียน เรียกว่าจำจะต้องไป ถ้าไม่ไปวิชาความรู้มันไม่ทันเขา ก็จะกลายเป็นคนที่ไม่ควรแก่การรับเงินเดือน คราวนี้ทำไง แล้วก็นั่งนึกว่า เอ๊ะตอนนี้มันสุขหรือว่ามันทุกข์ ที่เราต้องบังคับตนตามเวลาของเรา
ทีนี้ต่อมาการเรียนหนังสือ เราไม่เคยเรียนหนังสือเลย เริ่มต้นในการเรียน ไอ้ตัว ก ตัวเดียว 3 วันบางทีมันเรียนไม่จบ เราต้องใช้จิตบังคับมันสมองของเราเพื่อให้รู้มีความเข้าใจตามคำสอนของครู อันนี้มันก็เป็นอารมณ์ฝืนใจ เพราะใจของเราไม่ต้องการงานประเภทนั้นมาก จิตใจเราต้องการอยู่ในความสงบ เป็นอิสรภาพ แต่เราต้องบังคับจิตใจของเราให้ไปเรียนหนังสือ กว่าจะจะอ่านหนังสืออกมันเหนื่อยเกือบตาย เข้าไปเย็นกลับ ดีไม่ดีกลับมาบ้าน พออ่านหนังสือออกบ้าง พอจะมีความเข้าใจบ้าง มาถึงบ้าน แทนที่จะนอนสบาย ๆ ครูก็ให้การบ้านมาอีก
มีต่อ หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา ตอนที่ 3.2 https://ppantip.com/topic/43223764