บทความนี้เป็นบทความต่อจากบทความที่แล้ว เราจะมาทำความรู้จักกับจักระที่เหลือกันเลยนะครับ
จักระที่ 5 วิสุทธิ (Vishuddha)
เรียกว่า จักระคอ หรือ Throat Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 16 กลีบ สีฟ้า อยู่บริเวณตำแหน่งกระดูกต้นคอตัดมาที่ลำคอเหนือกล่องเสียง ควบคุมระบบทางเดินหายใจ เซลล์ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ คอ ปาก ลิ้น หลอดลม ไซนัส
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 5 อยู่ที่ปลายนิ้วชี้ ดังนั้น การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หมายถึง การกระตุ้นปัญญาเพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ ท่ามือนี้จะตรงกับฌานมุทรา และวิตรรกมุทรา Vitarka Mudra ในท่วงท่าที่พระหัตถ์ขวาของปางแสดงธรรมแสดงมุทรานี้ กล่าวกันว่า หากจักระนี้ทำงานอย่างสมบูรณ์ จะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ส่งผลต่อการพูด การสื่อสาร กล่องเสียง การหายใจ บำบัดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และเสริมสร้างบุคลิกภาพภายนอกอย่างมาก วิสุทธิจักระ จะเปิดรับพลังจักรวาลเพื่อเปิดระบบดูแลอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น รวมถึงจักระคอนี้ยังเป็นตัวกำหนดเส้นปราณ เป็นองค์ประกอบ ในการฝึกที่สำคัญ รวมถึงเป็นระบบหล่อเลี้ยงชีพที่ทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชม. อีกเช่นเดียวกัน และจุดสังเกตคือ จักระ 5 กับจักระ 4 จะทำงานร่วมกันเหมือนระบบการหายใจแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ตามสรีรวิทยาเบื้องต้นที่ได้อธิบายไปแล้ว ซึ่งแนวคิดเหล่านี้จะมีผลเรื่องลำดับการฝึกฝนปราณจักระเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกฝนอีกมากยังไม่รู้ แต่เมื่อคุณได้อ่านตำราเล่มนี้ จะทำให้คุณรู้ก่อน ฝึกได้ก่อน เห็นผลด้วยตนเอง
จักระที่ 6 อาชณะจักระ (Ajna)
เรียกว่า จักระตาที่สาม หรือ Third Eye Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 6 กลีบ สีน้ำเงินคราม ตำแหน่งอยู่ศูนย์กลางหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง หรือตำแหน่งตาที่สาม ควบคุมการทำงานของสมองส่วนหลังและระบบปราสาท การรับรู้ด้วยการมองเห็น และการได้ยิน คือการฝึกเกี่ยวกับสัมผัสที่ 6 สามารถมองเห็นในสิ่งที่ตาเนื้อมองไม่เห็นหรือจิตสัมผัส จักระนี้หลายคนเข้าใจผิด พยายามเพ่งจิตสร้างจินตภาพไปสู่จุดกึ่งกลางหน้าผาก ซึ่งนั่นไม่ใช่จุดศูนย์รวมพลังของจักระ 6 นะครับ จุดที่ต้องเพ่งคือบริเวณที่ท้ายทอยตัดมาสู่หว่างคิ้ว ตั้งอยู่ตรงสมองส่วนหลัง
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 6 อยู่ที่ปลายนิ้วนาง ดังนั้น การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วนางแบบนี้ หมายถึงการสื่อสารกับองค์ความรู้นอกโลก (หอสมุดแห่งจักรวาล) หรือการเชื่อมโยงพลังต่อคุรุภายใน การหยั่งรู้พิเศษและการเกิดจิตเหนือสำนึก การกระตุ้นจิตใต้สำนึกและปลุกตาที่สาม
จักระที่ 7 สหัสธาร (Sahasrara)
เรียกว่าจักระมงกุฎ หรือ Crown Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 1,000 กลีบ สีม่วงตำแหน่งอยู่กลางกระหม่อมศีรษะ สัมพันธ์กับจิตใต้สำนึก ตำราฮินดูเชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางสูงสุดที่ใช้เชื่อมต่อกับเทพเจ้า ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากห้วงจักรวาล หรือพลังศักติตามความเชื่อ และส่งผ่านกระจายไปทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงาน และการสั่งการของสมองส่วนกลาง
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 7 อยู่กลางฝ่ามือ สามารถใช้ฮาคินีมุทรา Hakini Mudra ในการฝึกบริหารจักระมงกุฎได้ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของสมอง ความทรงจำ ปรับสมดุลของสมองซีกขวาและซีกซ้าย สำหรับจักระที่ 7 นี้ ทำหน้าที่ไม่ต่างจากสมองส่วนกลางดังที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยที่จักระมงกุฎแห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องฝึกหมุนจักระมากมายนัก เพราะ เป็นจักระที่ต้องใช้งานทุกครั้ง แม้กระทั่งในสูตรของการรักษาโรค ก็จะเริ่มต้นจากจักระ 7 แทบทั้งหมด ยกเว้นโรคเฉพาะทางบางอย่างเท่านั้น และในตำราเล่มนี้ ผู้เขียนไม่ได้ระบุวิธีการนำพลังจักรวาลไปรักษาโรคมาเป็นเทคนิคในการนำไปใช้งานให้แต่อย่างใดนะครับ เนื่องจากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ให้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลไป ใครฝึกสายปราณจักระแล้วอยากนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนอื่น ก็ต้องเตรียมพร้อมรับแรงกระแทกจากสังคมให้ดีด้วยนะครับ อยากให้พิจารณาเหตุผลด้วยว่า ถ้าการรักษาคนมันจะง่ายดายและทำกันได้ขนาดนั้น นับแต่โบราณจะมีศาสตร์การแพทย์ทำไมให้ยุ่งยาก ไหนจะสมุนไพร ไหนจะสูตรการบำบัด แล้วยังสืบทอดมาสู่ยุคปัจจุบันให้วงการแพทย์ต้องทำงานเหนื่อยยากแสนเข็ญ คนโบราณฝึกปฏิบัติไม่ว่าจะสายปราณ สายสมาธิได้สมบูรณ์กว่าคนยุคเรา เนื่องด้วยธรรมชาติและวิถีชีวิตที่ไม่วุ่นวายเหมือนพวกเรา แต่ทำไม วิธีการรักษาถึงพึ่งมาพูดถึงหลังปี พ.ศ.2400
😊คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์กันได้ครับ 😊
อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต
👇👇👇👇
จักระ คืออะไร เชื่อมโยงการทำงานของร่างกายอย่างไร 2
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 5 อยู่ที่ปลายนิ้วชี้ ดังนั้น การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หมายถึง การกระตุ้นปัญญาเพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ ท่ามือนี้จะตรงกับฌานมุทรา และวิตรรกมุทรา Vitarka Mudra ในท่วงท่าที่พระหัตถ์ขวาของปางแสดงธรรมแสดงมุทรานี้ กล่าวกันว่า หากจักระนี้ทำงานอย่างสมบูรณ์ จะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ส่งผลต่อการพูด การสื่อสาร กล่องเสียง การหายใจ บำบัดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และเสริมสร้างบุคลิกภาพภายนอกอย่างมาก วิสุทธิจักระ จะเปิดรับพลังจักรวาลเพื่อเปิดระบบดูแลอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น รวมถึงจักระคอนี้ยังเป็นตัวกำหนดเส้นปราณ เป็นองค์ประกอบ ในการฝึกที่สำคัญ รวมถึงเป็นระบบหล่อเลี้ยงชีพที่ทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชม. อีกเช่นเดียวกัน และจุดสังเกตคือ จักระ 5 กับจักระ 4 จะทำงานร่วมกันเหมือนระบบการหายใจแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ตามสรีรวิทยาเบื้องต้นที่ได้อธิบายไปแล้ว ซึ่งแนวคิดเหล่านี้จะมีผลเรื่องลำดับการฝึกฝนปราณจักระเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกฝนอีกมากยังไม่รู้ แต่เมื่อคุณได้อ่านตำราเล่มนี้ จะทำให้คุณรู้ก่อน ฝึกได้ก่อน เห็นผลด้วยตนเอง
จักระที่ 6 อาชณะจักระ (Ajna)
จักระที่ 7 สหัสธาร (Sahasrara)
เรียกว่าจักระมงกุฎ หรือ Crown Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 1,000 กลีบ สีม่วงตำแหน่งอยู่กลางกระหม่อมศีรษะ สัมพันธ์กับจิตใต้สำนึก ตำราฮินดูเชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางสูงสุดที่ใช้เชื่อมต่อกับเทพเจ้า ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากห้วงจักรวาล หรือพลังศักติตามความเชื่อ และส่งผ่านกระจายไปทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงาน และการสั่งการของสมองส่วนกลาง
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 7 อยู่กลางฝ่ามือ สามารถใช้ฮาคินีมุทรา Hakini Mudra ในการฝึกบริหารจักระมงกุฎได้ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของสมอง ความทรงจำ ปรับสมดุลของสมองซีกขวาและซีกซ้าย สำหรับจักระที่ 7 นี้ ทำหน้าที่ไม่ต่างจากสมองส่วนกลางดังที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยที่จักระมงกุฎแห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องฝึกหมุนจักระมากมายนัก เพราะ เป็นจักระที่ต้องใช้งานทุกครั้ง แม้กระทั่งในสูตรของการรักษาโรค ก็จะเริ่มต้นจากจักระ 7 แทบทั้งหมด ยกเว้นโรคเฉพาะทางบางอย่างเท่านั้น และในตำราเล่มนี้ ผู้เขียนไม่ได้ระบุวิธีการนำพลังจักรวาลไปรักษาโรคมาเป็นเทคนิคในการนำไปใช้งานให้แต่อย่างใดนะครับ เนื่องจากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ให้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลไป ใครฝึกสายปราณจักระแล้วอยากนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนอื่น ก็ต้องเตรียมพร้อมรับแรงกระแทกจากสังคมให้ดีด้วยนะครับ อยากให้พิจารณาเหตุผลด้วยว่า ถ้าการรักษาคนมันจะง่ายดายและทำกันได้ขนาดนั้น นับแต่โบราณจะมีศาสตร์การแพทย์ทำไมให้ยุ่งยาก ไหนจะสมุนไพร ไหนจะสูตรการบำบัด แล้วยังสืบทอดมาสู่ยุคปัจจุบันให้วงการแพทย์ต้องทำงานเหนื่อยยากแสนเข็ญ คนโบราณฝึกปฏิบัติไม่ว่าจะสายปราณ สายสมาธิได้สมบูรณ์กว่าคนยุคเรา เนื่องด้วยธรรมชาติและวิถีชีวิตที่ไม่วุ่นวายเหมือนพวกเรา แต่ทำไม วิธีการรักษาถึงพึ่งมาพูดถึงหลังปี พ.ศ.2400
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต