ส.ส.ก้าวไกล ข้องใจ รบ.เอื้อทุน จ่อให้ต่างชาติ ถืออสังหา 99 ปี ชาดา ลุกยันแค่ศึกษา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4662913
ส.ส.ก้าวไกล ข้องใจรบ.เตรียมเปิดช่องให้ต่างชาติถือครองอสังหาฯ 99 ปี หวั่นคนไทยลำบาก ซัดนายกฯ หวังช่วยกลุ่มทุน ด้าน “ชาดา” ยอมรับ “นายกฯ” สั่งให้เร่งดำเนินการ แก้กม.แจงต้องแก้เพื่อดึงเงินลงทุนต่างชาติ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม พิจาณณาวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา ของ นาย
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส. กทม. พรรคก้าวไกล ถามนายกฯ กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนนี้ เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และเรื่องอื่นๆ ว่า จากกรณีที่มติครม. เรื่องมาตรการช่วยบริษัทอสังหาฯ ระบายสต๊อก และการให้ต่างชาติ ถือครองคอนโดจาก 49 เปอร์เซ็นต์เป็น 75 เปอร์เซ็นต์ และขยายเวลาให้ต่างชาติเช่าทรัพย์อิงสิทธิ จาก 30 ปี
เป็น 99 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมกังวลมาก เพราะเกี่ยวข้องกับอนาคตของประเทศไทย และคนไทยทุกคน ในฐานะที่นายกฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาฯ เคยขายดอนโดมาก่อน ต่างชาติซื้อเยอะ น่าจะรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น แต่นายกฯไม่มาตอบ กลับให้นาย
ชาดา ไทยเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มาตอบแทน
ดังนั้น ขอให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาทบทวนการกำหนดระยะเวลาทรัพย์อิงสิทธิ ตามพ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิปี 62 และพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิกับคนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ที่ครม.ให้ไปแก้ หากมีความจำเป็นหรือต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการนี้ ขอให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินตามขั้นตอนโดยเร็ว และการที่นายกฯ ไม่เป็นประธานการประชุมครม.แต่ให้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานประชมครม.แทน เพราะอะไร หรือนายกฯกลัวโดนครหาว่า กำลังเอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มทุนในธุรกิจเดิมที่ท่านเคยเป็นอดีตผู้บริหาหรือไม่
“
การที่ครม.ให้มหาดไทยไปแก้กฎหมายระบุชัดเจนเลยว่า ต้องแก้ทรัพย์อิงสิทธิ จาก 30 ปี เป็น 99 ปี ต้องไปแก้ พ.ร.บ.อาคารชุด จากต่างด้าวถือ จาก 49 เป็น 75 เปอร์เซ็นต์ แปลว่าครม.มีธงอยู่แล้วใช่หรือไม่ว่า จะแก้กฎหมายนี้ เพราะนี่ไม่ใช่การศึกษา เพราะครม.ต้องทราบว่า สิ่งที่ทำอยู่ดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
อย่างไร เพราะปัจจุบันต่างชาติถือครองคอนโดทั้งประเทศแค่ 16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีเพียงแค่บางโครงการเท่านั้นที่ถือครองชนเพดาน 49 เปอร์เซ็นต์ แล้วจะแก้จาก 49 เป็น 79 เปอร์เซ็นต์ทำไม เอาความเสี่ยงของประเทศไปแลกเพื่อจะช่วยบางโครงการขายได้มากขึ้นหรือไม่ และทำไมต้องให้ต่างด้าวเช่า 99 ปี และใครเป็นต้นคิดเอาเรื่องนี้เข้าครม. และมติครม.ไม่ได้ให้ศึกษา แต่ให้พิจารณาทบทวนแก้ไขกฎหมาย” นาย
ศุภณัฐ กล่าว
ขณะที่ นาย
ชาดา ชี้แจงแทนนายกฯว่า การประชุมครม.เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ตนไม่อยู่ในครม.ตนลาประชุมไปพิธีฮัจญ์ แต่ก็ศึกษาเรื่องนี้ ไม่ว่าจะอยู่หรือไม่อยู่ในครม. เมื่อมีมติออกมาแล้วมีปัญหาก็โดนเหมือนกันหมด ซึ่งในเรื่องนี้ตนได้รับนโยบายจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาคือให้ไปศึกษาผลได้ผลเสีย และผลกระทบ ซึ่งประเด็นทรัพย์อิงสิทธินั้นคือการเช่า ส่วนที่ให้เช่า 99 ปีนั้นไม่ใช่การเช่าเกาะฮ่องกง
ทั้งนี้ ตนเห็นว่า กฎหมายเหล่านี้ตายตัวไม่ได้ ต้องปรับปรุงและแก้ไข ได้ตามภาวะเศรษฐกิจที่บางครั้งต้องการเงินทุนจากต่างชาติ และการที่จะให้ต่างชาติมาลงทุน ก็ต้องดูว่า ต่างชาติไม่ได้มาครอบครองและยึดไปหมดในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และคนไทยเราก็กลัวกับกฎหมายแบบนี้ กลัวว่าคนต่างชาติจะเข้ามาครอบงำประเทศไทยจะมาเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก แต่ในภาวะที่เราต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องยอมรับว่า ต้องปรับปรุงข้อกฎหมาย ต้องศึกษาผลดี ผลเสียให้รอบด้าน
“ยื
นยันว่า นายกฯให้ศึกษา ไม่ได้ให้ทำเลย ซึ่งผมคุยกับกรมที่ดินว่าการดำเนินการเรื่องนี้ ต้องทำให้ชัดเจนในเหตุผล ข้อดีอย่างไรถึงให้เพิ่มเป็น 75% ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและศึกษาการครองครองประเภทไหน แบบไหนมากกว่า ทั้งนี้นายกฯ สั่งให้เร่งดำเนินการ ซึ่งผมเข้าใจเรื่องความเป็นห่วงที่ต่างชาติจะครอบครองสิทธิ 75% แต่ที่ผ่านมาเคยมีมาแล้ว แต่ครอบครองได้ 5 ปี แต่ขณะนี้ยกเลิกแล้ว ยืนยันว่า ยังไม่ได้ดำเนินการและทำอะไรเลย และผมไม่ทราบจริงๆที่นายกฯให้ท่านภูมิธรรม เป็นประธาน ผมคิดว่าคงไม่เกี่ยวกับการที่ท่านทำธุรกิจด้านนี้แล้วกลัว แต่อย่างไรความเป็นจริงต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว เพราะรู้กันอยู่แล้วท่านเคยทำธุรกิจตรงนี้มา ไม่ว่าจะออกหรือเสนอโดยใคร ย่อมหนีไม่พ้น แต่วันนั้นนายกฯคงติดภารกิจ และวันนั้นผมก็ไม่อยู่” นาย
ชาดา กล่าว
นาย
ชาดา กล่าวด้วยว่า นายกฯ สั่งให้แก้ไข แต่ต้องศึกษาผลดีผลเสีย อีกทั้งต้องส่งให้สภาฯ พิจารณาลงมติ ทั้งนี้การศึกษาไม่ใช่ยกที่ดินให้ใคร หากเป็นเช่นนั้นตนไม่ยอม และไม่มีใครสั่งตนได้ ทั้งนี้ มีการเสนอแก้ไขกฎหมายที่ดิน ส่วนของนิติบุคคล ตามที่พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทยเสนอ ซึ่งตนให้ศึกษาทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาต้องดูว่าสมควรทำหรือไม่ หากเป็นผลเสียจำนวนมาก นายกฯ คงไม่ฝืน แต่ตอนนี้เป็นคำสั่งให้แก้กฎหมาย เพื่อศึกษาวิเคราะห์ เรื่องนี้ต้องชี้แจงประชาชน นายกฯ มาบริหารบ้านเมือง แผ่นดินเป็นของคนไทย จะทำอะไรต้องถามประชาชน แต่คนที่เป็นผู้บริหารต้องมีไอเดีย แนวคิดเพื่อให้เศรษฐกิจนำพาประเทศไปในทางที่ถูกที่ควร ดังนั้นไม่ต้องห่วง และต้องแยก มีวิธีคิดระหว่างเศรษฐกิจ ความมั่นคงชาติ และผลประโยชน์ของแผ่นดิน
นาย
ศุภณัฐ ถามอีกว่า ในข้อสังเกตของการเปิดให้ต่างชาติถือครองทรัพย์สิน ในรูปแบบทรัพย์อิงสิทธิ เท่ากับผู้เช่าเป็นเจ้าของที่ดินและสามารถนำไปลงทุนใดๆ ก็ได้รวมถึงโอนถ่ายเป็นมรดกได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อกรณีที่คนไทยที่ต้องการมีบ้านหรือถือครองสิทธิที่ดิน อย่างไรก็ตามเรื่องที่รัฐบาลเตรียมดำเนินการนั้น นายกฯ พร้อมจะอนุมัติเพราะก่อนหน้านี้เคยโพสต์ให้ความเห็นสนับสนุน อีกทั้งก่อนหน้านี้มีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เข้าพบ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อระบายอสังหาริมทรัพย์ที่เฟ้ออยู่ในปัจจุบัน และกลัวว่าวันหนึ่งคนไทยจะต้องเช่าที่ดินต่อต่าง จากต่างชาติ เพราะที่ดินเป็นของจำกัดผลิตซ้ำไม่ได้ ถ้าเราเปิดเสรี คนจีนหิ้วเงิน 10 ล้านล้านบาทเข้ามาเหมาได้เลยในใจกลางเมือง ถ้าจะจะช่วยกลุ่มทุนแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่มีมาตรการรองรับคนไทยจะลำบาก ดังนั้นควรถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กลับนโยบายนี้ และหากจะศึกษาก็ควรทำระยะสั้น กำหนดเป็นบางพื้นที่ เฉพาะบางโครงการ และกำหนดว่าถ้ามาซื้อแล้วต้องลงทุนเท่าไหร่ในธุรกิจกลุ่มใด ที่เป็นธุรกิจเป้าหมายของรัฐบาล
‘ชวลิต ทสท.’ ชี้เลือก สว. ขัดรัฐธรรมนูญ ม.114 เป็นหน้าที่ กกต.
https://www.dailynews.co.th/news/3604312/
'ชวลิต ทสท.' ชี้เลือก สว. ขัดรัฐธรรมนูญ ม.114 เป็นหน้าที่ กกต. ต้องรักษากฎหมายสูงสุดของประเทศ.
เมื่อวันที่ 4 ก.ค. นาย
ชวลิต วิชยสุทธิ์ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ให้ความเห็นต่อการเลือก สว. ที่เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 114 บัญญัติให้ สส. และ สว. “
เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย” แต่การเลือก สว. ที่ผ่านมา มีจังหวัดที่ไม่ได้ สว. ถึง 9 จังหวัด (รวมจำนวนประชากรหลายล้านคน) แสดงว่า กระบวนการเลือกมีช่องทางไม่สุจริต จนทำให้ไม่มี สว. ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยครบทุกจังหวัด นับว่าขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 114 อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเบือกตั้ง (กกต.) ที่ต้องรักษากฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ ด้วยการบริหารจัดการให้การเลือก สว. เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม
“
ผมเป็นคนไทยคนหนึ่ง ไม่อยากแบกหน้าอายคนทั้งโลกว่า ประเทศยูเลือก สว. ประหลาดที่สุดในโลก”
ดัชนีเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 2 ลดลง
https://tna.mcot.net/latest-news-1387422
กรุงเทพฯ 4 ก.ค. – SME D Bank เผยดัชนีเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 2/67 ระดับ 52.06 ลดลง เหตุเอสเอ็มอี แนะรัฐอัดฉีดเงินกระตุ้นกำลังซื้อ
นาย
พิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า SME D Bank ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ พบว่าภาพรวมดัชนีเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 2/2567 อยู่ในระดับ 52.06 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรก อยู่ในระดับ 52.36 เนื่องจากเอสเอ็มอี กังวลต้นทุนประกอบการสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัวทั้งเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังขาดความชัดเจน กำลังซื้อของลูกค้าลดลง ปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
เมื่อแยกพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรม เอสเอ็มอีด้านการผลิต ร้อยละ 55 มีความเชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากไตรมาส 2/2567 เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยว การบริโภคในประเทศ และการส่งออก ทำให้ธุรกิจการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเชื่อมั่นว่า ผลประกอบการและสภาพคล่องของธุรกิจการผลิตจะดีขึ้น และเชื่อมั่นเงินลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจภาคเกษตรมีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มีความเชื่อมั่นต่ำที่สุด และต่ำกว่าธุรกิจอื่น เช่นเดียวกับในไตรมาสที่ 1/2567 ที่ผ่านมา
