พระนิพพาน เกิดไม่ปรากฏฯ เป็นธรรมจริงแท้ จะเป็นอนัตตาไปได้ยังไงครับ

ถ้าเราไปสรุปว่า นิพพาน เป็นอนัตตา มันก็จะไปขัดกับพระสูตรนี้ จริงๆก็ขัดกับทุกพระสูตร เพราะพระองค์ย้ำเสมอว่า ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ทุกข์ อนัตตา

[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณ
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อม
คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
-พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๙๑

การเห็นว่าอัตตามีก็ผิด การเห็นว่าอัตตาไม่มีก็ผิด งั้นก็แสดงว่ามันทั้ง มี และ ไม่มี   รวมๆก็คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป  สรุปทั้งหมดเป็น อนัตตา

พระองค์ตรัสเป็นเหตุเป็นผลว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน.  พระองค์ทรงไล่บอกเหตุและผล เป็น อิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมีฯ    คำว่า อนัตตา คือ สถาวะที่แปรปรวน ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ต้องแตกสลายไป

เมื่อเรียงตามที่พระองค์ตรัสก็คือ สิ่งใดที่มีสภาวะที่แปรปรวน(อนิจจัง) สิ่งนั้นทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้แตกสลายไป(ทุกขัง) สิ่งใดทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้แตกสลายไป(ทุกขัง) สิ่งนั้นเป็น อนัตตา(ไม่มีตัวตน)    สรุป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คือความหมายที่แท้จริงของ อนัตตา

ส่วนพระนิพพาน เกิดไม่ปรากฏ เสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่แปรไม่ปรากฏ  เมื่อพระนิพพานเกิดไม่ปรากฏฯ จึงไม่ใช่ทั้งอัตตาและอนัตตา
พระนิพพาน เกิดไม่ปรากฏฯ เป็นธรรมจริงแท้ จะเป็นอนัตตาไปได้ยังไงครับ

แต่เมื่อรู้ พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว พระองค์ก็ตรัสอีกว่า...

ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมรู้ ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความ เป็นนิพพานแล้ว
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ)
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้น กำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว

(ภาษาไทย) - มู. ม. ๑๒/๖/๔.

เชิญผู้รู้สนทนาธรรม ขอกราบสาธุครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่