จับตา 5 ขั้ว กลุ่มมีอิทธิพลที่มีบทบาทกำหนดทิศทางของการเมืองไทย
https://ch3plus.com/news/political/ruangden/429745
การเมืองไทยนาทีนี้ ถูกมองว่าเป็นการเมือง 3 ก๊ก แต่ถ้ามองให้ละเอียดลงไป อาจจะเรียกได้ว่ามี 5 กลุ่มที่มีอิทธิพลทางการเมืองอยู่ในขณะนี้
กลุ่มแรก กลุ่มสีแดง คือ กลุ่มที่ครองอำนาจอยู่ในปัจจุบัน (อาจเรียกเป็นกลุ่มสีแดง) ผู้นำอย่างเป็นทางการก็คือนายกฯ
แพทองธาร ชินวัตร ที่ขึ้นมาเป็นนายกฯหลังจากคุณ
เศรษฐา ทวีสิน เจออุบัติเหตุทางการเมือง โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งจากกรณีตั้งคุณ
พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี
แม้คุณ
แพทองธาร จะเป็นนายกฯอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีอิทธพลของคุณ
ทักษิณปกคลุมอยู่ ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นการปกคลุมแบบเปิดเผย ไม่ต้องปิดบัง นอกจากมักจะออกมาพูดเรื่องที่รัฐบาลจะทำล่วงหน้า ยังเห็นบทบาทในการออกมาปรามพรรคร่วมรัฐบาลที่อาการข่มลูกสาวด้วย
กลุ่มที่สอง กลุ่มสีส้ม เป็นกลุ่มที่เกือบจะได้ขึ้นสู่อำนาจจากการเลือกตั้งปีที่แล้ว แต่ที่สุดนอกจากปีที่แล้วจะไม่ได้ขึ้นสู่อำนาจ ปีนี้ยังถูกสกัดตัดกำลังครั้งใหญ่อีกครั้งจากการโดนศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค ส่งผลให้ผู้นำพรรคถูกตัดสิทธิ์เป็นชุดที่ 2 และได้
เท้ง ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ มาเป็นผู้นำรุ่นที่ 3 ที่ทั้งแฟนคลับและคนในพรรคก็ลุ้นกันตัวโก่ง โดยมีผู้นำรุ่นก่อนอย่าง
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คอยช่วยอุ้มชูในทุกสถานการณ์สำคัญ โดยเฉพาะการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
กลุ่มที่สาม กลุ่มสีน้ำเงิน คือ กลุ่มพรรคภูมิใจไทย ที่ตอนนี้มี "
วุฒิสภา" มาช่วยสร้างความแข็งแกร่ง แม้จะเป็นสถานะเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่หลายกรณีที่ผ่านมาก็ทำให้เห็นถูกมองว่าเป็นฝ่ายค้านในรัฐบาลหรือไม่ ทำให้พรรคเพื่อไทยทำอะไรได้ไม่สะดวก ถึงแม้หน้าฉากคุณ
อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคจะเล่นบทผู้ใต้บังคับบัญชาที่เรียบร้อย และยก "
คุณทักษิณ" ว่าเป็นบุคคลที่เคารพรัก จะไม่ต่อล้อต่อเถียงด้วย แต่ภาพตอนนี้ก็ชัดเจนขึ้นมาเรื่อย ๆ ว่าเป็นเหมือนตัวแทนฝ่ายอนุรักษ์นิยม มาคอยคานอำนาจกลุ่มสีแดง
สำหรับกลุ่มนี้แม้จะไม่ค่อยเห็นคุณ
เนวิน ชิดชอบ ที่คนในพรรคเรียกว่าเป็น "
ครูใหญ่" ปรากฏตัวในกิจกรรมทางการเมืองของพรรค แต่บารมีของคุณเนวินต่อพรรคนี้ยังมีเต็มที่ สะท้อนจากภาพงานวันเกิดคุณเนวิน ที่มีการสั่งหมอช้างให้ผูกข้อมือให้คุณอนุทิน เป็นนายกฯ และการเข้าพบคุณทักษิณ ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า พร้อมคุณอนุทิน
กลุ่มที่สี่ กลุ่มสีเหลือง คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดิม ที่เคยมีบทบาทในการโค่นล้มรัฐบาล
ทักษิณ จนนำไปสู่การยึดอำนาจโดย คมช. เมื่อปี 2549 / นำโดยนาย
สนธิ ลิ้มทองกุญ และ อาจารย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ซึ่งครั้งนี้กลับมาด้วยข้อเรียกร้องเรื่อง MOU44 และล่าสุดประกาศจะเดินหน้าตรวจสอบรัฐบาลทุกเรื่องแล้ว (ต้องจับตาต่อว่ากลุ่ม "คนต้าน
ทักษิณ" ที่วันก่อนไปรวมพลกันที่ ป.ป.ช.จะจับมือเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มคุณสนธิหรือไม่)
กลุ่มที่ห้า พรรคพลังประชารัฐเดิม ที่แตกหักเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ยังแสดงท่าทีว่าจะยังเป็นหัวหน้าพรรคตลอดไป แม้ว่าตอนนี้จะอยู่ในสถานการณ์ "ดาวดับ" โดนงานเข้าหลายเรื่องแทบไม่หยุดหย่อน นับตั้งแต่โดนเขี่ยออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล (ตามคำสั่งของคุณทักษิณ)
อีกกลุ่มคือ กลุ่ม ร.อ.
ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ล่าสุดประสบความสำเร็จในการนำ สส.รวม 20 ชีวิตจากพรรคพลังประชารัฐ ออกไปอยู่พรรค "กล้าธรรม" ได้เรียบร้อยแล้ว
ขณะที่มีภาพ พล.อ.
ประวิตร ถูกเขี่ยไกลออกไปจากคุณทักษิณ อีกด้านก็มีภาพที่แสดงให้เห็นความแนบแน่นของคุณธรรมนัส กับคุณทักษิณ ล่าสุดคือที่ไปโผล่เกาะหลีเป๊ะกับทักษิณ ในทริปที่คุณทักษิณ ไปพบนายกฯอันวา อิบราฮิม
ทั้งหมดคือ 5 ขั้วการเมือง ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของการเมืองไทยหลังจากนี้
รับชมทางยูทูบที่ :
https://youtu.be/Gmm9n7EAbTw
รังสิมันต์ อวยพรปี 68 ขอรัฐบาลที่ดีกว่าเดิม ถาม ภูมิธรรม ปราบยาเสพติดเมื่อไหร่?
https://www.matichon.co.th/politics/news_4979306
รังสิมันต์ อวยพรปี 68 ขอรัฐบาลที่ดีกว่าเดิม ถาม ภูมิธรรม ปราบยาเสพติดเมื่อไหร่?
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม นาย
รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ย้ำถึงการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลในปีหน้า 2568 ว่า รัฐบาลทำสิ่งผิดพลาดหลายเรื่อง ราวกับว่าเราอยู่กับรัฐบาลนี้มานมนาน รู้สึกเมือนอยู่กับรัฐบาลมา 4 ปี มันมีความผิดพลาดเกิดขึ้นหลายอย่าง อย่างที่ไม่น่าให้อภัย ไม่น่าเชื่อว่าจะผิดพลาดง่ายๆ ขนาดนี้ เช่น เรื่องยาเสพติดนั้นจะแก้ปัญหาได้อย่างไร กลุ่มว้ายังรุกล้ำแดนอยู่เลย รัฐบาลไม่ยอมตอบให้ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
“
ผมเข้าใจว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและ รมว.กลาโหม อาจไม่มีบารมีในกองทัพหรือเปล่าที่จะสามารถดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องกลุ่มว้าหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ เหตุใดปล่อยเรื่องคาราคาซัง ผมอ่านบทสัมภาษณ์ที่นายภูมิธรรมพูดถึงตัวเองเป็นคนไม่ชอบทำอะไรให้คาราคาซัง โดยยกตัวอย่างเรื่องเรือดำน้ำ แต่ประทานโทษเรื่องว้า คาราคาซังมาหลายสิบปีแล้ว จะแก้อย่างไร อย่าดีแต่พูดผมว่านะ” นาย
รังสิมันต์กล่าว
นอกจากนี้ นาย
รังสิมันต์ยังกล่าวอวยพรปีใหม่ 2568 รัฐบาลแพทองธารว่า ตนก็ภาวนาว่าในปีหน้ารัฐบาลจะทำหน้าที่ได้ดีกว่านี้ เช่น ปีหน้า ตนอยากเห็น 4 ลูกเรือไทยที่ถูกเมียนมาจับตัวไป ได้รับการปล่อยตัวเร็วที่สุด ตนอยากเห็นการแก้ปัญหายาเสพติด จริงๆ เราต้องการชี้แนะและตั้งคำถามไปด้วยว่า ที่ผ่านมามันล้มเหลวอย่างไร ถ้ารัฐบาลเอาชนะคำถามฝ่ายค้านได้ ผลดี ก็จะตกไปสู่ประชาชน ดังนั้น ถ้าจะอวยพรก็ขอให้ปี 2568 เป็นรัฐบาลที่ดีกว่านี้ ดีกว่าที่ผ่านมา หวังว่าประโยชน์จะตกอยู่กับคนไทยจริงๆ
หอการค้าไทย ชี้ Q2/68 จุดเช็คพอยท์ GDP ไทยโต 3%
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/429739
นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่า ในปี 2568 เศรษฐกิจจะโตได้ในค่าเฉลี่ยที่ 3% โดยต้องจับตาช่วงที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งจะเป็นช่วงที่เห็นประสิทธิผลจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ทยอยออกมาตั้งแต่ปลายปีนี้ ไปจนถึงช่วงไตรมาส 1 ปี 68 ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ "คุณสู้ เราช่วย" ที่จะทำให้การประหยัดการจ่ายดอกเบี้ยราว 2-2.5 หมื่นล้านบาท โครงการ Easy e-receipt คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบจากการใช้จ่ายราว 3-5 หมื่นล้านบาท และเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ผู้สูงอายุ อีกราว 4 หมื่นล้านบาท รวมกันเกือบแสนล้านบาท จะเข้าสู่ระบบตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1 และจะเห็นผลความชัดเจนจากทิศทางเศรษฐกิจที่กระจายตัวไปทั่วประเทศได้ในไตรมาส 2 ปีหน้า
อย่างไรก็ดี ยังมีตัวแปรจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ และสงครามการค้ารอบใหม่ หลังโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้านั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 20 มกราคม ซึ่งเหล่านี้จะเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 ที่จะเป็นจุดเช็คพอยท์ ว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้า จะโตได้ 3% หรือไม่
รัฐบาลซูดานปฏิเสธเสียงแข็ง คัดค้านรายงานประกาศ “ภาวะอดอยาก”
https://www.dailynews.co.th/news/4244063/
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รัฐบาลซูดานปฏิเสธอย่างหนักแน่น ต่อรายงานที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งระบุว่า พื้นที่ 5 แห่งของประเทศ ประสบกับภาวะอดอยาก
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงคาร์ทูม ประเทศซูดาน เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ว่า รายงานการจัดอันดับความมั่นคงทางอาหารแบบบูรณาการ (ไอพีซี) ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ของยูเอ็น ใช้วัดความมั่นคงทางอาหาร มีขึ้นหลังจากยูเอ็น กลุ่มช่วยเหลืออื่น ๆ และสหรัฐ กล่าวเตือนหลายครั้งหลายหน เกี่ยวกับสถานการณ์ความหิวโหยในซูดาน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไอพีซีระบุว่า สงครามระหว่างกองทัพซูดาน กับกองกำลังเคลื่อนที่เร็ว (อาร์เอสเอฟ) สร้างภาวะอดอยากที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนราว 638,000 คน และทำให้ผู้คนอีก 8.1 ล้านคน เสี่ยงต่อการเผชิญกับความอดอยากครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศซูดาน ระบุในแถลงการณ์ว่า รัฐบาลคาร์ทูมปฏิเสธคำอธิบายของไอพีซีอย่างเด็ดขาด เกี่ยวกับสถานการณ์ในซูดาน ว่าเป็นภาวะอดอยาก โดยชี้ว่ารายงานดังกล่าว “
เป็นเพียงการคาดเดา” และกล่าวหาว่า ไอพีซีประสบความล้มเหลวในด้านขั้นตอนและความโปร่งใส
ขณะที่ นาง
ซัลวา อดัม เบนยา กรรมาธิการด้านความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลซูดาน กล่าวในการแถลงข่าวว่า ข่าวลือเรื่องภาวะอดอยากในซูดาน เป็นเรื่องที่แต่งขึ้น และหน่วยงานช่วยเหลือบางแห่ง “
ใช้อาหารเป็นข้ออ้าง” เพื่อผลักดันวาระทางการเมือง
อนึ่ง เว็บไซต์ของไอพีซีระบุว่า กระบวนการจัดทำรายงาน “อ้างอิงตามหลักฐาน” และรับประกันการวิเคราะห์ที่เป็นกลางและเข้มงวด.
JJNY : 5in1 จับตา 5 ขั้ว│รังสิมันต์ อวยพรปี 68│ชี้ Q2/68 จุดเช็คพอยท์│รบ.ซูดานปฏิเสธเสียงแข็ง│สีรับ ศก.จีนเผชิญแรงกดดัน
https://ch3plus.com/news/political/ruangden/429745
การเมืองไทยนาทีนี้ ถูกมองว่าเป็นการเมือง 3 ก๊ก แต่ถ้ามองให้ละเอียดลงไป อาจจะเรียกได้ว่ามี 5 กลุ่มที่มีอิทธิพลทางการเมืองอยู่ในขณะนี้
กลุ่มแรก กลุ่มสีแดง คือ กลุ่มที่ครองอำนาจอยู่ในปัจจุบัน (อาจเรียกเป็นกลุ่มสีแดง) ผู้นำอย่างเป็นทางการก็คือนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ที่ขึ้นมาเป็นนายกฯหลังจากคุณเศรษฐา ทวีสิน เจออุบัติเหตุทางการเมือง โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งจากกรณีตั้งคุณพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี
แม้คุณแพทองธาร จะเป็นนายกฯอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีอิทธพลของคุณทักษิณปกคลุมอยู่ ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นการปกคลุมแบบเปิดเผย ไม่ต้องปิดบัง นอกจากมักจะออกมาพูดเรื่องที่รัฐบาลจะทำล่วงหน้า ยังเห็นบทบาทในการออกมาปรามพรรคร่วมรัฐบาลที่อาการข่มลูกสาวด้วย
กลุ่มที่สอง กลุ่มสีส้ม เป็นกลุ่มที่เกือบจะได้ขึ้นสู่อำนาจจากการเลือกตั้งปีที่แล้ว แต่ที่สุดนอกจากปีที่แล้วจะไม่ได้ขึ้นสู่อำนาจ ปีนี้ยังถูกสกัดตัดกำลังครั้งใหญ่อีกครั้งจากการโดนศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค ส่งผลให้ผู้นำพรรคถูกตัดสิทธิ์เป็นชุดที่ 2 และได้ เท้ง ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ มาเป็นผู้นำรุ่นที่ 3 ที่ทั้งแฟนคลับและคนในพรรคก็ลุ้นกันตัวโก่ง โดยมีผู้นำรุ่นก่อนอย่างธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คอยช่วยอุ้มชูในทุกสถานการณ์สำคัญ โดยเฉพาะการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
กลุ่มที่สาม กลุ่มสีน้ำเงิน คือ กลุ่มพรรคภูมิใจไทย ที่ตอนนี้มี "วุฒิสภา" มาช่วยสร้างความแข็งแกร่ง แม้จะเป็นสถานะเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่หลายกรณีที่ผ่านมาก็ทำให้เห็นถูกมองว่าเป็นฝ่ายค้านในรัฐบาลหรือไม่ ทำให้พรรคเพื่อไทยทำอะไรได้ไม่สะดวก ถึงแม้หน้าฉากคุณอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคจะเล่นบทผู้ใต้บังคับบัญชาที่เรียบร้อย และยก "คุณทักษิณ" ว่าเป็นบุคคลที่เคารพรัก จะไม่ต่อล้อต่อเถียงด้วย แต่ภาพตอนนี้ก็ชัดเจนขึ้นมาเรื่อย ๆ ว่าเป็นเหมือนตัวแทนฝ่ายอนุรักษ์นิยม มาคอยคานอำนาจกลุ่มสีแดง
สำหรับกลุ่มนี้แม้จะไม่ค่อยเห็นคุณเนวิน ชิดชอบ ที่คนในพรรคเรียกว่าเป็น "ครูใหญ่" ปรากฏตัวในกิจกรรมทางการเมืองของพรรค แต่บารมีของคุณเนวินต่อพรรคนี้ยังมีเต็มที่ สะท้อนจากภาพงานวันเกิดคุณเนวิน ที่มีการสั่งหมอช้างให้ผูกข้อมือให้คุณอนุทิน เป็นนายกฯ และการเข้าพบคุณทักษิณ ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า พร้อมคุณอนุทิน
กลุ่มที่สี่ กลุ่มสีเหลือง คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดิม ที่เคยมีบทบาทในการโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ จนนำไปสู่การยึดอำนาจโดย คมช. เมื่อปี 2549 / นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุญ และ อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ซึ่งครั้งนี้กลับมาด้วยข้อเรียกร้องเรื่อง MOU44 และล่าสุดประกาศจะเดินหน้าตรวจสอบรัฐบาลทุกเรื่องแล้ว (ต้องจับตาต่อว่ากลุ่ม "คนต้านทักษิณ" ที่วันก่อนไปรวมพลกันที่ ป.ป.ช.จะจับมือเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มคุณสนธิหรือไม่)
กลุ่มที่ห้า พรรคพลังประชารัฐเดิม ที่แตกหักเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ยังแสดงท่าทีว่าจะยังเป็นหัวหน้าพรรคตลอดไป แม้ว่าตอนนี้จะอยู่ในสถานการณ์ "ดาวดับ" โดนงานเข้าหลายเรื่องแทบไม่หยุดหย่อน นับตั้งแต่โดนเขี่ยออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล (ตามคำสั่งของคุณทักษิณ)
อีกกลุ่มคือ กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ล่าสุดประสบความสำเร็จในการนำ สส.รวม 20 ชีวิตจากพรรคพลังประชารัฐ ออกไปอยู่พรรค "กล้าธรรม" ได้เรียบร้อยแล้ว
ขณะที่มีภาพ พล.อ.ประวิตร ถูกเขี่ยไกลออกไปจากคุณทักษิณ อีกด้านก็มีภาพที่แสดงให้เห็นความแนบแน่นของคุณธรรมนัส กับคุณทักษิณ ล่าสุดคือที่ไปโผล่เกาะหลีเป๊ะกับทักษิณ ในทริปที่คุณทักษิณ ไปพบนายกฯอันวา อิบราฮิม
ทั้งหมดคือ 5 ขั้วการเมือง ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของการเมืองไทยหลังจากนี้
รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/Gmm9n7EAbTw
รังสิมันต์ อวยพรปี 68 ขอรัฐบาลที่ดีกว่าเดิม ถาม ภูมิธรรม ปราบยาเสพติดเมื่อไหร่?
https://www.matichon.co.th/politics/news_4979306
รังสิมันต์ อวยพรปี 68 ขอรัฐบาลที่ดีกว่าเดิม ถาม ภูมิธรรม ปราบยาเสพติดเมื่อไหร่?
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ย้ำถึงการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลในปีหน้า 2568 ว่า รัฐบาลทำสิ่งผิดพลาดหลายเรื่อง ราวกับว่าเราอยู่กับรัฐบาลนี้มานมนาน รู้สึกเมือนอยู่กับรัฐบาลมา 4 ปี มันมีความผิดพลาดเกิดขึ้นหลายอย่าง อย่างที่ไม่น่าให้อภัย ไม่น่าเชื่อว่าจะผิดพลาดง่ายๆ ขนาดนี้ เช่น เรื่องยาเสพติดนั้นจะแก้ปัญหาได้อย่างไร กลุ่มว้ายังรุกล้ำแดนอยู่เลย รัฐบาลไม่ยอมตอบให้ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
“ผมเข้าใจว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและ รมว.กลาโหม อาจไม่มีบารมีในกองทัพหรือเปล่าที่จะสามารถดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องกลุ่มว้าหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ เหตุใดปล่อยเรื่องคาราคาซัง ผมอ่านบทสัมภาษณ์ที่นายภูมิธรรมพูดถึงตัวเองเป็นคนไม่ชอบทำอะไรให้คาราคาซัง โดยยกตัวอย่างเรื่องเรือดำน้ำ แต่ประทานโทษเรื่องว้า คาราคาซังมาหลายสิบปีแล้ว จะแก้อย่างไร อย่าดีแต่พูดผมว่านะ” นายรังสิมันต์กล่าว
นอกจากนี้ นายรังสิมันต์ยังกล่าวอวยพรปีใหม่ 2568 รัฐบาลแพทองธารว่า ตนก็ภาวนาว่าในปีหน้ารัฐบาลจะทำหน้าที่ได้ดีกว่านี้ เช่น ปีหน้า ตนอยากเห็น 4 ลูกเรือไทยที่ถูกเมียนมาจับตัวไป ได้รับการปล่อยตัวเร็วที่สุด ตนอยากเห็นการแก้ปัญหายาเสพติด จริงๆ เราต้องการชี้แนะและตั้งคำถามไปด้วยว่า ที่ผ่านมามันล้มเหลวอย่างไร ถ้ารัฐบาลเอาชนะคำถามฝ่ายค้านได้ ผลดี ก็จะตกไปสู่ประชาชน ดังนั้น ถ้าจะอวยพรก็ขอให้ปี 2568 เป็นรัฐบาลที่ดีกว่านี้ ดีกว่าที่ผ่านมา หวังว่าประโยชน์จะตกอยู่กับคนไทยจริงๆ
หอการค้าไทย ชี้ Q2/68 จุดเช็คพอยท์ GDP ไทยโต 3%
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/429739
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่า ในปี 2568 เศรษฐกิจจะโตได้ในค่าเฉลี่ยที่ 3% โดยต้องจับตาช่วงที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งจะเป็นช่วงที่เห็นประสิทธิผลจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ทยอยออกมาตั้งแต่ปลายปีนี้ ไปจนถึงช่วงไตรมาส 1 ปี 68 ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ "คุณสู้ เราช่วย" ที่จะทำให้การประหยัดการจ่ายดอกเบี้ยราว 2-2.5 หมื่นล้านบาท โครงการ Easy e-receipt คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบจากการใช้จ่ายราว 3-5 หมื่นล้านบาท และเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ผู้สูงอายุ อีกราว 4 หมื่นล้านบาท รวมกันเกือบแสนล้านบาท จะเข้าสู่ระบบตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1 และจะเห็นผลความชัดเจนจากทิศทางเศรษฐกิจที่กระจายตัวไปทั่วประเทศได้ในไตรมาส 2 ปีหน้า
อย่างไรก็ดี ยังมีตัวแปรจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ และสงครามการค้ารอบใหม่ หลังโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้านั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 20 มกราคม ซึ่งเหล่านี้จะเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 ที่จะเป็นจุดเช็คพอยท์ ว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้า จะโตได้ 3% หรือไม่
รัฐบาลซูดานปฏิเสธเสียงแข็ง คัดค้านรายงานประกาศ “ภาวะอดอยาก”
https://www.dailynews.co.th/news/4244063/
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รัฐบาลซูดานปฏิเสธอย่างหนักแน่น ต่อรายงานที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งระบุว่า พื้นที่ 5 แห่งของประเทศ ประสบกับภาวะอดอยาก
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงคาร์ทูม ประเทศซูดาน เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ว่า รายงานการจัดอันดับความมั่นคงทางอาหารแบบบูรณาการ (ไอพีซี) ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ของยูเอ็น ใช้วัดความมั่นคงทางอาหาร มีขึ้นหลังจากยูเอ็น กลุ่มช่วยเหลืออื่น ๆ และสหรัฐ กล่าวเตือนหลายครั้งหลายหน เกี่ยวกับสถานการณ์ความหิวโหยในซูดาน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไอพีซีระบุว่า สงครามระหว่างกองทัพซูดาน กับกองกำลังเคลื่อนที่เร็ว (อาร์เอสเอฟ) สร้างภาวะอดอยากที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนราว 638,000 คน และทำให้ผู้คนอีก 8.1 ล้านคน เสี่ยงต่อการเผชิญกับความอดอยากครั้งใหญ่
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศซูดาน ระบุในแถลงการณ์ว่า รัฐบาลคาร์ทูมปฏิเสธคำอธิบายของไอพีซีอย่างเด็ดขาด เกี่ยวกับสถานการณ์ในซูดาน ว่าเป็นภาวะอดอยาก โดยชี้ว่ารายงานดังกล่าว “เป็นเพียงการคาดเดา” และกล่าวหาว่า ไอพีซีประสบความล้มเหลวในด้านขั้นตอนและความโปร่งใส
ขณะที่ นางซัลวา อดัม เบนยา กรรมาธิการด้านความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลซูดาน กล่าวในการแถลงข่าวว่า ข่าวลือเรื่องภาวะอดอยากในซูดาน เป็นเรื่องที่แต่งขึ้น และหน่วยงานช่วยเหลือบางแห่ง “ใช้อาหารเป็นข้ออ้าง” เพื่อผลักดันวาระทางการเมือง
อนึ่ง เว็บไซต์ของไอพีซีระบุว่า กระบวนการจัดทำรายงาน “อ้างอิงตามหลักฐาน” และรับประกันการวิเคราะห์ที่เป็นกลางและเข้มงวด.