ส่วนคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (ไตรมาส 3/2567) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นอยู่ระดับ 58.60 เพิ่มขึ้นในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านผลประกอบการ จำนวนคำสั่งซื้อ ราคาขายของสินค้า สภาพคล่องของธุรกิจ และปริมาณการผลิต เนื่องจากคาดการณ์เศรษฐกิจโดยรวมจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้านต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับเดิม
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที โดยมาตรการที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) และกลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อม (Small) ต้องการมากที่สุด คือ มาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ ในขณะที่ กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) ต้องการมาตรการเงินลงทุนยกระดับมาตรฐาน หรือปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
นายพิชิต กล่าวสรุปว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจยังไม่สนับสนุนให้เอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นมากนัก และยังมีความกังวลด้านต้นทุนเพิ่มขึ้น ประกอบกับเอสเอ็มอียังต้องการมาตรการสนับสนุน เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจให้เติบโต จึงพร้อมให้สินเชื่อ “Smile Biz ธุรกิจยิ้มได้” ทำธุรกิจมา 1 ปีก็กู้ได้ วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6.50% ต่อปี ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน อีกทั้ง มีโปรโมชันพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยใช้บริการสินเชื่อจาก SME D Bank มาก่อน เมื่อยื่นกู้และได้รับการอนุมัติ ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ภายใน 30 กันยายน 2567 รับ Cash Back สูงสุด 3,000 บาท
ควบคู่กับให้บริการด้านการพัฒนาเสริมแกร่งธุรกิจ ฟรี ผ่านแพลตฟอร์ม “DX” by SME D Bank (dx.smebank.co.th) ที่รวบรวมการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีครบถ้วนในจุดเดียว เช่น Business Health Check ระบบตรวจประเมินสุขภาพธุรกิจ E-Learning รวบรวมหลักสูตรความรู้สำคัญ ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำธุรกิจจากโค้ชมืออาชีพ ระบบจองเข้าร่วมกิจกรรมเติมความรู้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และสิทธิประโยชน์พิเศษอื่นๆ อีกมากมาย สามารถแจ้งความประสงค์รับบริการ ทั้งด้านการเงินและการพัฒนาได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น LINE Official Account : SME Development Bank เว็บไซต์ www.smebank.co.th และสาขาของ SME D Bank ทั่วประเทศ เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357.-515 สำนักข่าวไทย
JJNY : ส.ส.ก้าวไกลข้องใจ เอื้อทุน│‘ชวลิต ทสท.’ชี้เลือกสว.ขัดรธน. ม.114│ดัชนีเชื่อมั่นฯQ2 ลดลง│มอสโกร้อนที่สุดในรอบ 100ปี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4662913
ส.ส.ก้าวไกล ข้องใจรบ.เตรียมเปิดช่องให้ต่างชาติถือครองอสังหาฯ 99 ปี หวั่นคนไทยลำบาก ซัดนายกฯ หวังช่วยกลุ่มทุน ด้าน “ชาดา” ยอมรับ “นายกฯ” สั่งให้เร่งดำเนินการ แก้กม.แจงต้องแก้เพื่อดึงเงินลงทุนต่างชาติ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม พิจาณณาวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา ของ นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส. กทม. พรรคก้าวไกล ถามนายกฯ กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนนี้ เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และเรื่องอื่นๆ ว่า จากกรณีที่มติครม. เรื่องมาตรการช่วยบริษัทอสังหาฯ ระบายสต๊อก และการให้ต่างชาติ ถือครองคอนโดจาก 49 เปอร์เซ็นต์เป็น 75 เปอร์เซ็นต์ และขยายเวลาให้ต่างชาติเช่าทรัพย์อิงสิทธิ จาก 30 ปี
เป็น 99 ปี ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมกังวลมาก เพราะเกี่ยวข้องกับอนาคตของประเทศไทย และคนไทยทุกคน ในฐานะที่นายกฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาฯ เคยขายดอนโดมาก่อน ต่างชาติซื้อเยอะ น่าจะรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น แต่นายกฯไม่มาตอบ กลับให้นายชาดา ไทยเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มาตอบแทน
ดังนั้น ขอให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาทบทวนการกำหนดระยะเวลาทรัพย์อิงสิทธิ ตามพ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิปี 62 และพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิกับคนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ที่ครม.ให้ไปแก้ หากมีความจำเป็นหรือต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการนี้ ขอให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินตามขั้นตอนโดยเร็ว และการที่นายกฯ ไม่เป็นประธานการประชุมครม.แต่ให้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานประชมครม.แทน เพราะอะไร หรือนายกฯกลัวโดนครหาว่า กำลังเอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มทุนในธุรกิจเดิมที่ท่านเคยเป็นอดีตผู้บริหาหรือไม่
“การที่ครม.ให้มหาดไทยไปแก้กฎหมายระบุชัดเจนเลยว่า ต้องแก้ทรัพย์อิงสิทธิ จาก 30 ปี เป็น 99 ปี ต้องไปแก้ พ.ร.บ.อาคารชุด จากต่างด้าวถือ จาก 49 เป็น 75 เปอร์เซ็นต์ แปลว่าครม.มีธงอยู่แล้วใช่หรือไม่ว่า จะแก้กฎหมายนี้ เพราะนี่ไม่ใช่การศึกษา เพราะครม.ต้องทราบว่า สิ่งที่ทำอยู่ดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
อย่างไร เพราะปัจจุบันต่างชาติถือครองคอนโดทั้งประเทศแค่ 16 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีเพียงแค่บางโครงการเท่านั้นที่ถือครองชนเพดาน 49 เปอร์เซ็นต์ แล้วจะแก้จาก 49 เป็น 79 เปอร์เซ็นต์ทำไม เอาความเสี่ยงของประเทศไปแลกเพื่อจะช่วยบางโครงการขายได้มากขึ้นหรือไม่ และทำไมต้องให้ต่างด้าวเช่า 99 ปี และใครเป็นต้นคิดเอาเรื่องนี้เข้าครม. และมติครม.ไม่ได้ให้ศึกษา แต่ให้พิจารณาทบทวนแก้ไขกฎหมาย” นายศุภณัฐ กล่าว
ขณะที่ นายชาดา ชี้แจงแทนนายกฯว่า การประชุมครม.เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ตนไม่อยู่ในครม.ตนลาประชุมไปพิธีฮัจญ์ แต่ก็ศึกษาเรื่องนี้ ไม่ว่าจะอยู่หรือไม่อยู่ในครม. เมื่อมีมติออกมาแล้วมีปัญหาก็โดนเหมือนกันหมด ซึ่งในเรื่องนี้ตนได้รับนโยบายจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาคือให้ไปศึกษาผลได้ผลเสีย และผลกระทบ ซึ่งประเด็นทรัพย์อิงสิทธินั้นคือการเช่า ส่วนที่ให้เช่า 99 ปีนั้นไม่ใช่การเช่าเกาะฮ่องกง
ทั้งนี้ ตนเห็นว่า กฎหมายเหล่านี้ตายตัวไม่ได้ ต้องปรับปรุงและแก้ไข ได้ตามภาวะเศรษฐกิจที่บางครั้งต้องการเงินทุนจากต่างชาติ และการที่จะให้ต่างชาติมาลงทุน ก็ต้องดูว่า ต่างชาติไม่ได้มาครอบครองและยึดไปหมดในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และคนไทยเราก็กลัวกับกฎหมายแบบนี้ กลัวว่าคนต่างชาติจะเข้ามาครอบงำประเทศไทยจะมาเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก แต่ในภาวะที่เราต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องยอมรับว่า ต้องปรับปรุงข้อกฎหมาย ต้องศึกษาผลดี ผลเสียให้รอบด้าน
“ยืนยันว่า นายกฯให้ศึกษา ไม่ได้ให้ทำเลย ซึ่งผมคุยกับกรมที่ดินว่าการดำเนินการเรื่องนี้ ต้องทำให้ชัดเจนในเหตุผล ข้อดีอย่างไรถึงให้เพิ่มเป็น 75% ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและศึกษาการครองครองประเภทไหน แบบไหนมากกว่า ทั้งนี้นายกฯ สั่งให้เร่งดำเนินการ ซึ่งผมเข้าใจเรื่องความเป็นห่วงที่ต่างชาติจะครอบครองสิทธิ 75% แต่ที่ผ่านมาเคยมีมาแล้ว แต่ครอบครองได้ 5 ปี แต่ขณะนี้ยกเลิกแล้ว ยืนยันว่า ยังไม่ได้ดำเนินการและทำอะไรเลย และผมไม่ทราบจริงๆที่นายกฯให้ท่านภูมิธรรม เป็นประธาน ผมคิดว่าคงไม่เกี่ยวกับการที่ท่านทำธุรกิจด้านนี้แล้วกลัว แต่อย่างไรความเป็นจริงต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว เพราะรู้กันอยู่แล้วท่านเคยทำธุรกิจตรงนี้มา ไม่ว่าจะออกหรือเสนอโดยใคร ย่อมหนีไม่พ้น แต่วันนั้นนายกฯคงติดภารกิจ และวันนั้นผมก็ไม่อยู่” นายชาดา กล่าว
นายชาดา กล่าวด้วยว่า นายกฯ สั่งให้แก้ไข แต่ต้องศึกษาผลดีผลเสีย อีกทั้งต้องส่งให้สภาฯ พิจารณาลงมติ ทั้งนี้การศึกษาไม่ใช่ยกที่ดินให้ใคร หากเป็นเช่นนั้นตนไม่ยอม และไม่มีใครสั่งตนได้ ทั้งนี้ มีการเสนอแก้ไขกฎหมายที่ดิน ส่วนของนิติบุคคล ตามที่พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทยเสนอ ซึ่งตนให้ศึกษาทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาต้องดูว่าสมควรทำหรือไม่ หากเป็นผลเสียจำนวนมาก นายกฯ คงไม่ฝืน แต่ตอนนี้เป็นคำสั่งให้แก้กฎหมาย เพื่อศึกษาวิเคราะห์ เรื่องนี้ต้องชี้แจงประชาชน นายกฯ มาบริหารบ้านเมือง แผ่นดินเป็นของคนไทย จะทำอะไรต้องถามประชาชน แต่คนที่เป็นผู้บริหารต้องมีไอเดีย แนวคิดเพื่อให้เศรษฐกิจนำพาประเทศไปในทางที่ถูกที่ควร ดังนั้นไม่ต้องห่วง และต้องแยก มีวิธีคิดระหว่างเศรษฐกิจ ความมั่นคงชาติ และผลประโยชน์ของแผ่นดิน
นายศุภณัฐ ถามอีกว่า ในข้อสังเกตของการเปิดให้ต่างชาติถือครองทรัพย์สิน ในรูปแบบทรัพย์อิงสิทธิ เท่ากับผู้เช่าเป็นเจ้าของที่ดินและสามารถนำไปลงทุนใดๆ ก็ได้รวมถึงโอนถ่ายเป็นมรดกได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อกรณีที่คนไทยที่ต้องการมีบ้านหรือถือครองสิทธิที่ดิน อย่างไรก็ตามเรื่องที่รัฐบาลเตรียมดำเนินการนั้น นายกฯ พร้อมจะอนุมัติเพราะก่อนหน้านี้เคยโพสต์ให้ความเห็นสนับสนุน อีกทั้งก่อนหน้านี้มีกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เข้าพบ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยเหลือเพื่อระบายอสังหาริมทรัพย์ที่เฟ้ออยู่ในปัจจุบัน และกลัวว่าวันหนึ่งคนไทยจะต้องเช่าที่ดินต่อต่าง จากต่างชาติ เพราะที่ดินเป็นของจำกัดผลิตซ้ำไม่ได้ ถ้าเราเปิดเสรี คนจีนหิ้วเงิน 10 ล้านล้านบาทเข้ามาเหมาได้เลยในใจกลางเมือง ถ้าจะจะช่วยกลุ่มทุนแบบไม่ลืมหูลืมตา ไม่มีมาตรการรองรับคนไทยจะลำบาก ดังนั้นควรถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กลับนโยบายนี้ และหากจะศึกษาก็ควรทำระยะสั้น กำหนดเป็นบางพื้นที่ เฉพาะบางโครงการ และกำหนดว่าถ้ามาซื้อแล้วต้องลงทุนเท่าไหร่ในธุรกิจกลุ่มใด ที่เป็นธุรกิจเป้าหมายของรัฐบาล
‘ชวลิต ทสท.’ ชี้เลือก สว. ขัดรัฐธรรมนูญ ม.114 เป็นหน้าที่ กกต.
https://www.dailynews.co.th/news/3604312/
'ชวลิต ทสท.' ชี้เลือก สว. ขัดรัฐธรรมนูญ ม.114 เป็นหน้าที่ กกต. ต้องรักษากฎหมายสูงสุดของประเทศ.
