อุดมการณ์ ๔
๑. ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา คือ ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
ขันติ (patience: forbearance; tolerance) คือ การทดต่อการยั่วยุ ของกิเลส หรือทางอกุศล ผู้ไม่หวังดี ครอบงำเรา ถ้าเรามีขันติเราก็จะไม่ถูกสิ่งนั้นมาครอบงำเรา เราขันติกับพระพุทธเจ้า เชื่อในพระพุทธเจ้า มีหัวใจ ๕ กับพระพุทธเจ้า (กตัญญู ศรัทธา เชื่อมั่น หนักแน่น มั่นคงบ) ขันติมีความมั่นคงต่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่หวั่นไหวตรงนี้ เราก็จะไม่ออกนอกหลู่นอกทาง เราก็จะปลอดภัย
พอเรามีขันติมากๆ ก็จะกลายเป็นตบะ ก็คือ สิ่งที่เราทำได้แล้ว ตบะก็จะมาเป็นเกราะป้องกันให้เราไม่ให้หลง เหมือนเป็นเซฟ-ที-คัท (Safe-t-cut) ให้เรา ยิ่งมีตบะ (religious austerity) มากเท่าไหร่ก็จะเป็นเกราะป้องกันให้เราได้มากเท่านั้น
ไม่ใช่ยิ่งมีขันติมากเท่าไหร่แล้วจะทนได้ อย่างนี้ไม่ใช่ แต่ว่า ถ้าเราทำขันติมากๆ แล้วก็จะกลายเป็นตบะ
ขันติ เป็นภาคปฏิบัติ ตบะเป็นการรวบรวมให้เป็นพลัง
ขันติ คือ ความอดทน อดทนต่อการยั่วยุ ทั้งทางนามและรูป ทางนามก็คือ มีสิ่งมายั่วยุแหย่ความคิดเรา ทางรูป ก็คือกระทำให้เราเห็นเลย เช่น คนนี้รวยมากๆ เราก็อยากรวยกับเขา แต่รวยด้วยความมิจฉา ไม่ถูกต้อง ถ้าเราไม่ขันติ เราก็จะทำชั่วก็ได้ว่ะ..!! เป็นต้น
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง คือ ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา คือ นิพพาน หมายถึง เป็นเป้าหมาย ประกาศอย่างชัดเจนว่าพระองค์ท่านมุ่งทางนี้
นิพพานเป็นบรมธรรมอันสูงสุด ซึ่งนิพพานนี้เป็นเป้าหมาย ยกตัวอย่าง เราจะเดินทางไปที่วัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย สิ่งนี้เป็นเป้าหมาย เราก็เดินทางไปให้ได้ คือ เราจะต้องมีการประกาศเป้าหมาย นี่เป็นจริตของมนุษย์ มนุษย์ถ้าหากว่าไม่รู้ว่าไปไหน ก็จะเคว้งคว้าง ไม่มีความมานะอดทน อยากหยุดก็หยุด เช่น หยุดข้างทาง หรือเดินออกนอกเส้นทางอยู่เรื่อยๆ เป็นต้น เราก็จะเพลิดเพลินไม่อยากเดินทางล่ะ ฉะนั้น เราจะต้องมีเป้าหมายชัดเจน มีเวลากำกับ เราก็จะต้องทำให้ได้ มีเป้าหมาย (Goal) มีตัวมุ่งมั่นมากำกับเราให้ไปให้ถึง ฉะนั้น การมีเป้าหมายมีความสำคัญ เราก็จะสนุก เหมือนกับเวลาผ่านไปรวดเร็วมาก
อุดมการณ์ ๔ มาฆบูชา
๑. ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา คือ ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
ขันติ (patience: forbearance; tolerance) คือ การทดต่อการยั่วยุ ของกิเลส หรือทางอกุศล ผู้ไม่หวังดี ครอบงำเรา ถ้าเรามีขันติเราก็จะไม่ถูกสิ่งนั้นมาครอบงำเรา เราขันติกับพระพุทธเจ้า เชื่อในพระพุทธเจ้า มีหัวใจ ๕ กับพระพุทธเจ้า (กตัญญู ศรัทธา เชื่อมั่น หนักแน่น มั่นคงบ) ขันติมีความมั่นคงต่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่หวั่นไหวตรงนี้ เราก็จะไม่ออกนอกหลู่นอกทาง เราก็จะปลอดภัย
พอเรามีขันติมากๆ ก็จะกลายเป็นตบะ ก็คือ สิ่งที่เราทำได้แล้ว ตบะก็จะมาเป็นเกราะป้องกันให้เราไม่ให้หลง เหมือนเป็นเซฟ-ที-คัท (Safe-t-cut) ให้เรา ยิ่งมีตบะ (religious austerity) มากเท่าไหร่ก็จะเป็นเกราะป้องกันให้เราได้มากเท่านั้น
ไม่ใช่ยิ่งมีขันติมากเท่าไหร่แล้วจะทนได้ อย่างนี้ไม่ใช่ แต่ว่า ถ้าเราทำขันติมากๆ แล้วก็จะกลายเป็นตบะ
ขันติ เป็นภาคปฏิบัติ ตบะเป็นการรวบรวมให้เป็นพลัง
ขันติ คือ ความอดทน อดทนต่อการยั่วยุ ทั้งทางนามและรูป ทางนามก็คือ มีสิ่งมายั่วยุแหย่ความคิดเรา ทางรูป ก็คือกระทำให้เราเห็นเลย เช่น คนนี้รวยมากๆ เราก็อยากรวยกับเขา แต่รวยด้วยความมิจฉา ไม่ถูกต้อง ถ้าเราไม่ขันติ เราก็จะทำชั่วก็ได้ว่ะ..!! เป็นต้น
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง คือ ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา คือ นิพพาน หมายถึง เป็นเป้าหมาย ประกาศอย่างชัดเจนว่าพระองค์ท่านมุ่งทางนี้
นิพพานเป็นบรมธรรมอันสูงสุด ซึ่งนิพพานนี้เป็นเป้าหมาย ยกตัวอย่าง เราจะเดินทางไปที่วัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย สิ่งนี้เป็นเป้าหมาย เราก็เดินทางไปให้ได้ คือ เราจะต้องมีการประกาศเป้าหมาย นี่เป็นจริตของมนุษย์ มนุษย์ถ้าหากว่าไม่รู้ว่าไปไหน ก็จะเคว้งคว้าง ไม่มีความมานะอดทน อยากหยุดก็หยุด เช่น หยุดข้างทาง หรือเดินออกนอกเส้นทางอยู่เรื่อยๆ เป็นต้น เราก็จะเพลิดเพลินไม่อยากเดินทางล่ะ ฉะนั้น เราจะต้องมีเป้าหมายชัดเจน มีเวลากำกับ เราก็จะต้องทำให้ได้ มีเป้าหมาย (Goal) มีตัวมุ่งมั่นมากำกับเราให้ไปให้ถึง ฉะนั้น การมีเป้าหมายมีความสำคัญ เราก็จะสนุก เหมือนกับเวลาผ่านไปรวดเร็วมาก