มีการทดลองเอากระจกบานใหญ่ ไปตั้งไว้กลางป่า แล้วติดตั้งกล้องเพื่อบันทึกพฤติกรรมของสัตว์ป่า เวลาที่พวกมันเดินมาเจอกระจก แล้วเห็น "สิ่งที่ปรากฏ" ในกระจก
ปรากฏว่า สัตว์ป่า เมื่อเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ในกระจก (ซึ่งก็เป็นรูปสะท้อนของตัวสัตว์นั้นเอง) ก็เกิดความกระวนกระวาย กระสับกระส่าย เป็นทุกข์ กรีดร้อง คำราม กราดเกรี้ยว เพราะหลงเข้าใจผิดว่า มี "สัตว์" อีกตัวอยู่ข้างหน้ามัน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว "ไม่มีสัตว์" ในกระจก มีแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูปพรรณสัณฐานของสัตว์ ที่เรียกว่า "นิมิต" ที่เกิดจากสีและแสงที่เกิดดับๆๆๆๆๆๆ อย่างรวดเร็วสุดแสนประมาณเป็นล้านครั้ง ในชั่วกระพริบตาเดียว ทำให้ปะติดปะต่อกลายเป็นรูปพรรณสัณฐานนิมิตของ "สัตว์"
เมื่อสัตว์นั้น เริ่มคุ้นชินกับกระจก แล้วเริ่มค่อยๆ ประจักษ์ว่า ไม่มีสัตว์ อีกตัวในกระจกอย่างที่มันหลงเข้าใจผิด ก็เริ่มผ่อนคลายความกังวล ความกระสับกระส่าย จนค่อยๆ นิ่งลงๆๆ
ทำไมความเข้าใจว่า "ไม่มีสัตว์" จึงช่วยคลายทุกข์ ลดความกังวลและความกระสับกระส่าย
ปรากฏว่า สัตว์ป่า เมื่อเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ในกระจก (ซึ่งก็เป็นรูปสะท้อนของตัวสัตว์นั้นเอง) ก็เกิดความกระวนกระวาย กระสับกระส่าย เป็นทุกข์ กรีดร้อง คำราม กราดเกรี้ยว เพราะหลงเข้าใจผิดว่า มี "สัตว์" อีกตัวอยู่ข้างหน้ามัน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว "ไม่มีสัตว์" ในกระจก มีแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูปพรรณสัณฐานของสัตว์ ที่เรียกว่า "นิมิต" ที่เกิดจากสีและแสงที่เกิดดับๆๆๆๆๆๆ อย่างรวดเร็วสุดแสนประมาณเป็นล้านครั้ง ในชั่วกระพริบตาเดียว ทำให้ปะติดปะต่อกลายเป็นรูปพรรณสัณฐานนิมิตของ "สัตว์"
เมื่อสัตว์นั้น เริ่มคุ้นชินกับกระจก แล้วเริ่มค่อยๆ ประจักษ์ว่า ไม่มีสัตว์ อีกตัวในกระจกอย่างที่มันหลงเข้าใจผิด ก็เริ่มผ่อนคลายความกังวล ความกระสับกระส่าย จนค่อยๆ นิ่งลงๆๆ