ปริญญา แนะรบ.-ฝ่ายค้าน ผนึกแก้รธน. ชี้ไปคนละทางสำเร็จยาก มั่นใจส.ว.ใหม่ไม่เหมือนยุคคสช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4542769
‘ปริญญา’ แนะ ‘รัฐบาล-ฝ่ายค้าน’ ถกทางออกแก้ รธน.ร่วมกัน ชี้เดินคนละทางสำเร็จยาก ไม่ผ่านตั้งแต่ประชามติครั้งแรก เชื่อ ส.ว.ชุดใหม่เสียงหนุนเพียงพอ ครอบงำไม่ได้เหมือนยุค คสช. หวังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายของประชาชน
เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 24 เมษายน ที่รัฐสภา นาย
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง ว่า ทราบว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นฉบับที่มีปัญหามากมาย เพราะร่างขึ้นมาโดยกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ตัวผู้ร่างก็มาจากคณะรัฐประหาร และวางกลไกในการสืบทอดอำนาจทำให้ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตนขอเปรียบเทียบกับฉบับปี 2534 ก็ร่างโดยคณะรัฐประหารที่มีชื่อคล้ายกันนั่นคือ รสช. แต่ตอนนี้คือ คสช. ซึ่งตอนนั้นมีการแก้ไขหลายครั้ง ปี 2535 แก้ไขไป 4 มาตรา ปี 2538 แก้เกือบทั้งฉบับ แต่สุดท้ายก็ต้องมาร่างใหม่ เพราะมีที่มาซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญคือเครื่องมือในการอยู่ร่วมกันของประชาชนทั้งประเทศ เห็นต่างหรือเห็นแย้งก็ว่ากันไปตามรัฐธรรมนูญ และทุกคนเสมอภาคกัน แต่รัฐธรรมนูญปี 60 มีที่มาจากการรัฐประหาร แม้ ส.ว.ที่จะหมดวาระก็เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ แต่กลไกต่างๆ ที่วางไว้ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยยังต้องแก้อีกมาก
นาย
ปริญญากล่าวต่อว่า ปัญหาของการแก้รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ผ่านมาแก้ได้ยาก ซึ่งเป็นบทเรียนจากการแก้รัฐธรรมนูญปี 2534 ซึ่งคนร่างคนเดียวกัน คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ที่คงไม่อยากให้การแก้รัฐธรรมนูญง่ายเกินไป จึงวางกลไกไว้ว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญต้องใช้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ดังนั้นเมื่อ ส.ว.ชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. โอกาสที่จะได้ ส.ว.ชุดใหม่ให้มาเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย หนทางก็จะเปิดมากขึ้น
แต่ข้อที่เป็นอุปสรรคใหญ่เป็นเรื่องของกติกาของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อถกเถียงที่ว่าต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง เป็นเรื่องที่ศาลไม่รับวินิจฉัยแล้วให้ทำไปเลย ซึ่งรัฐบาลก็แถลงแล้วว่าให้ทำประชามติ 3 ครั้ง ซึ่งความเห็นของตน การทำประชามติครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถาม 2 ครั้ง เพราะการที่ถามครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เป็นเรื่องเดียวกัน คือถามครั้งแรกจะให้แก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อประชาชนเห็นชอบก็มาเสนอร่าง พอร่างเสร็จก็ต้องถามประชามติอีกเป็นครั้งที่ 2 ว่าจะเอาหรือไม่ โดยที่ยังไม่ได้เริ่มต้นร่างเลย แต่เมื่อรัฐบาลมีแนวทางแบบนี้เราก็ต้องติดตามดูต่อไป
นาย
