พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่ได้มีโอกาสมาประพฤติพรหมจรรย์ เราได้เห็นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นรกและสวรรค์ที่มีอยู่ในอายตนะ ๖ อันเป็นที่เกิดแห่งผัสสะนี่เอง กล่าวคือ ในขณะใดประสบแต่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ อันไม่เป็นที่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจ ที่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจไม่ประสบในขณะนี้เป็น นรก ในขณะใดประสบแต่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ล้วนแต่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจ ที่ไม่พึงปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ชอบใจ ไม่ได้ประสบ ในขณะนี้เป็น สวรรค์"
สํ.สฬา.๑๓/๑๕๘ ข้อ ๒๑๔
จากข้อความที่เป็นพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า ในขณะใด เรามีความทุกข์มาก ก็แปลว่า เราตกนรก หรืออยู่ในนรก ในขณะใด เรามีความสุขมาก ในขณะนั้น เราอยู่ในสวรรค์ และขอให้ศึกษาจากพุทธพจน์ดังต่อไปนี้ก่อน
“บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ เป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทด้วยปัญญานั้น เมื่อปรารถนาที่จะพยากรณ์ตนเองได้ด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำต่อไปอีกเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในภายภาคหน้า”
สํ.มหา. ๑๙/๔๘๘ ข้อ ๑๕๗๔
ขอให้สังเกตคำว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว” (ขีณนิรโยมฺหิ)
“เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว” (โสตาปนฺโนหมสฺมิ)
ทำไมพระโสดาบันจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ? การที่จะเข้าใจปัญหานี้ได้นั้น ก่อนอื่นก็คือต้องพิจารณาคำว่า เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว คำว่า โสดาบัน มาจากคำบาลีว่า โสต + อาปนฺน โสต แปลว่า กระแส ซึ่งในที่นี้หมายถึง กระแสนิพพาน อาปนฺน แปลว่า ถึงแล้ว และคำว่ากระแสนิพพานนั้นก็หมายถึง ความสงบภายใน ซึ่งเป็นความสงบในขั้นโลกุตระเป็นความสงบที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายในเมื่อเข้าถึงแล้ว ทุกองค์จะกล่าวว่าอย่างนี้
เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ มทนิมฺมทโน ปิปาสวินโย อาลยสมุคฺฆาโต วฏฺฏูปจฺเฉโท ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ
นี่สงบ นี่ประณีต ณ ที่นี้เอง เป็นที่สร่างความเมา เป็นที่กำจัดความกระหาย เป็นที่ถอนความอาลัย เป็นที่ตัดวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หน่ายราคะ เป็นที่ดับสนิท นี่แหละคือนิพพาน
และอีกบทหนึ่ง
เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ
นี่สงบ นี่ประณีต ณ ที่นี้เอง เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืน คือเป็นที่ปล่อยวางซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หน่ายราคะ เป็นที่ดับสนิทนี่แหละคือนิพพาน
เพราะเหตุที่พระโสดาบันเป็นผู้ที่เข้าถึงความสงบภายในเช่นนี้ ซึ่งในเมื่อเข้าถึงแล้ว ก็หมดความว่าในจิตใจส่วนลึกของท่าน หรือในสันดานของท่าน จะมีความสงบเยือกเย็นอยู่เสมอ เหมือนแช่อยู่ในน้ำตลอดกาล ไฟคือกิเลสก็ดี ไฟคือความทุกข์ต่างๆ ก็ดี ไม่อาจจะทำให้เกิดความร้อนได้ นั่นหมายความว่า พระอริยบุคคลขนาดพระโสดาบัน
แม้จะได้พบเห็นได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักใคร่พอใจสักเพียงไรก็ตาม ในใจก็จะไม่เกิดกิเลสไม่เกิดความทุกข์ หรือแม้จะได้พบเห็นสิ่งที่น่ารักใคร่พอใจ ก็ไม่ทำให้เกิดกิเลส และความโสมนัส ที่เกิดก็จะไม่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ไม่แปรเปลี่ยนเป็นความทุกข์ในภายหลัง ไม่เหมือนกับปุถุชนโดยทั่วไป ถ้าวันนี้เขาหัวเราะรื่นเริงชอบใจก็เป็นอันหวังได้ว่า ในวันหลังก็จะต้องร้องไห้เสียใจเป็นทุกข์ใจอย่างแน่นอน ในเมื่อเหตุการณ์อันเป็นที่รักใคร่พอใจนั้นเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นในวิสัยของปุถุชนจึงจะต้องตกนรกอยู่เสมอ ไม่พ้นจากนรกไปได้
อนึ่งเมื่อพูดถึง นรก - สวรรค์ในชีวิตประจำวัน หรือ นรก – สวรรค์ในชาตินี้นั้น โปรดสังเกตและจำไว้ให้ดีว่า คำว่า นรก หมายถึง ความทุกข์ทางใจ และเป็นความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำทุจริต หรือการกระทำบาปอยู่เสมอ ซึ่งพื้นจิตใจโดยทั่วๆ ไปแล้ว มีแต่ความเร่าร้อน ไม่ค่อยมีความสงบเลย ดังเช่นที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
คนที่ทำบาปอยู่เสมอเป็นปกติ เมื่อมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็เดือดร้อน เร่าร้อน ละจากโลกนี้ไปแล้วก็เดือดร้อน เร่าร้อน
และการที่พระโสดาบัน เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว ฯลฯ ก็เพราะเหตุที่พระโสดาบันได้ละเว้นจากการทำบาปแล้วโดยสิ้นเชิง และในใจมีความสงบอยู่เสมอ และกิเลสซึ่งเปรียบเหมือนไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางมาก ฉะนั้นแม้จะประสบสิ่งที่ไม่รัก สิ่งที่ไม่พอใจ ก็ไม่เกิดความทุกข์ถึงขนาดที่เรียกว่า ตกนรกหรืออยู่ในอบายภูมิ ฉะนั้นจะต้องแยกให้ออกระหว่างความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำบาปเกิดจากกิเลสเผา กับความทุกข์ที่ไม่ใช่เกิดจากบาป ไม่ใช่เกิดจากกิเลสเผา และขอให้สังเกตไว้ด้วยว่า คนจนแม้จะมีความทุกข์ยากลำบากสักเพียงไร ถ้าเป็นคนสุจริต มีใจเป็นกุศลอยู่เสมอ ความทุกข์ที่เขามีอยู่นั้นจะไม่นับว่าเป็นการตกนรก
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเข้าใจแต่เพียงแง่นี้เท่านั้น เพราะในบางครั้งแม้คนที่ประพฤติสุจริตอยู่เสมอไม่ค่อยทำบาป แต่ในเมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้นเพราะกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าตกนรกได้เหมือนกัน ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน (เพราะถูกไฟเผา) สิ่งทั้งปวงที่ว่าเป็นของร้อนนี้คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย ตา ก็เป็นของร้อน รูปคือสิ่งที่เห็นด้วยตาก็เป็นของร้อน การเห็น (จักษุวิญญาณ) ก็เป็นของร้อน จักษุสัมผัสก็เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ซึ่งจะเป็นสุข หรือทุกข์ หรืออุเบกขา ก็เป็นของร้อน ฯลฯ
ขอให้สังเกตว่า จากพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า การเห็น การได้ยิน การรู้สึกกลิ่น การรู้สึกรส การรู้สึกสัมผัสทางกาย ความรู้สึกนึกคิดทางใจ ซึ่งแม้จะเป็นการพบเห็นสิ่งที่น่ารักน่าพอใจ ก่อให้เกิดความสุขก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
ขอให้สังเกตคำบาลีด้วย ดังนี้
เกน อาทิตฺตํ ? อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา, อาทิตฺตํ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตนฺติ วทามิ.
เรื่องนรกในความหมายของอาทิตตปริยายสูตรนี้ ขอให้สังเกตว่า คำว่า ตกนรก ตามความหมายของพระสูตรนี้หมายถึง ถูกไฟเผา ก็แปลว่า คนไหนถูกกิเลสเผา หรือถูกความทุกข์เผา ก็แปลว่า ตกนรกและคนที่จะพ้นจากนรกได้จริงๆ พ้นได้อย่างเด็ดขาดก็จะต้องเป็นพระโสดาบันนั้น ก็เพราะเหตุที่นรกในชาตินี้มีความหมายดังที่กล่าวมานี้ ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า คนตกนรกมีมากเท่าฝุ่นในแผ่นดิน ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตักฝุ่นขึ้นมาด้วยปลายเล็บ แล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า ฝุ่นในเล็บมือกับฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่ อันไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายได้ทูลตอบว่า ฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่มีมากกว่า ครั้นแล้วพระองค์ก็ตรัสต่อไปว่า ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่ไปนรกไปอบายก็มีมากเหมือนกับฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่ฉันนั้น ทั้งนี้ก็เพราะผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจมีน้อย
ขอให้สังเกตว่า จากพระสูตรนี้ซึ่งมีอยู่ในสังยุตตนิกาย มหาวารวัคค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ หน้า ๕๗๘ ข้อ ๑๗๕๗ นี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่ตกนรกในชาตินี้ทำไมจึงมากมายยิ่งนัก และคำว่าคนที่ไปนรก หรือ ไปอบาย มีความหมายอย่างไร ก็จะเข้าใจชัดด้วย และจะเข้าใจชัดอีกด้วยว่า เหตุไรพระโสดาบันจึงได้ชื่อว่า มีนรกอันสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบายทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว
นรก – สวรรค์ ในชีวิตนี้
"ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่ได้มีโอกาสมาประพฤติพรหมจรรย์ เราได้เห็นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นรกและสวรรค์ที่มีอยู่ในอายตนะ ๖ อันเป็นที่เกิดแห่งผัสสะนี่เอง กล่าวคือ ในขณะใดประสบแต่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ อันไม่เป็นที่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจ ที่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจไม่ประสบในขณะนี้เป็น นรก ในขณะใดประสบแต่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ล้วนแต่พึงปรารถนาน่ารักใคร่ชอบใจ ที่ไม่พึงปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ชอบใจ ไม่ได้ประสบ ในขณะนี้เป็น สวรรค์"
สํ.สฬา.๑๓/๑๕๘ ข้อ ๒๑๔
จากข้อความที่เป็นพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า ในขณะใด เรามีความทุกข์มาก ก็แปลว่า เราตกนรก หรืออยู่ในนรก ในขณะใด เรามีความสุขมาก ในขณะนั้น เราอยู่ในสวรรค์ และขอให้ศึกษาจากพุทธพจน์ดังต่อไปนี้ก่อน
“บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ เป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทด้วยปัญญานั้น เมื่อปรารถนาที่จะพยากรณ์ตนเองได้ด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำต่อไปอีกเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในภายภาคหน้า”
สํ.มหา. ๑๙/๔๘๘ ข้อ ๑๕๗๔
ขอให้สังเกตคำว่า “เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว” (ขีณนิรโยมฺหิ) “เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว” (โสตาปนฺโนหมสฺมิ)
ทำไมพระโสดาบันจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ? การที่จะเข้าใจปัญหานี้ได้นั้น ก่อนอื่นก็คือต้องพิจารณาคำว่า เราเป็นผู้ถึงกระแสนิพพานแล้ว คำว่า โสดาบัน มาจากคำบาลีว่า โสต + อาปนฺน โสต แปลว่า กระแส ซึ่งในที่นี้หมายถึง กระแสนิพพาน อาปนฺน แปลว่า ถึงแล้ว และคำว่ากระแสนิพพานนั้นก็หมายถึง ความสงบภายใน ซึ่งเป็นความสงบในขั้นโลกุตระเป็นความสงบที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายในเมื่อเข้าถึงแล้ว ทุกองค์จะกล่าวว่าอย่างนี้
เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ มทนิมฺมทโน ปิปาสวินโย อาลยสมุคฺฆาโต วฏฺฏูปจฺเฉโท ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ
นี่สงบ นี่ประณีต ณ ที่นี้เอง เป็นที่สร่างความเมา เป็นที่กำจัดความกระหาย เป็นที่ถอนความอาลัย เป็นที่ตัดวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หน่ายราคะ เป็นที่ดับสนิท นี่แหละคือนิพพาน
และอีกบทหนึ่ง
เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ
นี่สงบ นี่ประณีต ณ ที่นี้เอง เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืน คือเป็นที่ปล่อยวางซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หน่ายราคะ เป็นที่ดับสนิทนี่แหละคือนิพพาน
เพราะเหตุที่พระโสดาบันเป็นผู้ที่เข้าถึงความสงบภายในเช่นนี้ ซึ่งในเมื่อเข้าถึงแล้ว ก็หมดความว่าในจิตใจส่วนลึกของท่าน หรือในสันดานของท่าน จะมีความสงบเยือกเย็นอยู่เสมอ เหมือนแช่อยู่ในน้ำตลอดกาล ไฟคือกิเลสก็ดี ไฟคือความทุกข์ต่างๆ ก็ดี ไม่อาจจะทำให้เกิดความร้อนได้ นั่นหมายความว่า พระอริยบุคคลขนาดพระโสดาบัน
แม้จะได้พบเห็นได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักใคร่พอใจสักเพียงไรก็ตาม ในใจก็จะไม่เกิดกิเลสไม่เกิดความทุกข์ หรือแม้จะได้พบเห็นสิ่งที่น่ารักใคร่พอใจ ก็ไม่ทำให้เกิดกิเลส และความโสมนัส ที่เกิดก็จะไม่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ไม่แปรเปลี่ยนเป็นความทุกข์ในภายหลัง ไม่เหมือนกับปุถุชนโดยทั่วไป ถ้าวันนี้เขาหัวเราะรื่นเริงชอบใจก็เป็นอันหวังได้ว่า ในวันหลังก็จะต้องร้องไห้เสียใจเป็นทุกข์ใจอย่างแน่นอน ในเมื่อเหตุการณ์อันเป็นที่รักใคร่พอใจนั้นเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นในวิสัยของปุถุชนจึงจะต้องตกนรกอยู่เสมอ ไม่พ้นจากนรกไปได้
อนึ่งเมื่อพูดถึง นรก - สวรรค์ในชีวิตประจำวัน หรือ นรก – สวรรค์ในชาตินี้นั้น โปรดสังเกตและจำไว้ให้ดีว่า คำว่า นรก หมายถึง ความทุกข์ทางใจ และเป็นความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำทุจริต หรือการกระทำบาปอยู่เสมอ ซึ่งพื้นจิตใจโดยทั่วๆ ไปแล้ว มีแต่ความเร่าร้อน ไม่ค่อยมีความสงบเลย ดังเช่นที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
คนที่ทำบาปอยู่เสมอเป็นปกติ เมื่อมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็เดือดร้อน เร่าร้อน ละจากโลกนี้ไปแล้วก็เดือดร้อน เร่าร้อน
และการที่พระโสดาบัน เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว ฯลฯ ก็เพราะเหตุที่พระโสดาบันได้ละเว้นจากการทำบาปแล้วโดยสิ้นเชิง และในใจมีความสงบอยู่เสมอ และกิเลสซึ่งเปรียบเหมือนไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางมาก ฉะนั้นแม้จะประสบสิ่งที่ไม่รัก สิ่งที่ไม่พอใจ ก็ไม่เกิดความทุกข์ถึงขนาดที่เรียกว่า ตกนรกหรืออยู่ในอบายภูมิ ฉะนั้นจะต้องแยกให้ออกระหว่างความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำบาปเกิดจากกิเลสเผา กับความทุกข์ที่ไม่ใช่เกิดจากบาป ไม่ใช่เกิดจากกิเลสเผา และขอให้สังเกตไว้ด้วยว่า คนจนแม้จะมีความทุกข์ยากลำบากสักเพียงไร ถ้าเป็นคนสุจริต มีใจเป็นกุศลอยู่เสมอ ความทุกข์ที่เขามีอยู่นั้นจะไม่นับว่าเป็นการตกนรก
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเข้าใจแต่เพียงแง่นี้เท่านั้น เพราะในบางครั้งแม้คนที่ประพฤติสุจริตอยู่เสมอไม่ค่อยทำบาป แต่ในเมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้นเพราะกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เรียกว่าตกนรกได้เหมือนกัน ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน (เพราะถูกไฟเผา) สิ่งทั้งปวงที่ว่าเป็นของร้อนนี้คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย ตา ก็เป็นของร้อน รูปคือสิ่งที่เห็นด้วยตาก็เป็นของร้อน การเห็น (จักษุวิญญาณ) ก็เป็นของร้อน จักษุสัมผัสก็เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ซึ่งจะเป็นสุข หรือทุกข์ หรืออุเบกขา ก็เป็นของร้อน ฯลฯ
ขอให้สังเกตว่า จากพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า การเห็น การได้ยิน การรู้สึกกลิ่น การรู้สึกรส การรู้สึกสัมผัสทางกาย ความรู้สึกนึกคิดทางใจ ซึ่งแม้จะเป็นการพบเห็นสิ่งที่น่ารักน่าพอใจ ก่อให้เกิดความสุขก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
ขอให้สังเกตคำบาลีด้วย ดังนี้
เกน อาทิตฺตํ ? อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา, อาทิตฺตํ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตนฺติ วทามิ.
เรื่องนรกในความหมายของอาทิตตปริยายสูตรนี้ ขอให้สังเกตว่า คำว่า ตกนรก ตามความหมายของพระสูตรนี้หมายถึง ถูกไฟเผา ก็แปลว่า คนไหนถูกกิเลสเผา หรือถูกความทุกข์เผา ก็แปลว่า ตกนรกและคนที่จะพ้นจากนรกได้จริงๆ พ้นได้อย่างเด็ดขาดก็จะต้องเป็นพระโสดาบันนั้น ก็เพราะเหตุที่นรกในชาตินี้มีความหมายดังที่กล่าวมานี้ ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า คนตกนรกมีมากเท่าฝุ่นในแผ่นดิน ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงตักฝุ่นขึ้นมาด้วยปลายเล็บ แล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า ฝุ่นในเล็บมือกับฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่ อันไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายได้ทูลตอบว่า ฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่มีมากกว่า ครั้นแล้วพระองค์ก็ตรัสต่อไปว่า ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่ไปนรกไปอบายก็มีมากเหมือนกับฝุ่นในผืนแผ่นดินใหญ่ฉันนั้น ทั้งนี้ก็เพราะผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจมีน้อย
ขอให้สังเกตว่า จากพระสูตรนี้ซึ่งมีอยู่ในสังยุตตนิกาย มหาวารวัคค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ หน้า ๕๗๘ ข้อ ๑๗๕๗ นี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่ตกนรกในชาตินี้ทำไมจึงมากมายยิ่งนัก และคำว่าคนที่ไปนรก หรือ ไปอบาย มีความหมายอย่างไร ก็จะเข้าใจชัดด้วย และจะเข้าใจชัดอีกด้วยว่า เหตุไรพระโสดาบันจึงได้ชื่อว่า มีนรกอันสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์เดรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบายทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว