ถอดรหัสกม.ประชามติ1ชั้นครึ่ง ประนีประนอมหรือเดิมพัน2กลุ่ม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4890587
หมายเหตุ – ความเห็นนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันระหว่าง ส.ส.และ ส.ว. เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ กรณีเสนอให้ทำประชามติชั้นครึ่ง และนักวิชาการ
นิกร จำนง
เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อ
ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …
ข้อเสนอ การแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแบบ 1 ชั้นครึ่ง ต่อที่ประชุม กมธ.ร่วมฯ มองว่าจะเป็นทางออกที่เป็นการประนีประนอมกับฝ่ายสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพราะจะเห็นได้จากการประชุม กมธ.ร่วมในครั้งแรก ผมมองว่าความยากอยู่ที่ฝ่าย ส.ว.และ ส.ส.มีหลักที่ยืนในจุดของตัวเอง ฝ่ายหนึ่งก็ยืนยันหนักแน่นว่าการแก้ไขประชามติจะต้องยึดหลักเสียงข้างมาก 2 ชั้นตามกฎหมายเดิม และ กมธ.ในฝ่าย ส.ส.ส่วนใหญ่ก็ยืนยันว่าการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ จะต้องใช้เสียงข้างมากแค่ 1 ชั้น เมื่อเสียงในชั้น กมธ.มีความเห็นต่างแบบนี้ ทางฝ่าย ส.ว.จะมีความเป็นปึกแผ่นมากกว่า ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าเมื่อถึงเวลาออกเสียงลงคะแนนแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประชามติ มองว่า ส.ว.จะยังคงยึดตามหลักเสียงข้างมาก 2 ชั้นเช่นเดิม ได้หารือกับนายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ซึ่งเป็นหนึ่งใน กมธ.ร่วม และเคยร่วมแปรญัตติให้มีเสียงขั้นต่ำ 1 ใน 4 ก่อนหน้านี้แล้ว การแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแบบ 1 ชั้นครึ่ง ยังเชื่อว่านายวิทยา ซึ่งเป็นหนึ่งใน กมธ.ส่วนของ ส.ส. จะให้ความเห็นชอบกับการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแบบ 1 ชั้นครึ่งอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่ได้พูดคุยกับ 2 กมธ.ในส่วนของ ส.ส.ที่มาจากสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) แต่ยังเชื่อว่า กมธ.ในส่วนของพรรค ภท.มีโอกาสที่จะเห็นด้วยกับการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแบบใช้เสียง 1 ชั้นครึ่ง เพราะร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติในส่วนของพรรค ภท. คล้ายกับร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแบบใช้เสียง 1 ชั้นครึ่งเหมือนกับร่างที่อยู่ใน ครม.และส่วนที่ผมเสนอไป
ส่วนที่นาย
ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า ข้อเสนอให้ทำประชามติ 1 ชั้นครึ่ง ยังมีความยากอยู่นั้น มองว่าร่างนี้ที่เสนอต่อ ครม.ครั้งแรก ก็เป็นการออกเสียงประชามติ 1 ชั้นครึ่ง เพราะเรามีความเห็นว่ารัฐธรรมนูญจะต้องมีความชอบธรรม ประชาชนต้องออกมาใช้เสียงประชามติเกินกึ่งหนึ่ง
สมมุติว่าถ้าเกิดมีประชาชนออกมาใช้สิทธิแค่ 10 ล้านคน แล้วจะถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับนั้นเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนก็ไม่ได้ เพราะว่าเสียงของผู้ออกมาใช้เสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญมีไม่เกินกึ่งหนึ่ง ร่างของนายชูศักดิ์ก็เป็นปัญหา ได้เตือนแล้วว่าจะมีปัญหาในชั้น ส.ว. มองว่าการเสนอการออกเสียงประชามติแบบ 1 ชั้นครึ่ง จะเป็นการประนีประนอมกับทาง ส.ว.และ ส.ส. มากกว่า และจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีเปอร์เซ็นต์ที่จะสำเร็จมากขึ้นด้วย
กมธ.ร่วมจะนัดประชุมเพื่อพิจารณาเงื่อนไขการทำประชามติ 1 ชั้นครึ่ง ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ในวันนั้น คาดว่าน่าจะมีการลงมติเลย โดย กมธ.จะเชิญทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และตัวแทนบริษัทไปรษณีย์ไทยเข้ามาร่วมประชุมกับ กมธ.ด้วย หลังจากทั้งสององค์กรที่ กมธ.เชิญมาเพื่อฟังระบบการเลือกตั้งโดยใช้ไปรษณีย์เป็นหลักแล้ว อาจจะมีการลงมติในวันนั้นเลย หรือถ้าไม่สามารถลงมติในวันนั้นได้หรืออาจจะเลื่อนไปไม่นาน หลังจากการลงมติในวันนั้น จะเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญเพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนขึ้นมาใหม่
หากท่าทีของ ส.ว.ยังคงยืนยันในจุดเดิม คือ การทำประชามติโดยใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จไม่ทันในรัฐบาลนี้หรือไม่ เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ถ้าฝ่าย ส.ว.ยังยืนยันหนักแน่นเหมือนเดิมว่าจะต้องใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น จะทำให้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติถูกพักไว้ 180 วัน เมื่อเป็นแบบนั้น เชื่อมั่นว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2570 จะยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิมอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ยังสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในช่วงระหว่างการเลือกตั้งครั้งหน้าได้
ส่วนที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) เข้าพบกับบุคคลสำคัญทั้ง 3 ฝ่าย อย่างประธานสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี และประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้จะเป็นจุดสำคัญที่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จหรือไม่ เรื่องนี้เชื่อว่าคณะกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญชี้ไว้แล้วว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง เคยเสนอการทำประชามติ 2 ครั้งตั้งแต่ตอนร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2563 แล้วก็ถูกร้องเรียนจนออกมาเป็นร่างรัฐธรรมนูญปี 2564 จากศาลรัฐธรรมนูญ โดยทางศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญโดยมีการตั้ง ส.ส.ร.เป็นการเปลี่ยนระบบการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ จะต้องถามฝ่ายประชาชนโดยการทำประชามติเสียก่อน ไม่ว่ายังไงสิ่งที่ออกมาเป็นคำวินิจฉัยของศาล คิดว่าการไปหาทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นประธานสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลรัฐธรรมนูญ ไม่น่าจะมีผลอะไรโดยเฉพาะฝ่ายของศาลรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่คนละฝ่ายกัน ในส่วนของประธานสภาผู้แทนราษฎร ถ้าฝ่ายนี้บรรจุร่างเข้าไปแล้วถูกร้องว่าทำผิดรัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะมีฝ่ายไหนออกมารับผิดชอบแทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
แต่ก็มองว่าการไปหาทั้ง 3 ฝ่ายในช่วงปิดสมัยประชุมสภา ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีกว่าอยู่เฉยๆ แต่ในส่วนตัวที่อยู่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมายาวนาน ไม่เชื่อว่าการไปหาประมุข 3 ฝ่ายแบบนี้จะเกิดผลใดๆ ต่อการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ
ตรีเนตร สาระพงษ์
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หากย้อนดูพัฒนาการของการทำประชามติก็จะเป็นได้ว่าประเทศไทยพัฒนาความยุ่งยากสลับซับซ้อนของการทำประชามติเพื่อขวางการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างชัดเจน
โดยเริ่มตั้งแต่การทำประชามติด้วยเสียงข้างมากของประชาชนแบบธรรมดา จากนั้นเริ่มมีการทำประชามติเสียงข้างมากแบบสองชั้นโดยเฉพาะ พ.ร.บ.ประชามติฯ ปี 2552 กับ พ.ร.บ.ประชามติฯ พ.ศ.2564 ซึ่งทำให้การทำประชามติยากขึ้นมาก และประชาชนก็ตกอยู่ในภาวะสับสน
การทำประชามติสะท้อนให้เห็นภาพของคนอยากแก้รัฐธรรมนูญกับคนที่ไม่อยากแก้รัฐธรรมนูญ โดยมีผลประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นเดิมพันในแง่ ส.ส. อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะ ส.ส.ได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ส่วน ส.ว.อาจมองว่ารัฐธรรมนูญเป็นประโยชน์กับทาง ส.ว. โดยเฉพาะที่มาของ ส.ว. ที่วิธีการได้มาควบคุมหรือจัดการได้ง่ายกว่าเนื่องจากไม่ได้มาจากประชาชนอันเป็นประชากรกลุ่มใหญ่
หากตั้งโจทย์ง่ายๆ แบบนี้ ก็จะเห็นได้ว่าเป็นการชักเย่อกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ 2 กลุ่มโดยไม่มีประชาชนเป็นสมการในนั้น เพราะหากคิดถึงประชาชนเราก็อาจไม่ได้เห็นสถาปัตยกรรมทางการเมืองที่ยุ่งยากและซับซ้อน โดยเฉพาะถ้อยคำใหม่ๆ ดังที่ปรากฏออกมาคือการทำประชามติแบบชั้นครึ่ง
ในทางหลักการเสียงข้างมากแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เสียงข้างมากธรรมดา (simple Majority) ซึ่งหมายถึงเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิกับเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute Majority) คือเสียงข้างมากของจำนวนทั้งหมด ซึ่งกรณีนี้คนที่ไม่มาใช้สิทธิหรือใช้สิทธิงดออกเสียงต้องนำมานับด้วย ประกอบด้วย แน่นอนว่าก่อนจะเป็นชั้นครึ่ง ย่อมต้องมีชั้นเดียวกับสองชั้น ซึ่งฝั่ง ส.ส.ต้องการให้การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในรูปแบบชั้นเดียว คือ ต้องมีองค์ประกอบอันได้แก่การที่ผู้มีสิทธิออกเสียง 40 ล้านคน จะต้องมาใช้สิทธิ 15 ล้านคน และมีผู้เห็นชอบเกิน 7.5 ล้านคน
ส่วน ส.ว.ต้องการให้มีการทำประชามติแบบสองชั้นตามกฎหมายประชามติในปัจจุบัน คือ ต้องมีองค์ประกอบ 2 ขั้นอัน ได้แก่ 1.การที่ผู้มีสิทธิออกเสียงจำนวน 40 ล้านคนนั้นจะต้อง “มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเกินครึ่ง” คือ 20 ล้านคน ถ้ามาใช้สิทธิน้อยกว่านั้นก็ถือว่าประชามตินั้นก็ตกไป 2.หากผ่านข้อ 1 มาได้ ก็จะมีอีกด่านหนึ่ง คือ ต้องมี “ผู้เห็นชอบเกินครึ่งของคนที่มาใช้สิทธิ” จากตัวอย่างเดิมหากประชากรจำนวน 40 ล้านคนออกมาใช้สิทธิ 20 ล้านคนซึ่งเกินกึ่งหนึ่ง จะมีผู้เห็นชอบเกิน 10 ล้านคน ประชามติถึงจะผ่าน
จากตัวอย่างข้างต้นหมายถึงหากมีผู้ใช้สิทธิในข้อ 1.ไม่เกินกึ่งหนึ่งก็ถือว่าประชามติแพ้น็อกตั้งแต่ยกแรก หากผ่านยกแรกมาได้ ยกสองชนะ คือคนโหวตให้แก้รัฐธรรมนูญก็ต้องเกินครึ่งของคนที่มาทำประชามติด้วย
แน่นอนว่าคนที่ไม่อยากให้ประชามติผ่านก็แค่รณรงค์ให้ประชาชนไม่ออกมาทำประชามติ ในขณะที่คนที่อยากให้ประชามติผ่านจะต้องรณรงค์ 2 ชั้น คือให้ออกมาใช้สิทธิและให้ออกเสียงเห็นชอบ อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบสองชั้นอาจมองได้ว่าแม้เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่ผลที่ได้มาอาจมีความชอบธรรมสูงกว่าแบบชั้นเดียว
ส่วนประชามติชั้นครึ่ง ตามที่นาย
นิกร จำนง ออกมาเปิดเผยเป็นการเสนอมีแนวทาง ดังนี้ 1.ต้องมีผู้ใช้สิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ 2. มีจำนวนเสียงของ
