JJNY : ดัชนีเชื่อมั่น 14จว.ใต้วูบ│กมธ.พัฒนาการเมือง ขอพบ 3บุคคลสำคัญ│ครูประทีป ยังหวังนำ 7จำเลย│สหรัฐระบุทหารเกาหลีเหนือ

หาดใหญ่โพลชี้ ดัชนีเชื่อมั่น 14 จว.ใต้วูบ หนี้สินครัวเรือน รายได้น้อย กำลังซื้อต่ำ กระทบศก.ตกต่ำ
https://www.matichon.co.th/region/news_4876398
 
 
หาดใหญ่โพลชี้ ดัชนีเชื่อมั่น14 จว.ใต้วูบ หนี้สินครัวเรือน กำลังซื้อน้อย เป็นปัจจัยหลักกระทบเศรษฐกิจตกต่ำ ห่วงค่าแรง 400 ส่งผลให้สถานประกอบการต้องลดคนงาน กิจการขนาดเล็กปิดตัว ชี้เงินหมื่นที่แจกไปแทบไม่มีผลต่อระบบ ศก.โดยภาพรวม

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ 420 ตัวอย่าง ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่าความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนตุลาคม ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน

ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน ฐานะการเงิน การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

ปัจจัยลบที่สำคัญเกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ หนี้สินครัวเรือนยังอยู่ในระดับที่สูง และรายได้ของประชาชนโดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้กำลังซื้อน้อย ส่งผลให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อย แม้ว่ารัฐบาลได้แจกเงินสด 10,000 บาทแก่กลุ่มเปราะบางที่ดำเนินการไปเมื่อปลายเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศได้เพียงระยะสั้น และแทบไม่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม ประชาชนส่วนหนึ่งที่เป็นนักลงทุนมองว่า สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่มีความแน่นอน ทำให้ต้องชะลอการลงทุนไว้ก่อน

ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวต่อว่า จากการที่รัฐบาลจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันทั่วประเทศในช่วงเศรษฐกิจที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้ อาจทำให้ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกำไรน้อยย่อมได้รับผลกระทบจากนโยบาย เพราะกิจการส่วนหนึ่งได้มีการจ่ายค่าแรงตามระดับความสามารถ หากมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ลูกจ้างกลุ่มที่เคยได้รับค่าแรงต่ำที่สุด จะมีค่าแรงขึ้นมาใกล้เคียงลูกจ้างกลุ่มตรงกลาง ผู้ประกอบการอาจจะต้องปรับค่าจ้างของลูกจ้างกลุ่มตรงกลางให้สูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าแรงงานของกิจการสูงขึ้นมาก

เพื่อให้กิจการดำรงอยู่ได้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องลดจำนวนคนงานลง เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่กระทบต่อกิจการขนาดเล็กที่อาจจะต้องปิดกิจการ และทำให้ประชาชนที่เป็นแรงงานส่วนหนึ่งต้องตกงาน จากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ เพราะมิฉะนั้นอาจเป็นการแก้ปัญหาหนึ่ง แต่ก็ไปสร้างปัญหาใหม่อีกอย่างหนึ่ง

ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า หากต้นเหตุของปัญหาค่าจ้างต่ำ คือ แรงงานไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานระดับพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพไม่สูงนัก และค่าจ้างที่ได้รับก็สะท้อนผลิตภาพของแรงงาน ดังนั้น รัฐบาลควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน โดยการพัฒนาศักยภาพของแรงงานที่อยู่ในระดับพื้นฐาน ให้เป็นแรงงานที่มีฝีมือ ทั้งนี้ การจ่ายค่าจ้างควรปรับตามความสามารถของแรงงานและผลิตภาพที่แรงงานทำได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งฝั่งลูกจ้างและนายจ้าง

ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องหารายได้เสริม จึงมีประชาชนจำนวนมากสนใจทำธุรกิจขายตรงแบบเครือข่าย (Multi-Level Marketing : MLM) ซึ่งมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสบความสำเร็จ และขาดทุนจากการทำธุรกิจ

