JJNY : 5in1 ศิริกัญญาโวยสภา│ก้าวไกลยื่นแก้ไขรธน.│กมธ.มั่นคงฯเฝ้าระวังเมียนมา│อิตาเลียนไทยโดนหั่นเครดิต│ปัดข้อเสนอฮามาส

ศิริกัญญา โวยสภาได้พิจารณางบจริงแค่ 41% ชี้หน่วยงานใช้งบไปก่อน เร่งอุดช่องโหว่
https://www.khaosod.co.th/politics/news_8140160
 
 
ศิริกัญญา โวย สภามีอำนาจน้อย เหตุหน่วยงานใช้งบไปก่อน หวังแก้ช่องโหว่ สงสัยตัดงบก้อนใหญ่วันสุดท้าย ดึงงบไม่มีเจ้าภาพเข้างบกลาง เชื่อรัฐบาลหาทางลง ดิจิทัลวอลเล็ต เย้ยไม่เกิดแน่
 
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 มี.ค.2567 ที่พรรคก้าวไกล คณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 สัดส่วนพรรคก้าวไกล นำโดยน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรค นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และนายชยพล สท้อนดี สส.กทม. แถลงข่าว Policy Watch ในหัวข้อ “รวบตึงงบฯ 67 จากห้อง กมธ.
 
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ปีนี้เรามีทำงานกระชับ เร็วขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากงบประมาณออกล่าช้า เท่าที่ตนจำได้ ไม่มีปีไหนที่เร็วที่สุดมาก่อน อีกสาเหตุหนึ่งเนื่องจากมีการใช้งบในหน่วยงานราชการไปพลางก่อนแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในการอนุมัติงบไปแล้วคือ หน่วยงานเริ่มใช้งบไปก่อน ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และพอสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเงินก้อน 3.48 ล้านล้านบาท จะมีเกือบ 2 ล้านล้านบาท ถูกอนุมัติและใช้ไปแล้ว
 
ดังนั้น ในความเป็นจริง สภาฯมีอำนาจพิจารณาจริงจังแค่ 41% เท่านั้น ซึ่งวิธีการแบบนี้มีปัญหาและช่องโหว่ แม้จะทำตามรัฐธรรมนูญ
 
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า สิ่งที่เราพบการอนุมัติหลักเกณฑ์ว่าใช้อะไรได้ อะไรไม่ได้ มีผอ.สำนักงบประมาณ แค่คนเดียวที่มีอำนาจอนุมัติ เราเลยคิดว่าช่องโหว่ตรงนี้ ควรได้รับการอนุมัติโดย ครม.หรือนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะมีผู้รับผิดชอบในส่วนที่สภาฯ ไม่สามารถอนุมัติได้
 
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า ตามปกติทุกปี กมธ.งบประมาณ จะต้องตั้งอนุ กมธ.มาทำงาน เพื่อพิจารณารายละเอียด ที่ผ่านมาจะแบ่งตามรายการ แต่ปีนี้มีเรื่องแปลกใหม่ คือแบ่งกันตามกระทรวง แต่ละอนุกมธ.จะมีความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของของรัฐมนตรีที่สังกัดพรรคนั้นอยู่ เช่น อนุกมธ.เศรษฐกิจ จะมีกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน เราจะทราบว่ารัฐมนตรีนั้นมาจากพรรครวมไทยสร้างชาติ ดังนั้น อนุ กมธ.ก็จะมาจากพรรครวมไทยสร้างชาติเช่นกัน หรือ อนุกมธ.ทรัพยากรบุคคล อุดมศึกษา แรงงาน ก็จะมาจากพรรคภูมิใจไทย
 
ก็มีเสียงบ่น เสียงห่วงใยมาจากในหลาย กมธ.และอนุ กมธ.ว่าทำจัดแบบนี้ จะเกิดเหตุการณ์เข้ามาปกป้องงบของรัฐมนตรีหรือไม่” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว
 
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า นอกจากนี้มีความพยายามเร่งตัดงบในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการพิจารณาของอนุกมธ. เช่น เรือฟริเกต ก็ตัดวันสุดท้าย การก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 ของสนามบินอู่ตะเภา กองทัพเรือก็ถูกตัดวันสุดท้าย แต่มีการอุทธรณ์และคืนงบไป ยังมีอีกหลายรายการที่ตัดในห้อง กมธ.ใหญ่ ในส่วนแผนบูรณาการถูกตัดงบมากที่สุด เนื่องจากไม่มีเจ้าที่ ไม่มีเจ้าภาพ แต่สุดท้ายก็อุทธรณ์
 
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ปีนี้ตัดงบไปได้ 9,024 ล้านบาท เงินส่วนนี้จะถูกเฉลี่ยไปที่หน่วยงานที่ของบเพิ่ม ซึ่งส่วนใหญ่จะไปลงที่งบกลาง โดยกระทรวงที่ได้งบเพิ่มคือกระทรวงแรงงาน เนื่องจากเราเห็นว่าควรได้เงินสมทบประกันสังคม ทุกวันนี้ผู้ประกันตนถูกรัฐบาลเล่นตุกติกอยู่ เนื่องจากไม่เคยจ่ายดอกเบี้ยครบ ไม่เคยจ่ายเงินสมทบ ขณะเดียวกันกระทรวงที่ถูกตัดงบที่สุดคือกระทรวงกลาโหม โดยรายการใหญ่ที่สุดที่ถูกตัดคืองบจัดซื้อเรือฟริเกต รองลงมาคือกระทรวงมหาดไทย ตัดงบฝายซีเมนต์
 
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวย้ำว่า สาเหตุที่อยากโยกงบไปงบกลาง เนื่องจากการจัดสรรงบผิดพลาดใน 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องชดใช้เงินคงคลังเกือบ 1.2 แสนล้านบาท แทนที่ควรตั้งเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ เงินชำระหนี้ให้ได้ ที่ผ่านมามีการตั้งงบไว้ขาด ปีนี้ก็ยังตั้งงบไว้ไม่เพียงพออีก ทำให้ต้องแปรเพิ่มให้กว่า 7,000 ล้าน
 
นอกจากนี้ยังส่งเงินไปที่เงินสำรองใช้จ่ายฉุกเฉินยามจำเป็น ซึ่งตรวจสอบได้ยาก เนื่องจากนายกฯมีอำนาจเต็ม กมธ.ในสัดส่วนของพรรคก้าวไกล จึงเจรจาอนุมัติให้แลกกับเพิ่มเงินในกองทุนประกันสังคม
 
เมื่อถามว่ามีการตั้งข้อสงสัยว่าการโยกงบไปอยู่ที่งบกลางนั้น เพราะจะนำไปทำโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต หรือไม่ น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากงบที่ได้คนละไซส์กับดิจิทัลวอลเล็ต ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต จะไม่เกิดขึ้นภายในงบปี 67 แน่นอน เพราะยังไม่มีแหล่งที่มาของเงินที่ชัดเจน
 
จนถึงวันนี้ครบ 30 วัน หลังจากประชุมคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ และไม่มีการนัดประชุมอีกเลย รวมถึงไม่มีการแจ้งล่วงหน้า จึงเท่ากับกระบวนการล่าช้าออกไปอีก ทั้งนี้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ระบุว่าอาจเป็นมาจากคณะอนุกรรมการยังทำงานไม่เสร็จ ซึ่งไม่แน่ใจว่าที่ไม่เสร็จ เพราะไม่ได้คำตอบที่น่าพอใจจากการไปรับฟังภาคส่วนต่างๆ ใช่หรือไม่
 
เมื่อถามว่ายังยืนยันว่าเป็นการหาทางลงของรัฐบาลใช่หรือไม่ น.ส.ศิริกัญญา ระบุว่า ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลยืนยันมาตลอดว่า รัฐบาลเลือกเส้นทางที่ลุยไฟมากที่สุด วันนี้เห็นได้ชัดว่าไม่มีทางไปต่อแล้ว และน่าจะกำลังหาทางลงอยู่ เพราะมองว่าแม้จะไม่ได้ทำโครงการนี้ รัฐบาลไม่ต้องกังวลมาก เพราะจากโพลที่ออกมา ประชาชนอาจเสียใจแต่ไม่โกรธรัฐบาล



ก้าวไกล ยื่นแก้ไขรธน. ปมที่มาส.ส.ร. เลือกตั้ง100%-18ปี สมัครได้ หวังประธานบรรจุเข้าวาระ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4473900

ก้าวไกล ยื่นแก้ไข รธน. ปมที่มา ส.ส.ร. เลือกตั้ง 100%-18 ปี สมัครได้ หวังประธานบรรจุเข้าวาระ
 
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 15 มีนาคม 2567 ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 100% มาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานผู้แทนราษฎร โดยมีนายมุข สุไลมาน เป็นเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับหนังสือแทน
 
นายพริษฐ์กล่าวว่า คณะกรรมการศึกษาที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา นำโดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงผลสรุปเมื่อ ธ.ค.2566 เพื่อเสนอให้รัฐบาลเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยการทำประชามติ 3 ครั้ง แต่นายชูศักดิ์ ศิรินิล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เสนอจัดทำประชามติ 2 ครั้ง ซึ่งเริ่มต้นจากการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเมื่อ ม.ค.2567
 
นายพริษฐ์กล่าวว่า เราเข้าใจเหตุผลในเชิงการเมืองที่ทำให้หลายฝ่ายมองถึงความจำเป็นในการจัดประชามติ 3 ครั้ง แต่เรายืนยันว่าตลอดว่าหากยึดตามรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ การจัดประชามติเพียง 2 ครั้ง เพียงพอแล้วในเชิงกฎหมาย
 
โดยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง ส.ส.ร. ฉบับก้าวไกล เป็นการเพิ่มหมวด 15/1 (การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) และแก้ไข มาตรา 256 (การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ) โดยมีสาระสำคัญได้แก่
 
1. จัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วย ส.ส.ร. 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 100 คนแบบแบ่งเขต โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และอีก 100 คน แบบบัญชีรายชื่อ โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง
 
2. กำหนดให้ ส.ส.ร. มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ
 
3. กำหนดให้ ส.ส.ร. มีกรอบเวลาไม่เกิน 360 วัน ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้รับฟังความเห็นอย่างรอบด้านและทำงานอย่างรอบคอบ ในขณะที่ไม่ทำให้กระบวนการมีความยืดเยื้อจนทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างล่าช้าจนเกินไป
 
4. กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สมัคร ส.ส.ร. ไว้ที่ 18 ปี

5. กำหนดให้ ส.ส.ร. มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประกอบไปด้วย ส.ส.ร. ไม่น้อยกว่า 2/3 ของจำนวนกรรมาธิการ เพื่อให้ กมธ. มีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่ และเปิดพื้นที่ให้กับคนนอกที่ ส.ส.ร. คัดเลือกและอนุมติ เพื่อให้ กมธ. มีพื้นที่ให้กับผู้เชี่ยวชาญ-ผู้มีประสบการณ์ ที่อาจไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง

6. กำหนดให้มีการจัดทำประชามติ หลังจากที่ ส.ส.ร. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จ เพื่อสอบถามประชาชนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

7. กำหนดให้ ส.ส.ร. มีอำนาจจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) และส่งให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ หากรัฐสภาไม่เห็นชอบ พ.ร.ป. ฉบับไหนของ ส.ส.ร. รัฐสภาจะมีอำนาจรับไปทำต่อเอง

8. กำหนดให้ ส.ส.ร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ โดยไม่ถูกกระทบจากการยุบสภา หรือจากการที่สภาหมดวาระ เพื่อความต่อเนื่องของ ส.ส.ร. ในการทำงาน และของกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

9. กำหนดให้ ส.ส.ร. ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง ภายใน 5 ปีแรก เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
 
และ 10.ปรับเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256) โดยกำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้ หากได้รับความเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา
 
ได้รับความเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร เฉพาะในกรณีที่เป็นการแก้ไขเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนผ่านประชามติ
 
นายพริษฐ์กล่าวว่า เราเข้าใจว่าทางประธานรัฐสภาได้ตัดสินใจไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง ส.ส.ร. ที่เสนอโดย ส.ส. เพื่อไทย เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา โดยให้เหตุผลว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 กำหนดให้ต้องมีการจัดทำประชามติก่อนเสนอร่างดังกล่าวเข้าสู่รัฐสภาในมุมมองของพรรคก้าวไกล การกระทำดังกล่าวของประธานรัฐสภา เป็นการตีความคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและการตัดสินใจที่เราไม่เห็นด้วย โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประธานรัฐสภาจะทบทวนการตัดสินใจดังกล่าวและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง ส.ส.ร. ของทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากการเสนอร่างทั้ง 2 ร่างดังกล่าวเข้าสู่รัฐสภา ไม่ได้เป็นขั้นตอนหรือมีเนื้อหาสาระส่วนไหนที่ขัดกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ที่เพียงกำหนดไว้ว่าให้มีประชามติ 1 ครั้งก่อนมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประชามติ 1 ครั้งหลังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่



กมธ. มั่นคงฯ เฝ้าระวัง พิษสงครามเมียนมา ‘โรฮีนจา’ หนีเข้าชายแดนไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4473672

กมธ. มั่นคงฯ จับมือ ทร. หามาตรการรับมือผู้หนีภัยสงครามจาก เมียนมา หลังประเมินเหตุการณ์ไม่ดี เฝ้าระวัง ‘โรฮีนจา’ หนีตายจากค็อกซ์บาซาร์ เข้าน่านน้ำไทย
 
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ (นันทอุทยาน) นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูป สภาผู้แทนราษฎร แถลงภายหลังการหารือกับผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือว่า เป็นการทำงานอย่างสร้างสรรค์ มีหลายคำถามที่ค่อนข้างครอบคลุม ส่วนหนึ่งมาจากที่กรรมาธิการลงพื้นที่ค่อนข้างมาก
จากนี้คงต้องมีการหารือกันต่อไปเรื่อยๆ เพราะต้องยอมรับว่า บริบทของโลกในวันนี้แตกต่างจากเดิมและยังมีความท้าทายใหม่ๆ โดยเฉพาะความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้นในภูมิภาค ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ไม่ใช่แค่ความขัดแย้งประเทศต่อประเทศเท่านั้น แต่อาจจะมีภัยคุกคามอื่น เช่น การลักลอบนำเข้าสิ่งผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ยาเสพติด การค้ามนุษย์ด้วย
 
นายรังสิมันต์กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะเรื่องโรฮีนจา เราได้เน้นย้ำว่าไม่ใช่แค่เรื่องเฉพาะราชอาณาจักรไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งเกี่ยวกับมนุษยธรรมที่ประเทศอื่นให้ความสนใจ เราจำเป็นต้องหาวิธีการ และต้องคุยกันเพราะต้องยอมรับว่าสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านไม่ดี โดยเฉพาะในพื้นที่ค็อกซ์บาซาร์ ซึ่งสภาพความเป็นอยู่ของคนที่นั่นไม่ดีเลย เราอาจต้องเจอปัญหาใหม่ต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่