เสียงเตือนเริ่มดังขึ้น ประชาชนหันพึ่งหนี้นอกระบบ
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยปรับตัวดีขึ้น โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานข้อมูลล่าสุดไตรมาส 2 ปี 2567 หนี้สินครัวเรือนขยายตัวชะลอลงจากการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่คุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนลดลงต่อเนื่องและในทุกประเภทสินเชื่อ โดยมูลค่าหนี้ครัวเรือนไตรมาส 2 ปี 2567 อยู่ที่ 16.32 ล้านล้านบาท คิดเป็น 89.6% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2567 ที่มีมูลค่า 16.36 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.7% ของจีดีพี
ถึงแม้ว่ามูลค่าหนี้ครัวเรือนจะลดลง แต่มีคำเตือนถึงแนวโน้มการก่อหนี้ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราการผิดนัดชำระที่สูง รวมถึงความเสี่ยงจากการต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบของครัวเรือนเพราะการเข้มงวดการเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะลูกหนี้ที่กู้ในระบบเต็มวงเงินแล้ว สำหรับปัญหาหนี้นอกระบบเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะจะเป็นต้นทางที่ทำให้ผู้ก่อหนี้เข้าไปอยู่ในวงจรหนี้ที่จะปลดภาระหนี้ได้ลำบาก
ในภาวะที่ธนาคารปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง รวมถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ดูเหมือนจะดีขึ้น แต่สถานการณ์ของหนี้ครัวเรือนยังนับว่าน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคุณภาพหนี้ที่ลดลงส่งผลอย่างยิ่งให้ธนาคารเพิ่มความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ และกอดสภาพคล่องไว้เพื่อลดความเสี่ยงของตัวเอง จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อบ้านมีทิศทางลดลงต่อเนื่อง ขณะนี้เสียงเตือนของปัญหาหนี้ครัวเรือนดังเพิ่มขึ้นถึงความกังวลการก่อหนี้จะไปที่นอกระบบมากขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงตนมาตลอดถึงการมีส่วนร่วมในการปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท.ยืนยันว่าเป็นภารกิจของ ธปท.ที่จะทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดย ธปท.ร่วมกับรัฐบาลขับเคลื่อนโครงการ “คุณสู้เราช่วย” เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่เน้นตัดเงินต้น และลดภาระผ่อนในช่วง 3 ปีเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ โดยใช้แนวทางการร่วมสมทบเงินจากภาครัฐและสถาบันการเงินเพื่อช่วยลดภาระจ่ายของลูกหนี้
การดำเนินการดังกล่าว ธปท.ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล พร้อมกับเคยยืนยันว่าไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพราะจะทำให้หนี้ครัวเรือนมากขึ้น โดยการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมีหลายเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกัน ซึ่งมีภาครัฐเป็นผู้ใช้เครื่องมือดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการผ่อนคลายมาตรการการเงิน รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ดูเหมือน ธปท.จะไม่เลือกใช้วิธีการนี้ สำหรับเสียงเตือนปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ดังขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ผู้กำกับนโยบายการคลังและนโยบายการเงินปล่อยผ่านไม่ได้ โดยเฉพาะผู้กำกับนโยบายการเงิน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
เสียงเตือนเริ่มดังขึ้น ประชาชนหันพึ่งหนี้นอกระบบ
ถึงแม้ว่ามูลค่าหนี้ครัวเรือนจะลดลง แต่มีคำเตือนถึงแนวโน้มการก่อหนี้ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราการผิดนัดชำระที่สูง รวมถึงความเสี่ยงจากการต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบของครัวเรือนเพราะการเข้มงวดการเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะลูกหนี้ที่กู้ในระบบเต็มวงเงินแล้ว สำหรับปัญหาหนี้นอกระบบเป็นเรื่องน่ากังวลเพราะจะเป็นต้นทางที่ทำให้ผู้ก่อหนี้เข้าไปอยู่ในวงจรหนี้ที่จะปลดภาระหนี้ได้ลำบาก
ในภาวะที่ธนาคารปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง รวมถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ดูเหมือนจะดีขึ้น แต่สถานการณ์ของหนี้ครัวเรือนยังนับว่าน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคุณภาพหนี้ที่ลดลงส่งผลอย่างยิ่งให้ธนาคารเพิ่มความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ และกอดสภาพคล่องไว้เพื่อลดความเสี่ยงของตัวเอง จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อบ้านมีทิศทางลดลงต่อเนื่อง ขณะนี้เสียงเตือนของปัญหาหนี้ครัวเรือนดังเพิ่มขึ้นถึงความกังวลการก่อหนี้จะไปที่นอกระบบมากขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงตนมาตลอดถึงการมีส่วนร่วมในการปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท.ยืนยันว่าเป็นภารกิจของ ธปท.ที่จะทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดย ธปท.ร่วมกับรัฐบาลขับเคลื่อนโครงการ “คุณสู้เราช่วย” เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่เน้นตัดเงินต้น และลดภาระผ่อนในช่วง 3 ปีเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ โดยใช้แนวทางการร่วมสมทบเงินจากภาครัฐและสถาบันการเงินเพื่อช่วยลดภาระจ่ายของลูกหนี้
การดำเนินการดังกล่าว ธปท.ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล พร้อมกับเคยยืนยันว่าไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพราะจะทำให้หนี้ครัวเรือนมากขึ้น โดยการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมีหลายเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกัน ซึ่งมีภาครัฐเป็นผู้ใช้เครื่องมือดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการผ่อนคลายมาตรการการเงิน รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ดูเหมือน ธปท.จะไม่เลือกใช้วิธีการนี้ สำหรับเสียงเตือนปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ดังขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ผู้กำกับนโยบายการคลังและนโยบายการเงินปล่อยผ่านไม่ได้ โดยเฉพาะผู้กำกับนโยบายการเงิน