
ก่อนจะพูดคุยเยอะขึ้นเกี่ยวกับอายุรเวท เกริ่นก่อนเลยว่า อิ่มได้มารู้จักกับอายุรเวทตอนที่โฟกัสกับการฝึกโยคะมากขึ้น
มั่นใจว่ายังมีอีกหลายคนที่มีคำถามว่า การใช้ศาสตร์อายุรเวทร่วมกับแพทย์แผนไทย หรือ แพทย์แผนไทยประยุกต์นั้นจะได้ผลจริงหรือไม่
สำหรับอิ่ม อายุรเวท เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งในการปรับการใช้ชีวิต และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้น และใช้เวลาในการรักษามากกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ข้อดีคือ เน้นเป็นวิธีทางธรรมชาตินั่นเองค่ะ ^^
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว อิ่มปั่นจักรยานหนัก และเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานบ่อย บางครั้งปั่นจักรยานทั้งวัน โดนแดดเปรี้ยงเหงื่อออกเช้าจรดเย็น
ผลที่ได้คือ ผื่นอักเสบขึ้นเต็มหลังและหน้าอก จึงตัดสินใจปรึกษาแพทย์แผนไทย และใช้หลักทางอายุรเวท ปรับสมดุลธาตุไฟของเราให้ดีขึ้น
ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ผื่นแดงและอักเสบก็ค่อย ๆ หมดไป (ใครไม่เชื่อ ขอดูภาพได้ที่หลังไมค์นะคะ)
อะไรที่เป็นเรื่องดี เราก็อยากเอามาแชร์และบอกต่อทุกคนกันค่ะ ^^ วันนี้อิ่มเลยอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ ศาสตร์อายุรเวท และอายุรเวทกับโยคะ เดินทางมาพบกัน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร?

อายุรเวท คือ ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต

อายุรเวท (Ayurveda) เป็นศาสตร์การแพทย์แผนโบราณจากอินเดียที่มีอายุมากกว่า 5,000 ปี เปรียบเสมือนแนวทางการใช้ชีวิตที่มุ่งเน้นการรักษาสมดุลของร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ผ่านวิธีธรรมชาติ
หลักการสำคัญของอายุรเวท
1) มองมนุษย์เป็นองค์รวม: อายุรเวทเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ สุขภาพที่ดีไม่ได้หมายถึงแค่ร่างกายแข็งแรง แต่รวมไปถึงจิตใจที่สงบและวิญญาณที่เบิกบาน
2) ธาตุทั้ง 3: อายุรเวทอธิบายว่าร่างกายประกอบไปด้วยธาตุหลัก 3 ธาตุ ได้แก่ วาตะ (ลม) ปิตตะ (ไฟ) และ กัปะ (น้ำ) ธาตุแต่ละธาตุมีหน้าที่และคุณสมบัติต่างกัน
3) สมดุลคือกุญแจสำคัญ: สุขภาพที่ดีเกิดขึ้นเมื่อธาตุทั้ง 3 อยู่ในสมดุล
4) ธรรมชาติเป็นยา: อายุรเวทใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมจากธรรมชาติ เช่น อาหาร สมุนไพร โยคะ นวด และการใช้ชีวิต เพื่อรักษาสมดุลของธาตุ
อายุรเวทกับฤดูร้อน
- ฤดูร้อนเป็นช่วงที่ธาตุไฟ (ปิตตะ) มักจะเสียสมดุล ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น รู้สึกร้อน หงุดหงิด ง่วงนอน อ่อนเพลีย
ตามหลักอายุรเวท มีวิธีจัดการกับปัญหาธาตุไฟไม่สมดุล ประมาณนี้ค่ะ
- อาหาร: เลือกทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักใบเขียว แตงโม โยเกิร์ต
- เครื่องดื่ม: ดื่มน้ำเย็น น้ำมะพร้าว น้ำสมุนไพรเช่น เก๊กฮวย (น้ำตาลน้อย ๆ หรือไม่ใส่น้ำตาลจะดีค่ะ)
- การพักผ่อน: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- โยคะ: ฝึกโยคะท่าที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น child's pose (ท่าเด็ก), corpse pose (ท่าศพ)
- นวด: นวดด้วยน้ำมันมะพร้าว
ตัวอย่างเพิ่มเติมในการใช้ชีวิตแบบอายุรเวท
- ตื่นนอนตอนเช้าตรู่ ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว
- ฝึกโยคะหรือ pranayama (การหายใจ)
- ทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์
- ทำงานและใช้ชีวิตอย่างมีสติ
- ทานอาหารกลางวันและอาหารเย็นที่สมดุล และควรทานอาหารให้ตรงเวลา
- ฝึกโยคะหรือการผ่อนคลายก่อนนอน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
อายุรเวทกับโยคะ
- โยคะเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาของอายุรเวท
- ท่าโยคะต่างๆ ช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย ฝึกสมาธิ ลดความเครียด เพิ่มพลังงาน และสร้างความสงบภายใน
คำว่า
"สมดุล" คือสิ่งที่สำคัญมากในทางอายุรเวท เป็นคำที่พูดง่าย แต่ก็ทำได้ยากในบางที 5555
ครูอิ่มมีเทคนิคไหม? มีค่ะ นั่นคืออยู่กับตัวเองบ่อย ๆ สังเกตุตัวเองให้เป็น ทั้งความรู้สึกภายใน และสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ร่างกายของเราเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เขาคอยพูดคุยกับเราอยู่เสมอ แต่เราจะฟังเขามากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง
ยกตัวอย่างนะคะ
- หากวันนี้หงุดหงิดเป็นพิเศษ อะไรก็ไม่ได้อย่างใจ ตัดสินคนนู้นคนนี้ ธาตุไฟอาจจะไม่สมดุลค่ะ > ดื่มน้ำเย็นสักแก้ว หายใจเข้าลึก หายใจออกยาวดูค่ะ
- หากวันนี้ความคิดมันยุ่งเหยิง นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นตอนตี 3 ตี 4 ธาตุลมอาจจะไม่สมดุลค่ะ > ลองลิสต์สิ่งที่ต้องทำออกมา หรือ ตั้ง Reminders สิ่งที่ต้องทำบนมือถือแทนเพื่อจัดการความคิดของเรา
- หากวันนี้รู้สึกเครียด ไม่อยากลุกออกจากเตียง ธาตุดินอาจจะไม่สมดุลค่ะ > ออกไปเดินเล่นในสวน ออกไปวิ่ง หรือเริ่มจากขยับร่างกายเบา ๆ ก่อน
ใด ๆ แล้ว ร่างกายของทุกคนเป็นปัจเจก แตกต่างและมีเสน่ห์ไม่เหมือนกัน คอยฟังเสียงร่างกาย อยู่กับปัจจุบัน สังเกตุอารมณ์ตัวเองดูเยอะ ๆ
ขอให้ทุกคนหา
สมดุล ของตัวเองให้เจอ และมีความสุขมาก ๆ นะคะ ^^
พิเศษ! อยากรู้วิธีคลายร้อน คลายกังวล ด้วยโยคะและอายุรเวทแบบง่าย ๆ ไหมคะ? ครูอิ่มมีข่าวดีมาฝากค่ะ !
อย่าพลาด! ไลฟ์สด พูดคุยในหัวข้อ "
ดับร้อน คลายกังวล ด้วยโยคะและอายุรเวท"
วันอังคารที่ 9 เมษายน 2567 (19:00 - 20:00 น.) ตรงกับช่วงที่อากาศร้อนที่สุดในไทย และเป็นของขวัญปีใหม่ไทยให้กับทุกคนด้วยค่ะ
พบกับแขกรับเชิญสุดพิเศษ ครูหมอนุ่น จาก
Wipavee YOGA - ครูสอนโยคะและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่จะมาพูดคุย แลกเปลี่ยน และแบ่งปันเทคนิคดี ๆ ในการใช้โยคะ และอายุรเวทดูแลร่างกายและใจของเราในช่วงอากาศร้อนนี้กัน
ห้ามพลาดเด็ดขาดเลยนะคะ เพราะเราจะพาทุกคนไปสนุกกับหัวข้อดี ๆ อย่าง
1. โยคะเปลี่ยนชีวิตเราอย่างไร
2. ทำความรู้จักอายุรเวทเบื้องต้น
3. โยคะและอายุรเวทสัมพันธ์กันยังไง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
4. เคล็ดลับรับมือกับหน้าร้อน ด้วยโยคะและอายุรเวท
5. เทคนิคการปรับสมดุลธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อความสงบใจภายใน
เข้าร่วมฟรีทางเพจ
immu happy yogi! มอบเป็นของขวัญให้ทุกคน (หรือหากใครอยากโอนเงินเพื่อสนับสนุน Content ดี ๆ ของพวกเรา ก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ)
วิธีการเข้าร่วม:
- กดติดตามเพจ "
immu happy yogi" และ "Wipavee Yoga"
- รอรับชม Live ในวันที่ 9 เมษายน - 19:00 น.
- หากพลาด Live สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่เพจ Facebook (ครูอิ่มจะอัพเดทอีกทีนะคะ)
แล้วพบกันอังคารที่ 9 เม.ย. 19:00 น.
ด้วยรัก
Immu
----------
References:
- Facebook: India in Thailand (Embassy of India, Bangkok)
-
อาหารเป็นยาตามหลักอายุรเวท
-
What is Ayurveda?
อายุรเวทคืออะไร? ช่วยเราดับร้อน คลายกังวลได้อย่างไร?
ก่อนจะพูดคุยเยอะขึ้นเกี่ยวกับอายุรเวท เกริ่นก่อนเลยว่า อิ่มได้มารู้จักกับอายุรเวทตอนที่โฟกัสกับการฝึกโยคะมากขึ้น
มั่นใจว่ายังมีอีกหลายคนที่มีคำถามว่า การใช้ศาสตร์อายุรเวทร่วมกับแพทย์แผนไทย หรือ แพทย์แผนไทยประยุกต์นั้นจะได้ผลจริงหรือไม่
สำหรับอิ่ม อายุรเวท เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งในการปรับการใช้ชีวิต และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้น และใช้เวลาในการรักษามากกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ข้อดีคือ เน้นเป็นวิธีทางธรรมชาตินั่นเองค่ะ ^^
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว อิ่มปั่นจักรยานหนัก และเดินทางท่องเที่ยวด้วยจักรยานบ่อย บางครั้งปั่นจักรยานทั้งวัน โดนแดดเปรี้ยงเหงื่อออกเช้าจรดเย็น
ผลที่ได้คือ ผื่นอักเสบขึ้นเต็มหลังและหน้าอก จึงตัดสินใจปรึกษาแพทย์แผนไทย และใช้หลักทางอายุรเวท ปรับสมดุลธาตุไฟของเราให้ดีขึ้น
ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ผื่นแดงและอักเสบก็ค่อย ๆ หมดไป (ใครไม่เชื่อ ขอดูภาพได้ที่หลังไมค์นะคะ)
อะไรที่เป็นเรื่องดี เราก็อยากเอามาแชร์และบอกต่อทุกคนกันค่ะ ^^ วันนี้อิ่มเลยอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ ศาสตร์อายุรเวท และอายุรเวทกับโยคะ เดินทางมาพบกัน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร?
อายุรเวท คือ ศาสตร์แห่งชีวิตในภาษาสันสกฤต มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดความสกปรกออกจากร่างกาย ลดอาการของโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค คลายความกังวล และเพิ่มความสมดุลในชีวิต
อายุรเวท (Ayurveda) เป็นศาสตร์การแพทย์แผนโบราณจากอินเดียที่มีอายุมากกว่า 5,000 ปี เปรียบเสมือนแนวทางการใช้ชีวิตที่มุ่งเน้นการรักษาสมดุลของร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ผ่านวิธีธรรมชาติ
หลักการสำคัญของอายุรเวท
1) มองมนุษย์เป็นองค์รวม: อายุรเวทเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ สุขภาพที่ดีไม่ได้หมายถึงแค่ร่างกายแข็งแรง แต่รวมไปถึงจิตใจที่สงบและวิญญาณที่เบิกบาน
2) ธาตุทั้ง 3: อายุรเวทอธิบายว่าร่างกายประกอบไปด้วยธาตุหลัก 3 ธาตุ ได้แก่ วาตะ (ลม) ปิตตะ (ไฟ) และ กัปะ (น้ำ) ธาตุแต่ละธาตุมีหน้าที่และคุณสมบัติต่างกัน
3) สมดุลคือกุญแจสำคัญ: สุขภาพที่ดีเกิดขึ้นเมื่อธาตุทั้ง 3 อยู่ในสมดุล
4) ธรรมชาติเป็นยา: อายุรเวทใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมจากธรรมชาติ เช่น อาหาร สมุนไพร โยคะ นวด และการใช้ชีวิต เพื่อรักษาสมดุลของธาตุ
อายุรเวทกับฤดูร้อน
- ฤดูร้อนเป็นช่วงที่ธาตุไฟ (ปิตตะ) มักจะเสียสมดุล ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น รู้สึกร้อน หงุดหงิด ง่วงนอน อ่อนเพลีย
ตามหลักอายุรเวท มีวิธีจัดการกับปัญหาธาตุไฟไม่สมดุล ประมาณนี้ค่ะ
- อาหาร: เลือกทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักใบเขียว แตงโม โยเกิร์ต
- เครื่องดื่ม: ดื่มน้ำเย็น น้ำมะพร้าว น้ำสมุนไพรเช่น เก๊กฮวย (น้ำตาลน้อย ๆ หรือไม่ใส่น้ำตาลจะดีค่ะ)
- การพักผ่อน: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- โยคะ: ฝึกโยคะท่าที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น child's pose (ท่าเด็ก), corpse pose (ท่าศพ)
- นวด: นวดด้วยน้ำมันมะพร้าว
ตัวอย่างเพิ่มเติมในการใช้ชีวิตแบบอายุรเวท
- ตื่นนอนตอนเช้าตรู่ ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว
- ฝึกโยคะหรือ pranayama (การหายใจ)
- ทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์
- ทำงานและใช้ชีวิตอย่างมีสติ
- ทานอาหารกลางวันและอาหารเย็นที่สมดุล และควรทานอาหารให้ตรงเวลา
- ฝึกโยคะหรือการผ่อนคลายก่อนนอน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
อายุรเวทกับโยคะ
- โยคะเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาของอายุรเวท
- ท่าโยคะต่างๆ ช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย ฝึกสมาธิ ลดความเครียด เพิ่มพลังงาน และสร้างความสงบภายใน
คำว่า "สมดุล" คือสิ่งที่สำคัญมากในทางอายุรเวท เป็นคำที่พูดง่าย แต่ก็ทำได้ยากในบางที 5555
ครูอิ่มมีเทคนิคไหม? มีค่ะ นั่นคืออยู่กับตัวเองบ่อย ๆ สังเกตุตัวเองให้เป็น ทั้งความรู้สึกภายใน และสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ร่างกายของเราเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เขาคอยพูดคุยกับเราอยู่เสมอ แต่เราจะฟังเขามากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง
ยกตัวอย่างนะคะ
- หากวันนี้หงุดหงิดเป็นพิเศษ อะไรก็ไม่ได้อย่างใจ ตัดสินคนนู้นคนนี้ ธาตุไฟอาจจะไม่สมดุลค่ะ > ดื่มน้ำเย็นสักแก้ว หายใจเข้าลึก หายใจออกยาวดูค่ะ
- หากวันนี้ความคิดมันยุ่งเหยิง นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นตอนตี 3 ตี 4 ธาตุลมอาจจะไม่สมดุลค่ะ > ลองลิสต์สิ่งที่ต้องทำออกมา หรือ ตั้ง Reminders สิ่งที่ต้องทำบนมือถือแทนเพื่อจัดการความคิดของเรา
- หากวันนี้รู้สึกเครียด ไม่อยากลุกออกจากเตียง ธาตุดินอาจจะไม่สมดุลค่ะ > ออกไปเดินเล่นในสวน ออกไปวิ่ง หรือเริ่มจากขยับร่างกายเบา ๆ ก่อน
ใด ๆ แล้ว ร่างกายของทุกคนเป็นปัจเจก แตกต่างและมีเสน่ห์ไม่เหมือนกัน คอยฟังเสียงร่างกาย อยู่กับปัจจุบัน สังเกตุอารมณ์ตัวเองดูเยอะ ๆ
ขอให้ทุกคนหา สมดุล ของตัวเองให้เจอ และมีความสุขมาก ๆ นะคะ ^^
พิเศษ! อยากรู้วิธีคลายร้อน คลายกังวล ด้วยโยคะและอายุรเวทแบบง่าย ๆ ไหมคะ? ครูอิ่มมีข่าวดีมาฝากค่ะ !
อย่าพลาด! ไลฟ์สด พูดคุยในหัวข้อ "ดับร้อน คลายกังวล ด้วยโยคะและอายุรเวท"
วันอังคารที่ 9 เมษายน 2567 (19:00 - 20:00 น.) ตรงกับช่วงที่อากาศร้อนที่สุดในไทย และเป็นของขวัญปีใหม่ไทยให้กับทุกคนด้วยค่ะ
พบกับแขกรับเชิญสุดพิเศษ ครูหมอนุ่น จาก Wipavee YOGA - ครูสอนโยคะและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่จะมาพูดคุย แลกเปลี่ยน และแบ่งปันเทคนิคดี ๆ ในการใช้โยคะ และอายุรเวทดูแลร่างกายและใจของเราในช่วงอากาศร้อนนี้กัน
ห้ามพลาดเด็ดขาดเลยนะคะ เพราะเราจะพาทุกคนไปสนุกกับหัวข้อดี ๆ อย่าง
1. โยคะเปลี่ยนชีวิตเราอย่างไร
2. ทำความรู้จักอายุรเวทเบื้องต้น
3. โยคะและอายุรเวทสัมพันธ์กันยังไง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
4. เคล็ดลับรับมือกับหน้าร้อน ด้วยโยคะและอายุรเวท
5. เทคนิคการปรับสมดุลธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อความสงบใจภายใน
เข้าร่วมฟรีทางเพจ immu happy yogi! มอบเป็นของขวัญให้ทุกคน (หรือหากใครอยากโอนเงินเพื่อสนับสนุน Content ดี ๆ ของพวกเรา ก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ)
วิธีการเข้าร่วม:
- กดติดตามเพจ "immu happy yogi" และ "Wipavee Yoga"
- รอรับชม Live ในวันที่ 9 เมษายน - 19:00 น.
- หากพลาด Live สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่เพจ Facebook (ครูอิ่มจะอัพเดทอีกทีนะคะ)
แล้วพบกันอังคารที่ 9 เม.ย. 19:00 น.
ด้วยรัก
Immu
----------
References:
- Facebook: India in Thailand (Embassy of India, Bangkok)
- อาหารเป็นยาตามหลักอายุรเวท
- What is Ayurveda?