คุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ (2 Merits that beatify)
๑. ขันติ (Patience, Endurance)
๒. โสรัจจะ (Peace of Action, Speech, and Mind)
พระไตรปิฎกบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฐ องฺ. ทุก. ๒๐/๑๑๘. วิ. มหา. ๕/๓๓๕
อ้างอิงใน หนังสือนวโกวาท (๘๓/๒๕๕๗:น. ๒๘)
อดทน ๓ อย่าง
๑. อดทนต่อการงานที่เหน็ดเหนื่อย
๒. อดทนต่อความเจ็บป่วย
๓. อดทนต่อกิเลสของตนและกิเลส คือ การดูแคลนของตนอื่นที่มีต่อเรา
ความสงบกายวาจาใจในเมื่อสิ่งทั้งสามข้างต้นเกิดขึ้นแก่เรา หรือ อดสิ่งที่เราชอบ ทนกับสิ่งที่เราไม่ชอบ คือ อบรมตนฝึกตนอดทนต่อธรรมดาโลก ฝึกกายวาจาใจไม่ให้หวั่นไหวต่อธรรมดาโลก เพื่อขัดเกลากิเลสของเรา เพื่อให้ความเห็นผิดว่ามีเรามีของเรา ว่าทุกสิ่งในโลกสามารถบังคับไปตามอำนาจจอมปลอมของสิ่งที่สำคัญผิดเรียกมันว่า “เรา” ว่า “ของเรา” ที่ไม่มีอยู่จริง เพราะสรรพสิ่งล้วนไม่จีรังแปรเปลี่ยนไปเป็นอื่นทุกขณะ ไม่คงที่ ถ้าเราหลงว่ามี “เรา” มี “ของเรา” ก็เป็นทุกข์กายใจเสียปล่าว ๆ เมื่อเข้าใจธรรมดาโลกและธรรมดาของสรรพสิ่งตามนี้แล้ว ไม่ว่าดีหรือร้ายจะเกิดขึ้น ก็สามารถอดทนและสงบเสงี่ยมอยู่ได้ เป็นคุณธรรมอันทำให้งาม สมดังภาษิตว่า “ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา” ดังนี้.
อนึ่งมีประเด็นที่ใคร่ขอทิ้งท้ายไว้ให้พิจารณากันต่อไปว่า “ขันติ” ในคาถาว่า “ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา” เป็นคุณธรรมฝ่ายอริยมรรค ส่วน “โสรัจจะ” ในคาถาว่า “นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา” เป็นธรรมฝ่ายอริยผลและนิพพาน ได้หรือไม่อย่างไร.
คุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ
คุณธรรมอันทำให้งาม ๒ ประการ (2 Merits that beatify)
๑. ขันติ (Patience, Endurance)
๒. โสรัจจะ (Peace of Action, Speech, and Mind)
พระไตรปิฎกบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฐ องฺ. ทุก. ๒๐/๑๑๘. วิ. มหา. ๕/๓๓๕
อ้างอิงใน หนังสือนวโกวาท (๘๓/๒๕๕๗:น. ๒๘)
อดทน ๓ อย่าง
๑. อดทนต่อการงานที่เหน็ดเหนื่อย
๒. อดทนต่อความเจ็บป่วย
๓. อดทนต่อกิเลสของตนและกิเลส คือ การดูแคลนของตนอื่นที่มีต่อเรา
ความสงบกายวาจาใจในเมื่อสิ่งทั้งสามข้างต้นเกิดขึ้นแก่เรา หรือ อดสิ่งที่เราชอบ ทนกับสิ่งที่เราไม่ชอบ คือ อบรมตนฝึกตนอดทนต่อธรรมดาโลก ฝึกกายวาจาใจไม่ให้หวั่นไหวต่อธรรมดาโลก เพื่อขัดเกลากิเลสของเรา เพื่อให้ความเห็นผิดว่ามีเรามีของเรา ว่าทุกสิ่งในโลกสามารถบังคับไปตามอำนาจจอมปลอมของสิ่งที่สำคัญผิดเรียกมันว่า “เรา” ว่า “ของเรา” ที่ไม่มีอยู่จริง เพราะสรรพสิ่งล้วนไม่จีรังแปรเปลี่ยนไปเป็นอื่นทุกขณะ ไม่คงที่ ถ้าเราหลงว่ามี “เรา” มี “ของเรา” ก็เป็นทุกข์กายใจเสียปล่าว ๆ เมื่อเข้าใจธรรมดาโลกและธรรมดาของสรรพสิ่งตามนี้แล้ว ไม่ว่าดีหรือร้ายจะเกิดขึ้น ก็สามารถอดทนและสงบเสงี่ยมอยู่ได้ เป็นคุณธรรมอันทำให้งาม สมดังภาษิตว่า “ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา” ดังนี้.
อนึ่งมีประเด็นที่ใคร่ขอทิ้งท้ายไว้ให้พิจารณากันต่อไปว่า “ขันติ” ในคาถาว่า “ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา” เป็นคุณธรรมฝ่ายอริยมรรค ส่วน “โสรัจจะ” ในคาถาว่า “นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา” เป็นธรรมฝ่ายอริยผลและนิพพาน ได้หรือไม่อย่างไร.