ซีอีโอแบงก์ ถอดรหัสเศรษฐกิจปี’68 สารพัดความท้าทายรุมเร้า “ผยง ศรีวณิช” แบงก์กรุงไทย ชี้เหนื่อยต่อแต่มีความหวัง เผยโจทย์ที่ต้องเร่ง “แก้หนี้ครัวเรือน-แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง” หวังช่วยหนุนธุรกิจ K ล่าง สู่ K ขาบน กสิกรฯ-ไทยพาณิชย์ ส่งสัญญาณเศรษฐกิจ “ทรุดตัว” ความท้าทายไม่น้อยกว่าเดิม-เพิ่มเติมคือเศรษฐกิจโตต่ำเหลือแค่ 2.4% หวั่นเอฟเฟ็กต์นโยบายกีดกันการค้าสหรัฐสะเทือนส่งออกฉุดรายได้ประเทศ ขณะที่ “ชาติศิริ โสภณพนิช” มองบวกมาตรการรัฐหนุนเศรษฐกิจโต 3% CEO ทิสโก้ชี้หัวใจธุรกิจแบงก์คุม Credit Cost หลังการหารายได้มีข้อจำกัด
ผยง : ปี’68 เหนื่อยแต่มีหวัง
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย (TBA) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ปี 2568 สิ่งแรกที่เร่ง คือการเร่งดำเนินการ (Execute) มาตรการของภาครัฐในเรื่องมาตรการแก้หนี้ครัวเรือน “คุณสู้ เราช่วย” ที่สมาคมธนาคารไทย ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาจะเป็นตัวจุดเริ่มต้นของ Big Impact รวมทั้งต้องมีมาตรการอื่น ๆ เสริมตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเพิ่มรายได้ การเพิ่มทักษะ เพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอี เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เป็นการปรับแก้โครงสร้างเชิงระบบ และการให้บริการลูกค้าแบบเท่าเทียมกัน ซึ่งประเด็นนี้เป็นหัวใจหลัก
“การวิ่งสปีดตรงนี้จำเป็นต้องเร็ว เพราะเราเจอกับความผันผวนของตลาดโลกที่เกิดจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และการแข่งขันของ 2 ขั้ว คำถามสำคัญคือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายกลางและรายเล็ก จะสามารถพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพ และมีต้นทุนที่แข่งขันกับผู้เล่นระดับโลกได้อย่างไร เพราะถ้าไม่สามารถแก้เรื่องของรายได้ ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน”
นายผยงกล่าวว่า ความหวังของภาคธนาคารคือ การพลิกฟื้นเศรษฐกิจ เพราะภาคการธนาคารเป็นอุตสาหกรรมที่สะท้อนระบบเศรษฐกิจ เพราะธนาคารเข้าไปแตะในทุกเซ็กเตอร์ และเป็นตัวแปรผันและจัดสรรทรัพยากรด้านสภาพคล่องไปสู่การปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้คนต่อยอดไปสู่ระบบเศรษฐกิจ
“เศรษฐกิจขยายตัวเร็วเท่าไร ธุรกิจแบงก์ก็จะขยายตัวได้เท่านั้น โดยที่ต้องหลุดจากกับดักเดิม และโครงสร้างจะต้องเอื้อในการเติบโต”
หนุนกลุ่ม K ขาล่างสู่ K ขาบน
ซีอีโอแบงก์กรุงไทยกล่าวว่า สำหรับการปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2568 ยังคงต้องระมัดระวัง แต่ก็มีความหวังว่าการเปลี่ยนผ่านจะมาพร้อมโอกาส สำหรับคนที่พยายามปรับเปลี่ยน ซึ่งจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจและธุรกิจ โดยร่วมมือกันในการดึงคนเหล่านี้ให้ออกจาก K ขาล่าง ไปสู่กลุ่ม K ขาบน เพื่อความยั่งยืนของระบบ ขณะที่ในส่วนของคุณภาพสินเชื่อยังมีความเป็นห่วงอยู่ แต่หลังมีมาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” ก็คาดหวังให้ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางจะฟื้นกลับมา
“ปี’68 ยังเป็นปีที่เหนื่อยต่อเนื่อง แต่เป็นปีที่มีความหวัง เพราะเศรษฐกิจพลิกฟื้น และในช่วงที่มีความผันผวนและมีแรงกระเพื่อมของมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกย่อมมีโอกาสแฝงอยู่ ทั้งการปรับเปลี่ยนของ Global Supply Chain ในเรื่องของฐานการผลิต ย่อมมาพร้อมโอกาส และเราจะมีความพร้อมขนาดไหน และรัฐบาลก็มีนโยบายที่สอดรับกับโอกาสเหล่านี้อยู่”
นายผยงกล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจะเป็น “ตัวสําคัญ” ไม่เช่นนั้นประเทศไทยก็จะติดกับดักโตต่ำศักยภาพไปอีกนาน
กสิกรฯหั่นจีดีพีเหลือ 2.4%
ด้านนางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2567 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่มีความท้าทาย และปี 2568 ยังคงมีความท้าทายไม่น้อยกว่าเดิม ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 2.4% ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำ ลดลงจากปี 2567 ขยายตัว 2.6% เป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง และยังต้องใช้ระยะเวลาอีกมากในการปรับเปลี่ยน ทำให้เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้น้อยกว่าศักยภาพ
ขณะที่นโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ ยังมีความไม่แน่นอน และสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการภาษีเข้ามากีดกันการค้า ซึ่งจะกระทบต่อภาคธุรกิจไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ หากมีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าก็จะกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย อย่างไรก็ดี ในอุตสาหกรรมที่มีปัญหาหรือได้รับผลกระทบ ย่อมมีคนที่ดีและมีโอกาสอยู่ ดังนั้นธนาคารจะต้องหาให้เจอ
ซีอีโอเคแบงก์กล่าวว่า อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อภาคธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย คือ การที่สินค้าจากจีนที่ถูกสหรัฐกีดกันการค้าจะทะลักเข้ามาขายในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายแบบเดียวกัน แต่ราคาถูกกว่า เป็นปัญหาที่จะต้องมีการแก้ไขและหาแนวทางป้องกัน เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจของไทยให้อยู่รอด
“ธุรกิจเอสเอ็มอีตอนนี้ยังลำบากอยู่ และเป็นเซ็กเมนต์สำคัญที่สุดของประเทศ หากไม่ช่วยเขาก็ไม่รอด ธนาคารจึงต้องทำให้เขารอด เพราะถ้าเขารอด เราจะได้รอดด้วย โดยในระยะกลางและยาวประเทศไทยจำเป็นต้องแก้โครงสร้างเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยยังเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจยุคเก่า เราจำเป็นต้องทำให้เป็นเศรษฐกิจยุคใหม่”
เน้นปล่อยกู้ลูกค้าที่มีประวัติ
ซีอีโอธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่า สำหรับอัตราการขยายตัวสินเชื่อในปี 2568 จะสอดคล้องไปตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 หดตัว -0.18% คาดทั้งปี 2567 สินเชื่อคงไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำหรับการปล่อยสินเชื่อในปี 2568 จะต้อง
ทำอย่างระมัดระวังทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ และมุ่งเน้นไปในกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารรู้จักประวัติ ต่อยอดฐานลูกค้าเดิม
ที่มีอยู่
ปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมีฐานลูกค้าโมบายแบงกิ้ง (K PLUS) อยู่ที่ 22.8 ล้านคน แต่ยังใช้สินเชื่อกับธนาคารค่อนข้างน้อย เช่นเดียวกับลูกค้าเอสเอ็มอีที่มีอยู่ 3 ล้านราย แต่ใช้บริการสินเชื่อธนาคารเพียง 1 ล้านราย แต่อีก 2 ล้านรายยังไม่ได้ใช้บริการ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเหล่านี้เข้ามาใช้บริการได้
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) พยายามควบคุมไม่ให้เกิน 3% คาดว่าจากมาตรการแก้หนี้ที่ออกมา น่าจะทำให้สถานการณ์หนี้เสียดีขึ้น แต่หากต้องการแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ต้องแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ
นางสาวขัตติยากล่าวว่า โจทย์สำคัญของธนาคารคือ การเพิ่ม Productivity การนำเทคโนโลยี และ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ เตือนความเสี่ยง และพัฒนา Credit Scoring พร้อมแล้ว คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่ม Productivity สิ่งเหล่านี้ที่เราทำจะเห็นผลภายใน 2-3 ปี
โดยธนาคารกสิกรไทยยังคงมุ่งมั่นส่งมอบผลตอบแทนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน และลูกค้า โดยตั้งเป้าอัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) เติบโตในอัตราเลข 2 หลัก (Dubble Digit) ภายในปี 2569 จากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 9.47% ทั้งนี้ เพื่อยกระดับผลประกอบการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เพราะต้องถือว่าผลตอบแทนธนาคารไทยยังต่ำกว่ามาตรฐานโลก
“ชาติศิริ-มองบวก GDP โต 3%
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ มองเศรษฐกิจปี 2568 ว่า น่าจะปรับดีขึ้นกว่าในปี 2567 โดยมีโอกาสเติบโตในระดับ 3% จากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการค้าขายในต่างประเทศและจากปัจจัยบวกในประเทศ รวมถึงมาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” จะเป็นการแบ่งเบาภาระให้ผู้ประกอบการที่ยัง
ประสบปัญหาให้สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบ และสร้างความแข็งแรงให้กับเศรษฐกิจไทยในภาพรวมต่อไป มองแนวโน้มสินเชื่อปี 2568 มั่นใจเติบโตในระดับสูงเมื่อเทียบกับปี 2567 ตามปัจจัยบวกจากการกลับมาเติบโตทางเศรษฐกิจ
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2568 การเติบโตของธนาคารยังเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความผันผวนในด้านต่าง ๆ ที่ยังต้องระมัดระวังเช่นเดียวกับในปี 2567 ที่ผ่านมา ส่วนประเด็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ธนาคารยังคงยึดหลักการดูแลลูกค้าที่มีความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด
“หัวใจสำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจต่าง ๆ เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยธนาคารพร้อมสนับสนุนลูกค้าผ่านเครื่องมือทางการเงินทุกรูปแบบ และเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศที่จะช่วยสนับสนุนลูกค้าให้เติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ควบคู่กับการวางแผนธุรกิจให้กับลูกค้าในการรับมือความท้าทายใหม่ ๆ ที่เข้ามาได้ดีขึ้น”
SCB ข้อเสนอ 3 รอดเชิงนโยบาย
นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า อุตสาหกรรมธนาคารในปี 2568 มีความท้าทายพอสมควร เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น และภายใต้เศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งคาดว่าปี 2568 ขยายตัวเพียง 2.4% ต่ำกว่าปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.7% ดังนั้นแนวโน้มของรายได้หรือกำไรจะน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น ส่วนหนึ่งมาจากที่ต้นทุนการเงินยังสูงอยู่ และค่าธรรมเนียมธุรกรรมยังลดลง ซึ่งสร้างแรงกดดันของรายได้ธนาคาร แต่หากสามารถบริหารจัดการได้ดีจะสามารถทรงตัวได้
โจทย์อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเผชิญจะมีอยู่ 2-3 เรื่องหลัก คือ 1.หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะมีมาตรการแก้หนี้ออกมาช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่โจทย์ช่วยคนไทยบริหารหนี้และการเงินได้เหมาะสมเป็นโจทย์ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องทำ 2.การปรับใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยในเรื่องการเติบโต และ 3.การสนับสนุนธุรกิจคนไทยไปสู่ความยั่งยืน
“บนความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ภาคครัวเรือนฟื้นตัวช้า ธุรกิจต้องหนีเชย ซึ่งดูว่าธุรกิจอะไรเป็นที่ต้องการของโลก”
ซีอีโอแบงก์ไทยพาณิชย์กล่าวว่า ทางรอดเชิงนโยบายมีอยู่ 3 ด้าน ในส่วนของครัวเรือน คือ 1.แก้หนี้ยั่งยืน 2.การฟื้นตัวรายได้ และ 3.สร้างภูมิคุ้มกัน สำหรับภาคธุรกิจทางรอดก็คือ 1.ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม จะเห็นว่าหลังโควิด-19 อุตสาหกรรมประมาณ 70% ได้เสียอันดับความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งไทยต้องหนี ผ่านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมตามศักยภาพของประเทศ 2.ทันกระแสความยั่งยืน และ 3.ยกเลิกกฎระเบียบที่ซ้ำซ้อน เช่น การขอใบอนุญาต (License) และข้อมูลภาครัฐที่เป็นธรรมและโปร่งใส
หัวใจธนาคาร คือ Credit Cost
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2568 หลายฝ่ายอยากเห็นเศรษฐกิจโตใกล้เคียง 3% จากงบประมาณภาครัฐที่มีการเติบโต ขณะที่ภาคครัวเรือนน่าจะมีรายได้มากขึ้น จากการลดภาระผ่านมาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” และน่าจะช่วยชะลอการเกิดหนี้เสียได้
ทั้งนี้ มีปัจจัย 3-4 เรื่องที่ธนาคารต้องติดตามใกล้ชิด คือ 1.มาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่งได้เปิดลงทะเบียนไปแล้ว และระบบธนาคารจะมีความพร้อมในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ต้องติดตามผลว่าจะช่วยลูกหนี้ได้มากแค่ไหน 2.มาตรการกีดกันทางการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ จะกระทบเซ็กเตอร์ไหนบ้าง และ 3.การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อดูแลต้นทุนความเสี่ยงของสินเชื่อ (Credit Cost) ให้มีประสิทธิภาพ ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีทุกคนจะกลับมาดูเรื่องต้นทุน เพราะการหารายได้มีข้อจำกัดตามภาวะเศรษฐกิจโตต่ำและหนี้ครัวเรือนสูง และ 4.ติดตามความคืบหน้าของใบอนุญาตการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) เพื่อดูบิสซิเนสโมเดล
“หัวใจใหญ่สุดของระบบธนาคารพาณิชย์ คือ Credit Cost แม้ว่า NIM (ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ) จะอยู่สูง แต่ก็ต้องกลับมาดูหนี้เสีย และต้องรักษา ROE ให้อยู่ระดับกลาง ๆ ส่วนการแก้หนี้เสียหลังมีมาตรการผ่อนชำระจาก 100% เหลือ 50% ขณะเดียวกันดอกเบี้ยกลุ่มนี้จะเหลือครึ่งเดียว ทำให้ NIM ไม่ได้ปรับขึ้น ดังนั้น ปี’68 ธุรกิจแบงก์ยังเหนื่อยและต้องประคองต่อ”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1725049
5 ซีอีโอแบงก์ถอดรหัสปี’68 เสี่ยงสูงเศรษฐกิจโตต่ำ-หวังนโยบายรัฐ
ผยง : ปี’68 เหนื่อยแต่มีหวัง
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย (TBA) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ปี 2568 สิ่งแรกที่เร่ง คือการเร่งดำเนินการ (Execute) มาตรการของภาครัฐในเรื่องมาตรการแก้หนี้ครัวเรือน “คุณสู้ เราช่วย” ที่สมาคมธนาคารไทย ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาจะเป็นตัวจุดเริ่มต้นของ Big Impact รวมทั้งต้องมีมาตรการอื่น ๆ เสริมตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเพิ่มรายได้ การเพิ่มทักษะ เพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอี เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เป็นการปรับแก้โครงสร้างเชิงระบบ และการให้บริการลูกค้าแบบเท่าเทียมกัน ซึ่งประเด็นนี้เป็นหัวใจหลัก
“การวิ่งสปีดตรงนี้จำเป็นต้องเร็ว เพราะเราเจอกับความผันผวนของตลาดโลกที่เกิดจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และการแข่งขันของ 2 ขั้ว คำถามสำคัญคือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายกลางและรายเล็ก จะสามารถพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพ และมีต้นทุนที่แข่งขันกับผู้เล่นระดับโลกได้อย่างไร เพราะถ้าไม่สามารถแก้เรื่องของรายได้ ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน”
นายผยงกล่าวว่า ความหวังของภาคธนาคารคือ การพลิกฟื้นเศรษฐกิจ เพราะภาคการธนาคารเป็นอุตสาหกรรมที่สะท้อนระบบเศรษฐกิจ เพราะธนาคารเข้าไปแตะในทุกเซ็กเตอร์ และเป็นตัวแปรผันและจัดสรรทรัพยากรด้านสภาพคล่องไปสู่การปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้คนต่อยอดไปสู่ระบบเศรษฐกิจ
“เศรษฐกิจขยายตัวเร็วเท่าไร ธุรกิจแบงก์ก็จะขยายตัวได้เท่านั้น โดยที่ต้องหลุดจากกับดักเดิม และโครงสร้างจะต้องเอื้อในการเติบโต”
หนุนกลุ่ม K ขาล่างสู่ K ขาบน
ซีอีโอแบงก์กรุงไทยกล่าวว่า สำหรับการปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2568 ยังคงต้องระมัดระวัง แต่ก็มีความหวังว่าการเปลี่ยนผ่านจะมาพร้อมโอกาส สำหรับคนที่พยายามปรับเปลี่ยน ซึ่งจะช่วยฟื้นเศรษฐกิจและธุรกิจ โดยร่วมมือกันในการดึงคนเหล่านี้ให้ออกจาก K ขาล่าง ไปสู่กลุ่ม K ขาบน เพื่อความยั่งยืนของระบบ ขณะที่ในส่วนของคุณภาพสินเชื่อยังมีความเป็นห่วงอยู่ แต่หลังมีมาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” ก็คาดหวังให้ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางจะฟื้นกลับมา
“ปี’68 ยังเป็นปีที่เหนื่อยต่อเนื่อง แต่เป็นปีที่มีความหวัง เพราะเศรษฐกิจพลิกฟื้น และในช่วงที่มีความผันผวนและมีแรงกระเพื่อมของมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกย่อมมีโอกาสแฝงอยู่ ทั้งการปรับเปลี่ยนของ Global Supply Chain ในเรื่องของฐานการผลิต ย่อมมาพร้อมโอกาส และเราจะมีความพร้อมขนาดไหน และรัฐบาลก็มีนโยบายที่สอดรับกับโอกาสเหล่านี้อยู่”
นายผยงกล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจะเป็น “ตัวสําคัญ” ไม่เช่นนั้นประเทศไทยก็จะติดกับดักโตต่ำศักยภาพไปอีกนาน
กสิกรฯหั่นจีดีพีเหลือ 2.4%
ด้านนางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2567 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่มีความท้าทาย และปี 2568 ยังคงมีความท้าทายไม่น้อยกว่าเดิม ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 2.4% ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำ ลดลงจากปี 2567 ขยายตัว 2.6% เป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง และยังต้องใช้ระยะเวลาอีกมากในการปรับเปลี่ยน ทำให้เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้น้อยกว่าศักยภาพ
ขณะที่นโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ ยังมีความไม่แน่นอน และสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการภาษีเข้ามากีดกันการค้า ซึ่งจะกระทบต่อภาคธุรกิจไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ หากมีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าก็จะกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย อย่างไรก็ดี ในอุตสาหกรรมที่มีปัญหาหรือได้รับผลกระทบ ย่อมมีคนที่ดีและมีโอกาสอยู่ ดังนั้นธนาคารจะต้องหาให้เจอ
ซีอีโอเคแบงก์กล่าวว่า อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อภาคธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย คือ การที่สินค้าจากจีนที่ถูกสหรัฐกีดกันการค้าจะทะลักเข้ามาขายในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายแบบเดียวกัน แต่ราคาถูกกว่า เป็นปัญหาที่จะต้องมีการแก้ไขและหาแนวทางป้องกัน เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจของไทยให้อยู่รอด
“ธุรกิจเอสเอ็มอีตอนนี้ยังลำบากอยู่ และเป็นเซ็กเมนต์สำคัญที่สุดของประเทศ หากไม่ช่วยเขาก็ไม่รอด ธนาคารจึงต้องทำให้เขารอด เพราะถ้าเขารอด เราจะได้รอดด้วย โดยในระยะกลางและยาวประเทศไทยจำเป็นต้องแก้โครงสร้างเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยยังเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจยุคเก่า เราจำเป็นต้องทำให้เป็นเศรษฐกิจยุคใหม่”
เน้นปล่อยกู้ลูกค้าที่มีประวัติ
ซีอีโอธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่า สำหรับอัตราการขยายตัวสินเชื่อในปี 2568 จะสอดคล้องไปตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 หดตัว -0.18% คาดทั้งปี 2567 สินเชื่อคงไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำหรับการปล่อยสินเชื่อในปี 2568 จะต้อง ทำอย่างระมัดระวังทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ และมุ่งเน้นไปในกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารรู้จักประวัติ ต่อยอดฐานลูกค้าเดิม ที่มีอยู่
ปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมีฐานลูกค้าโมบายแบงกิ้ง (K PLUS) อยู่ที่ 22.8 ล้านคน แต่ยังใช้สินเชื่อกับธนาคารค่อนข้างน้อย เช่นเดียวกับลูกค้าเอสเอ็มอีที่มีอยู่ 3 ล้านราย แต่ใช้บริการสินเชื่อธนาคารเพียง 1 ล้านราย แต่อีก 2 ล้านรายยังไม่ได้ใช้บริการ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเหล่านี้เข้ามาใช้บริการได้
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) พยายามควบคุมไม่ให้เกิน 3% คาดว่าจากมาตรการแก้หนี้ที่ออกมา น่าจะทำให้สถานการณ์หนี้เสียดีขึ้น แต่หากต้องการแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ต้องแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ
นางสาวขัตติยากล่าวว่า โจทย์สำคัญของธนาคารคือ การเพิ่ม Productivity การนำเทคโนโลยี และ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ เตือนความเสี่ยง และพัฒนา Credit Scoring พร้อมแล้ว คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่ม Productivity สิ่งเหล่านี้ที่เราทำจะเห็นผลภายใน 2-3 ปี
โดยธนาคารกสิกรไทยยังคงมุ่งมั่นส่งมอบผลตอบแทนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน และลูกค้า โดยตั้งเป้าอัตราผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) เติบโตในอัตราเลข 2 หลัก (Dubble Digit) ภายในปี 2569 จากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 9.47% ทั้งนี้ เพื่อยกระดับผลประกอบการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เพราะต้องถือว่าผลตอบแทนธนาคารไทยยังต่ำกว่ามาตรฐานโลก
“ชาติศิริ-มองบวก GDP โต 3%
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ มองเศรษฐกิจปี 2568 ว่า น่าจะปรับดีขึ้นกว่าในปี 2567 โดยมีโอกาสเติบโตในระดับ 3% จากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการค้าขายในต่างประเทศและจากปัจจัยบวกในประเทศ รวมถึงมาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” จะเป็นการแบ่งเบาภาระให้ผู้ประกอบการที่ยัง ประสบปัญหาให้สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบ และสร้างความแข็งแรงให้กับเศรษฐกิจไทยในภาพรวมต่อไป มองแนวโน้มสินเชื่อปี 2568 มั่นใจเติบโตในระดับสูงเมื่อเทียบกับปี 2567 ตามปัจจัยบวกจากการกลับมาเติบโตทางเศรษฐกิจ
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2568 การเติบโตของธนาคารยังเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความผันผวนในด้านต่าง ๆ ที่ยังต้องระมัดระวังเช่นเดียวกับในปี 2567 ที่ผ่านมา ส่วนประเด็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ธนาคารยังคงยึดหลักการดูแลลูกค้าที่มีความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด
“หัวใจสำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจต่าง ๆ เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยธนาคารพร้อมสนับสนุนลูกค้าผ่านเครื่องมือทางการเงินทุกรูปแบบ และเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศที่จะช่วยสนับสนุนลูกค้าให้เติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ควบคู่กับการวางแผนธุรกิจให้กับลูกค้าในการรับมือความท้าทายใหม่ ๆ ที่เข้ามาได้ดีขึ้น”
SCB ข้อเสนอ 3 รอดเชิงนโยบาย
นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า อุตสาหกรรมธนาคารในปี 2568 มีความท้าทายพอสมควร เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น และภายใต้เศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งคาดว่าปี 2568 ขยายตัวเพียง 2.4% ต่ำกว่าปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.7% ดังนั้นแนวโน้มของรายได้หรือกำไรจะน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น ส่วนหนึ่งมาจากที่ต้นทุนการเงินยังสูงอยู่ และค่าธรรมเนียมธุรกรรมยังลดลง ซึ่งสร้างแรงกดดันของรายได้ธนาคาร แต่หากสามารถบริหารจัดการได้ดีจะสามารถทรงตัวได้
โจทย์อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเผชิญจะมีอยู่ 2-3 เรื่องหลัก คือ 1.หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะมีมาตรการแก้หนี้ออกมาช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่โจทย์ช่วยคนไทยบริหารหนี้และการเงินได้เหมาะสมเป็นโจทย์ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องทำ 2.การปรับใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยในเรื่องการเติบโต และ 3.การสนับสนุนธุรกิจคนไทยไปสู่ความยั่งยืน
“บนความท้าทายของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ภาคครัวเรือนฟื้นตัวช้า ธุรกิจต้องหนีเชย ซึ่งดูว่าธุรกิจอะไรเป็นที่ต้องการของโลก”
ซีอีโอแบงก์ไทยพาณิชย์กล่าวว่า ทางรอดเชิงนโยบายมีอยู่ 3 ด้าน ในส่วนของครัวเรือน คือ 1.แก้หนี้ยั่งยืน 2.การฟื้นตัวรายได้ และ 3.สร้างภูมิคุ้มกัน สำหรับภาคธุรกิจทางรอดก็คือ 1.ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม จะเห็นว่าหลังโควิด-19 อุตสาหกรรมประมาณ 70% ได้เสียอันดับความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งไทยต้องหนี ผ่านการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมตามศักยภาพของประเทศ 2.ทันกระแสความยั่งยืน และ 3.ยกเลิกกฎระเบียบที่ซ้ำซ้อน เช่น การขอใบอนุญาต (License) และข้อมูลภาครัฐที่เป็นธรรมและโปร่งใส
หัวใจธนาคาร คือ Credit Cost
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มทิสโก้ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปี 2568 หลายฝ่ายอยากเห็นเศรษฐกิจโตใกล้เคียง 3% จากงบประมาณภาครัฐที่มีการเติบโต ขณะที่ภาคครัวเรือนน่าจะมีรายได้มากขึ้น จากการลดภาระผ่านมาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” และน่าจะช่วยชะลอการเกิดหนี้เสียได้
ทั้งนี้ มีปัจจัย 3-4 เรื่องที่ธนาคารต้องติดตามใกล้ชิด คือ 1.มาตรการแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่งได้เปิดลงทะเบียนไปแล้ว และระบบธนาคารจะมีความพร้อมในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ต้องติดตามผลว่าจะช่วยลูกหนี้ได้มากแค่ไหน 2.มาตรการกีดกันทางการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ จะกระทบเซ็กเตอร์ไหนบ้าง และ 3.การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อดูแลต้นทุนความเสี่ยงของสินเชื่อ (Credit Cost) ให้มีประสิทธิภาพ ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีทุกคนจะกลับมาดูเรื่องต้นทุน เพราะการหารายได้มีข้อจำกัดตามภาวะเศรษฐกิจโตต่ำและหนี้ครัวเรือนสูง และ 4.ติดตามความคืบหน้าของใบอนุญาตการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) เพื่อดูบิสซิเนสโมเดล
“หัวใจใหญ่สุดของระบบธนาคารพาณิชย์ คือ Credit Cost แม้ว่า NIM (ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ) จะอยู่สูง แต่ก็ต้องกลับมาดูหนี้เสีย และต้องรักษา ROE ให้อยู่ระดับกลาง ๆ ส่วนการแก้หนี้เสียหลังมีมาตรการผ่อนชำระจาก 100% เหลือ 50% ขณะเดียวกันดอกเบี้ยกลุ่มนี้จะเหลือครึ่งเดียว ทำให้ NIM ไม่ได้ปรับขึ้น ดังนั้น ปี’68 ธุรกิจแบงก์ยังเหนื่อยและต้องประคองต่อ”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1725049