ธุรกิจเครือข่ายที่เป็นกระแสอยู่ขณะนี้ คือ “ดิไอคอน กรุ๊ป” พบว่า มีกลุ่มผู้เสียหายจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถขายสินค้าและหาตัวแทนขายได้ จึงทำให้ต้องสูญเสียเงินจากการเข้ามาทำธุรกิจกับ “ดิไอคอน กรุ๊ป” ซึ่งผู้เสียหายส่วนใหญ่ไม่ถนัดในการขายและหาตัวแทนขาย แต่ที่เข้ามาทำเพราะถูกชักชวน โน้มน้าว และจูงใจให้หลงเชื่อว่า “ทำได้ง่าย ทำได้แน่นอน” จึงทำให้ผู้เสียหายส่วนหนึ่งยอมกู้เงินทั้งในระบบและนอกระบบ จำนำ และจำนองทรัพย์สินที่มีอยู่ คาดหวังว่าเมื่อได้รับผลตอบแทนจากธุรกิจแล้วจะนำมาใช้คืน

เมื่อได้เข้ามาทำธุรกิจ ก็รู้ว่าตนเองไม่สามารถทำได้ และต้องเสียเงินที่ลงทุนไปทั้งหมด จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องความเสียหายจาก “ดิไอคอน กรุ๊ป” พบว่า ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจประเภทนี้ และคิดว่าตนเองเป็นผู้เสียหายจากธุรกิจขายตรงแบบเครือข่าย (MLM) ยังมีในบริษัทอื่น ๆ อีกจำนวนมาก

ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า จากการที่มีผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจริงๆ ได้เรียกร้องเพื่อให้ “ดิไอคอน กรุ๊ป” ชดเชยค่าเสียหายนั้น จนถึงบัดนี้ ผู้เสียหายที่แท้จริงยังไม่ได้รับการชดเชยค่าเสียหายเลย โดยมองว่า ที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และเป็นการพิจารณาตามกระแสสังคม โดยยังไม่มีการคัดกรองและตรวจสอบหาผู้เสียหายที่แท้จริง

เสนอแนะว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทำการประชุม หาแนวทางการช่วยเหลือโดยการชดเชยค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบและความเสียหายจริงๆ โดยในการจัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสมาคมขายตรงไทย ตัวแทนของ “ดิไอคอน กรุ๊ป”นักวิชาการทางด้านการตลาดที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจขายตรงแบบเครือข่ายเป็นอย่างดี ตัวแทนของดีเอสไอ ตัวแทนจากสภาทนายความ ตัวแทนซึ่งเป็นผู้เสียหายจริงๆ และตัวแทนจากภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า จากการสัมภาษณ์ประชาชนส่วนหนึ่งคาดหวังว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น จากการบริหารงานของคณะรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เนื่องจากเป็นลูกของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยมีผลงานทางด้านเศรษฐกิจไว้มากมาย ประชาชนกลับไม่เห็นมาตรการขับเคลื่อนใดๆ ที่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้นเลย นอกจากแจกเงิน 10,000 บาทแก่กลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นผลงานต่อเนื่องจากรัฐบาลของนายกเศรษฐา ทวีสิน

ขอให้นางสาวแพทองธาร ในฐานะผู้นำรัฐบาล ให้ทำงานแบบเชิงรุก และกระตุ้นคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นางสาวแพทองธาร แต่งตั้งให้รีบเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ประชาชนส่วนหนึ่งยังเฝ้ารอ และให้โอกาสนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ในการสร้างผลงาน แต่ไม่ควรใช้เวลานานจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงไปกว่านี้

ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า ราคาพลังงานที่สูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้นตามไปด้วย ประชาชนจึงต้องการให้ภาครัฐเร่งปรับโครงสร้างราคาพลังงานควบคู่กับการเร่งจัดทำ ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงขยายระยะเวลามาตรการลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชน

เศรษฐกิจประเทศตกต่ำ กำลังซื้อของประชาชนลดลง ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยและการท่องเที่ยวในประเทศน้อยลงตามไปด้วย ประชาชนมีความคิดเห็นว่า ภาครัฐควรเพิ่มมาตรการกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศให้ครอบคลุมทุกจังหวัดของประเทศไทยไปพร้อมกัน มิใช่กระตุ้นการท่องเที่ยวเฉพาะภาคเหนือ เช่น โครงการ “แอ่วเหนือคนละครึ่ง” ประชาชนในภาคใต้ก็รอโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวในภาคใต้เช่นเดียวกัน

ผศ.ดร.วิวัฒน์กล่าวว่า ประชาชนจำนวนไม่น้อยขาดทุนจากการซื้อสินค้าจากธุรกิจขายตรงแบบเครือข่าย (MLM) ซึ่งส่วนใหญ่ขายสินค้าและแนะนำตัวแทนขายไม่ได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกกฎหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจขายตรงแบบเครือข่าย (MLM) โดยให้ผู้ที่สมัครเป็นตัวแทนขายที่ได้จ่ายเงินในการซื้อสินค้าไปแล้ว หากขายสินค้าไม่ได้ ให้ตัวแทนขายสามารถคืนสินค้าได้ภายใน 2 สัปดาห์ และให้บริษัทคืนเงินให้เท่ากับจำนวนสินค้าที่คืน ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากธุรกิจขายตรงแบบเครือข่าย (MLM) มีจำนวนลดลงไปอย่างมาก

ประชาชนที่ทำธุรกิจจำนวนไม่น้อยได้รับความเดือดร้อนจากการรีดทรัพย์จากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐบางคน นักร้องเรียนบางคน คนสนิทของนักการเมืองบางคน ทนายบางคน ตัวแทนของมูลนิธิและชมรมบางคน อินฟลูเอนเซอร์บางคน ส่วนหนึ่งแฝงตัวเป็นผู้ที่จะเข้ามาช่วยเหลือประชาชน เบื้องหลังมีผลประโยชน์แอบแฝง โดยจะทำการข่มขู่เจ้าของธุรกิจ และปั่นกระแสกับรายการดัง และพยายามทำให้มีผู้เสียหายจำนวนมาก เพื่อให้เป็นข่าวดัง และจะได้เรียกรับเงินจำนวนมาก แอบอ้างว่าจะนำไปให้แก่ผู้เสียหาย เสนอให้ภาครัฐควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบการทำความผิด ควรออกกฎหมายเพื่อกำหนดโทษให้หนัก เพื่อให้การรีดทรัพย์หมดไปหรือลดน้อยลง.


 
กมธ.พัฒนาการเมือง ขอพบ 3 บุคคลสำคัญ หาทางออกมีรธน.ใหม่ทันใช้เลือกตั้งหน้า.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9485660

พริษฐ์ เผย กมธ.พัฒนาการเมือง ทำหนังสือขอเข้าพบ ‘นายกฯ-ประธานรัฐสภา-ประธานศาล รธน.’ หวังร่วมหาทางออกให้ประเทศมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า ชี้ถ้ารัฐบาลยังต้องการทำให้บรรลุเป้าหมาย ต้องวางแผนใหม่

เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2567 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) กล่าวถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่า เวลานี้เกือบเป็นที่แน่นอนแล้วว่าหากรัฐบาลเดินตามแผนเดิม เราจะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จัดทำโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) บังคับใช้ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป ตามนโยบายที่รัฐบาลเคยได้ประกาศไว้

แผนเดิม ที่ว่าคือแผนที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา คือให้มีกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประกอบด้วยการทำประชามติ 3 ครั้ง โดยกำหนดว่าจะไม่มีการจัดประชามติครั้งแรกจนกว่าร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 
ประชามติ จะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย ซึ่ง ครม. ของน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่เคยสื่อสารว่ามีแผนที่เปลี่ยนแปลงไป

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการพิจารณาร่างร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากความเห็นที่แตกต่างกัน ระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จนทำให้ประชามติรอบแรกยากที่จะเกิดขึ้นทันช่วงเดียวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นในเดือนก.พ. 2568 ซึ่งเป็นแผนเดิมของรัฐบาล ดังนั้น ตนจึงเห็นว่าหากรัฐบาลยังต้องการบรรลุเป้าหมาย มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ทันบังคับใช้ก่อนเลือกตั้ง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องคิดแผนใหม่

นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า ในบรรดาทางเลือกที่เหลืออยู่ ตนเห็นว่าทางเดียวที่เป็นไปได้ คือ การลดจำนวนการทำประชามติจาก 3 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง โดยขั้นตอนแรกของกระบวนการดังกล่าวคือ การให้รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการมีส.ส.ร.มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือแก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1

ทั้งนี้ แม้พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลในขณะนั้น ต่างยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญลักษณะดังกล่าวเข้ารัฐสภาตั้งแต่ต้นปี 2567 แต่รัฐสภายังไม่มีโอกาสพิจารณาร่างเหล่านั้น เพราะประธานรัฐสภาตัดสินใจไม่บรรจุร่างเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา เนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ซึ่งยังมีการตีความที่แตกต่างกันระหว่างสมาชิกรัฐสภาและภายในสังคม

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า แม้ตนเคยอภิปรายไปแล้วว่าเพราะอะไรตนจึงเห็นว่าการเดินหน้าด้วยกระบวนการทำประชามติ 2 ครั้ง และการบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สสร. เข้าสู่รัฐสภา จึงสอดคล้องกับกฎหมายและคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทุกประการ แต่เพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกร่วมกับทุกฝ่าย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่