เมื่อวันที่ 4 ก.ค. นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ให้ความเห็นต่อการเลือก สว. ที่เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 114 บัญญัติให้ สส. และ สว. “เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย” แต่การเลือก สว. ที่ผ่านมา มีจังหวัดที่ไม่ได้ สว. ถึง 9 จังหวัด (รวมจำนวนประชากรหลายล้านคน) แสดงว่า กระบวนการเลือกมีช่องทางไม่สุจริต จนทำให้ไม่มี สว. ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยครบทุกจังหวัด นับว่าขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 114 อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเบือกตั้ง (กกต.) ที่ต้องรักษากฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ ด้วยการบริหารจัดการให้การเลือก สว. เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม
“ผมเป็นคนไทยคนหนึ่ง ไม่อยากแบกหน้าอายคนทั้งโลกว่า ประเทศยูเลือก สว. ประหลาดที่สุดในโลก”
ดัชนีเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 2 ลดลง
https://tna.mcot.net/latest-news-1387422
กรุงเทพฯ 4 ก.ค. – SME D Bank เผยดัชนีเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 2/67 ระดับ 52.06 ลดลง เหตุเอสเอ็มอี แนะรัฐอัดฉีดเงินกระตุ้นกำลังซื้อ
นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า SME D Bank ร่วมกับ ม.ธรรมศาสตร์ พบว่าภาพรวมดัชนีเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 2/2567 อยู่ในระดับ 52.06 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรก อยู่ในระดับ 52.36 เนื่องจากเอสเอ็มอี กังวลต้นทุนประกอบการสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัวทั้งเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังขาดความชัดเจน กำลังซื้อของลูกค้าลดลง ปัญหาขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
เมื่อแยกพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรม เอสเอ็มอีด้านการผลิต ร้อยละ 55 มีความเชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากไตรมาส 2/2567 เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยว การบริโภคในประเทศ และการส่งออก ทำให้ธุรกิจการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเชื่อมั่นว่า ผลประกอบการและสภาพคล่องของธุรกิจการผลิตจะดีขึ้น และเชื่อมั่นเงินลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจภาคเกษตรมีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มีความเชื่อมั่นต่ำที่สุด และต่ำกว่าธุรกิจอื่น เช่นเดียวกับในไตรมาสที่ 1/2567 ที่ผ่านมา
ส่วนคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (ไตรมาส 3/2567) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นอยู่ระดับ 58.60 เพิ่มขึ้นในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านผลประกอบการ จำนวนคำสั่งซื้อ ราคาขายของสินค้า สภาพคล่องของธุรกิจ และปริมาณการผลิต เนื่องจากคาดการณ์เศรษฐกิจโดยรวมจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้านต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับเดิม
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที โดยมาตรการที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) และกลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อม (Small) ต้องการมากที่สุด คือ มาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ ในขณะที่ กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) ต้องการมาตรการเงินลงทุนยกระดับมาตรฐาน หรือปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
นายพิชิต กล่าวสรุปว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจยังไม่สนับสนุนให้เอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นมากนัก และยังมีความกังวลด้านต้นทุนเพิ่มขึ้น ประกอบกับเอสเอ็มอียังต้องการมาตรการสนับสนุน เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจให้เติบโต จึงพร้อมให้สินเชื่อ “Smile Biz ธุรกิจยิ้มได้” ทำธุรกิจมา 1 ปีก็กู้ได้ วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6.50% ต่อปี ผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน อีกทั้ง มีโปรโมชันพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยใช้บริการสินเชื่อจาก SME D Bank มาก่อน เมื่อยื่นกู้และได้รับการอนุมัติ ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ภายใน 30 กันยายน 2567 รับ Cash Back สูงสุด 3,000 บาท
ควบคู่กับให้บริการด้านการพัฒนาเสริมแกร่งธุรกิจ ฟรี ผ่านแพลตฟอร์ม “DX” by SME D Bank (dx.smebank.co.th) ที่รวบรวมการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีครบถ้วนในจุดเดียว เช่น Business Health Check ระบบตรวจประเมินสุขภาพธุรกิจ E-Learning รวบรวมหลักสูตรความรู้สำคัญ ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำธุรกิจจากโค้ชมืออาชีพ ระบบจองเข้าร่วมกิจกรรมเติมความรู้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี และสิทธิประโยชน์พิเศษอื่นๆ อีกมากมาย สามารถแจ้งความประสงค์รับบริการ ทั้งด้านการเงินและการพัฒนาได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น LINE Official Account : SME Development Bank เว็บไซต์ www.smebank.co.th และสาขาของ SME D Bank ทั่วประเทศ เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357.-515 สำนักข่าวไทย