‘ปชป.’ยันทำให้ดีที่สุด‘ซักฟอกม.152’รัฐบาลเศรษฐา กาง‘3 โจทย์’ล็อกเป้าถล่ม‘นโยบายประกาศแล้วไม่ทำ-ดิจิทัลวอลเล็ต-หลักนิติรัฐ’ โยง‘ทักษิณ’ ข้องใจตกลงมี‘นายกฯ’กี่คนกันแน่ ชี้หากตอบไม่เคลียร์ ประชาชนจะเริ่มไม่ไว้ใจ
16 มีนาคม 2567 นายพิทักษ์เดช เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 วันที่ 3-4 เม.ย.นี้ ว่า ถึงแม้ว่าเวลาในการอภิปรายจะมีเพียงแค่ 2 วัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ประชาชนติดตามทวงถามและมีเรื่องคาใจเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานของรัฐบาลเป็นจำนวนมาก แต่ทางฝ่ายค้านและพรรคประชาธิปัตย์ก็จะทำหน้าที่ในการอภิปรายฯอย่างดีที่สุด
ทั้งนี้ ประเด็นที่ทางพรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการอภิปรายนั้น จะมีอยู่ 3 ประเด็นหลักๆ คือ ในเรื่องของนโยบายที่มีการประกาศเอาไว้อย่างชัดเจนในคำแถลงนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา ซึ่งนับจากวันแถลงนโยบายในวันที่ 11ก.ย.2566 จนถึงตอนนี้ ผ่านไป 6 เดือนแล้ว กลับพบว่า นโยบายที่เป็นเรือธงสำคัญอย่างการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต นั้น กลับมีความคืบหน้าเพียงแค่ซื้อเวลาเพื่อหาแพะรับบาป และที่ตนย้ำมาตลอดว่า เสียงสะท้อนจากประชาชนจริงๆนั้น พวกเขาต้องการเงินสดมากกว่าเงินในอากาศที่ต้องผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนกว่าที่จะใช้งานได้จริง รวมทั้ง นโยบายอื่นๆ ที่ยังล้มเหลวในทางปฏิบัติ
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ต่อมาในเรื่องของความเสมอภาคที่ทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐนั้น ปรากฏว่า สิ่งที่สังคมรับรู้กันทั่วไปก็คือ มีการใช้อำนาจทุกรูปแบบเพื่อเอื้อให้นักโทษคนหนึ่งมีสิทธิพิเศษเหนือกว่านักโทษคนอื่นๆ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ซึ่งขัดกับสิ่งที่รัฐบาลประกาศว่า จะดำเนินการฟื้นฟูหลักนิติธรรม (Rule of Law) ให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ เพราะการมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือ เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางความคิดและสังคมที่สำคัญของประเทศ
ประเด็นที่สำคัญที่ตนและทางฝ่ายค้านสงสัยมากที่สุดก็คือ ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อเศรษฐา ทวีสิน เนื่องจากเท่าที่สังเกตก็คือ ตำแหน่งสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีนั้น ตนเชื่อว่า นายเศรษฐา ไม่ได้เป็นคนที่คัดเลือกมาเอง แต่น่าจะเป็นโควตาของบรรดานายใหญ่นายหญิง และนายน้อยภายในพรรค อีกทั้งยังมีข้อครหาว่า การตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ต่างๆ นายเศรษฐา น่าจะต้องรอให้ผู้มีอำนาจตัวจริง เป็นคนสั่งการลงมา จนเป็นที่มาว่า ตกลงแล้วประเทศไทย มีนายกฯกี่คนกันแน่” นายพิทักษ์เดช กล่าว
นายพิทักษ์เดช กล่าวว่า ดังนั้นฝ่ายค้านและพรรคประชาธิปัตย์ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ เพื่ออภิปรายสอบถามไปยังรัฐบาล โดยหวังว่า รัฐบาลจะมีคำตอบให้ทางสภาและประชาชน ได้ความกระจ่างและเป็นที่พอใจ ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการสอบถามอีกมากมาย เช่น ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ขณะนี้มีความรุนแรงขึ้นทุกวัน โดยไม่ใช่เป็นภัยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ประเด็นเรื่องสองมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมองว่า กระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดินออกจากสนามบินจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวออกมานั้น จำเป็นจะต้องได้รับคำตอบจากรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพราะการปล่อยให้นักโทษตามคำพิพากษาคนหนึ่ง มีสิทธิพิเศษเหนือกว่ามนุษย์ จนถูกเรียกเป็น “นักโทษเทวดา” ถือว่า รัฐบาลเองเป็นผู้สร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำให้กับคนในสังคมที่ปฏิบัติตนตามกฎหมาย และทำลายหลักนิติรัฐอย่างชัดเจน
อ่าน
https://www.naewna.com/politic/793464
ปชป.เปิด 3 โจทย์‘ซักฟอก’ ล็อกเป้าถล่ม‘รัฐบาลเศรษฐา’โยง‘ทักษิณ’แน่
16 มีนาคม 2567 นายพิทักษ์เดช เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราช รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 วันที่ 3-4 เม.ย.นี้ ว่า ถึงแม้ว่าเวลาในการอภิปรายจะมีเพียงแค่ 2 วัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ประชาชนติดตามทวงถามและมีเรื่องคาใจเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานของรัฐบาลเป็นจำนวนมาก แต่ทางฝ่ายค้านและพรรคประชาธิปัตย์ก็จะทำหน้าที่ในการอภิปรายฯอย่างดีที่สุด
ทั้งนี้ ประเด็นที่ทางพรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการอภิปรายนั้น จะมีอยู่ 3 ประเด็นหลักๆ คือ ในเรื่องของนโยบายที่มีการประกาศเอาไว้อย่างชัดเจนในคำแถลงนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา ซึ่งนับจากวันแถลงนโยบายในวันที่ 11ก.ย.2566 จนถึงตอนนี้ ผ่านไป 6 เดือนแล้ว กลับพบว่า นโยบายที่เป็นเรือธงสำคัญอย่างการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต นั้น กลับมีความคืบหน้าเพียงแค่ซื้อเวลาเพื่อหาแพะรับบาป และที่ตนย้ำมาตลอดว่า เสียงสะท้อนจากประชาชนจริงๆนั้น พวกเขาต้องการเงินสดมากกว่าเงินในอากาศที่ต้องผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนกว่าที่จะใช้งานได้จริง รวมทั้ง นโยบายอื่นๆ ที่ยังล้มเหลวในทางปฏิบัติ
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ต่อมาในเรื่องของความเสมอภาคที่ทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐนั้น ปรากฏว่า สิ่งที่สังคมรับรู้กันทั่วไปก็คือ มีการใช้อำนาจทุกรูปแบบเพื่อเอื้อให้นักโทษคนหนึ่งมีสิทธิพิเศษเหนือกว่านักโทษคนอื่นๆ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ซึ่งขัดกับสิ่งที่รัฐบาลประกาศว่า จะดำเนินการฟื้นฟูหลักนิติธรรม (Rule of Law) ให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ เพราะการมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือ เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางความคิดและสังคมที่สำคัญของประเทศ
ประเด็นที่สำคัญที่ตนและทางฝ่ายค้านสงสัยมากที่สุดก็คือ ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อเศรษฐา ทวีสิน เนื่องจากเท่าที่สังเกตก็คือ ตำแหน่งสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีนั้น ตนเชื่อว่า นายเศรษฐา ไม่ได้เป็นคนที่คัดเลือกมาเอง แต่น่าจะเป็นโควตาของบรรดานายใหญ่นายหญิง และนายน้อยภายในพรรค อีกทั้งยังมีข้อครหาว่า การตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ต่างๆ นายเศรษฐา น่าจะต้องรอให้ผู้มีอำนาจตัวจริง เป็นคนสั่งการลงมา จนเป็นที่มาว่า ตกลงแล้วประเทศไทย มีนายกฯกี่คนกันแน่” นายพิทักษ์เดช กล่าว
นายพิทักษ์เดช กล่าวว่า ดังนั้นฝ่ายค้านและพรรคประชาธิปัตย์ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฯ เพื่ออภิปรายสอบถามไปยังรัฐบาล โดยหวังว่า รัฐบาลจะมีคำตอบให้ทางสภาและประชาชน ได้ความกระจ่างและเป็นที่พอใจ ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ทางพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการสอบถามอีกมากมาย เช่น ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ขณะนี้มีความรุนแรงขึ้นทุกวัน โดยไม่ใช่เป็นภัยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ประเด็นเรื่องสองมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมองว่า กระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดินออกจากสนามบินจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวออกมานั้น จำเป็นจะต้องได้รับคำตอบจากรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพราะการปล่อยให้นักโทษตามคำพิพากษาคนหนึ่ง มีสิทธิพิเศษเหนือกว่ามนุษย์ จนถูกเรียกเป็น “นักโทษเทวดา” ถือว่า รัฐบาลเองเป็นผู้สร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำให้กับคนในสังคมที่ปฏิบัติตนตามกฎหมาย และทำลายหลักนิติรัฐอย่างชัดเจน
อ่าน https://www.naewna.com/politic/793464