จากบทความที่แล้วเราได้ทำความรู้จักกับท่ามุทราตั้งแต่ท่าที่1ถึงท่าที่4กันไปแล้วนะครับ บทความนี้เราจะมาต่อกับท่ามุทราที่5ถึงท่าที่7กันนะครับ
จักระที่ 5 วิสุทธิ (Vishuddha)
แบบสากลเรียกว่า จักระคอ หรือ Throat Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 16 กลีบ สีฟ้า อยู่บริเวณตำแหน่งกระดูกต้นคอตัดมาที่ลำคอเหนือกล่องเสียง ควบคุมระบบทางเดินหายใจ เซลล์ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ คอ ปาก ลิ้น หลอดลม ไซนัส
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 5 อยู่ที่ปลายนิ้วชี้ ดังนั้น การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หมายถึง การกระตุ้นปัญญาเพื่อช่วยเสริมสร้างสมาธิ ท่ามือนี้จะตรงกับฌานมุทรา และวิตรรกมุทรา Vitarka Mudra ในท่วงท่าที่พระหัตถ์ขวาของปางแสดงธรรมแสดงมุทรานี้
กล่าวกันว่า หากจักระนี้ทำงานอย่างสมบูรณ์ จะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ส่งผลต่อการพูด การสื่อสาร กล่องเสียง การหายใจ บำบัดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และเสริมสร้างบุคลิกภาพภายนอกอย่างมาก วิสุทธิจักระ จะเปิดรับพลังจักรวาลเพื่อเปิดระบบดูแลอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น รวมถึงจักระคอนี้ยังเป็นตัวกำหนดเส้นปราณ เป็นองค์ประกอบ ในการฝึกที่สำคัญ รวมถึงเป็นระบบหล่อเลี้ยงชีพที่ทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชม. อีกเช่นเดียวกัน และจุดสังเกตคือ จักระ 5 กับจักระ 4 จะทำงานร่วมกันเหมือนระบบการหายใจแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ตามสรีรวิทยาเบื้องต้นที่ได้อธิบายไปแล้ว ซึ่งแนวคิดเหล่านี้จะมีผลเรื่องลำดับการฝึกฝนปราณจักระเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกฝนอีกมากยังไม่รู้ แต่เมื่อคุณได้อ่านตำราเล่มนี้ จะทำให้คุณรู้ก่อน ฝึกได้ก่อน เห็นผลด้วยตนเอง
พื้นฐานการฝึกปราณจักระ เพื่อให้การทำงานของร่างกายส่งเสริมกับจุดเปิดจักระ เริ่มตั้งแต่การสูดลมหายใจเข้าไปจนสุดท้องน้อยดังกล่าวหลังจากนั้นปอดทำการแลกเปลี่ยนแก๊สและส่งต่อไปที่หัวใจ หัวใจก็ทำการสูบฉีดเลือดไปสู่เซลล์ร่างกายทุกส่วน ดังนั้น ผู้ฝึกปราณจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจจักระ 4-5 ก่อนเป็นสำคัญ คือกำหนดรู้ เข้าใจลมหายใจของตัวเอง รู้ตื้นลึกของการสูดลมหายใจของตน เปิดจักระและดูแลสองระบบนี้ให้ดีร่วมกันทั้งจักระ 3-4-5 ก็จะสามารถเข้าใจระบบการทำงานของจักระอื่นเพิ่มเติมได้ สิ่งสำคัญของผู้ฝึกคือ ต้องเรียนรู้ สัมผัส และเข้าใจร่างกายตนเองอย่างถ่องแท้ เพราะถ้าแม้แต่ระบบขับเคลื่อนชีวิตง่าย ๆ เหล่านี้เรายังปฏิเสธ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเรียนต่อไปครับ
แต่ทั้งหมดทั้งมวล การฝึกปราณจะเร่งจะรีบไม่ได้ ให้ไปทีละขั้นตอนแบบเข้าใจ จะช่วยร่นระยะการฝึกได้มากกว่า ซึ่งทั้งวิธีการหายใจ และวิถีกานฝึกก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การหายใจเข้าออกเพียงเท่านั้น เทคนิคพิเศษที่จะช่วยเร่งการฝึก ผู้เขียนจะอธิบายไปทีละฉากทีละตอน ไม่ต้องใจร้อน ฝึกฝน 1 วันก็เห็นผล 1 วัน ขอแค่ฝึกแบบเข้าใจทุกระบบให้ดีเสียก่อนเป็นพอ
