ในบทความนี้จะเป็นตัวอย่างการใช้มือหรือนิ้วต่างๆเพื่อกำหนดตามมุทราสูตรต่างๆกันนะครับ และความหมายต่างๆของแต่ละมุทรามีอะไรกันบ้างนะครับ
จักระ 1 มูลธาร (Muladhara) หรือ กุณฑาลินี (Kundalini) หรือ เซอร์เพนทีน(Serpentine)
แบบสากลเรียกว่าจักระราก หรือ Root Chakra สัญลักษณ์แทนคือดอกบัว 4 กลีบ สีแดง ตำแหน่งอยู่ตรงกลางฝีเย็บระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก เป็นขุมพลังของแต่ละชีวิต ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากงูไฟ หรือกุณฑาลินี ที่ผุดขึ้นมาจากใจกลางโลกและแผ่ขึ้นมาบนผืนดินบริเวณที่มีความร้อนเช่น ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน หรือผ่านต้นไม้ใหญ่ขึ้นมาก็เป็นได้ กล่าวกันว่า เวลาที่เรามีเรี่ยวแรงทำอะไรอย่างมหาศาล เช่น ตกใจบ้านไฟไหม้แล้วยกตู้เย็นคนเดียวได้ หรือ วิ่งหนีอะไรสักอย่างได้เป็น 10 กิโล เพราะคิดว่าเห็นผี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพลังกระตุ้นจากมูลธารจักระทั้งสิ้น จักระนี้ดูแลโครงสร้างกระดูกของร่างกาย, เส้นผม, เล็บมือ, เล็บเท้า, เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นรากฐานพลังงานของอวัยวะทั้งหมด
ในความเชื่อมโยงของมุทราตะวันออก จักระ 1 อยู่ที่บริเวณข้อมือ (ภาพตัวอย่าง อนันตมุทรา Ananta Mudra) เสมือนว่าข้อมือคือฐานรากของจักระที่เหลือ เป็นขุมพลังที่จะส่งพลังไปใช้ในยามที่ร่างกาย หรือจิตของผู้ฝึกต้องการใช้มัน หากควบคุมพลังส่วนของจักระที่ 1 ได้ ก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายของการฝึกได้รวดเร็วขึ้น แต่ก็ยังเน้นย้ำเหมือนเดิมว่า หากใครคิดจะฝึกเพื่อไปรักษาผู้คน หากเป็นการบำบัดทางจิตใจ เพิ่มพลังใจ แบบนั้นแนะนำให้ทำ แต่ถ้ารักษาโรคชนิดอื่น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เท่านั้น
ในระบบปัญจะภูตา ใช้ปฤถวีมุทรา Prithvi Mudra มุทราแห่งโลกและผืนดิน (ฝึกเมื่อเปิดจักระอื่นแล้วเท่านั้น) โดยการแตะปลายนิ้วนางกับนิ้วโป้งเบา ๆ ปล่อยนิ้วที่เหลือตามสบาย กล่าวกันว่ามุทรานี้ฝึกเพื่อลดความเครียด ลดความอ่อนแอ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มมวลกระดูก สร้างความเชื่อมั่นในการนำพาผู้คนไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ เพิ่มพลังในการย่อยอาหาร มุทรานี้รู้จักกันในชื่อมุทราแห่งดิน ช่วยปรับสมดุลมูลธารจักระหลังจากตื่นอย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น สถานที่ฝึกควรนั่งขัดสมาธิบนพื้นดิน พื้นปูนที่มีความเย็นของดิน หรือพื้นหินอ่อน, ก้อนหิน, โขดหิน, พื้นถ้ำ เป็นต้น
จักระที่ 2 สวาธิษฐาน (Swadhisthana)
แบบสากลเรียกว่า จักระศักดิ์สิทธิ์ หรือ Sacral Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 6 กลีบ สีส้ม อยู่ตำแหน่งใต้สะดือเหนืออวัยวะเพศตัดไปถึงปลายสุดก้นกบ เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ ความทะยานอยาก ความต้องการที่ไม่ผ่านการขัดเกลา ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ มดลูก รังไข่ ช่องคลอด อัณฑะ ท่อปัสสาวะ อวัยวะเพศ ทวารหนัก ทวารเบา (ปัสสาวะ)
ในความเชื่อมโยงของมุทราตะวันออก จักระ 2 อยู่ที่ปลายนิ้วโป้ง ตรงนี้พอให้เราจับจุดได้แล้วนะครับว่า การผสานมือขวาทับมือซ้าย นิ้วโป้งจรดกันตามแบบสมาธิพื้นฐานที่เราคุ้นเคยก็มีแนวคิดมาจากมุทราสูตรนี้ เรียกว่าธยานมุทรา Dhyana Mudra เชื่อกันว่าจะช่วยให้มีกำลังในการเผชิญและเอาชนะอุปสรรคได้ เป็นท่าร่างการฝึกสมาธิเพื่อค้นพบเส้นทางแห่งจิตวิญญาณในแง่ของการฝึกปราณ นิ้วโป้งคือรากฐานของการแสวงหาความรู้ และเป็นการควบคุมสภาวะร่างกายให้นั่งสมาธิได้นานยิ่งขึ้น หากขุมพลังคือจักระ 1 แล้ว จักระที่ 2 ก็จะทำหน้าที่ในการดึงเอาพลังเหล่านั้นมาใช้ เป็นความต้องการกระทำหรือต้องการใช้งานในพลังดังกล่าวด้วยตัวผู้ฝึกเอง หรือเป็นการกรอกข้อมูลความต้องการ แรงผลักดัน สิ่งเร้าที่เกิดขึ้นลงไปที่จักระ 2 แล้วจักระ 1 ทำงานตอบสนองอัตโนมัติก็ว่าได้
สำหรับปัญจะภูตาสูตร จักระนี้ใช้วรุณมุทรา Varun Mudra (บางตำราเรียกว่าชลามุทรา Jala Mudra) ในการฝึก เพราะความเชื่อมโยงที่ว่า จักระที่ 2 นี้เป็นธาตุน้ำ แตะปลายนิ้วก้อยกับปลายนิ้วโป้งและจัดวางในท่าที่ถนัด หากฝึกบนธารน้ำหลากได้จะดีมาก หากไม่ได้ก็ใช้เสียงน้ำไหลเข้าช่วยสมาธิ
หากเทียบกับศาสตร์ปราณของจีน ตำแหน่งนี้จะถูกเรียกว่า “ตันเถียน ล่าง” เป็นจุดรวมปราณสำคัญ ควบคุมระบบย่อยอาหารเพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน และการขับถ่ายของเสีย ทำงานสอดคล้องกัน คุณจะเข้าใจมากขึ้นหลังได้เรียนรู้เกี่ยวกับปราณตะวันออกต่อจากเรื่องปราณจักระที่กำลังศึกษาอยู่นี้ และคุณจะเห็นความเชื่อมโยงที่สอดคล้องกันอย่างไม่น่าเชื่อ
จักระที่ 3 มณีปุระ (Manipura)
แบบสากลเรียกว่า จักระแสงอาทิตย์ หรือ Solar Plexus Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 10 กลีบ สีเหลือง ตำแหน่งบริเวณบั้นเอว ตรงกับแนวสะดือ ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และกระจายพลังที่ได้รับออกไปยังอวัยวะต่าง ๆ เป็นขุมพลังการเผาผลาญพลังงานและเป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย ควบคุมการทำงานของ ท้อง ตับ ไต ม้าม ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ลำไส้ ระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย รวมถึงระบบเผาผลาญพลังงานไปสู่ร่างกายอีกด้วย
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 3 อยู่ที่ปลายนิ้วกลาง หมายถึง การบำบัดรักษา ความอุดมสมบูรณ์ การโปรดสัตว์ และความเจริญในโภคทรัพย์สมบัติ มุ่งเน้นไป ที่การฝึกเพื่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย ท่านี้จะตรงกับชูนิมุทรา Shuni Mudra บางตำราก็เรียกอากาศมุทรา Akasha Mudra
