เต้ ก้าวไกล โต้ดราม่าค้านรถไฟเร็วสูง ลั่นใครรับผิดชอบ ถ้าอยุธยาถูกถอดมรดกโลก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8119162
เต้ ทวิวงศ์ สส.ก้าวไกล โต้ดราม่าค้านรถไฟความเร็วสูง ผ่านอยุธยา ยันบริสุทธิ์ใจอยากให้มี แต่ขออย่ามัดมือชกชาวบ้าน ถาม ‘สุริยะ -
สุรพงษ์’ 5 ข้อ ดักคอ หากถูกถอดจากมรดกโลก ใครรับผิดชอบ
เมื่อวันที่ 1 มี.ค.2567 ที่รัฐสภา นาย
ทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สส.พระนครศรีอยุธยา พรรคก้าวไกล แถลงถึงการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่สถานีอยุธยา ว่า ตนต้องชี้แจงประเด็นที่มีการวิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ ตนยืนยันด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งกับโครงการรถไฟความเร็วสูง และเห็นด้วยอย่างมากที่อยุธยาต้องมีทางรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง
แต่ที่จะเน้นย้ำคือ ต้องการให้จังหวัดของเราพัฒนาการสัญจรของประชาชนโดยใช้ระบบรางเป็นหลัก โดยเชื่อมต่อกับขนส่งสาธารณะเส้นเลือดฝอยในแต่ละพื้นที่ของอยุธยาได้
นาย
ทวิวงศ์ กล่าวต่อว่า อยากฝากคำถามถึงนาย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม และนาย
สุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม 5 ข้อ คือ 1.หากต้องการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนา การประเมินรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก หรือ Heritage Impact Assessment (HIA) ยังไม่ผ่านในชั้นพิจารณาก่อนจะส่งต่อให้สหประชาชาติ แต่สัญญาว่าจ้าง กำหนดให้ประเมิน HIA เพียงทางเลือกเดียวและไม่มีทางเลือกอื่น คมนาคมจะมีทางเลือกอื่นหรือไม่
2. จากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บอกว่าจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ (TOD) แต่การประเมินผลกระทบ HIA มีแต่การประเมินตัวสถานีและรางเพียงเท่านั้น แล้วจะทำให้สหประชาชาติเห็นในความจริงใจในการอนุรักษ์มรดกโลกได้อย่างไร
3. ขอให้กระทรวงคมนาคม ชี้แจงให้ชัดเจนว่าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ที่ระบุว่าจะเสร็จในปี 2571 แต่ตอนนี้มีการขยายเส้นทางเพิ่ม แบบนี้จะเปิดให้ทันกำหนดเวลาหรือไม่
4. รายงาน HIA ที่การรถไฟฯ ทำขึ้นมานั้น ชี้ให้เห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการถูกถอดถอนมรดกโลก ทำให้อดกังวลไม่ได้เพราะมีผลกระทบหลายด้าน ในระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงหลังจากสร้างเสร็จแล้วด้วย ที่สำคัญอาจจะถูกถอดถอนออกจากมรดกโลก น่าจะทำให้ไม่มีรถไฟมาวิ่งผ่านอีกด้วย หากเกิดขึ้นจริง จะมีใครมารับผิดชอบ
5. กระทรวงคมนาคมจะแก้ปัญหาผลการประเมิน HIA ที่แสดงถึงผลกระทบเชิงลบในระดับสูง เพราะหากผ่านแล้วจะกลายเป็นมาตรฐานในการประเมินให้พื้นที่มรดกอื่น
“
หากเป็นเช่นนั้น แสดงว่า คมนาคมกำลังบอกว่าการก่อสร้างห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 1.5 กิโลเมตร แต่ไม่มีการพูดถึงมรดกของชาติไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีการก่อสร้างสถานีเลย ซึ่งถูกเรียกว่า เมืองอโยธยา หากเป็นเช่นนั้นจะเกิดเป็นมาตรฐานการอนุรักษ์ที่แตกต่างกันระหว่างมรดกของโลกและมรดกของชาติไทย อาจทำให้ตีความได้ว่ามรดกของชาติไทยมีคุณค่าน้อยหรือเท่าเทียมกับมรดกของโลกอย่างนั้นหรือ” นาย