ผู้เห็นชอบเกินครึ่ง และ 3.ประชามติแบบชั้นครึ่งจะนำการออกเสียงตามข้อ 2 จะต้องมาจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มเห็นชอบ กลุ่มสองกลุ่มไม่ประสงค์จะลงประชามติ และกลุ่มสามกลุ่มไม่เห็นด้วย การพิจารณาหาก “กลุ่มที่เห็นด้วยออกคะแนนสูงกว่ากลุ่มคะแนนกลุ่มไม่เห็นด้วย”
ซึ่งวิธีนี้ถือว่าคนที่มาใช้สิทธิแต่ไม่ตัดสินใจรับหรือไม่รับคือมาแต่ไม่ตัดสินใจ ก็จะไม่สามารถลบล้างหรือทำลายผลการตัดสินใจของคนที่มาใช้สิทธิโดยสมบูรณ์ อันมีองค์ประกอบคือมาและตัดสินใจ ซึ่งวิธีการแบบชั้นครึ่งนี้ก็สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 266/2553 ที่ให้นับเฉพาะผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง คือ มาและตัดสินใจว่ารับหรือไม่รับเท่านั้น ดังนั้น คนไม่มา หรือมาแต่งดออกเสียง หรือทำบัตรเสียก็จะไม่ถูกนับด้วย นอกจากนั้นยังมีสูตรอื่นๆ เช่น การพิจารณาผู้ใช้สิทธิที่อาจมาไม่ถึงขนาดเกินครึ่ง แต่อาจไม่น้อยกว่าเท่าใด เช่น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
อย่างไรก็ตาม แม้ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับ ส.ว. จะมุ่งไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้ความสำคัญกับประเด็นประชามติ หากกฎหมายผ่านก็จะมีความยุ่งยากและการขอประชามติก็เป็นเรื่องที่มีอุปสรรคจากตัวกฎหมายเอง หรือในความซับซ้อนอาจไม่เปิดช่องให้ประชาชนแสดงเจตจำนงผ่านประชามติ อย่างไรก็ตามใน พ.ร.บ.ประชามติฯ ยังมีมาตรา 9(5) ที่เปิดช่องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการเข้าชื่อของประชาชน 50,000 ชื่อทำประชามติแทน ซึ่งไม่แน่ใจว่า ส.ว.หลงลืม หรือจงใจให้ไปใช้ช่องทางนี้แทน
กมธ. พัฒนาการเมือง สว. เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาชาติพันธุ์ชาวเล และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
https://prachatai.com/journal/2024/11/111336
ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เรียกร้องรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาชาติพันธุ์ชาวเล และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ชี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาเร่งด่วน พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
10 พ.ย. 2567
เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา นาง
อังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระพิจารณาเรื่องขอให้คุ้มครองวิถีชีวิตและสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน และเรื่องติดตามการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) โดยมีผู้แทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม และเครือข่ายชาวเลอันดามัน เข้าร่วมชี้แจง
JJNY : ถอดรหัส กม.ประชามติ│ร้องเร่งแก้ปัญหาชาติพันธุ์ชาวเล│เร่ขาย-เช่าล้งทุเรียนจันท์│ญี่ปุ่นประกาศ“ไข้หวัดใหญ่” ระบาด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4890587
หมายเหตุ – ความเห็นนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันระหว่าง ส.ส.และ ส.ว. เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ กรณีเสนอให้ทำประชามติชั้นครึ่ง และนักวิชาการ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่ได้พูดคุยกับ 2 กมธ.ในส่วนของ ส.ส.ที่มาจากสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย (ภท.) แต่ยังเชื่อว่า กมธ.ในส่วนของพรรค ภท.มีโอกาสที่จะเห็นด้วยกับการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแบบใช้เสียง 1 ชั้นครึ่ง เพราะร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติในส่วนของพรรค ภท. คล้ายกับร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติแบบใช้เสียง 1 ชั้นครึ่งเหมือนกับร่างที่อยู่ใน ครม.และส่วนที่ผมเสนอไป
ส่วนที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า ข้อเสนอให้ทำประชามติ 1 ชั้นครึ่ง ยังมีความยากอยู่นั้น มองว่าร่างนี้ที่เสนอต่อ ครม.ครั้งแรก ก็เป็นการออกเสียงประชามติ 1 ชั้นครึ่ง เพราะเรามีความเห็นว่ารัฐธรรมนูญจะต้องมีความชอบธรรม ประชาชนต้องออกมาใช้เสียงประชามติเกินกึ่งหนึ่ง
สมมุติว่าถ้าเกิดมีประชาชนออกมาใช้สิทธิแค่ 10 ล้านคน แล้วจะถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับนั้นเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนก็ไม่ได้ เพราะว่าเสียงของผู้ออกมาใช้เสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญมีไม่เกินกึ่งหนึ่ง ร่างของนายชูศักดิ์ก็เป็นปัญหา ได้เตือนแล้วว่าจะมีปัญหาในชั้น ส.ว. มองว่าการเสนอการออกเสียงประชามติแบบ 1 ชั้นครึ่ง จะเป็นการประนีประนอมกับทาง ส.ว.และ ส.ส. มากกว่า และจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีเปอร์เซ็นต์ที่จะสำเร็จมากขึ้นด้วย
กมธ.ร่วมจะนัดประชุมเพื่อพิจารณาเงื่อนไขการทำประชามติ 1 ชั้นครึ่ง ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ในวันนั้น คาดว่าน่าจะมีการลงมติเลย โดย กมธ.จะเชิญทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และตัวแทนบริษัทไปรษณีย์ไทยเข้ามาร่วมประชุมกับ กมธ.ด้วย หลังจากทั้งสององค์กรที่ กมธ.เชิญมาเพื่อฟังระบบการเลือกตั้งโดยใช้ไปรษณีย์เป็นหลักแล้ว อาจจะมีการลงมติในวันนั้นเลย หรือถ้าไม่สามารถลงมติในวันนั้นได้หรืออาจจะเลื่อนไปไม่นาน หลังจากการลงมติในวันนั้น จะเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญเพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนขึ้นมาใหม่
หากท่าทีของ ส.ว.ยังคงยืนยันในจุดเดิม คือ การทำประชามติโดยใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จไม่ทันในรัฐบาลนี้หรือไม่ เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ถ้าฝ่าย ส.ว.ยังยืนยันหนักแน่นเหมือนเดิมว่าจะต้องใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น จะทำให้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติถูกพักไว้ 180 วัน เมื่อเป็นแบบนั้น เชื่อมั่นว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2570 จะยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิมอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ยังสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในช่วงระหว่างการเลือกตั้งครั้งหน้าได้
ส่วนที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) เข้าพบกับบุคคลสำคัญทั้ง 3 ฝ่าย อย่างประธานสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี และประธานศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้จะเป็นจุดสำคัญที่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จหรือไม่ เรื่องนี้เชื่อว่าคณะกรรมการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญชี้ไว้แล้วว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง เคยเสนอการทำประชามติ 2 ครั้งตั้งแต่ตอนร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2563 แล้วก็ถูกร้องเรียนจนออกมาเป็นร่างรัฐธรรมนูญปี 2564 จากศาลรัฐธรรมนูญ โดยทางศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญโดยมีการตั้ง ส.ส.ร.เป็นการเปลี่ยนระบบการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ จะต้องถามฝ่ายประชาชนโดยการทำประชามติเสียก่อน ไม่ว่ายังไงสิ่งที่ออกมาเป็นคำวินิจฉัยของศาล คิดว่าการไปหาทั้ง 3 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นประธานสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลรัฐธรรมนูญ ไม่น่าจะมีผลอะไรโดยเฉพาะฝ่ายของศาลรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่คนละฝ่ายกัน ในส่วนของประธานสภาผู้แทนราษฎร ถ้าฝ่ายนี้บรรจุร่างเข้าไปแล้วถูกร้องว่าทำผิดรัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะมีฝ่ายไหนออกมารับผิดชอบแทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
แต่ก็มองว่าการไปหาทั้ง 3 ฝ่ายในช่วงปิดสมัยประชุมสภา ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีกว่าอยู่เฉยๆ แต่ในส่วนตัวที่อยู่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมายาวนาน ไม่เชื่อว่าการไปหาประมุข 3 ฝ่ายแบบนี้จะเกิดผลใดๆ ต่อการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ
โดยเริ่มตั้งแต่การทำประชามติด้วยเสียงข้างมากของประชาชนแบบธรรมดา จากนั้นเริ่มมีการทำประชามติเสียงข้างมากแบบสองชั้นโดยเฉพาะ พ.ร.บ.ประชามติฯ ปี 2552 กับ พ.ร.บ.ประชามติฯ พ.ศ.2564 ซึ่งทำให้การทำประชามติยากขึ้นมาก และประชาชนก็ตกอยู่ในภาวะสับสน
การทำประชามติสะท้อนให้เห็นภาพของคนอยากแก้รัฐธรรมนูญกับคนที่ไม่อยากแก้รัฐธรรมนูญ โดยมีผลประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นเดิมพันในแง่ ส.ส. อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะ ส.ส.ได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ส่วน ส.ว.อาจมองว่ารัฐธรรมนูญเป็นประโยชน์กับทาง ส.ว. โดยเฉพาะที่มาของ ส.ว. ที่วิธีการได้มาควบคุมหรือจัดการได้ง่ายกว่าเนื่องจากไม่ได้มาจากประชาชนอันเป็นประชากรกลุ่มใหญ่
หากตั้งโจทย์ง่ายๆ แบบนี้ ก็จะเห็นได้ว่าเป็นการชักเย่อกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ 2 กลุ่มโดยไม่มีประชาชนเป็นสมการในนั้น เพราะหากคิดถึงประชาชนเราก็อาจไม่ได้เห็นสถาปัตยกรรมทางการเมืองที่ยุ่งยากและซับซ้อน โดยเฉพาะถ้อยคำใหม่ๆ ดังที่ปรากฏออกมาคือการทำประชามติแบบชั้นครึ่ง
ในทางหลักการเสียงข้างมากแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เสียงข้างมากธรรมดา (simple Majority) ซึ่งหมายถึงเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิกับเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute Majority) คือเสียงข้างมากของจำนวนทั้งหมด ซึ่งกรณีนี้คนที่ไม่มาใช้สิทธิหรือใช้สิทธิงดออกเสียงต้องนำมานับด้วย ประกอบด้วย แน่นอนว่าก่อนจะเป็นชั้นครึ่ง ย่อมต้องมีชั้นเดียวกับสองชั้น ซึ่งฝั่ง ส.ส.ต้องการให้การทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในรูปแบบชั้นเดียว คือ ต้องมีองค์ประกอบอันได้แก่การที่ผู้มีสิทธิออกเสียง 40 ล้านคน จะต้องมาใช้สิทธิ 15 ล้านคน และมีผู้เห็นชอบเกิน 7.5 ล้านคน
ส่วน ส.ว.ต้องการให้มีการทำประชามติแบบสองชั้นตามกฎหมายประชามติในปัจจุบัน คือ ต้องมีองค์ประกอบ 2 ขั้นอัน ได้แก่ 1.การที่ผู้มีสิทธิออกเสียงจำนวน 40 ล้านคนนั้นจะต้อง “มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเกินครึ่ง” คือ 20 ล้านคน ถ้ามาใช้สิทธิน้อยกว่านั้นก็ถือว่าประชามตินั้นก็ตกไป 2.หากผ่านข้อ 1 มาได้ ก็จะมีอีกด่านหนึ่ง คือ ต้องมี “ผู้เห็นชอบเกินครึ่งของคนที่มาใช้สิทธิ” จากตัวอย่างเดิมหากประชากรจำนวน 40 ล้านคนออกมาใช้สิทธิ 20 ล้านคนซึ่งเกินกึ่งหนึ่ง จะมีผู้เห็นชอบเกิน 10 ล้านคน ประชามติถึงจะผ่าน
จากตัวอย่างข้างต้นหมายถึงหากมีผู้ใช้สิทธิในข้อ 1.ไม่เกินกึ่งหนึ่งก็ถือว่าประชามติแพ้น็อกตั้งแต่ยกแรก หากผ่านยกแรกมาได้ ยกสองชนะ คือคนโหวตให้แก้รัฐธรรมนูญก็ต้องเกินครึ่งของคนที่มาทำประชามติด้วย
แน่นอนว่าคนที่ไม่อยากให้ประชามติผ่านก็แค่รณรงค์ให้ประชาชนไม่ออกมาทำประชามติ ในขณะที่คนที่อยากให้ประชามติผ่านจะต้องรณรงค์ 2 ชั้น คือให้ออกมาใช้สิทธิและให้ออกเสียงเห็นชอบ อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบสองชั้นอาจมองได้ว่าแม้เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่ผลที่ได้มาอาจมีความชอบธรรมสูงกว่าแบบชั้นเดียว
ส่วนประชามติชั้นครึ่ง ตามที่นายนิกร จำนง ออกมาเปิดเผยเป็นการเสนอมีแนวทาง ดังนี้ 1.ต้องมีผู้ใช้สิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ 2. มีจำนวนเสียงของ
ผู้เห็นชอบเกินครึ่ง และ 3.ประชามติแบบชั้นครึ่งจะนำการออกเสียงตามข้อ 2 จะต้องมาจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มเห็นชอบ กลุ่มสองกลุ่มไม่ประสงค์จะลงประชามติ และกลุ่มสามกลุ่มไม่เห็นด้วย การพิจารณาหาก “กลุ่มที่เห็นด้วยออกคะแนนสูงกว่ากลุ่มคะแนนกลุ่มไม่เห็นด้วย”
ซึ่งวิธีนี้ถือว่าคนที่มาใช้สิทธิแต่ไม่ตัดสินใจรับหรือไม่รับคือมาแต่ไม่ตัดสินใจ ก็จะไม่สามารถลบล้างหรือทำลายผลการตัดสินใจของคนที่มาใช้สิทธิโดยสมบูรณ์ อันมีองค์ประกอบคือมาและตัดสินใจ ซึ่งวิธีการแบบชั้นครึ่งนี้ก็สอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 266/2553 ที่ให้นับเฉพาะผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง คือ มาและตัดสินใจว่ารับหรือไม่รับเท่านั้น ดังนั้น คนไม่มา หรือมาแต่งดออกเสียง หรือทำบัตรเสียก็จะไม่ถูกนับด้วย นอกจากนั้นยังมีสูตรอื่นๆ เช่น การพิจารณาผู้ใช้สิทธิที่อาจมาไม่ถึงขนาดเกินครึ่ง แต่อาจไม่น้อยกว่าเท่าใด เช่น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
อย่างไรก็ตาม แม้ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับ ส.ว. จะมุ่งไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้ความสำคัญกับประเด็นประชามติ หากกฎหมายผ่านก็จะมีความยุ่งยากและการขอประชามติก็เป็นเรื่องที่มีอุปสรรคจากตัวกฎหมายเอง หรือในความซับซ้อนอาจไม่เปิดช่องให้ประชาชนแสดงเจตจำนงผ่านประชามติ อย่างไรก็ตามใน พ.ร.บ.ประชามติฯ ยังมีมาตรา 9(5) ที่เปิดช่องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการเข้าชื่อของประชาชน 50,000 ชื่อทำประชามติแทน ซึ่งไม่แน่ใจว่า ส.ว.หลงลืม หรือจงใจให้ไปใช้ช่องทางนี้แทน
กมธ. พัฒนาการเมือง สว. เรียกร้องเร่งแก้ปัญหาชาติพันธุ์ชาวเล และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
https://prachatai.com/journal/2024/11/111336
ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เรียกร้องรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาชาติพันธุ์ชาวเล และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ชี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาเร่งด่วน พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
10 พ.ย. 2567 เว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระพิจารณาเรื่องขอให้คุ้มครองวิถีชีวิตและสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน และเรื่องติดตามการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) โดยมีผู้แทนจากสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม และเครือข่ายชาวเลอันดามัน เข้าร่วมชี้แจง