ถ้าเปรียบจักระรากเป็นขุมพลังที่ยิ่งใหญ่ภายในกายมนุษย์ และจักระศักดิ์สิทธิ์เป็นความต้องการที่จะดึงเอาพลังงานเหล่านั้นมาใช้ ดังนั้นจักระแสงอาทิตย์ก็เปรียบเสมือนเครื่องจักรเติมพลังงาน เมื่อการย่อยอาหารและสารอาหารที่ได้จะถูกลำเลียงจากลำไส้เล็กไปสู่หลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย แน่นอนว่า หากระบบเผาผลาญดี ก็จะเสริมสร้างให้จักระรากแข็งแรงตามไปด้วย
จักระแสงอาทิตย์เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบขับเคลื่อนให้ร่างกายมีชีวิตไม่ต่างจากลมหายใจเลยทีเดียว ระบบเมตาบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งก็คือปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของร่างกาย เพื่อเปลี่ยนอากาศให้เป็นพลังงาน Adenosine Triphosphate (ATP) และพลังงานเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อการหายใจ, ใช้ในระบบหมุนเวียนโลหิต, การย่อยอาหาร, การซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่, ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนและอุณภูมิของร่างกาย เป็นต้น อีกทั้งระบบเผาผลาญเมตาบอลิซึมยังทำงานตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย พลังงาน ATP ที่ถูกเก็บสะสมในกล้ามเนื้อแต่ไม่มากนัก หากร่างกายมีการเรียกใช้ก็จะหมดไปและเซลล์จะต้องสร้าง ATP ใหม่ทดแทน
ในส่วนของปัญจะภูตาสูตร ใช้อัคนีมุทรา Agni Mudra (บางตำราเรียกว่ามุทราแห่งสุริยันต์ Surya Mudra) นิ้วหัวแม่มือแตะทับนิ้วนางดังภาพ ช่วยเพิ่มการชำระล้างและส่งผลโดยตรงต่อระบบเผาผลาญ เลือกนั่งรับแสงอาทิตย์ยามเช้าจะส่งผลดีต่อการฝึกอย่างมากต่อสุขภาพ
ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า การฝึกปราณจักระจะช่วยให้เซลล์ในร่างกายสามารถทำงานได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป เช่นการกักเก็บพลังงานได้มากขึ้น นานขึ้นกว่าปกติที่บริเวณจักระที่ 1 หรือที่เซลล์กล้ามเนื้อส่วนอื่นก็อาจเป็นไปได้ สังเกตได้จากคนที่ออกกำลังกาย ร่างกายจะมีความแตกต่างจากคนที่ไม่ออกกำลังกาย ระบบย่อยอาหารของคนที่ออกกำลังกายจะทำงานได้ดีกว่าคนไม่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อก็จะแข็งแรงกว่า สามารถยกของได้หนักกว่าคนปกติ หรือมีความแข็งแกร่งในความสามารถเฉพาะตน
จักระที่ 4 อนาหตะ (Anahata)
แบบสากลเรียกว่า จักระหัวใจ หรือ Heart Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 12 กลีบ สีเขียว อยู่ตำแหน่งกลางกระดูกสันหลังแนวเดียวกับหัวใจตัดผ่านมากลางหน้าอก เป็นขุมพลังแห่งความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้สึกปลอดภัย การให้อภัย ควบคุมการทำงานของหัวใจ ส่วนหนึ่งของการหายใจ มีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความร่าเริง ความสุข
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๔ อยู่ที่ปลายนิ้วก้อย ดังนั้น การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วก้อยในลักษณะนี้ หมายถึง การสื่อสารบนพื้นโลกทุกชนิด เช่น จิตวิญญาณ พลังงานรอบตัว สัตว์ ต้นไม้ หรือมนุษย์ทั่วไปก็ตาม ท่วงท่ามุทรานี้ก็คือ “วรุณมุทรา” ตามที่ได้แสดงไปแล้วในจักระ 2
จักระหัวใจจะเชื่อมโยงกับระบบการทำงานดังที่อธิบายไปแล้วเกี่ยวกับระบบหายใจ ที่จะต้องมีการสูบฉีดเลือดดีไปเลี้ยงเซลล์อวัยวะ และส่งผ่านเลือดที่พร่องออกซิเจนกลับไปสู่ปอด หัวใจเปรียบเสมือนธนาคารเลือดภายในร่างกาย มีหน้าที่ในการเปลี่ยนถ่ายแก๊สผ่านหลอดเลือด สูบฉีดไปหล่อเลี้ยงทั่วทุกอวัยวะ อนาหตะจักระหัวใจ จึงมีหน้าที่ดึงพลังงานในจักรวาลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ สร้างความรัก ความเมตตา เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคี รวมถึงระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น
ในส่วนของปัญจะภูตาสูตร ใช้อัญชลีมุทรา Anjali Mudra ดังภาพ มุทราแห่งการนอบน้อมถ่อมตน ความรัก และความเอ็นดู ปรับสมดุลหัวใจแต่ในบางสูตรกำหนดใช้วายุมุทรา Vayu Mudra หรือมุทราแห่งลม (พับนิ้วชี้ลงแล้วใช้นิ้วโป้งทับบนนิ้วชี้ นิ้วที่เหลือปล่อยอิสระ) ตามสูตรระบบห้าธาตุ ซึ่งตรงนี้มีข้อคิดพอสมควรนะครับว่า จักระหัวใจที่ถูกกำหนดเป็นตัวแทนของธาตุลม จะสมเหตุสมผลมากแค่ไหน อย่างที่มีข้อโต้แย้งครับว่า มีธาตุลมแล้ว ทำไมถึงยังมีอากาศธาตุเข้ามาอีก ทำให้เกิดความสับสนและไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่นัก จึงมีการเขียนตำราใหม่จากฝั่งตะวันออก โดยเอาธาตุลมและอากาศออก แทนด้วยธาตุทองและธาตุไม้ไปเสียเลย
ในบทความหน้าเราจะมาต่อกันที่ท่ามุทราที่5ถึงท่ามุทราที่7กันนะครับ
😊คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์กันได้ครับ 😊
อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต
👇👇👇👇
มุทราสูตรกับระบบจักระ 2
หากเทียบกับศาสตร์ปราณของจีน ตำแหน่งนี้จะถูกเรียกว่า “ตันเถียน ล่าง” เป็นจุดรวมปราณสำคัญ ควบคุมระบบย่อยอาหารเพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน และการขับถ่ายของเสีย ทำงานสอดคล้องกัน คุณจะเข้าใจมากขึ้นหลังได้เรียนรู้เกี่ยวกับปราณตะวันออกต่อจากเรื่องปราณจักระที่กำลังศึกษาอยู่นี้ และคุณจะเห็นความเชื่อมโยงที่สอดคล้องกันอย่างไม่น่าเชื่อ
จักระที่ 3 มณีปุระ (Manipura)
แบบสากลเรียกว่า จักระแสงอาทิตย์ หรือ Solar Plexus Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 10 กลีบ สีเหลือง ตำแหน่งบริเวณบั้นเอว ตรงกับแนวสะดือ ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และกระจายพลังที่ได้รับออกไปยังอวัยวะต่าง ๆ เป็นขุมพลังการเผาผลาญพลังงานและเป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย ควบคุมการทำงานของ ท้อง ตับ ไต ม้าม ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ลำไส้ ระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย รวมถึงระบบเผาผลาญพลังงานไปสู่ร่างกายอีกด้วย
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 3 อยู่ที่ปลายนิ้วกลาง หมายถึง การบำบัดรักษา ความอุดมสมบูรณ์ การโปรดสัตว์ และความเจริญในโภคทรัพย์สมบัติ มุ่งเน้นไป ที่การฝึกเพื่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย ท่านี้จะตรงกับชูนิมุทรา Shuni Mudra บางตำราก็เรียกอากาศมุทรา Akasha Mudra
ถ้าเปรียบจักระรากเป็นขุมพลังที่ยิ่งใหญ่ภายในกายมนุษย์ และจักระศักดิ์สิทธิ์เป็นความต้องการที่จะดึงเอาพลังงานเหล่านั้นมาใช้ ดังนั้นจักระแสงอาทิตย์ก็เปรียบเสมือนเครื่องจักรเติมพลังงาน เมื่อการย่อยอาหารและสารอาหารที่ได้จะถูกลำเลียงจากลำไส้เล็กไปสู่หลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย แน่นอนว่า หากระบบเผาผลาญดี ก็จะเสริมสร้างให้จักระรากแข็งแรงตามไปด้วย
จักระแสงอาทิตย์เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบขับเคลื่อนให้ร่างกายมีชีวิตไม่ต่างจากลมหายใจเลยทีเดียว ระบบเมตาบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งก็คือปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของร่างกาย เพื่อเปลี่ยนอากาศให้เป็นพลังงาน Adenosine Triphosphate (ATP) และพลังงานเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อการหายใจ, ใช้ในระบบหมุนเวียนโลหิต, การย่อยอาหาร, การซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่, ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนและอุณภูมิของร่างกาย เป็นต้น อีกทั้งระบบเผาผลาญเมตาบอลิซึมยังทำงานตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย พลังงาน ATP ที่ถูกเก็บสะสมในกล้ามเนื้อแต่ไม่มากนัก หากร่างกายมีการเรียกใช้ก็จะหมดไปและเซลล์จะต้องสร้าง ATP ใหม่ทดแทน
ในส่วนของปัญจะภูตาสูตร ใช้อัคนีมุทรา Agni Mudra (บางตำราเรียกว่ามุทราแห่งสุริยันต์ Surya Mudra) นิ้วหัวแม่มือแตะทับนิ้วนางดังภาพ ช่วยเพิ่มการชำระล้างและส่งผลโดยตรงต่อระบบเผาผลาญ เลือกนั่งรับแสงอาทิตย์ยามเช้าจะส่งผลดีต่อการฝึกอย่างมากต่อสุขภาพ
ดังนั้น มีความเป็นไปได้ว่า การฝึกปราณจักระจะช่วยให้เซลล์ในร่างกายสามารถทำงานได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป เช่นการกักเก็บพลังงานได้มากขึ้น นานขึ้นกว่าปกติที่บริเวณจักระที่ 1 หรือที่เซลล์กล้ามเนื้อส่วนอื่นก็อาจเป็นไปได้ สังเกตได้จากคนที่ออกกำลังกาย ร่างกายจะมีความแตกต่างจากคนที่ไม่ออกกำลังกาย ระบบย่อยอาหารของคนที่ออกกำลังกายจะทำงานได้ดีกว่าคนไม่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อก็จะแข็งแรงกว่า สามารถยกของได้หนักกว่าคนปกติ หรือมีความแข็งแกร่งในความสามารถเฉพาะตน
จักระหัวใจจะเชื่อมโยงกับระบบการทำงานดังที่อธิบายไปแล้วเกี่ยวกับระบบหายใจ ที่จะต้องมีการสูบฉีดเลือดดีไปเลี้ยงเซลล์อวัยวะ และส่งผ่านเลือดที่พร่องออกซิเจนกลับไปสู่ปอด หัวใจเปรียบเสมือนธนาคารเลือดภายในร่างกาย มีหน้าที่ในการเปลี่ยนถ่ายแก๊สผ่านหลอดเลือด สูบฉีดไปหล่อเลี้ยงทั่วทุกอวัยวะ อนาหตะจักระหัวใจ จึงมีหน้าที่ดึงพลังงานในจักรวาลมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ สร้างความรัก ความเมตตา เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคี รวมถึงระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต