รังสีคอสมิก เป็นอนุภาคพลังงานสูงจากนอกโลกที่เคลื่อนที่ในอัตราความเร็วแสง และพุ่งลงมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกตลอดเวลา สามารถเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กโลกได้ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิกเตอร์ ฟรานซิส เฮสส์ (Victor Francis Hess) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน จากการส่งบอลลูนบรรทุกเครื่องอิเล็กโตรสโคปขึ้นสู่ท้องฟ้า ถึงระดับความสูงประมาณ 13 กิโลเมตร ที่ระดับความสูงยิ่งมาก เครื่องอิเล็กโตรสโคปก็ยิ่งจับรังสีได้มากเช่นกัน
(วิดิโอประกอบบทความ)
พลังคอสมิก (Cosmic Rays)
กล่าวกันว่า มนุษย์เราเกิดมาพร้อมพลังงานที่จับต้องไม่ได้แต่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น แสงหรืออากาศ ตัวอย่างเช่น เราสามารถมองเห็นแสงได้ เราพิสูจน์ได้ด้วยตาเปล่า แต่เราก็จับต้องไม่ได้ อากาศเรารู้สึกได้ แต่เราจับต้องไม่ได้ รังสีคอสมิกก็เช่นกัน เป็นอนุภาคพลังงานสูงจากนอกโลกที่เคลื่อนที่ในอัตราความเร็วแสง และพุ่งลงมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกตลอดเวลา สามารถเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กโลกได้ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิกเตอร์ ฟรานซิส เฮสส์ (Victor Francis Hess) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน จากการส่งบอลลูนบรรทุกเครื่องอิเล็กโตรสโคปขึ้นสู่ท้องฟ้าถึงระดับความสูงประมาณ 13 กิโลเมตร โดยที่วิกเตอร์จะขึ้นไปกับบอลลูนหลายครั้ง และพบว่า ที่ระดับความสูงยิ่งมาก เครื่องอิเล็กโตรสโคปก็ยิ่งจับรังสีได้มากเช่นกัน ต่อมา โรเบิร์ต เอ. มิลลิแคน (Robert A. Millikan) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้คิดค้นวิธีคำนวณหาขนาดของประจุอิเล็กตรอนได้สำเร็จ จึงเป็นผู้ตั้งชื่อเรียกรังสีจากนอกโลกนี้ว่า “รังสีคอสมิก”
ในการใช้ประโยชน์จากรังสีคอสมิกที่เชื่อกันว่ากระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้น กล่าวคือ รังสี (Radiation) คือพลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร อาจจะเป็นในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือในรูปอุนภาค เช่น แอลฟา บีตา นิวตรอน โปรตอน เป็นต้น และยังแบ่งรังสีออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ รังสีชนิดที่ไม่ก่อไอออน กับรังสีชนิดที่ก่อไอออน และรังสีคอสมิก ก็จัดอยู่ในประเภทรังสีชนิดที่ก่อไอออนด้วยเช่นกัน (Ionizing Radiation) นอกจากนี้ยังมีการวัดค่าปริมาณรังสีที่มนุษย์ได้รับจากแหล่งกำเนิดรังสีในธรรมชาติว่า รังสีคอสมิกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคไอออนบวก และรังสีแกมมาเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 0.39 mSv ต่อปี (มิลลิซีเวิร์ด Millisiervert : mSv เป็นหน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 ปี แต่ละคนจะได้รับรังสีจากธรรมชาติประมาณ 2.23 มิลลิซีเวิร์ด จากแหล่งต่าง ๆ เช่น โดยสารเครื่องบินที่ระดับความสูง 8,000 เมตร 1 ชั่วโมง ได้รับ 0.001 mSv, ดูโทรทัศน์ 1 ชั่วโมงทุกวันใน 1 ปี ได้รับ 0.01 mSv, เอ็กซเรย์หน้าอก 1 ครั้ง ได้รับ 0.1 mSv, รังสีที่ได้รับจากธรรมชาติใน 1 ปี อยู่ที่ 2-3 mSv, ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ 100 mSv เป็นต้น อ้างอิง : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรังสี, สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และ ระดับรังสีและผลกระทบต่อร่างกาย, กองประกันคุณภาพและพลังงานนิวเคลียร์. (ม.ป.ป.).
จากการค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่า รังสีคอสมิก คืออนุภาคพลังงานพลังงานสูงจากนอกโลก เคลื่อนที่ผ่านอากาศด้วยความเร็วแสง มีองค์ประกอบหลักคือ อนุภาคโปรตอน (Proton) และนิวเคลียสของธาตุต่าง ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของทั้งระบบจักรวาล กาแล็กซี และดาวเคราะห์ต่าง ๆ เช่น นิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจน ฮีเลียม คาร์บอน ออกซิเจน นีออน แมกนีเซียม ซิลิคอน และเหล็ก ฯลฯ รังสีคอสมิกประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนที่มีประจุบวกเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อดินทางผ่านห้วงอวกาศที่มีสนามแม่เหล็กกระจายอยู่ จึงสามารถเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ได้ และเมื่อเดินทางมาถึงโลก สนามแม่เหล็กโลกจะทำให้อนุภาครังสีคอสมิกเบี่ยงเบนทิศทางการเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกัน ส่งผลให้การตรวจวัดค่าของอนุภาคคอสมิกในแต่ละพื้นที่มีค่าไม่คงที่แน่นอน รังสีคอสมิกนี้ ถูกนำมาศึกษาในเรื่องของต้น
่งที่มาต่าง ๆ ในห้วงจักรวาล รวมถึงประวัติการเดินทางในอวกาศได้ตามข้อสันนิษฐาน ใช้ประกอบการเรียนรู้สรรพสิ่งในห้วงจักรวาลอันไกลโพ้นได้ ต้นกำเนิดของรังสีคอสมิกนั้นพบได้ 2 แหล่งด้วยกัน คือ
1. รังสีคอสมิกจากดวงอาทิตย์ (Solar Cosmic Rays) อันเป็นอนุภาคพลังงานสูงที่เกิดจากการระเบิดในชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า “เปลวสุริยะ” หรือลูกจ้าของดวงอาทิตย์ (Solar Flare) และถูกเร่งโดยลมสุริยะ (Solar Wind) ทำให้เกิดการปล่อยอนุภาคสู่ห้วงอวกาศ
2. รังสีคอสมิกจากนอกระบบสุริยะ (Extragalactic/Galactic Cosmic Rays) อันเป็นรังสีที่เดินทางผ่านห้วงอวกาศมายังโลก ผ่านการได้รับพลังงานปริมาณมหาศาลจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจักรวาล เช่น การระเบิดของซูเปอร์โนวาจากกาแล็กซี่อื่น หรือเศษซากการระเบิดของซูเปอร์โนวาในอดีต อ้างอิง : คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ (2564). รังสีคอสมิก (Cosmic Rays). และเมื่อสนามแม่เหล็กโลกและชั้นบรรยากาศโลกปกป้องมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจากรังสีคอสมิกกว่า 99% จึงทำให้มนุษย์ไม่เกิดอันตรายจากรังสีคอสมิกเหล่านี้ แต่หากเป็นผู้ที่อยู่ในอวกาศ จะได้รัรบผลกระทบที่เป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากความเสียหายที่รังสีคอสมิกกระทำต่อชีวิตนอกเหนือการป้องกันจากชั้นบรรยากาศโลก เพราะรังสีอาจทำอันตรายต่อ DNA จนทำให้เซลล์ร่างกายมนุษย์นั้นกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ถึงตรงนี้เราพอจะทราบแล้วนะครับว่า รังสีคอสมิกไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกาย ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์เสียด้วยซ้ำ แล้วความเข้าใจเรื่องพลังคอสมิกนั้นมาจากไหน สรุปแล้วการฝึกรับพลังคอสมิกมีจริงหรือไม่ เราลองมาหาคำตอบไปพร้อมกันตามลำดับนะครับ
โรเบิร์ต มิลลิแกน (Robert A.Millikan) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลด้านการวัดค่าประจุของอิเล็กตรอน กล่าวว่า “รังสีคอสมิกคือรังสีแกมมาซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” ซึ่งมีข้อโต้แย้งว่าแนวความคิดของเขานั้นผิด จากการทดลองในปี ค.ศ.1927 พบว่า การแตกตัวของรังสีคอสมิกนั้นมีอัตราที่ไม่สม่ำเสมอในแต่ละตำแหน่งบนโลก ดังนั้นข้อสันนิษฐานที่ว่ารังสีคอสมิกเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงถูกหักล้างไป และคำอธิบายที่สมเหตุสมผลที่สุดคือ รังสีคอสมิกเป็น “อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า” โดยนักดาราศาสตร์ในปัจจุบันระบุว่ารังสีคอสมิกมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ รังสีคอสมิกแบบปฐมภูมิ คืออนุภาคที่เข้ามาชนกับชั้นบรรยากาศโลกโดยตรง และถูกเบี่ยงเบนหักเหไปตามสภาพภูมิประเทศดังกล่าวข้างต้น กับรังสีคอสมิกแบบทุติยภูมิ คือ เมื่อรังสีคอสมิกชนเข้ากับอะตอมและโมเลกุลของแก๊สในชั้นบรรยากาศโลก (ดังที่กล่าวไปแล้วเรื่องอากาศมีส่วนประกอบแก๊สอะไรบ้าง แน่นอนว่าส่วนใหญ่คือไนโตรเจน รองลงมาคือออกซิเจน) ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Air Shower คือการกระจายตัวของอนุภาคคล้ายสายฝน ซึ่งอาจทำให้หลงเหลือปะปนลงมาบ้างในอากาศที่เราหายใจ แต่เป็นอนุภาคที่เล็กมาก ๆ และไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใดกับร่างกายมนุษย์ เรียกได้ว่าแทบจะไม่ตกกระทบพื้นโลกเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อมีการชนกับนิวเคลียสของอากาศ ประมาณ 10 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก อนุภาคใหม่จำนวนมากก็จะถูกสร้างขึ้น ..และนิวเคลียสที่ชนกันก็จะระเหยไปเป็นส่วนมาก อนุภาคใหม่ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นไพออน และไพออนที่เป็นกลางก็จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อรังสีคอสมิกหลัก สามารถผลิตอนุภาครองจำนวนมากอาจเป็นล้านหรือพันล้าน เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ฝนอากาศ” และการกระจายตัวของฝนอากาศนี้อาจตกลงสู่พื้นดินได้ในพื้นที่ภูเขาสูง ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด จากการศึกษาข้อมูลเหล่านี้เราจะเห็นได้ว่า คำกล่าวอ้างเกี่ยวกับพลังคอสมิกของผู้ฝึกพลังจักรวาล มีความขัดแย้งเป็นส่วนมาก ทั้งเรื่องของพลังคอสมิกที่มนุษย์หยิบยืมมาใช้เพื่อการรักษาโรค โดยกล่าวถึงพลังงานเหล่านี้เป็นพลังงานศักดิ์สิทธิ์ แต่เราจะเห็นได้ว่า ยังไม่มีงานวิจัยใดรับรองเกี่ยวกับรังสีคอสมิกกับการรักษาโรค จึงสรุปได้ว่า รังสีคอสมิกไม่ได้มีประโยชน์ต่อระบบการทำงานของร่างกายแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย หรือส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้นแนวคิดเรื่องพลังจักรวาลจึงไม่ควรสืบทอด ส่งต่อ หรือสืบต่อให้เข้าใจอย่างผิดเพี้ยน สร้างพื้นฐานความเชื่อบนความงมงาย ที่ไม่สามารถหาเหตุผลรองรับได้เพียงพอ การพยายามทำให้ศาสตร์วิชาปราณเป็นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ จึงได้พยายามทำให้เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อชักนำจิตใจผู้คน ถือเป็นเรื่องที่ผิดบาปอย่างหนึ่ง หากท่านผู้คิดค้นต้นกำเนิดการเผยแพร่รับทราบ หรือผู้รับสืบทอดส่งต่อรับรู้ ก็ควรยุติการสอนในทางที่ผิดนะครับ