ในความเชื่อมโยงของปัญจะภูตาสูตร จักระนี้ใช้ ชุนยะมุทรา Shunya Mudra มุทราแห่งความว่างเปล่า หรือสุญตามุทรา ดังภาพ บางตำราใช้ อากาศมุทรา Akasha Mudra โดยให้เอาปลายนิ้วกลางจรดปลายนิ้วโป้ง บ้างก็จะเรียกอากาศมุทราว่า ชูนิมุทรา Shuni Mudra เพื่อฝึกการสร้างสมดุลจักระ ส่งเสริมการได้ยินและการพูด รักษาระบบหายใจและหลอดลม ควบคุมการทำงานของกล่องเสียง การเปล่งวาจา หรือพลังเสียง
เมื่อศึกษามาถึงตรงนี้ คุณจะเห็นได้ว่า บางมุทราแสดงท่วงท่าเหมือนกัน แต่กลับมีชื่อเรียกต่างกัน ตรงส่วนนี้บอกได้เลยว่าการสืบทอดต่างสำนัก ต่างสถานที่ ยิ่งเป็นอะไรที่ยาวนานมานับพันปีย่อมผิดเพี้ยนไม่ตรงกันเป็นธรรมดา แต่สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า ไม่มีอะไรผิด อะไรถูก ทุกอย่างสัมพันธ์กันเหมือนใยแมงมุม ไว้เข้าเรื่องสูตรปฏิบัติจะเข้าใจมากขึ้นครับ ตอนนี้ศึกษาพื้นฐานกันให้จบเสียก่อน
จักระที่ 6 อาชณะจักระ (Ajna)
แบบสากลเรียกว่า จักระตาที่สาม หรือ Third Eye Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 6 กลีบ สีน้ำเงินคราม ตำแหน่งอยู่ศูนย์กลางหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง หรือตำแหน่งตาที่สาม ควบคุมการทำงานของสมองส่วนหลังและระบบปราสาท การรับรู้ด้วยการมองเห็น และการได้ยิน คือการฝึกเกี่ยวกับสัมผัสที่ 6 สามารถมองเห็นในสิ่งที่ตาเนื้อมองไม่เห็นหรือจิตสัมผัส
จักระนี้หลายคนเข้าใจผิด พยายามเพ่งจิตสร้างจินตภาพไปสู่จุดกึ่งกลางหน้าผาก ซึ่งนั่นไม่ใช่จุดศูนย์รวมพลังของจักระ 6 นะครับ จุดที่ต้องเพ่งคือบริเวณที่ท้ายทอยตัดมาสู่หว่างคิ้ว ตั้งอยู่ตรงสมองส่วนหลัง ตามตัวอย่างด้านล่าง เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 6 อยู่ที่ปลายนิ้วนาง ดังนั้น การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วนางแบบนี้ หมายถึงการสื่อสารกับองค์ความรู้นอกโลก (หอสมุดแห่งจักรวาล) หรือการเชื่อมโยงพลังต่อคุรุภายใน การหยั่งรู้พิเศษและการเกิดจิตเหนือสำนึก การกระตุ้นจิตใต้สำนึกและปลุกตาที่สาม
ในความเชื่อมโยงของสูตรปัญจะภูตามุทราที่ใช้คือ ญาณมุทรา Gyan Mudra มุทราแห่งความรู้ โดยการใช้นิ้วชี้จีบกับนิ้วโป้งดังภาพ เชื่อกันว่า มุทรานี้มีความเกี่ยวข้องกับดาวพฤหัส ซึ่งเป็นดาวแห่งความรู้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของการรวมเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล การที่อาตมันหลอมรวมกับพรหมัน หรือปรมาตมัน และตามหลักอายุรเวท ยังเชื่อมต่อกับธาตุอากาศ ช่วยเพิ่มระบบความจำ ตลอดจนระบบประสาทและต่อมใต้สมองทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
จักระที่ 7 สหัสธาร (Sahasrara)
แบบสากลเรียกว่าจักระมงกุฎ หรือ Crown Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 1,000 กลีบ สีม่วงตำแหน่งอยู่กลางกระหม่อมศีรษะ สัมพันธ์กับจิตใต้สำนึก ตำราฮินดูเชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางสูงสุดที่ใช้เชื่อมต่อกับเทพเจ้า ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากห้วงจักรวาล หรือพลังศักติตามความเชื่อ และส่งผ่านกระจายไปทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงาน และการสั่งการของสมองส่วนกลาง
ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ 7 อยู่กลางฝ่ามือ สามารถใช้ฮาคินีมุทรา Hakini Mudra ในการฝึกบริหารจักระมงกุฎได้ เพื่อเสริมสร้างการทำงานของสมอง ความทรงจำ ปรับสมดุลของสมองซีกขวาและซีกซ้าย