ทวิวงศ์ กล่าว
ด้วยความที่มรดกโลกในประเทศมีอยู่จำนวนเพียงแค่หยิบมือ แต่มรดกของชาติไทยกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทย ผมจึงขอตั้งคำถามด้วยความห่วงใยและความหวงแหนที่มีต่อจิตวิญญาณบรรพชนคนอยุธยา ว่าท่านจะทำอย่างไรกับมาตรฐานการอนุรักษ์
ดังนั้น อย่ามัดมือชกชาวอยุธยา ขอให้ชาวอยุธยาได้มีส่วนร่วมออกแบบและการพัฒนาเมืองครั้งนี้ อย่ามัดมือชกคนอยุธยา ทำให้ไม่สามารถกำหนดอนาคตกำหนดการออกแบบ และการออกแบบคุณภาพชีวิตของตนเองได้
เมื่อถามว่าภาพรวมตอนนี้ เหมือนเป็นการคัดค้าน นายทวิวงศ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยอย่างยิ่งที่อยุธยาจะมีรถไฟความเร็วสูง และเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาการสัญจร โดยใช้ระบบรางเป็นหลัก แต่เชื่อมต่อกับขนส่งสาธารณะเส้นเลือดฝอยที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
แต่ที่ออกมาชี้แจง เพราะการก่อสร้างและการกลัดกระดุมเม็ดแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูงที่สถานีอยุธยา ตั้งแต่เริ่มต้นเดิมทีไม่มีความเห็น ไม่มีการมีส่วนร่วมของพี่น้องชาวอยุธยา ไม่มีข้อเสนอแนะแนวทางเลือกให้ชาวอยุธยาได้ช่วยกันพัฒนา
‘ยุทธพร’ แนะ รบ.ผ่าทางตัน ดันผลงานตามนโยบายหาเสียง มั่นใจปรับแน่ครม. คาดฝ่ายค้านรอหมัดเด็ดก่อนยื่นซักฟอก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4449825
‘ยุทธพร’ แนะ รบ.ผ่าทางตัน ดันผลงานตามนโยบายหาเสียง มั่นใจปรับแน่ครม. ระบุฝ่ายค้านรีรอยื่นซักฟอก คาดรอหมัดเด็ด ไม่ถึงขั้นดีลลับ
เมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 1 มีนาคม ที่รัฐสภา นาย
ยุทธพร อิสระชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงผลงานของรัฐบาล ว่า การขับเคลื่อนผลงานของรัฐบาลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับรัฐบาล เพราะเป็นความคาดหวังของประชาชน และการจัดตั้งรัฐบาลที่ใช้ระยะเวลายาวนาน 3-4 เดือน ประชาชนจึงคาดหวังสูงโดยเฉพาะในเชิงนโยบาย แต่วันนี้รัฐบาลมีข้อจำกัดในการบริหารงาน เพราะรัฐบาลวันนี้ไม่เหมือนกับรัฐบาลของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ในอดีตที่มีเสียงค่อนข้างเด็ดขาด รวมทั้งไม่ได้มีเสียงอันดับหนึ่งทำให้มีข้อจำกัดในการตัดสินใจ เพราะเป็นรัฐบาลผสม การตัดสินใจจึงใช้ลักษณะของการประนีประนอม อีกทั้งกระบวนการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญที่เข้มข้น ทำให้มีการตรวจสอบจากองค์กรอิสระ เช่น นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่มีการตรวจสอบตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำนโยบายด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการทำงานของรัฐบาล
ขณะเดียวกันการมีอยู่ของพรรคก้าวไกลซึ่งมีอุดมการณ์ใกล้เคียงกัน ดึงคะแนนความนิยมกันไปมา.จึงเป็นจุดสำคัญที่รัฐบาลจะต้องผ่าทางตันทางการเมืองตรงนี้ให้ได้ ในการที่จะขับเคลื่อนนโยบาย ไม่เช่นนั้นจะมีคำถามจากประชาชนและสังคม ที่มองเรื่องประสิทธิผลในทางนโยบายทั้งที่แถลงต่อรัฐสภาและที่หาเสียงเลือกตั้งเอาไว้ ซึ่งจะส่งผลต่อความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาล รวมถึงในอนาคตจะมีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติจากสว.ด้วย โดยสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อการเมืองนอกสภา และในอนาคตหากฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจก็จะเป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาล ที่จะต้องตอบให้ชัดเจนในนโยบายต่างๆ รวมถึงการเข้ามาตอบกระทู้ในสภา ที่จะต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน
เมื่อถามว่า กรณีที่มองกันว่าเวลาอีก 3-4 เดือนจะครบการทำงาน 1 ปีของรัฐบาล มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้ต้องปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ นาย
ยุทธพร กล่าวว่า การปรับครม. มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงแต่เป็นการปรับเล็ก โดยเมื่อทำงานครบ 6 เดือนหรือ 1 ปี ก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการประเมินการทำงานของรัฐมนตรีแต่ละคน ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีการวางยุทธศาสตร์ทางการเมือง โดยอาจจะมีการสลับผลัดเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม หรือเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการเมือง หรือขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ จึงมองว่า ระยะเวลาตอนนี้ก็ผ่านมา 6-7 เดือนของรัฐบาลแล้วจึงมีโอกาสสูงที่จะมีการปรับครม.เกิดขึ้น แต่คิดว่าอาจจะไม่ได้เป็นการปรับใหญ่ โดยอาจจะเป็นลักษณะของการจูนเครื่องทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมีประสิทธิผลมากขึ้น หรือการเชื่อมต่อของกลไกรัฐ กลไกราชการให้ไร้รอยต่อมากขึ้น ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายเกิดผล แต่ก็ต้องปฏิเสธไม่ได้ว่าการปรับคณะรัฐมนตรี เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเมืองเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล การเมืองในแต่ละพรรค ดังนั้น กระบวนการในการพูดคุยเพื่อสร้างความลงตัว น่าจะเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ในการที่จะเจรจาเพื่อจะวางตำแหน่ง หรือวางยุทธศาสตร์ ที่ทุกฝ่ายยอมรับและเป็นไปได้
“
ท้ายสุดการเมืองในระบบรัฐสภา รัฐบาลจะอยู่ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่หรือเสียงข้างมากในสภาเป็นเรื่องสำคัญ ไปหากความสัมพันธ์ภายในพรรคร่วมรัฐบาลยังไปกันได้ หรือเป็นไปในทิศทางเชิงบวก โอกาสที่รัฐบาลไปต่อก็มีความเป็นไปได้สูง ทุกวันนี้การเมืองนอกสภาก็มีการเคลื่อนไหวอยู่บ้าง แต่ยังไม่ถึงขั้นส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ดังนั้นเสถียรภาพของรัฐบาลในสภา คือการต้องคุยกันให้ลงตัว ในการเดินหน้ายุทธศาสตร์ รวมถึงการปรับคณะรัฐมนตรี” นาย
ยุทธพร กล่าว
เมื่อถามว่า ในมุมของฝ่ายค้านที่ผ่านมา 6-7 เดือนมีผลงานอะไรเป็นที่ประจักษ์บ้าง และช่วงใกล้ปิดสมัยประชุมหากยังไม่ยื่นอภิปรายจะเป็นการเสียโอกาสหรือไม่ นาย
ยุทธพร กล่าวว่า การทำหน้าที่ของฝ่ายค้านเป็นที่จับตาของสังคม เพราะในอดีตเราอยู่ในพื้นฐานความคิด ความเชื่อทางการเมือง ว่าใครที่เป็นรัฐบาลจะมีความได้เปรียบทั้งในเรื่องของงบประมาณ ระบบราชการและกำลังพลในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ แต่การเมืองในขณะนี้เปลี่ยนไปหลายมิติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการที่ไม่ได้อยู่ในฐานะรัฐบาลก็สามารถสร้างพื้นที่ สร้างผลงานในการเรียกคะแนนนิยมได้ และปรากฏการณ์ของพรรคก้าวไกลก็เป็นบทพิสูจน์แล้วว่าในการเลือกตั้งปี 2562 ในเวลานั้นซึ่งเป็นพรรคอนาคตใหม่จนมาเป็นพรรคก้าวไกล ก็ไม่เคยเป็นรัฐบาลเลยแม้แต่วินาทีเดียว แต่ในปี 2566 พรรคก้าวไกลประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งที่ได้ สส.มากขึ้นกว่าเดิมถึงสามเท่า เมื่อมาในสภาฯ สมัยปัจจุบัน การทำหน้าที่ฝ่ายค้านของพรรคก้าวไกลก็ถูกตั้งคำถามว่ายังมีการตรวจสอบต่างๆ และมีความเข้มข้นเหมือนสภาฯ ชุดที่แล้วหรือไม่
”
เป็นหน้าที่ใหญ่ของฝ่ายค้านที่จะต้องมีบทบาทในการตรวจสอบ ซึ่งเป็นบทบาทหลักในการทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างหนึ่ง แลเสังคมก็ตั้งคำถามว่า เอกภาพของฝ่ายค้านระหว่างพรรคขนาดใหญ่อย่างพรรคก้าวไกลและพรรคขนาดกลางอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีในการทำหน้าที่ในฐานะพรรคฝ่ายค้านได้หรือไม่ รวมถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจสังคมก็ได้ตั้งคำถาม และหากพรรคก้าวไกลไม่อภิปรายในสมัยประชุมนี้ เป็นเพราะมีดีลรับหรือไม่“ นาย
ยุทธพร กล่าว
นาย
ยุทธพร กล่าวต่อว่า ตรงนี้ตนคิดว่ายังไม่ถึงขั้นนั้น เพราะกรณีที่การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะเกิดหรือไม่เกิดนั้น มาจากสองเรื่องใหญ่ คือสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและเรื่องของเงื่อนไขกติกาทางกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็กำหนดไว้ว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจในหนึ่งปีจะทำได้แค่หนึ่งครั้งเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่ฝ่ายค้านจะยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจจะต้องเป็นหมัดเด็ด หมัดน็อก และทำให้เกิดการกระเพื่อม แรงกดดันในทางสังคมต่อรัฐบาล เพราะวันนี้ 314 เสียงของรัฐบาล หากยังมีความสัมพันธ์อันดี การดำเนินงานของพรรครวมยังไปกันได้ ก็ไม่มีอะไรที่จะสั่นคลอนได้ นี่คือช่องว่างของระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทนคือเสียงข้างมากลากไป โหวตอย่างไรรัฐบาลก็ชนะ
นาย
ยุทธพร กล่าวด้วยว่า แต่วันนี้หากแรงกดดันยังมีไม่มากพอ การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจไปก็อาจทำให้เกิดภาวะเสียของได้ หรือเป็นการใช้โอกาสเปลืองของฝ่ายค้าน ดังนั้น เราจึงไม่เห็นการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้นได้ง่าย บวกกับปัจจัยสถานการณ์ทางการเมือง เพราะวันนี้เราจะเห็นสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังเป็นไปในทางบวก ดังนั้น เมื่อมีการอภิปรายในแต่ละยุคแต่ละสมัย เราจะเห็นได้เลยว่าหากรัฐบาลจะไปต่อไม่ได้ มักเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ในพรรคร่วมรัฐบาลไม่ดี และความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่ ณ วันนี้สถานการณ์ทางการเมืองเรายังไม่เห็นภาพเช่นนั้น และสถานการณ์ของพรรคก้าวไกลก็อยู่ในระยะพักตัวสักระยะหนึ่ง เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีล้มล้างการปกครอง ตนจึงคิดว่าโอกาสที่จะได้เห็นการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีไม่มากประกอบกับใกล้จะปิดสมัยประชุมสภาในช่วงเดือนเมษายน รวมถึงเทศกาลวันหยุดด้วยทำให้ความสนใจในเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองทุกคนน้อยลง
JJNY : เต้ ก้าวไกลโต้ดราม่าค้านรถไฟเร็วสูง│‘ยุทธพร’แนะรบ.ผ่าทางตัน│ดร. ธรณ์เตือน รับมือเอลนีโญ│“ปูติน”เตือน เสี่ยงสงคราม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8119162
เต้ ทวิวงศ์ สส.ก้าวไกล โต้ดราม่าค้านรถไฟความเร็วสูง ผ่านอยุธยา ยันบริสุทธิ์ใจอยากให้มี แต่ขออย่ามัดมือชกชาวบ้าน ถาม ‘สุริยะ -
สุรพงษ์’ 5 ข้อ ดักคอ หากถูกถอดจากมรดกโลก ใครรับผิดชอบ
เมื่อวันที่ 1 มี.ค.2567 ที่รัฐสภา นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สส.พระนครศรีอยุธยา พรรคก้าวไกล แถลงถึงการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่สถานีอยุธยา ว่า ตนต้องชี้แจงประเด็นที่มีการวิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ ตนยืนยันด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงว่าเห็นด้วยอย่างยิ่งกับโครงการรถไฟความเร็วสูง และเห็นด้วยอย่างมากที่อยุธยาต้องมีทางรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง
แต่ที่จะเน้นย้ำคือ ต้องการให้จังหวัดของเราพัฒนาการสัญจรของประชาชนโดยใช้ระบบรางเป็นหลัก โดยเชื่อมต่อกับขนส่งสาธารณะเส้นเลือดฝอยในแต่ละพื้นที่ของอยุธยาได้
นายทวิวงศ์ กล่าวต่อว่า อยากฝากคำถามถึงนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม และนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม 5 ข้อ คือ 1.หากต้องการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนา การประเมินรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก หรือ Heritage Impact Assessment (HIA) ยังไม่ผ่านในชั้นพิจารณาก่อนจะส่งต่อให้สหประชาชาติ แต่สัญญาว่าจ้าง กำหนดให้ประเมิน HIA เพียงทางเลือกเดียวและไม่มีทางเลือกอื่น คมนาคมจะมีทางเลือกอื่นหรือไม่
2. จากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บอกว่าจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ (TOD) แต่การประเมินผลกระทบ HIA มีแต่การประเมินตัวสถานีและรางเพียงเท่านั้น แล้วจะทำให้สหประชาชาติเห็นในความจริงใจในการอนุรักษ์มรดกโลกได้อย่างไร
3. ขอให้กระทรวงคมนาคม ชี้แจงให้ชัดเจนว่าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ที่ระบุว่าจะเสร็จในปี 2571 แต่ตอนนี้มีการขยายเส้นทางเพิ่ม แบบนี้จะเปิดให้ทันกำหนดเวลาหรือไม่
4. รายงาน HIA ที่การรถไฟฯ ทำขึ้นมานั้น ชี้ให้เห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการถูกถอดถอนมรดกโลก ทำให้อดกังวลไม่ได้เพราะมีผลกระทบหลายด้าน ในระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงหลังจากสร้างเสร็จแล้วด้วย ที่สำคัญอาจจะถูกถอดถอนออกจากมรดกโลก น่าจะทำให้ไม่มีรถไฟมาวิ่งผ่านอีกด้วย หากเกิดขึ้นจริง จะมีใครมารับผิดชอบ
5. กระทรวงคมนาคมจะแก้ปัญหาผลการประเมิน HIA ที่แสดงถึงผลกระทบเชิงลบในระดับสูง เพราะหากผ่านแล้วจะกลายเป็นมาตรฐานในการประเมินให้พื้นที่มรดกอื่น
“หากเป็นเช่นนั้น แสดงว่า คมนาคมกำลังบอกว่าการก่อสร้างห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 1.5 กิโลเมตร แต่ไม่มีการพูดถึงมรดกของชาติไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีการก่อสร้างสถานีเลย ซึ่งถูกเรียกว่า เมืองอโยธยา หากเป็นเช่นนั้นจะเกิดเป็นมาตรฐานการอนุรักษ์ที่แตกต่างกันระหว่างมรดกของโลกและมรดกของชาติไทย อาจทำให้ตีความได้ว่ามรดกของชาติไทยมีคุณค่าน้อยหรือเท่าเทียมกับมรดกของโลกอย่างนั้นหรือ” นายทวิวงศ์ กล่าว
ด้วยความที่มรดกโลกในประเทศมีอยู่จำนวนเพียงแค่หยิบมือ แต่มรดกของชาติไทยกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทย ผมจึงขอตั้งคำถามด้วยความห่วงใยและความหวงแหนที่มีต่อจิตวิญญาณบรรพชนคนอยุธยา ว่าท่านจะทำอย่างไรกับมาตรฐานการอนุรักษ์
ดังนั้น อย่ามัดมือชกชาวอยุธยา ขอให้ชาวอยุธยาได้มีส่วนร่วมออกแบบและการพัฒนาเมืองครั้งนี้ อย่ามัดมือชกคนอยุธยา ทำให้ไม่สามารถกำหนดอนาคตกำหนดการออกแบบ และการออกแบบคุณภาพชีวิตของตนเองได้
เมื่อถามว่าภาพรวมตอนนี้ เหมือนเป็นการคัดค้าน นายทวิวงศ์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยอย่างยิ่งที่อยุธยาจะมีรถไฟความเร็วสูง และเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาการสัญจร โดยใช้ระบบรางเป็นหลัก แต่เชื่อมต่อกับขนส่งสาธารณะเส้นเลือดฝอยที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
แต่ที่ออกมาชี้แจง เพราะการก่อสร้างและการกลัดกระดุมเม็ดแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูงที่สถานีอยุธยา ตั้งแต่เริ่มต้นเดิมทีไม่มีความเห็น ไม่มีการมีส่วนร่วมของพี่น้องชาวอยุธยา ไม่มีข้อเสนอแนะแนวทางเลือกให้ชาวอยุธยาได้ช่วยกันพัฒนา
‘ยุทธพร’ แนะ รบ.ผ่าทางตัน ดันผลงานตามนโยบายหาเสียง มั่นใจปรับแน่ครม. คาดฝ่ายค้านรอหมัดเด็ดก่อนยื่นซักฟอก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4449825
‘ยุทธพร’ แนะ รบ.ผ่าทางตัน ดันผลงานตามนโยบายหาเสียง มั่นใจปรับแน่ครม. ระบุฝ่ายค้านรีรอยื่นซักฟอก คาดรอหมัดเด็ด ไม่ถึงขั้นดีลลับ
เมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 1 มีนาคม ที่รัฐสภา นายยุทธพร อิสระชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงผลงานของรัฐบาล ว่า การขับเคลื่อนผลงานของรัฐบาลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับรัฐบาล เพราะเป็นความคาดหวังของประชาชน และการจัดตั้งรัฐบาลที่ใช้ระยะเวลายาวนาน 3-4 เดือน ประชาชนจึงคาดหวังสูงโดยเฉพาะในเชิงนโยบาย แต่วันนี้รัฐบาลมีข้อจำกัดในการบริหารงาน เพราะรัฐบาลวันนี้ไม่เหมือนกับรัฐบาลของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ในอดีตที่มีเสียงค่อนข้างเด็ดขาด รวมทั้งไม่ได้มีเสียงอันดับหนึ่งทำให้มีข้อจำกัดในการตัดสินใจ เพราะเป็นรัฐบาลผสม การตัดสินใจจึงใช้ลักษณะของการประนีประนอม อีกทั้งกระบวนการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญที่เข้มข้น ทำให้มีการตรวจสอบจากองค์กรอิสระ เช่น นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่มีการตรวจสอบตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำนโยบายด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการทำงานของรัฐบาล
ขณะเดียวกันการมีอยู่ของพรรคก้าวไกลซึ่งมีอุดมการณ์ใกล้เคียงกัน ดึงคะแนนความนิยมกันไปมา.จึงเป็นจุดสำคัญที่รัฐบาลจะต้องผ่าทางตันทางการเมืองตรงนี้ให้ได้ ในการที่จะขับเคลื่อนนโยบาย ไม่เช่นนั้นจะมีคำถามจากประชาชนและสังคม ที่มองเรื่องประสิทธิผลในทางนโยบายทั้งที่แถลงต่อรัฐสภาและที่หาเสียงเลือกตั้งเอาไว้ ซึ่งจะส่งผลต่อความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาล รวมถึงในอนาคตจะมีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติจากสว.ด้วย โดยสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อการเมืองนอกสภา และในอนาคตหากฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจก็จะเป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาล ที่จะต้องตอบให้ชัดเจนในนโยบายต่างๆ รวมถึงการเข้ามาตอบกระทู้ในสภา ที่จะต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน
เมื่อถามว่า กรณีที่มองกันว่าเวลาอีก 3-4 เดือนจะครบการทำงาน 1 ปีของรัฐบาล มีปัจจัยอะไรที่ส่งผลให้ต้องปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ นายยุทธพร กล่าวว่า การปรับครม. มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงแต่เป็นการปรับเล็ก โดยเมื่อทำงานครบ 6 เดือนหรือ 1 ปี ก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการประเมินการทำงานของรัฐมนตรีแต่ละคน ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีการวางยุทธศาสตร์ทางการเมือง โดยอาจจะมีการสลับผลัดเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม หรือเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการเมือง หรือขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ จึงมองว่า ระยะเวลาตอนนี้ก็ผ่านมา 6-7 เดือนของรัฐบาลแล้วจึงมีโอกาสสูงที่จะมีการปรับครม.เกิดขึ้น แต่คิดว่าอาจจะไม่ได้เป็นการปรับใหญ่ โดยอาจจะเป็นลักษณะของการจูนเครื่องทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมีประสิทธิผลมากขึ้น หรือการเชื่อมต่อของกลไกรัฐ กลไกราชการให้ไร้รอยต่อมากขึ้น ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายเกิดผล แต่ก็ต้องปฏิเสธไม่ได้ว่าการปรับคณะรัฐมนตรี เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเมืองเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล การเมืองในแต่ละพรรค ดังนั้น กระบวนการในการพูดคุยเพื่อสร้างความลงตัว น่าจะเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ในการที่จะเจรจาเพื่อจะวางตำแหน่ง หรือวางยุทธศาสตร์ ที่ทุกฝ่ายยอมรับและเป็นไปได้
“ท้ายสุดการเมืองในระบบรัฐสภา รัฐบาลจะอยู่ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่หรือเสียงข้างมากในสภาเป็นเรื่องสำคัญ ไปหากความสัมพันธ์ภายในพรรคร่วมรัฐบาลยังไปกันได้ หรือเป็นไปในทิศทางเชิงบวก โอกาสที่รัฐบาลไปต่อก็มีความเป็นไปได้สูง ทุกวันนี้การเมืองนอกสภาก็มีการเคลื่อนไหวอยู่บ้าง แต่ยังไม่ถึงขั้นส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ดังนั้นเสถียรภาพของรัฐบาลในสภา คือการต้องคุยกันให้ลงตัว ในการเดินหน้ายุทธศาสตร์ รวมถึงการปรับคณะรัฐมนตรี” นายยุทธพร กล่าว
เมื่อถามว่า ในมุมของฝ่ายค้านที่ผ่านมา 6-7 เดือนมีผลงานอะไรเป็นที่ประจักษ์บ้าง และช่วงใกล้ปิดสมัยประชุมหากยังไม่ยื่นอภิปรายจะเป็นการเสียโอกาสหรือไม่ นายยุทธพร กล่าวว่า การทำหน้าที่ของฝ่ายค้านเป็นที่จับตาของสังคม เพราะในอดีตเราอยู่ในพื้นฐานความคิด ความเชื่อทางการเมือง ว่าใครที่เป็นรัฐบาลจะมีความได้เปรียบทั้งในเรื่องของงบประมาณ ระบบราชการและกำลังพลในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ แต่การเมืองในขณะนี้เปลี่ยนไปหลายมิติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการที่ไม่ได้อยู่ในฐานะรัฐบาลก็สามารถสร้างพื้นที่ สร้างผลงานในการเรียกคะแนนนิยมได้ และปรากฏการณ์ของพรรคก้าวไกลก็เป็นบทพิสูจน์แล้วว่าในการเลือกตั้งปี 2562 ในเวลานั้นซึ่งเป็นพรรคอนาคตใหม่จนมาเป็นพรรคก้าวไกล ก็ไม่เคยเป็นรัฐบาลเลยแม้แต่วินาทีเดียว แต่ในปี 2566 พรรคก้าวไกลประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งที่ได้ สส.มากขึ้นกว่าเดิมถึงสามเท่า เมื่อมาในสภาฯ สมัยปัจจุบัน การทำหน้าที่ฝ่ายค้านของพรรคก้าวไกลก็ถูกตั้งคำถามว่ายังมีการตรวจสอบต่างๆ และมีความเข้มข้นเหมือนสภาฯ ชุดที่แล้วหรือไม่
”เป็นหน้าที่ใหญ่ของฝ่ายค้านที่จะต้องมีบทบาทในการตรวจสอบ ซึ่งเป็นบทบาทหลักในการทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างหนึ่ง แลเสังคมก็ตั้งคำถามว่า เอกภาพของฝ่ายค้านระหว่างพรรคขนาดใหญ่อย่างพรรคก้าวไกลและพรรคขนาดกลางอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีในการทำหน้าที่ในฐานะพรรคฝ่ายค้านได้หรือไม่ รวมถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจสังคมก็ได้ตั้งคำถาม และหากพรรคก้าวไกลไม่อภิปรายในสมัยประชุมนี้ เป็นเพราะมีดีลรับหรือไม่“ นายยุทธพร กล่าว
นายยุทธพร กล่าวต่อว่า ตรงนี้ตนคิดว่ายังไม่ถึงขั้นนั้น เพราะกรณีที่การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะเกิดหรือไม่เกิดนั้น มาจากสองเรื่องใหญ่ คือสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันและเรื่องของเงื่อนไขกติกาทางกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2560 ก็กำหนดไว้ว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจในหนึ่งปีจะทำได้แค่หนึ่งครั้งเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่ฝ่ายค้านจะยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจจะต้องเป็นหมัดเด็ด หมัดน็อก และทำให้เกิดการกระเพื่อม แรงกดดันในทางสังคมต่อรัฐบาล เพราะวันนี้ 314 เสียงของรัฐบาล หากยังมีความสัมพันธ์อันดี การดำเนินงานของพรรครวมยังไปกันได้ ก็ไม่มีอะไรที่จะสั่นคลอนได้ นี่คือช่องว่างของระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทนคือเสียงข้างมากลากไป โหวตอย่างไรรัฐบาลก็ชนะ
นายยุทธพร กล่าวด้วยว่า แต่วันนี้หากแรงกดดันยังมีไม่มากพอ การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจไปก็อาจทำให้เกิดภาวะเสียของได้ หรือเป็นการใช้โอกาสเปลืองของฝ่ายค้าน ดังนั้น เราจึงไม่เห็นการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้นได้ง่าย บวกกับปัจจัยสถานการณ์ทางการเมือง เพราะวันนี้เราจะเห็นสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังเป็นไปในทางบวก ดังนั้น เมื่อมีการอภิปรายในแต่ละยุคแต่ละสมัย เราจะเห็นได้เลยว่าหากรัฐบาลจะไปต่อไม่ได้ มักเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ในพรรคร่วมรัฐบาลไม่ดี และความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่ ณ วันนี้สถานการณ์ทางการเมืองเรายังไม่เห็นภาพเช่นนั้น และสถานการณ์ของพรรคก้าวไกลก็อยู่ในระยะพักตัวสักระยะหนึ่ง เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีล้มล้างการปกครอง ตนจึงคิดว่าโอกาสที่จะได้เห็นการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีไม่มากประกอบกับใกล้จะปิดสมัยประชุมสภาในช่วงเดือนเมษายน รวมถึงเทศกาลวันหยุดด้วยทำให้ความสนใจในเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองทุกคนน้อยลง