ภาษาไทย แม้ส่วนใหญ่แปลเหมือน หรือ ใกล้เคียภาษาพุทธ แต่ก็มีอยู่เล็กน้อยไม่กี่คำ ที่ภาษาไทย แปลต่างไปจากภาษาพุทธ
เพียงแต่ไอ้ไม่กี่คำ ดันมาเจอเข้าที่ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ถึง 4 คำ
เช่น คำว่า สัญญา ในภาษาไทย แปลว่า คำพูด ข้อความเขียน ข้อความพิมพ์ (หรือแม้แต่การทำกิริยาอาการใดๆ) ที่เราไปรับปากผู้อื่นไว้
ว่าจะกระทำโน้นนี้นั้น (หรือยังคงลงมือกระทำอยู่อย่างต่อเนื่อง) ให้กับผู้อื่น
เช่นเพลง "...อย่าได้ลืมเลีอน สัญญากันไว้อย่างไร ขอให้เรามั่นคงจิตใจ ก้าวไปสรรสร้างความดี..."
หรือร่างสัญญาของเรา ถ้าคุณเซ็นต์ชื่อถือว่า ตกลง ตามนั้น
แต่ในภาษาพุทธ สัญญาไม่เป็นสัญญา แต่เป็นความจำได้หมายรู้ คือ ไม่ได้แปลความหมายแบบ สัญญาในภาษาไทย
แต่แปลว่า ความจำ เช่น "เขายังคงติดภาพสัญญาเก่าๆ บางอย่าง"
ซึ่งในทางพุทธไม่ได้หมายความว่า เขาติดสัญญากับใครเอาไว้ แต่หมายความว่า เขายังคงมีภาพความจำเก่าๆ บางอย่างหลงเหลืออยู่ เป็นต้น
แต่ดูเหมือนว่า ปัจจุบัน ชาวพุทธทั้งหลาย เริ่มติดคุ้นชินกับการแปลความหมายภาษาพุทธพวกนี้ ในแบบภาษาไทยไปแล้ว นั่นคือ
สัญญา ดูเหมือนจะไม่ใช่ความจำได้หมายรู้แล้ว แต่ชาวพุทธ จะเข้าใจและยอมรับตามภาษาไทยว่า สัญญาก็เป็นสัญญา สัญญาไว้ก็ต้องทำตามสัญญา
แล้วเหตุไฉน จึงไปซีเรียสกับคำว่า วิญญาณ ที่ภาษาไทย สื่อความหมายว่า เป็นอย่างเดียวกับจิต เช่น ในภาษาไทย เรามักจะได้ยินคำว่า
จิตวิญญาณแห่งความเป็นไทย, จิตวิญญาณแห่งความเป็นนักปราชญ์, คนตาย ดวงจิตดวงวิญญาณก็ออกจากร่างไปแล้ว เป็นต้น ซึ่งถ้าในภาษาพุทธ
วิญญาณไม่ใช่จิตทั้งดวง แต่เป็นเพียงอาการอย่างหนึ่งของจิต คือ รู้ (รับรู้ เรียนรู้ ก็ได้)
แต่กลับกลายเป็นว่า บางท่านทำท่ายอมรับไม่ได้ที่ภาษาไทย จะไปแปลว่า วิญญาณกับจิต ก็อย่างเดียวกัน แต่เหตุไฉนๆ คำอื่น ท่านเหล่านั้น
รับคำแปลแบบไทยๆ ได้สบายๆ เช่น สัญญาก็ต้องเป็นสัญญา รับปากเขาไว้ ก็ต้องทำตาม ก็ไม่ยักกะไปทักท้วงใครๆ ว่า
"ไม่ใช่แบบนี้ สัญญาต้องแปลว่า ความจำนะ บลา บลา บลา" อืม มันก็น่าคิดดีเนอะ
เหตุไฉน ในขันธ์ 5 สัญญาไม่เป็นสัญญา แต่ไม่ยักกะมีปัญหาเหมือน วิญญาณ
เพียงแต่ไอ้ไม่กี่คำ ดันมาเจอเข้าที่ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ถึง 4 คำ
เช่น คำว่า สัญญา ในภาษาไทย แปลว่า คำพูด ข้อความเขียน ข้อความพิมพ์ (หรือแม้แต่การทำกิริยาอาการใดๆ) ที่เราไปรับปากผู้อื่นไว้
ว่าจะกระทำโน้นนี้นั้น (หรือยังคงลงมือกระทำอยู่อย่างต่อเนื่อง) ให้กับผู้อื่น
เช่นเพลง "...อย่าได้ลืมเลีอน สัญญากันไว้อย่างไร ขอให้เรามั่นคงจิตใจ ก้าวไปสรรสร้างความดี..."
หรือร่างสัญญาของเรา ถ้าคุณเซ็นต์ชื่อถือว่า ตกลง ตามนั้น
แต่ในภาษาพุทธ สัญญาไม่เป็นสัญญา แต่เป็นความจำได้หมายรู้ คือ ไม่ได้แปลความหมายแบบ สัญญาในภาษาไทย
แต่แปลว่า ความจำ เช่น "เขายังคงติดภาพสัญญาเก่าๆ บางอย่าง"
ซึ่งในทางพุทธไม่ได้หมายความว่า เขาติดสัญญากับใครเอาไว้ แต่หมายความว่า เขายังคงมีภาพความจำเก่าๆ บางอย่างหลงเหลืออยู่ เป็นต้น
แต่ดูเหมือนว่า ปัจจุบัน ชาวพุทธทั้งหลาย เริ่มติดคุ้นชินกับการแปลความหมายภาษาพุทธพวกนี้ ในแบบภาษาไทยไปแล้ว นั่นคือ
สัญญา ดูเหมือนจะไม่ใช่ความจำได้หมายรู้แล้ว แต่ชาวพุทธ จะเข้าใจและยอมรับตามภาษาไทยว่า สัญญาก็เป็นสัญญา สัญญาไว้ก็ต้องทำตามสัญญา
แล้วเหตุไฉน จึงไปซีเรียสกับคำว่า วิญญาณ ที่ภาษาไทย สื่อความหมายว่า เป็นอย่างเดียวกับจิต เช่น ในภาษาไทย เรามักจะได้ยินคำว่า
จิตวิญญาณแห่งความเป็นไทย, จิตวิญญาณแห่งความเป็นนักปราชญ์, คนตาย ดวงจิตดวงวิญญาณก็ออกจากร่างไปแล้ว เป็นต้น ซึ่งถ้าในภาษาพุทธ
วิญญาณไม่ใช่จิตทั้งดวง แต่เป็นเพียงอาการอย่างหนึ่งของจิต คือ รู้ (รับรู้ เรียนรู้ ก็ได้)
แต่กลับกลายเป็นว่า บางท่านทำท่ายอมรับไม่ได้ที่ภาษาไทย จะไปแปลว่า วิญญาณกับจิต ก็อย่างเดียวกัน แต่เหตุไฉนๆ คำอื่น ท่านเหล่านั้น
รับคำแปลแบบไทยๆ ได้สบายๆ เช่น สัญญาก็ต้องเป็นสัญญา รับปากเขาไว้ ก็ต้องทำตาม ก็ไม่ยักกะไปทักท้วงใครๆ ว่า
"ไม่ใช่แบบนี้ สัญญาต้องแปลว่า ความจำนะ บลา บลา บลา" อืม มันก็น่าคิดดีเนอะ