😊คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์กันได้ครับ 😊
อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต
👇👇👇👇
ฝึกฟอกปราณ บริหารปอดและหลอดลม
กล่าวกันว่า มนุษย์เราเกิดมาพร้อมพลังงานที่จับต้องไม่ได้แต่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น แสงหรืออากาศ ตัวอย่างเช่น เราสามารถมองเห็นแสงได้ เราพิสูจน์ได้ด้วยตาเปล่า แต่เราก็จับต้องไม่ได้ อากาศเรารู้สึกได้ แต่เราจับต้องไม่ได้ รังสีคอสมิกก็เช่นกัน เป็นอนุภาคพลังงานสูงจากนอกโลกที่เคลื่อนที่ในอัตราความเร็วแสง และพุ่งลงมาสู่ชั้นบรรยากาศโลกตลอดเวลา สามารถเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กโลกได้ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิกเตอร์ ฟรานซิส เฮสส์ (Victor Francis Hess) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน จากการส่งบอลลูนบรรทุกเครื่องอิเล็กโตรสโคปขึ้นสู่ท้องฟ้าถึงระดับความสูงประมาณ 13 กิโลเมตร โดยที่วิกเตอร์จะขึ้นไปกับบอลลูนหลายครั้ง และพบว่า ที่ระดับความสูงยิ่งมาก เครื่องอิเล็กโตรสโคปก็ยิ่งจับรังสีได้มากเช่นกัน ต่อมา โรเบิร์ต เอ. มิลลิแคน (Robert A. Millikan) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้คิดค้นวิธีคำนวณหาขนาดของประจุอิเล็กตรอนได้สำเร็จ จึงเป็นผู้ตั้งชื่อเรียกรังสีจากนอกโลกนี้ว่า “รังสีคอสมิก”
ในการใช้ประโยชน์จากรังสีคอสมิกที่เชื่อกันว่ากระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้น กล่าวคือ รังสี (Radiation) คือพลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร อาจจะเป็นในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือในรูปอุนภาค เช่น แอลฟา บีตา นิวตรอน โปรตอน เป็นต้น และยังแบ่งรังสีออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ รังสีชนิดที่ไม่ก่อไอออน กับรังสีชนิดที่ก่อไอออน และรังสีคอสมิก ก็จัดอยู่ในประเภทรังสีชนิดที่ก่อไอออนด้วยเช่นกัน (Ionizing Radiation) นอกจากนี้ยังมีการวัดค่าปริมาณรังสีที่มนุษย์ได้รับจากแหล่งกำเนิดรังสีในธรรมชาติว่า รังสีคอสมิกในชั้นบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคไอออนบวก และรังสีแกมมาเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 0.39 mSv ต่อปี (มิลลิซีเวิร์ด Millisiervert : mSv เป็นหน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ ยกตัวอย่างเช่น ใน 1 ปี แต่ละคนจะได้รับรังสีจากธรรมชาติประมาณ 2.23 มิลลิซีเวิร์ด จากแหล่งต่าง ๆ เช่น โดยสารเครื่องบินที่ระดับความสูง 8,000 เมตร 1 ชั่วโมง ได้รับ 0.001 mSv, ดูโทรทัศน์ 1 ชั่วโมงทุกวันใน 1 ปี ได้รับ 0.01 mSv, เอ็กซเรย์หน้าอก 1 ครั้ง ได้รับ 0.1 mSv, รังสีที่ได้รับจากธรรมชาติใน 1 ปี อยู่ที่ 2-3 mSv, ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ 100 mSv เป็นต้น อ้างอิง : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรังสี, สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และ ระดับรังสีและผลกระทบต่อร่างกาย, กองประกันคุณภาพและพลังงานนิวเคลียร์. (ม.ป.ป.).