ปริญญากล่าวต่ออีกว่า ส่วนที่จะเป็นข้อเห็นต่างกันมากระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล คือเรื่องของคำถาม เพราะในคำถามมีการถามว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่กับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 หมวด 2 ซึ่งเป็นข้อที่ดูแล้วจะมีความเห็นไม่ลงรอยกัน ดังนั้นตนเห็นว่าควรเอาตามกติกาก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 255 บัญญัติไว้ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะแก้ไขไม่ได้ ซึ่งถือว่ามีขอบเขตอยู่แล้ว
ที่ผ่านมาการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เช่น ฉบับ 2540 ก็อยู่ภายใต้หลักการนี้อยู่แล้ว ดังนั้นหากรัฐบาลอยากเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญได้ ควรจะหาหนทางในการพูดคุยกับฝ่ายค้านให้พอจะไปกันได้ เพราะถ้าหากเดินหน้าไปโดยเห็นต่างกันแบบนี้ เดี๋ยวการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไม่ผ่าน จะไม่เริ่มต้นแม้กระทั่งการทำประชามติครั้งแรกด้วยซ้ำไป
“
ยกตัวอย่างร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งตอนทำประชามติคือตอนปี 2559 เขายังแยกเป็น 2 คำถามเลย คือเห็นชอบหรือไม่กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กับเห็นชอบหรือไม่ที่ให้ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ หากจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ก็ควรจะคุยกันให้ออกมาเป็น 2 คำถามได้หรือไม่ ดังนั้นผมขอเสนอว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ซึ่งเคยเป็นฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันและมีสัญญาประชาคมกับประชาชนไว้ด้วยกันมาว่าจะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ให้เป็นประชาธิปไตย เพราะหากยังเดินหน้าไปโดยยังเห็นต่างกันอยู่ ผมเกรงว่าประชามติจะไม่ผ่าน สุดท้ายการแก้รัฐธรรมนูญก็แก้ไม่เสร็จ และเรื่องนี้ไม่ควรจะเป็นเรื่องของรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน แต่ควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกัน นี่คือสิ่งที่ประชาชนคาดหวังอยากจะเห็น และประชาชนอยากเห็นทั้ง 2 พรรคคุยกัน ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนว่าจะเดินหน้าไปข้างเดียว” นาย
ปริญญากล่าว
ต่อข้อถามว่าการตั้งคำถามหากรัฐบาลยืนยันไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 จะทำให้ประชามติมีความเสี่ยงไม่ผ่านได้หรือไม่ นาย
ปริญญากล่าวว่า เรื่องนี้ควรต้องคุยกันด้วยเหตุและผล อย่าเพิ่งไปตายตัวขนาดนั้น และคิดว่าจะเป็นคำถามแบบไหนก็ต้องคุยกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ กำหนดไว้ว่าการทำประชามติจะผ่านต้องมีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ มองว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายปริญญากล่าวว่า การใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน ล่าสุดคือ 74% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งโอกาสที่จะใช้สิทธิในการทำประชามติก็มีถึงอยู่แล้ว ถ้าทำให้เกิดความเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ แต่ถ้ารัฐบาลกับฝ่ายค้านเห็นต่างกัน 50% ก็ถึงยาก อย่าว่าแต่จะได้เสียงกินครึ่งหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การออกแบบในเรื่องของประชามติโดยหลักแล้ว จะต้องได้เสียงเกินครึ่งของประชาชนที่มาออกเสียง ส่วนจำนวนขั้นต่ำเป็นเท่าไร ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่พูดคุยกันได้
“
คำถามคือเขาจะคุยกันได้หรือไม่ ซึ่งเราก็หวังว่าจะเกิดการเดินหน้าไปได้ และถ้าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ควรจะเป็นครั้งสุดท้ายเสียที และรัฐธรรมนูญที่จะเป็นครั้งสุดท้ายได้ ต้องเป็นของประชาชนไม่ใช่ของรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ดังนั้นจุดเริ่มต้นสู่ความสำเร็จคือรัฐบาลกับฝ่ายค้านต้องมาคุยและหาทางออกร่วมกันหากเดินหน้าไปอย่างนี้จะสำเร็จได้ยาก” นาย
ปริญญากล่าว
นาย
ปริญญากล่าวต่อไปว่า แต่ถ้าหากเงื่อนไขค่อนข้างจะสูง ทำให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่ตัวคำถาม แต่ปัญหาคือความเห็นต่างระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล และจะทำให้การเดินหน้าไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับถึงขณะนี้ก็จะครบ 10 ปีแล้ว ตั้งแต่มีการยึดอำนาจล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไป แต่ผลพวงของการรัฐประหารยังอยู่กับเรา ดังนั้นการนำพาประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยปกติอีกครั้ง เป็นเรื่องที่ประชาชนย่อมคาดหวัง ซึ่งความคาดหวังนี้จะไม่สำเร็จหากต่างคนต่างทำ แม้โอกาสที่จะได้เสียงของ ส.ว. สนับสนุน 1 ใน 3 มีโอกาสเปิดกว้าง เพราะมี ส.ว.ชุดใหม่ แต่ระบบของ ส.ว.ก็ไม่ใช่ระบบที่ดี เนื่องจากมีความซับซ้อนมาก และเป็นระบบที่เรียกว่าคนธรรมดา ไม่มีเงินยากที่จะได้เป็น ส.ว. แต่จะไม่มีใครครอบงำเป็นกลุ่มก้อน ได้เหมือน ส.ว.ชุดปัจจุบัน ที่เลือกมาโดย คสช.
ก้าวไกล จี้รบ. ทบทวนคำถามประชามติ ห่วงล็อกบางหมวด แก้รธน.อาจเกิดปัญหา
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8200402
ชัยธวัช จี้รัฐบาลทบทวนคำถามประชามติ ย้ำต้องเปิดกว้าง-เข้าใจง่าย หวั่นคะแนนเสียงตกน้ำ ห่วงล็อกบางหมวดเกิดปัญหาทางเทคนิค ย้ำ ‘ก้าวไกล’ ไม่คิดขวางรธน.ใหม่
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 24 เม.ย.2567 ที่รัฐสภา นาย
ชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบหลักการทำประชามติ 3 ครั้ง โดยการทำประชามติครั้งแรกจะใช้คำถามว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2
โดยนาย
ชัยธวัช กล่าวว่า จากที่ดูตามเอกสารยังไม่ชัดเจนว่า ตกลงแล้วครม.มีมติอย่างเป็นทางการต่อเรื่องนี้แล้วหรือไม่ ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลมองว่า หากยังมีเวลาอยากให้รัฐบาลไปทบทวน ตั้งคำถามทำประชามติอย่างกว้างที่สุด เข้าใจง่าย ไม่ต้องมีเงื่อนไขซับซ้อน เช่น ถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แทนฉบับเก่า
นาย
ชัยธวัช กล่าวต่อว่า ซึ่งหากรัฐบาลมีข้อกังวลเรื่องหมวด 1 และหมวด 2 รัฐบาลและสส.สามารถแก้ไขรายละเอียดด้วยการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ หลังการทำประชามติได้
นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า หลักการทำประชามติคือต้องเข้าใจง่าย แต่หากตั้งคำถามโดยมีเงื่อนไขว่า ยกเว้นหมวด 1 และหมวด 2 คนที่โหวตเห็นด้วย เขาเห็นด้วยกับอะไร ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยหรืองดออกเสียง เขาไม่เห็นด้วยกับอะไร ไม่เห็นด้วยกับการตั้งเงื่อนไขเว้นบางหมวด หรือไม่เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยากจะอยู่กับรัฐธรรมนูญ 60 ดังนั้น จะตีความผลประชามติอย่างไร
คำถามประชามติที่ไม่ซับซ้อนจะมีโอกาสทำให้ประชามติผ่านง่ายขึ้น สามารถรวมคะแนนเสียงได้เป็นเอกภาพมากที่สุด แทนที่จะมีคะแนนเสียงบางส่วนที่อยากได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไข จึงโหวตไม่เห็นชอบ หรือไม่โหวตเลย ก็จะน่าเสียดาย
ทางฝ่ายค้านก็อยากให้การทำประชามติมีโอกาสผ่านมากที่สุด โดยเฉพาะพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติปัจจุบัน ที่มีเงื่อนไขเสียงข้างมากสองชั้น
“
ตอนนี้สิ่งที่พรรคก้าวไกลพยายามทำ คือ ส่งเสียงถึงรัฐบาล ต้องย้ำว่าพรรคก้าวไกลสนับสนุน อยากเห็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เร็วที่สุด ไม่มีเจตนาขัดขวาง ดังนั้น เวลาที่เหลืออยู่ ในขณะที่ครม.ไม่ชัดเจนว่า มีมติเป็นทางการแล้วหรือยัง แปลว่ายังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนได้ ก็อยากให้ทบทวน” นาย
ชัยธวัช กล่าว
นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า เรื่องรัฐธรรมนูญ หมวด 1 และหมวด 2 คนในรัฐบาลบางท่านพยายามสร้างความเข้าใจว่า พรรคก้าวไกลต้องการจะแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 มาก จึงคัดค้านคำถามแบบนี้ ซึ่งความจริงไม่ใช่ เพราะหลักการพื้นฐาน หากอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน รัฐธรรมนูญก็ควรจะแก้ได้ทั้งหมด ไม่ควรจะวางบรรทัดฐานทางการเมืองแบบนี้ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์
รัฐธรรมนูญหมวด 1 และหมวด 2 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจอย่างเดียว แต่มีเรื่องอื่นด้วย สมมติว่าในอนาคตมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีวุฒิสภา แล้วให้ใช้ระบบสภาเดี่ยวเหมือนประเทศไทยในอดีต แต่ในหมวด 1 มีถ้อยคำวุฒิสภาอยู่ จะเอาออกอย่างไร
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขถ้อยคำ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจเลย ซึ่งอาจมีปัญหาทางเทคนิคเกิดขึ้นได้
“
อยากให้รัฐบาลลองฟังเสียงสะท้อนของประชาชน ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นเสียงที่อยู่บนเจตนารมณ์ที่ดี อาจจะไม่ต้องถามความเห็นพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างเดียว แต่ต้องถามความเห็นของภาคประชาชน และภาคประชาสังคมต่างๆ ตนคิดว่าคำถามที่ดีที่สุด คือ คำถามที่เข้าใจง่าย และรวมเสียงของคนที่อยากทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นเอกภาพ” นาย
ชัยธวัช กล่าว
‘ชัยธวัช’ ดักคอ ปรับครม.ขอคนเหมาะกับงาน ดีกว่าหมุนเก้าอี้ตามโควตา หวังรมต.กลาโหมคนใหม่ดันแก้ร่างกม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4542442
‘ชัยธวัช’ ดักคอ ปรับครม.ขอคนเหมาะกับงาน มากกว่าหมุนเก้าอี้ตามโควต้าทางการเมือง หวังรมต.คุมกลาโหมคนใหม่ ดันแก้ร่างกม.ต่อ ‘สุทิน’
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 24 เมษายน ที่รัฐสภา นาย
ชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า จริงๆ โผเยอะมาก ตนไม่แน่ใจว่าต้องให้ความเห็นบนพื้นฐานโผไหน แต่คิดว่าไม่ว่าจะเป็นโผไหนหากมีการปรับครม.จริง สิ่งที่ประชาชนคาดหวังนอกจากจะเห็นการปรับเพื่อให้รัฐบาลสามารถขับเคลื่อนนโยบายได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าครึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่าคงต้องมุ่งเน้นบุคลากรที่ให้เหมาะสมกับงานมากกว่าการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนเก้าอี้กันตามโควต้าทางการเมือ
JJNY : 5in1 ปริญญาแนะแก้รธน.│ก้าวไกลจี้รบ.ทบทวน│‘ชัยธวัช’ดักคอปรับครม.│ตรังแล้งหนัก│KNLA ถอนกำลังจากเมียวดี ไปโจมตีทหาร
https://www.matichon.co.th/politics/news_4542769
‘ปริญญา’ แนะ ‘รัฐบาล-ฝ่ายค้าน’ ถกทางออกแก้ รธน.ร่วมกัน ชี้เดินคนละทางสำเร็จยาก ไม่ผ่านตั้งแต่ประชามติครั้งแรก เชื่อ ส.ว.ชุดใหม่เสียงหนุนเพียงพอ ครอบงำไม่ได้เหมือนยุค คสช. หวังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายของประชาชน
เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 24 เมษายน ที่รัฐสภา นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง ว่า ทราบว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นฉบับที่มีปัญหามากมาย เพราะร่างขึ้นมาโดยกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ตัวผู้ร่างก็มาจากคณะรัฐประหาร และวางกลไกในการสืบทอดอำนาจทำให้ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ตนขอเปรียบเทียบกับฉบับปี 2534 ก็ร่างโดยคณะรัฐประหารที่มีชื่อคล้ายกันนั่นคือ รสช. แต่ตอนนี้คือ คสช. ซึ่งตอนนั้นมีการแก้ไขหลายครั้ง ปี 2535 แก้ไขไป 4 มาตรา ปี 2538 แก้เกือบทั้งฉบับ แต่สุดท้ายก็ต้องมาร่างใหม่ เพราะมีที่มาซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญคือเครื่องมือในการอยู่ร่วมกันของประชาชนทั้งประเทศ เห็นต่างหรือเห็นแย้งก็ว่ากันไปตามรัฐธรรมนูญ และทุกคนเสมอภาคกัน แต่รัฐธรรมนูญปี 60 มีที่มาจากการรัฐประหาร แม้ ส.ว.ที่จะหมดวาระก็เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ แต่กลไกต่างๆ ที่วางไว้ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยยังต้องแก้อีกมาก
นายปริญญากล่าวต่อว่า ปัญหาของการแก้รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ผ่านมาแก้ได้ยาก ซึ่งเป็นบทเรียนจากการแก้รัฐธรรมนูญปี 2534 ซึ่งคนร่างคนเดียวกัน คือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ที่คงไม่อยากให้การแก้รัฐธรรมนูญง่ายเกินไป จึงวางกลไกไว้ว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญต้องใช้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ดังนั้นเมื่อ ส.ว.ชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. โอกาสที่จะได้ ส.ว.ชุดใหม่ให้มาเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย หนทางก็จะเปิดมากขึ้น
แต่ข้อที่เป็นอุปสรรคใหญ่เป็นเรื่องของกติกาของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อถกเถียงที่ว่าต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง เป็นเรื่องที่ศาลไม่รับวินิจฉัยแล้วให้ทำไปเลย ซึ่งรัฐบาลก็แถลงแล้วว่าให้ทำประชามติ 3 ครั้ง ซึ่งความเห็นของตน การทำประชามติครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถาม 2 ครั้ง เพราะการที่ถามครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เป็นเรื่องเดียวกัน คือถามครั้งแรกจะให้แก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อประชาชนเห็นชอบก็มาเสนอร่าง พอร่างเสร็จก็ต้องถามประชามติอีกเป็นครั้งที่ 2 ว่าจะเอาหรือไม่ โดยที่ยังไม่ได้เริ่มต้นร่างเลย แต่เมื่อรัฐบาลมีแนวทางแบบนี้เราก็ต้องติดตามดูต่อไป
นายปริญญากล่าวต่ออีกว่า ส่วนที่จะเป็นข้อเห็นต่างกันมากระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกล คือเรื่องของคำถาม เพราะในคำถามมีการถามว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่กับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 หมวด 2 ซึ่งเป็นข้อที่ดูแล้วจะมีความเห็นไม่ลงรอยกัน ดังนั้นตนเห็นว่าควรเอาตามกติกาก่อน ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 255 บัญญัติไว้ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ หรือมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะแก้ไขไม่ได้ ซึ่งถือว่ามีขอบเขตอยู่แล้ว
ที่ผ่านมาการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เช่น ฉบับ 2540 ก็อยู่ภายใต้หลักการนี้อยู่แล้ว ดังนั้นหากรัฐบาลอยากเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญได้ ควรจะหาหนทางในการพูดคุยกับฝ่ายค้านให้พอจะไปกันได้ เพราะถ้าหากเดินหน้าไปโดยเห็นต่างกันแบบนี้ เดี๋ยวการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไม่ผ่าน จะไม่เริ่มต้นแม้กระทั่งการทำประชามติครั้งแรกด้วยซ้ำไป
“ยกตัวอย่างร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งตอนทำประชามติคือตอนปี 2559 เขายังแยกเป็น 2 คำถามเลย คือเห็นชอบหรือไม่กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กับเห็นชอบหรือไม่ที่ให้ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ หากจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ก็ควรจะคุยกันให้ออกมาเป็น 2 คำถามได้หรือไม่ ดังนั้นผมขอเสนอว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล ซึ่งเคยเป็นฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันและมีสัญญาประชาคมกับประชาชนไว้ด้วยกันมาว่าจะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ให้เป็นประชาธิปไตย เพราะหากยังเดินหน้าไปโดยยังเห็นต่างกันอยู่ ผมเกรงว่าประชามติจะไม่ผ่าน สุดท้ายการแก้รัฐธรรมนูญก็แก้ไม่เสร็จ และเรื่องนี้ไม่ควรจะเป็นเรื่องของรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน แต่ควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกัน นี่คือสิ่งที่ประชาชนคาดหวังอยากจะเห็น และประชาชนอยากเห็นทั้ง 2 พรรคคุยกัน ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนว่าจะเดินหน้าไปข้างเดียว” นายปริญญากล่าว
ต่อข้อถามว่าการตั้งคำถามหากรัฐบาลยืนยันไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 จะทำให้ประชามติมีความเสี่ยงไม่ผ่านได้หรือไม่ นายปริญญากล่าวว่า เรื่องนี้ควรต้องคุยกันด้วยเหตุและผล อย่าเพิ่งไปตายตัวขนาดนั้น และคิดว่าจะเป็นคำถามแบบไหนก็ต้องคุยกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ กำหนดไว้ว่าการทำประชามติจะผ่านต้องมีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ มองว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายปริญญากล่าวว่า การใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน ล่าสุดคือ 74% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งโอกาสที่จะใช้สิทธิในการทำประชามติก็มีถึงอยู่แล้ว ถ้าทำให้เกิดความเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ แต่ถ้ารัฐบาลกับฝ่ายค้านเห็นต่างกัน 50% ก็ถึงยาก อย่าว่าแต่จะได้เสียงกินครึ่งหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การออกแบบในเรื่องของประชามติโดยหลักแล้ว จะต้องได้เสียงเกินครึ่งของประชาชนที่มาออกเสียง ส่วนจำนวนขั้นต่ำเป็นเท่าไร ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่พูดคุยกันได้
“คำถามคือเขาจะคุยกันได้หรือไม่ ซึ่งเราก็หวังว่าจะเกิดการเดินหน้าไปได้ และถ้าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ควรจะเป็นครั้งสุดท้ายเสียที และรัฐธรรมนูญที่จะเป็นครั้งสุดท้ายได้ ต้องเป็นของประชาชนไม่ใช่ของรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ดังนั้นจุดเริ่มต้นสู่ความสำเร็จคือรัฐบาลกับฝ่ายค้านต้องมาคุยและหาทางออกร่วมกันหากเดินหน้าไปอย่างนี้จะสำเร็จได้ยาก” นายปริญญากล่าว
นายปริญญากล่าวต่อไปว่า แต่ถ้าหากเงื่อนไขค่อนข้างจะสูง ทำให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่ตัวคำถาม แต่ปัญหาคือความเห็นต่างระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล และจะทำให้การเดินหน้าไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับถึงขณะนี้ก็จะครบ 10 ปีแล้ว ตั้งแต่มีการยึดอำนาจล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไป แต่ผลพวงของการรัฐประหารยังอยู่กับเรา ดังนั้นการนำพาประเทศกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยปกติอีกครั้ง เป็นเรื่องที่ประชาชนย่อมคาดหวัง ซึ่งความคาดหวังนี้จะไม่สำเร็จหากต่างคนต่างทำ แม้โอกาสที่จะได้เสียงของ ส.ว. สนับสนุน 1 ใน 3 มีโอกาสเปิดกว้าง เพราะมี ส.ว.ชุดใหม่ แต่ระบบของ ส.ว.ก็ไม่ใช่ระบบที่ดี เนื่องจากมีความซับซ้อนมาก และเป็นระบบที่เรียกว่าคนธรรมดา ไม่มีเงินยากที่จะได้เป็น ส.ว. แต่จะไม่มีใครครอบงำเป็นกลุ่มก้อน ได้เหมือน ส.ว.ชุดปัจจุบัน ที่เลือกมาโดย คสช.
ก้าวไกล จี้รบ. ทบทวนคำถามประชามติ ห่วงล็อกบางหมวด แก้รธน.อาจเกิดปัญหา
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8200402
ชัยธวัช จี้รัฐบาลทบทวนคำถามประชามติ ย้ำต้องเปิดกว้าง-เข้าใจง่าย หวั่นคะแนนเสียงตกน้ำ ห่วงล็อกบางหมวดเกิดปัญหาทางเทคนิค ย้ำ ‘ก้าวไกล’ ไม่คิดขวางรธน.ใหม่
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 24 เม.ย.2567 ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบหลักการทำประชามติ 3 ครั้ง โดยการทำประชามติครั้งแรกจะใช้คำถามว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2
โดยนายชัยธวัช กล่าวว่า จากที่ดูตามเอกสารยังไม่ชัดเจนว่า ตกลงแล้วครม.มีมติอย่างเป็นทางการต่อเรื่องนี้แล้วหรือไม่ ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลมองว่า หากยังมีเวลาอยากให้รัฐบาลไปทบทวน ตั้งคำถามทำประชามติอย่างกว้างที่สุด เข้าใจง่าย ไม่ต้องมีเงื่อนไขซับซ้อน เช่น ถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แทนฉบับเก่า
นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า ซึ่งหากรัฐบาลมีข้อกังวลเรื่องหมวด 1 และหมวด 2 รัฐบาลและสส.สามารถแก้ไขรายละเอียดด้วยการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ หลังการทำประชามติได้
นายชัยธวัช กล่าวว่า หลักการทำประชามติคือต้องเข้าใจง่าย แต่หากตั้งคำถามโดยมีเงื่อนไขว่า ยกเว้นหมวด 1 และหมวด 2 คนที่โหวตเห็นด้วย เขาเห็นด้วยกับอะไร ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยหรืองดออกเสียง เขาไม่เห็นด้วยกับอะไร ไม่เห็นด้วยกับการตั้งเงื่อนไขเว้นบางหมวด หรือไม่เห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยากจะอยู่กับรัฐธรรมนูญ 60 ดังนั้น จะตีความผลประชามติอย่างไร
คำถามประชามติที่ไม่ซับซ้อนจะมีโอกาสทำให้ประชามติผ่านง่ายขึ้น สามารถรวมคะแนนเสียงได้เป็นเอกภาพมากที่สุด แทนที่จะมีคะแนนเสียงบางส่วนที่อยากได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไข จึงโหวตไม่เห็นชอบ หรือไม่โหวตเลย ก็จะน่าเสียดาย
ทางฝ่ายค้านก็อยากให้การทำประชามติมีโอกาสผ่านมากที่สุด โดยเฉพาะพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติปัจจุบัน ที่มีเงื่อนไขเสียงข้างมากสองชั้น
“ตอนนี้สิ่งที่พรรคก้าวไกลพยายามทำ คือ ส่งเสียงถึงรัฐบาล ต้องย้ำว่าพรรคก้าวไกลสนับสนุน อยากเห็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เร็วที่สุด ไม่มีเจตนาขัดขวาง ดังนั้น เวลาที่เหลืออยู่ ในขณะที่ครม.ไม่ชัดเจนว่า มีมติเป็นทางการแล้วหรือยัง แปลว่ายังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนได้ ก็อยากให้ทบทวน” นายชัยธวัช กล่าว
นายชัยธวัช กล่าวว่า เรื่องรัฐธรรมนูญ หมวด 1 และหมวด 2 คนในรัฐบาลบางท่านพยายามสร้างความเข้าใจว่า พรรคก้าวไกลต้องการจะแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 มาก จึงคัดค้านคำถามแบบนี้ ซึ่งความจริงไม่ใช่ เพราะหลักการพื้นฐาน หากอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน รัฐธรรมนูญก็ควรจะแก้ได้ทั้งหมด ไม่ควรจะวางบรรทัดฐานทางการเมืองแบบนี้ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์
รัฐธรรมนูญหมวด 1 และหมวด 2 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจอย่างเดียว แต่มีเรื่องอื่นด้วย สมมติว่าในอนาคตมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีวุฒิสภา แล้วให้ใช้ระบบสภาเดี่ยวเหมือนประเทศไทยในอดีต แต่ในหมวด 1 มีถ้อยคำวุฒิสภาอยู่ จะเอาออกอย่างไร
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขถ้อยคำ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจเลย ซึ่งอาจมีปัญหาทางเทคนิคเกิดขึ้นได้
“อยากให้รัฐบาลลองฟังเสียงสะท้อนของประชาชน ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นเสียงที่อยู่บนเจตนารมณ์ที่ดี อาจจะไม่ต้องถามความเห็นพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างเดียว แต่ต้องถามความเห็นของภาคประชาชน และภาคประชาสังคมต่างๆ ตนคิดว่าคำถามที่ดีที่สุด คือ คำถามที่เข้าใจง่าย และรวมเสียงของคนที่อยากทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นเอกภาพ” นายชัยธวัช กล่าว
‘ชัยธวัช’ ดักคอ ปรับครม.ขอคนเหมาะกับงาน ดีกว่าหมุนเก้าอี้ตามโควตา หวังรมต.กลาโหมคนใหม่ดันแก้ร่างกม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4542442
‘ชัยธวัช’ ดักคอ ปรับครม.ขอคนเหมาะกับงาน มากกว่าหมุนเก้าอี้ตามโควต้าทางการเมือง หวังรมต.คุมกลาโหมคนใหม่ ดันแก้ร่างกม.ต่อ ‘สุทิน’
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 24 เมษายน ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า จริงๆ โผเยอะมาก ตนไม่แน่ใจว่าต้องให้ความเห็นบนพื้นฐานโผไหน แต่คิดว่าไม่ว่าจะเป็นโผไหนหากมีการปรับครม.จริง สิ่งที่ประชาชนคาดหวังนอกจากจะเห็นการปรับเพื่อให้รัฐบาลสามารถขับเคลื่อนนโยบายได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าครึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่าคงต้องมุ่งเน้นบุคลากรที่ให้เหมาะสมกับงานมากกว่าการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนเก้าอี้กันตามโควต้าทางการเมือ