บุคคลใด หลงใหลอยู่ในการตาย
และการเกิด (จุติและอุปบัติ) ในสังสาร
ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย ในธรรมที่
อาศัยกันเกิดขึ้น บุคคลนั้น ย่อมปรุงแต่ง
สังขาร ๓ เหล่านี้ เพราะเหตุที่อวิชชาเป็น
ปัจจัยแก่สังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังนี้.
อนึ่ง หากมีผู้กล่าวถามว่า
ก็บุคคลผู้หลงใหลในธรรมเหล่านั้น ย่อมทำสังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ อย่างไร?
ขอตอบว่า
บุคคลผู้หลงใหลในการตาย (จุติ) ก่อน
เมื่อเขาไม่ถือเอาซึ่งจุติว่า การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายชื่อว่ามรณะในที่ทุกแห่ง ดังนี้
ย่อมกำหนดว่า สัตว์ย่อมตาย คือการก้าวไปสู่กายอื่นของสัตว์เป็นต้น.
ผู้หลงใหลในการเกิด (อุปปาตะ) เมื่อไม่ถือการเกิดว่า
ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายในที่ทั้งปวงชื่อว่าชาติ ย่อมกำหนดว่า
สัตว์เกิด คือความที่สัตว์ปรากฏมีสรีระใหม่เป็นต้น.
ผู้หลงใหลในสังสาร เมื่อไม่ถือ ซึ่งสังสารที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ
ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฺฉินฺนา วตฺตมานา
สํสาโร ปวุจฺจติ
ลำดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย และแห่ง
ธาตุอายตนะทั้งหลาย เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย
เรียกว่า สังสาร ดังนี้.
ย่อมกำหนดเหตุเป็นต้นว่า สัตว์นี้ย่อมไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้ ย่อมมาสู่โลกนี้จากโลกอื่น ดังนี้.
ผู้หลงใหลในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย
เมื่อไม่ถือเอาสภาวลักษณะ (ลักษณะแห่งความมีของตน)
และสามัญลักษณะ (ลักษณะที่เสมอกัน)
ของสังขารทั้งหลาย ย่อมกำหนดสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน
โดยเป็นของเนื่องด้วยตน โดยความยั่งยืน โดยความงามและโดยความสุข.
ผู้หลงใหลในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น
เมื่อไม่ถือเอาความเป็นไปแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น ย่อมกำหนดว่า
"อัตตาย่อมรู้บ้าง ย่อมไม่รู้บ้าง
อัตตานั้นแหละย่อมกระทำ
ย่อมยังผู้อื่นให้กระทำ
อัตตานั้นย่อมเกิดในปฏิสนธิ อณู
และพระอิศวรเป็นต้นตั้งสรีระของอัตตานั้นไว้โดยความเป็นกลละเป็นต้น
แล้วยังอินทรีย์ทั้งหลายให้บริบูรณ์
อัตตานั้นสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์
ย่อมถูกต้อง ย่อมเสวย ย่อมถือเอา ย่อมยึดถือ ย่อมสืบต่อ อัตตานั้นจะมีในภพอื่นอีก"
ดังนี้บ้าง ว่า
"สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้แปรเปลี่ยนไปเป็นของเที่ยง เป็นของเกี่ยวข้องกัน" ดังนี้บ้าง
บุคคลนั้นอันอวิชชาทำให้บอดแล้ว
เมื่อกำหนดอยู่อย่างนี้ ย่อมปรุงแต่งอภิสังขาร
คือบุญบ้าง บาปบ้าง อาเนญชาบ้าง
เหมือนคนตาบอด เมื่อเที่ยวไปบนแผ่นดิน
ย่อมเดินสู่ทางบ้าง นอกทางบ้าง ที่ดอนบ้าง ที่ลุ่มบ้าง ที่เสมอบ้าง ที่ไม่เสมอบ้าง" ดังนี้
ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวคาถานี้ไว้ว่า
ยถาปิ นาม ชจฺจนฺโธ
นโร อปรินายโก
เอกธา ยาติ มคฺเคน
อุมฺมคฺเคนาปิ เอกธา
ธรรมดา คนบอดแต่กำเนิด ไม่มีผู้นำไป
ในกาลบางครั้ง ย่อมไปตามทาง ในกาลบางครั้ง
ย่อมเดินไปนอกทาง แม้ฉันใด
สํสาเร สํสรํ พาโล
ตถา อปรินายโก
กโรติ เอกธาปุญฺญํ
อปุญฺญํปิ เอกธา
คนพาล ก็ฉันนั้น เมื่อท่องเที่ยวไป
ในสังสาร ไม่มีผู้แนะนำ ในกาลบางคราว
ย่อมทำบุญ บางคราวก็ย่อมทำบาป.
ยทา ญตฺวา จ โส ธมฺมํ
สจฺจานิ อภิสเมสฺสติ
ตทา อวิชฺชูปสมา
อุปสนฺโต จริสฺสติ
อนึ่ง เมื่อใดคนพาลนั้นรู้ธรรมแล้ว
จักตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เมื่อนั้นเขาจักเข้าไป
สงบ เพราะอวิชชาสงบแล้ว เที่ยวไป ดังนี้.
อวิชชาทำให้เกิดอัตตา
และการเกิด (จุติและอุปบัติ) ในสังสาร
ในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย ในธรรมที่
อาศัยกันเกิดขึ้น บุคคลนั้น ย่อมปรุงแต่ง
สังขาร ๓ เหล่านี้ เพราะเหตุที่อวิชชาเป็น
ปัจจัยแก่สังขารแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังนี้.
อนึ่ง หากมีผู้กล่าวถามว่า
ขอตอบว่า
ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ
ธาตุอายตนาน จ
อพฺโพจฺฉินฺนา วตฺตมานา
สํสาโร ปวุจฺจติ
ลำดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย และแห่ง
ธาตุอายตนะทั้งหลาย เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย
เรียกว่า สังสาร ดังนี้.
ผู้หลงใหลในลักษณะแห่งสังขารทั้งหลาย
ผู้หลงใหลในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น
"อัตตาย่อมรู้บ้าง ย่อมไม่รู้บ้าง
"สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้แปรเปลี่ยนไปเป็นของเที่ยง เป็นของเกี่ยวข้องกัน" ดังนี้บ้าง
บุคคลนั้นอันอวิชชาทำให้บอดแล้ว
ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวคาถานี้ไว้ว่า
ยถาปิ นาม ชจฺจนฺโธ
นโร อปรินายโก
เอกธา ยาติ มคฺเคน
อุมฺมคฺเคนาปิ เอกธา
ธรรมดา คนบอดแต่กำเนิด ไม่มีผู้นำไป
ในกาลบางครั้ง ย่อมไปตามทาง ในกาลบางครั้ง
ย่อมเดินไปนอกทาง แม้ฉันใด
สํสาเร สํสรํ พาโล
ตถา อปรินายโก
กโรติ เอกธาปุญฺญํ
อปุญฺญํปิ เอกธา
คนพาล ก็ฉันนั้น เมื่อท่องเที่ยวไป
ในสังสาร ไม่มีผู้แนะนำ ในกาลบางคราว
ย่อมทำบุญ บางคราวก็ย่อมทำบาป.
ยทา ญตฺวา จ โส ธมฺมํ
สจฺจานิ อภิสเมสฺสติ
ตทา อวิชฺชูปสมา
อุปสนฺโต จริสฺสติ
อนึ่ง เมื่อใดคนพาลนั้นรู้ธรรมแล้ว
จักตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เมื่อนั้นเขาจักเข้าไป
สงบ เพราะอวิชชาสงบแล้ว เที่ยวไป ดังนี้.