จากการค้นคว้าเพิ่มเติม พบว่า รังสีคอสมิก คืออนุภาคพลังงานพลังงานสูงจากนอกโลก เคลื่อนที่ผ่านอากาศด้วยความเร็วแสง มีองค์ประกอบหลักคือ อนุภาคโปรตอน (Proton) และนิวเคลียสของธาตุต่าง ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของทั้งระบบจักรวาล กาแล็กซี และดาวเคราะห์ต่าง ๆ เช่น นิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจน ฮีเลียม คาร์บอน ออกซิเจน นีออน แมกนีเซียม ซิลิคอน และเหล็ก ฯลฯ รังสีคอสมิกประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนที่มีประจุบวกเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อดินทางผ่านห้วงอวกาศที่มีสนามแม่เหล็กกระจายอยู่ จึงสามารถเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ได้ และเมื่อเดินทางมาถึงโลก สนามแม่เหล็กโลกจะทำให้อนุภาครังสีคอสมิกเบี่ยงเบนทิศทางการเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกัน ส่งผลให้การตรวจวัดค่าของอนุภาคคอสมิกในแต่ละพื้นที่มีค่าไม่คงที่แน่นอน รังสีคอสมิกนี้ ถูกนำมาศึกษาในเรื่องของต้น่งที่มาต่าง ๆ ในห้วงจักรวาล รวมถึงประวัติการเดินทางในอวกาศได้ตามข้อสันนิษฐาน ใช้ประกอบการเรียนรู้สรรพสิ่งในห้วงจักรวาลอันไกลโพ้นได้ ต้นกำเนิดของรังสีคอสมิกนั้นพบได้ 2 แหล่งด้วยกัน คือ
1. รังสีคอสมิกจากดวงอาทิตย์ (Solar Cosmic Rays) อันเป็นอนุภาคพลังงานสูงที่เกิดจากการระเบิดในชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า “เปลวสุริยะ” หรือลูกจ้าของดวงอาทิตย์ (Solar Flare) และถูกเร่งโดยลมสุริยะ (Solar Wind) ทำให้เกิดการปล่อยอนุภาคสู่ห้วงอวกาศ
2. รังสีคอสมิกจากนอกระบบสุริยะ (Extragalactic/Galactic Cosmic Rays) อันเป็นรังสีที่เดินทางผ่านห้วงอวกาศมายังโลก ผ่านการได้รับพลังงานปริมาณมหาศาลจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจักรวาล เช่น การระเบิดของซูเปอร์โนวาจากกาแล็กซี่อื่น หรือเศษซากการระเบิดของซูเปอร์โนวาในอดีต อ้างอิง : คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ (2564). รังสีคอสมิก (Cosmic Rays). และเมื่อสนามแม่เหล็กโลกและชั้นบรรยากาศโลกปกป้องมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจากรังสีคอสมิกกว่า 99% จึงทำให้มนุษย์ไม่เกิดอันตรายจากรังสีคอสมิกเหล่านี้ แต่หากเป็นผู้ที่อยู่ในอวกาศ จะได้รัรบผลกระทบที่เป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากความเสียหายที่รังสีคอสมิกกระทำต่อชีวิตนอกเหนือการป้องกันจากชั้นบรรยากาศโลก เพราะรังสีอาจทำอันตรายต่อ DNA จนทำให้เซลล์ร่างกายมนุษย์นั้นกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ถึงตรงนี้เราพอจะทราบแล้วนะครับว่า รังสีคอสมิกไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกาย ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์เสียด้วยซ้ำ แล้วความเข้าใจเรื่องพลังคอสมิกนั้นมาจากไหน สรุปแล้วการฝึกรับพลังคอสมิกมีจริงหรือไม่ เราลองมาหาคำตอบไปพร้อมกันตามลำดับนะครับ
โรเบิร์ต มิลลิแกน (Robert A.Millikan) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลด้านการวัดค่าประจุของอิเล็กตรอน กล่าวว่า “รังสีคอสมิกคือรังสีแกมมาซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” ซึ่งมีข้อโต้แย้งว่าแนวความคิดของเขานั้นผิด จากการทดลองในปี ค.ศ.1927 พบว่า การแตกตัวของรังสีคอสมิกนั้นมีอัตราที่ไม่สม่ำเสมอในแต่ละตำแหน่งบนโลก ดังนั้นข้อสันนิษฐานที่ว่ารังสีคอสมิกเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงถูกหักล้างไป และคำอธิบายที่สมเหตุสมผลที่สุดคือ รังสีคอสมิกเป็น “อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า” โดยนักดาราศาสตร์ในปัจจุบันระบุว่ารังสีคอสมิกมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ รังสีคอสมิกแบบปฐมภูมิ คืออนุภาคที่เข้ามาชนกับชั้นบรรยากาศโลกโดยตรง และถูกเบี่ยงเบนหักเหไปตามสภาพภูมิประเทศดังกล่าวข้างต้น กับรังสีคอสมิกแบบทุติยภูมิ คือ เมื่อรังสีคอสมิกชนเข้ากับอะตอมและโมเลกุลของแก๊สในชั้นบรรยากาศโลก (ดังที่กล่าวไปแล้วเรื่องอากาศมีส่วนประกอบแก๊สอะไรบ้าง แน่นอนว่าส่วนใหญ่คือไนโตรเจน รองลงมาคือออกซิเจน) ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Air Shower คือการกระจายตัวของอนุภาคคล้ายสายฝน ซึ่งอาจทำให้หลงเหลือปะปนลงมาบ้างในอากาศที่เราหายใจ แต่เป็นอนุภาคที่เล็กมาก ๆ และไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใดกับร่างกายมนุษย์ เรียกได้ว่าแทบจะไม่ตกกระทบพื้นโลกเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อมีการชนกับนิวเคลียสของอากาศ ประมาณ 10 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก อนุภาคใหม่จำนวนมากก็จะถูกสร้างขึ้น ..และนิวเคลียสที่ชนกันก็จะระเหยไปเป็นส่วนมาก อนุภาคใหม่ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นไพออน และไพออนที่เป็นกลางก็จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อรังสีคอสมิกหลัก สามารถผลิตอนุภาครองจำนวนมากอาจเป็นล้านหรือพันล้าน เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ฝนอากาศ” และการกระจายตัวของฝนอากาศนี้อาจตกลงสู่พื้นดินได้ในพื้นที่ภูเขาสูง ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด จากการศึกษาข้อมูลเหล่านี้เราจะเห็นได้ว่า คำกล่าวอ้างเกี่ยวกับพลังคอสมิกของผู้ฝึกพลังจักรวาล มีความขัดแย้งเป็นส่วนมาก ทั้งเรื่องของพลังคอสมิกที่มนุษย์หยิบยืมมาใช้เพื่อการรักษาโรค โดยกล่าวถึงพลังงานเหล่านี้เป็นพลังงานศักดิ์สิทธิ์ แต่เราจะเห็นได้ว่า ยังไม่มีงานวิจัยใดรับรองเกี่ยวกับรังสีคอสมิกกับการรักษาโรค จึงสรุปได้ว่า รังสีคอสมิกไม่ได้มีประโยชน์ต่อระบบการทำงานของร่างกายแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย หรือส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้นแนวคิดเรื่องพลังจักรวาลจึงไม่ควรสืบทอด ส่งต่อ หรือสืบต่อให้เข้าใจอย่างผิดเพี้ยน สร้างพื้นฐานความเชื่อบนความงมงาย ที่ไม่สามารถหาเหตุผลรองรับได้เพียงพอ การพยายามทำให้ศาสตร์วิชาปราณเป็นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ จึงได้พยายามทำให้เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อชักนำจิตใจผู้คน ถือเป็นเรื่องที่ผิดบาปอย่างหนึ่ง หากท่านผู้คิดค้นต้นกำเนิดการเผยแพร่รับทราบ หรือผู้รับสืบทอดส่งต่อรับรู้ ก็ควรยุติการสอนในทางที่ผิดนะครับ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต