ต้นกำเนิดของคำว่า "ปราณ" มีที่มาที่ไปอย่างไร หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า "ปราณายามะ" (Pranayama) ในภาษาสันสกฤต คำนี้จะวนเวียนผูกพันกับเหล่าผู้ฝึกโยคะ ซึ่งหมายถึงการควบคุมลมหายใจ โดยเหล่าผู้ฝึกโยคะจะทราบดีว่า จะต้องทำควบคู่กันไปทั้งทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
(วิดิโอประกอบบทความ)
วิชาการฝึกแบบโยคะนี้ มีต้นกำเนิดอยู่ในอารยธรรมอินเดียโบราณย้อนไปประมาณ 5,000ปีก่อน จากข้อสันนิฐานของนักประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในคัมภีย์พระเวท เป็นการฝึกฝนเพื่อผสานลมหายใจเข้ากับท่วงท่าต่างๆซึ่งแตกแยกแบ่งสายกันไปตามสำนัก และเชื่อว่ามีการสืบทอดวิชากันมาแบบปากต่อปาก จนกระทั่งท่าน "ปตัญชลี" (Patanjali) เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และได้รวบรวมวิธีการฝึกปฏิบัติไว้ในโยคะสูตร คาดว่ามีชีวิตช่วงราวศตวรรษที่2ก่อนคริสต์ศักราช สืบทอดตำราเก่าแก่มากมาย สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันที่แพร่หลายในประเทศไทยตั้งแต่รัชกาลที่1 ถูกขนานนามว่า "ฤาษีดัดตน" ก็สันนิฐานได้ว่าท่วงท่ามาจากอาสนะ ในโยคะสูตรอีกเช่นกัน เหตุผลเพราะการที่เหล่าโยคีในอินเดียใช้แก้อาการปวดเมื่อยจากการนั่งสมาธิ ท่วงท่าฤาษีดัดตนจึงเป็นการสร้างความต่างของวัตถุประสงค์เพื่อแก้โรคปวดเมื่อย หรือโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง อีกทั้งยังเสริมสร้างความคล่องแคล่วมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สำหรับท่วงท่าฤาษีดัดตน เปรียบเทียบได้กับกายบริหารรูปแบบหนึ่งนั่นเอง
ต้นกำเนิดการฝึกปราณ
“สันนิษฐานได้ว่า ต้นกำเนิดวิถีการฝึกปราณนั้น น่าจะเก่าแก่ที่สุดในกลุ่ม ผู้ศึกษาพระเวทโบราณ ซึ่งถ่ายทอดในรูปแบบโยคะ ข้อแตกต่างที่พบ คือไม่ได้มีการบันทึกท่วงท่ามากมายนัก จะมุ่งเน้นไปที่ความสงบ ความนิ่ง การจับลมหายใจ และการหลอมรวมจิตวิญญาณกับพลังในห้วงจักรวาล เป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์ทุกสรรพสิ่ง ความเชื่อมั่นในพลังศักดิ์สิทธิ์จากพรหมัน คือตัวตนสูงสุดอยู่เหนือกาลเวลาและอวกาศ”
😊คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์กันได้ครับ 😊
อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต
👇👇👇👇รับชมคลิปวีดีโอสำหรับการเรียนรู้ได้ฟรีที่นี่ 👇👇👇👇
ที่มาของคำว่า "ปราณ " มาจากไหนกันนะ