คำสอนและข้อปฏิบัติที่ดีในพระพุทธศาสนา:
อุปสนฺโต สุขํ เสติ
ผู้สงบใจได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
(วิ.จุล. 7/107, สํ.ส. 15/312, องฺ.ติก. 20/175)
ผู้สงบระงับ หมายถึง ผู้สงบทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ สงบกาย ด้วยการไม่ทำบาปทั้งปวง สงบวาจา ด้วยการเว้นจากวจีทุจริตทั้ง 4 ประการ และสงบใจ ด้วยการเว้นจากมโนทุจริตทั้ง 3 ประการ
ผู้ที่จะมีความสงบทั้งภายนอกและภายในดังกล่าว จะต้องเป็นผู้สำรวมระวังกาย วาจา และใจ อยู่เสมอ ไม่ให้เผลอไปทำบาปกรรมตามอำนาจของกิเลส ด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันอารมณ์ตลอดเวลา
อีกทั้งยังต้องมีขันติ คือความอดทนต่ออารมณ์ที่มายั่วยุให้กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวง ไม่หลงไปกระทำกรรมชั่วช้าลามกตามการยั่วยุของอารมณ์ชั่วทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อมีกาย วาจา และใจ สงบดังที่ได้กล่าวมา กิเลสทำอะไรบุคคลนั้นไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุขทั้งกลางวันและกลางคืน
https://www.jaisangma.com/buddhist-proverb-64/
พุทธศาสนสุภาษิต
อุปสนฺโต สุขํ เสติ
ผู้สงบใจได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
(วิ.จุล. 7/107, สํ.ส. 15/312, องฺ.ติก. 20/175)
ผู้สงบระงับ หมายถึง ผู้สงบทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ สงบกาย ด้วยการไม่ทำบาปทั้งปวง สงบวาจา ด้วยการเว้นจากวจีทุจริตทั้ง 4 ประการ และสงบใจ ด้วยการเว้นจากมโนทุจริตทั้ง 3 ประการ
ผู้ที่จะมีความสงบทั้งภายนอกและภายในดังกล่าว จะต้องเป็นผู้สำรวมระวังกาย วาจา และใจ อยู่เสมอ ไม่ให้เผลอไปทำบาปกรรมตามอำนาจของกิเลส ด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันอารมณ์ตลอดเวลา
อีกทั้งยังต้องมีขันติ คือความอดทนต่ออารมณ์ที่มายั่วยุให้กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวง ไม่หลงไปกระทำกรรมชั่วช้าลามกตามการยั่วยุของอารมณ์ชั่วทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อมีกาย วาจา และใจ สงบดังที่ได้กล่าวมา กิเลสทำอะไรบุคคลนั้นไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุขทั้งกลางวันและกลางคืน
https://www.jaisangma.com/buddhist-proverb-64/