มุทราสูตรกับระบบจักระ

     สำหรับการฝึกปราณจักระที่จะกล่าวถึงนี้ จะเชื่อมโยงกับมุทราให้เป็นท่าร่างร่วมกับการฝึกด้วย “มุทรา” (Mudra) แปลว่า ตราประทับ หรือสัญลักษณ์ คือ ท่ามือที่ใช้เพื่อกระตุ้นสภาวะจิต เป็นวิถีเก่าแก่ของศาสตร์อินเดียโบราณอีกเช่นกัน มีจำแนกออกไปอีกหลายสายจากพื้นฐานความคิดเดียวกัน แต่อาจจะเกิดการนิยามความหมายใหม่ก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ในนิกายตันตระจำแนกมุทราไว้ถึง 108 ท่า หรือจะเป็นโยคะสูตร อีกหลายร้อยท่า และมีการกล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างนิ้วทั้ง 5 กับระบบจักระที่แตกต่างกัน ให้คุณสังเกตได้จากการปั้นพระพุทธรูป หรือพระโพธิสัตว์ จะแสดงมือในแบบมุทราทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่นั่งประทับและวางมือด้วยธยานมุทรา แต่รูปปั้นพระบางองค์อาจจะปั้นออกมาได้ไม่ละเอียดนัก จึงผิดเพี้ยนไปบ้างก็มี

(วิดิโอประกอบบทความ)
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
     ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จักระหลัก จะถูกอ้างอิง 4-7 จักระ และในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในยุคโบราณ ก็ไม่มีฉันทามติเกี่ยวกับจำนวนจักระ เนื่องจากถูกพัฒนาและตีความกันไปแตกต่างกันตามนิกาย หรือสำนักต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาที่ค่อนข้างอิสระ จนกระทั่งยุคลัทธิตันตระศักตินิยมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ระบบจักระได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง และเมื่อกล่าวถึงจักระในพุทธศาสนานิกายตันตระที่แยกมาจากวัชรยาน ก็นิยามจักระสำคัญไว้ 5 จักระ รวมถึงระบุธาตุให้กับจักระเหล่านั้น โดยการเชื่อมโยงไปกับนิ้วมือทั้ง 5 ของมุทราสูตรในลำดับต่อมาอีกด้วย แนวคิดเหล่านี้จึงกล่าวได้ว่า “มุทราสูตร” ที่อ้างอิงกันในปัจจุบัน อาจจะสืบทอดจากการอ้างอิงหลัก 5 ธาตุ ที่เรียกว่า “ปัญจะภูตา” โดยยึดแนวคิดพื้นฐานธาตุคือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ และอากาศธาตุ มาเป็นตัวตั้ง รวมถึงการจับคู่ธาตุกับจักระ และนิ้วมือทั้ง 5 อีกทั้งยังกำหนดมุทราที่สอดคล้องเพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นจักระหรือเพื่อการฝึกสมาธิอีกด้วย

แนวทางมุทราสูตรที่ให้ไว้จะมีทั้ง 2 แบบ คือจักระมุทราสูตรประยุคจากนักเทวศาสตร์ตะวันออก กับจักระมุทราตามสูตรปัญจะภูตา ซึ่งก็สามารถใช้ได้ทั้งสองแบบตามตารางนะครับ
     จากตารางดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า มีแนวคิดการเชื่อมโยงจักระที่แตกต่างกันระหว่างนิ้วมือทั้งห้า ข้อมือ และฝ่ามือ ซึ่งจากการศึกษาและปฏิบัติของผู้เขียนพบว่า การยึดหลักใดหลักหนึ่งก็ใช้ได้ เป็นการทบทวนความจำได้ดีเรื่องของระบบจักระ ซึ่งสูตรประยุคจะเป็นวิธีที่ง่าย เพราะใช้หลักจำเพียงแค่ 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้ จักระ 5, นิ้วกลาง จักระ 3, นิ้วนาง จักระ 6 และนิ้วก้อย จักระ 4 แต่ละนิ้วที่จีบกับนิ้วโป้งก็คือ จักระใดก็ตามมาจรดกับจักระ 2 เป็นวิธีที่ง่ายแต่ไม่ตรงธาตุประจำจักระ ดังนั้น เวลาที่ใช้หมุนจักระจะคล่องและจำง่ายกว่า แต่อยากให้ลองศึกษาปัญจะภูตาสูตรให้เข้าใจด้วย โดยหลักใหญ่ก็คือใช้มุทราพลังธาตุมาหมุนให้ตรงกับธาตุของจักระ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนตามระบบธาตุนั่นเองครับ


😊คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์กันได้ครับ 😊



อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
 "ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต
👇👇👇👇
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่