สำหรับจักระที่ 7 นี้ ทำหน้าที่ไม่ต่างจากสมองส่วนกลางดังที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยที่จักระมงกุฎแห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องฝึกหมุนจักระมากมายนัก เพราะ เป็นจักระที่ต้องใช้งานทุกครั้ง แม้กระทั่งในสูตรของการรักษาโรค ก็จะเริ่มต้นจากจักระ 7 แทบทั้งหมด ยกเว้นโรคเฉพาะทางบางอย่างเท่านั้น และในตำราเล่มนี้ ผู้เขียนไม่ได้ระบุวิธีการนำพลังจักรวาลไปรักษาโรคมาเป็นเทคนิคในการนำไปใช้งานให้แต่อย่างใดนะครับ เนื่องจากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ให้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลไป ใครฝึกสายปราณจักระแล้วอยากนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนอื่น ก็ต้องเตรียมพร้อมรับแรงกระแทกจากสังคมให้ดีด้วยนะครับ อยากให้พิจารณาเหตุผลด้วยว่า ถ้าการรักษาคนมันจะง่ายดายและทำกันได้ขนาดนั้น นับแต่โบราณจะมีศาสตร์การแพทย์ทำไมให้ยุ่งยาก ไหนจะสมุนไพร ไหนจะสูตรการบำบัด แล้วยังสืบทอดมาสู่ยุคปัจจุบันให้วงการแพทย์ต้องทำงานเหนื่อยยากแสนเข็ญ คนโบราณฝึกปฏิบัติไม่ว่าจะสายปราณ สายสมาธิได้สมบูรณ์กว่าคนยุคเรา เนื่องด้วยธรรมชาติและวิถีชีวิตที่ไม่วุ่นวายเหมือนพวกเรา แต่ทำไม วิธีการรักษาถึงพึ่งมาพูดถึงหลังปี พ.ศ.2400 ??
ในส่วนของปัญจะภูตาสูตร ใช้ปราณมุทรา Prana Mudra มุทราแห่งชีวิตในการฝึก เพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ช่วยให้พลังงานในร่างกายสมดุล สำหรับมุทรานี้จะทำได้สองแบบนะครับ ระหว่างใช้ปลายนิ้วแตะตามภาพ หรือจะพับนิ้วนางนิ้วก้อยเข้ามา แล้วเอานิ้วโป้งวางทับไว้ก็ได้เหมือนกัน แตกต่างกันที่ตำราแต่ละเล่มเท่านั้น
😊คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์กันได้ครับ😊
อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต
👇👇👇👇
มุทราสูตรกับระบบจักระ 3
กล่าวกันว่า หากจักระนี้ทำงานอย่างสมบูรณ์ จะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ส่งผลต่อการพูด การสื่อสาร กล่องเสียง การหายใจ บำบัดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และเสริมสร้างบุคลิกภาพภายนอกอย่างมาก วิสุทธิจักระ จะเปิดรับพลังจักรวาลเพื่อเปิดระบบดูแลอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น รวมถึงจักระคอนี้ยังเป็นตัวกำหนดเส้นปราณ เป็นองค์ประกอบ ในการฝึกที่สำคัญ รวมถึงเป็นระบบหล่อเลี้ยงชีพที่ทำงานอัตโนมัติตลอด 24 ชม. อีกเช่นเดียวกัน และจุดสังเกตคือ จักระ 5 กับจักระ 4 จะทำงานร่วมกันเหมือนระบบการหายใจแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ตามสรีรวิทยาเบื้องต้นที่ได้อธิบายไปแล้ว ซึ่งแนวคิดเหล่านี้จะมีผลเรื่องลำดับการฝึกฝนปราณจักระเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกฝนอีกมากยังไม่รู้ แต่เมื่อคุณได้อ่านตำราเล่มนี้ จะทำให้คุณรู้ก่อน ฝึกได้ก่อน เห็นผลด้วยตนเอง
พื้นฐานการฝึกปราณจักระ เพื่อให้การทำงานของร่างกายส่งเสริมกับจุดเปิดจักระ เริ่มตั้งแต่การสูดลมหายใจเข้าไปจนสุดท้องน้อยดังกล่าวหลังจากนั้นปอดทำการแลกเปลี่ยนแก๊สและส่งต่อไปที่หัวใจ หัวใจก็ทำการสูบฉีดเลือดไปสู่เซลล์ร่างกายทุกส่วน ดังนั้น ผู้ฝึกปราณจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจจักระ 4-5 ก่อนเป็นสำคัญ คือกำหนดรู้ เข้าใจลมหายใจของตัวเอง รู้ตื้นลึกของการสูดลมหายใจของตน เปิดจักระและดูแลสองระบบนี้ให้ดีร่วมกันทั้งจักระ 3-4-5 ก็จะสามารถเข้าใจระบบการทำงานของจักระอื่นเพิ่มเติมได้ สิ่งสำคัญของผู้ฝึกคือ ต้องเรียนรู้ สัมผัส และเข้าใจร่างกายตนเองอย่างถ่องแท้ เพราะถ้าแม้แต่ระบบขับเคลื่อนชีวิตง่าย ๆ เหล่านี้เรายังปฏิเสธ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเรียนต่อไปครับ
แต่ทั้งหมดทั้งมวล การฝึกปราณจะเร่งจะรีบไม่ได้ ให้ไปทีละขั้นตอนแบบเข้าใจ จะช่วยร่นระยะการฝึกได้มากกว่า ซึ่งทั้งวิธีการหายใจ และวิถีกานฝึกก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การหายใจเข้าออกเพียงเท่านั้น เทคนิคพิเศษที่จะช่วยเร่งการฝึก ผู้เขียนจะอธิบายไปทีละฉากทีละตอน ไม่ต้องใจร้อน ฝึกฝน 1 วันก็เห็นผล 1 วัน ขอแค่ฝึกแบบเข้าใจทุกระบบให้ดีเสียก่อนเป็นพอ
เมื่อศึกษามาถึงตรงนี้ คุณจะเห็นได้ว่า บางมุทราแสดงท่วงท่าเหมือนกัน แต่กลับมีชื่อเรียกต่างกัน ตรงส่วนนี้บอกได้เลยว่าการสืบทอดต่างสำนัก ต่างสถานที่ ยิ่งเป็นอะไรที่ยาวนานมานับพันปีย่อมผิดเพี้ยนไม่ตรงกันเป็นธรรมดา แต่สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า ไม่มีอะไรผิด อะไรถูก ทุกอย่างสัมพันธ์กันเหมือนใยแมงมุม ไว้เข้าเรื่องสูตรปฏิบัติจะเข้าใจมากขึ้นครับ ตอนนี้ศึกษาพื้นฐานกันให้จบเสียก่อน
จักระที่ 6 อาชณะจักระ (Ajna)
แบบสากลเรียกว่า จักระตาที่สาม หรือ Third Eye Chakra สัญลักษณ์คือดอกบัว 6 กลีบ สีน้ำเงินคราม ตำแหน่งอยู่ศูนย์กลางหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง หรือตำแหน่งตาที่สาม ควบคุมการทำงานของสมองส่วนหลังและระบบปราสาท การรับรู้ด้วยการมองเห็น และการได้ยิน คือการฝึกเกี่ยวกับสัมผัสที่ 6 สามารถมองเห็นในสิ่งที่ตาเนื้อมองไม่เห็นหรือจิตสัมผัส
จักระนี้หลายคนเข้าใจผิด พยายามเพ่งจิตสร้างจินตภาพไปสู่จุดกึ่งกลางหน้าผาก ซึ่งนั่นไม่ใช่จุดศูนย์รวมพลังของจักระ 6 นะครับ จุดที่ต้องเพ่งคือบริเวณที่ท้ายทอยตัดมาสู่หว่างคิ้ว ตั้งอยู่ตรงสมองส่วนหลัง ตามตัวอย่างด้านล่าง เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจนขึ้น
สำหรับจักระที่ 7 นี้ ทำหน้าที่ไม่ต่างจากสมองส่วนกลางดังที่กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยที่จักระมงกุฎแห่งนี้ ไม่จำเป็นต้องฝึกหมุนจักระมากมายนัก เพราะ เป็นจักระที่ต้องใช้งานทุกครั้ง แม้กระทั่งในสูตรของการรักษาโรค ก็จะเริ่มต้นจากจักระ 7 แทบทั้งหมด ยกเว้นโรคเฉพาะทางบางอย่างเท่านั้น และในตำราเล่มนี้ ผู้เขียนไม่ได้ระบุวิธีการนำพลังจักรวาลไปรักษาโรคมาเป็นเทคนิคในการนำไปใช้งานให้แต่อย่างใดนะครับ เนื่องจากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ให้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลไป ใครฝึกสายปราณจักระแล้วอยากนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนอื่น ก็ต้องเตรียมพร้อมรับแรงกระแทกจากสังคมให้ดีด้วยนะครับ อยากให้พิจารณาเหตุผลด้วยว่า ถ้าการรักษาคนมันจะง่ายดายและทำกันได้ขนาดนั้น นับแต่โบราณจะมีศาสตร์การแพทย์ทำไมให้ยุ่งยาก ไหนจะสมุนไพร ไหนจะสูตรการบำบัด แล้วยังสืบทอดมาสู่ยุคปัจจุบันให้วงการแพทย์ต้องทำงานเหนื่อยยากแสนเข็ญ คนโบราณฝึกปฏิบัติไม่ว่าจะสายปราณ สายสมาธิได้สมบูรณ์กว่าคนยุคเรา เนื่องด้วยธรรมชาติและวิถีชีวิตที่ไม่วุ่นวายเหมือนพวกเรา แต่ทำไม วิธีการรักษาถึงพึ่งมาพูดถึงหลังปี พ.ศ.2400 ??
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต