พรสันต์ ชำแหละ รัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญ ทำประเทศแตกแยก คะแนนขัดแย้งพุ่ง 9.7 เต็ม 10
https://www.matichon.co.th/politics/news_4325036
พรสันต์ เปิดปม รัฐประหารผ่าน รธน. เผยคะแนนขัดแย้งพุ่ง 9.7 เต็ม 10
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดกิจกรรม
PRIDI Talks #23 x PBIC : รื้อ ร่าง สร้าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อประชาชน โดยมี วิทยากร ได้แก่ นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล, รศ.ดร.
มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, ผศ.ดร.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ.ดร.
นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก, นาย
นิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ, รศ.ดร.
อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ กล่าวนำ และนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ ดำเนินรายการ
ในช่วงเสวนา ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นฉบับที่สร้างปัญหาค่อนข้างมาก ใช้เทคนิคการร่างซับซ้อน
“มั
นไม่ได้ทำหน้าที่ของมันเอง โดยเราไปนับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 มีการยกร่างโดยการใช้เทคนิคในการร่างที่ซับซ้อนพอสมควร เนื่องจากมีการผนวกรวมเอากับรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2557 มาใส่ให้สอดคล้องด้วย ทำให้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 มีปัญหาอย่างยิ่ง กว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 จะฟังก์ชั่นของมันจริงๆ คือช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาในปี พ.ศ.2562 เราจะไปดูตอนประกาศใช้ พ.ศ.2560 แล้วมันฟังก์ชั่นเลย มันคงไม่ใช่” ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าว
จากนั้น ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าวถึงประเด็น Constitutional Coup d’etat ว่า อาจแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า ‘
การทำรัฐประหารซ้อน 2 ชั้น’ กล่าวคือ เวลาที่ทหารทำการรัฐประหาร เริ่มมีกลไกในทางรัฐธรรมนูญเข้ามาช่วยเหลือในการทำรัฐประหารมีความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง และอยู่ต่ออย่างมีความเป็นเสถียรภาพ ซึ่งกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย
“
ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 เป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจที่ไม่ชอบธรรม ขัดต่อหลักการในรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักประชาธิปไตย ให้มันปรากฏขึ้นอยู่ในกฎหมายอย่างเป็นทางการ ให้มีการต่อขยายอำนาจต่อไปเรื่อยๆ
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มีการใช้ตัวรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการต่อขยายอำนาจหลังจากมีการใช้รัฐประหารเสร็จขึ้นแล้ว มันสร้างความยุ่งยากลำบากกับการเข้าไปแก้ไขปัญหาสำหรับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นด้วย เพราะมีการใช้กลไกประชาธิปไตยบางประการที่ทำให้ประชาชนพูดว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้องนั่นเอง” ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าว
ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าวอีกว่า การทำ Constitutional Coup คือการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญ วัตถุประสงค์มี 4 ประการ ได้แก่
1. พยายามเข้าไปลดทอนความเป็นประชาธิปไตยให้มันลดน้อยถอยลง
2. เป็นการพยายามควบคุมครอบงำ กำกับทางการเมืองผ่านรัฐธรรมนูญ
3. ใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องในการกำจัดศัตรูในทางการเมือง
4. คงสถานะของอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ให้กลับมาชอบด้วยกฎหมาย และให้มีการต่อขยายอำนาจให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะยาวนานได้
“
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ก็เข้าไปพยายามที่จะทำให้วัตถุประสงค์ 4 ประการ ในการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญบรรลุผล หากถามว่าทำผ่านบทบัญญติใด
1.การเข้าไปปรับเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง กลายมาเป็นระบบการจัดสรรปันส่วนแบบผสม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมือง และมีการใช้สูตรคำนวณต่างๆ ออกมา กกต.ในตอนนั้นก็ยังคำนวณไม่ได้ จึงให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปทำการวินิจฉัยเกี่ยวกับการคิดคำนวณสูตร เป็นกลไกอย่างหนึ่งที่พยายามเข้าไปล้างไพ่ของระบบการเมืองให้มันปรับเปลี่ยนให้กับสถานการณ์ที่เข้ามา
2. ถ้าเราไปตรวจสอบของบทบัญญติของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 หรือ 2550 ในบทบัญญัติที่ว่า คุณสมบัติ การกระทำต้องห้ามต่างๆ ยาวขึ้นเรื่อยๆ เวลาที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องดูว่าอะไรคือคุณสมบัติ และอะไรคือการกระทำต้องห้ามในทางรัฐธรรมนูญซึ่งไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าคนยกร่างนำ 2 เรื่องดังกล่าวมาปะปนกันเอง ส่งผลทำให้ไปควบคุมการดำเนินกิจการฝ่ายนักการเมืองเข้ามาอยู่ในภูมิทัศน์ทางการเมืองได้ลดน้อยถอยลง” ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าว
ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าวด้วยว่า ปัญหาในขณะนี้คือการให้ ส.ว. 250 คน เข้ามาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และอำนาจ ส.ว.ยังมีอำนาจที่มากกว่านั้น นั่นคือเรื่องของการเห็นชอบของผู้ดำรงตำแหน่งขององค์กรอิสระต่างๆ หรือกระทั่งการออกแบบให้ ส.ว.เข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์กรการปฎิรูปประเทศ ทั้งการดูเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ และยังไม่รวมเรื่องขององค์กรอิสระต่างๆ
“
ฉะนั้น กลไกที่เราได้เห็นการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญคือเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และเรื่องการทำประชามติ เป็นกลไลที่เป็นลักษณะล็อกให้ประเทศอยู่กับที่ช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา การแก้ไขรัฐธรรมนูญเราก็จะพบว่า มาตรา 256 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 แก้ไขไม่ได้เลย นี่เป็นการล็อกตาย ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นทำไม่ได้” ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าว
ผศ.ดร.
พรสันต์ยังกล่าวถึง การทำประชามติ ว่า ครั้งนี้มีปัญหาอย่างมาก ที่ผ่านมาก็มีข้อจำกัดเรื่องการแสดงออก การแสดงความคิดเห็นต่างๆ การให้ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ฉะนั้น ตามหลักการรัฐธรรมนูญนี่เป็นการทำประชามติโดยมิชอบธรรม ยกตัวอย่างกรณีที่เคยเกิดขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
“
ศาลที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์บอกว่าการทำประชามติแบบนี้ถือว่าไม่ชอบ เพราะประชาชนไม่ได้รับข้อมูลที่ไม่เพียง หลักการที่แท้จริงคือการที่ประชาชนออกไปทำประชามติต้องได้รับชข้อมูลอย่างเพียงพอ เพราะถ้าผู้ที่อออกไปเลือกตั้งประชามติได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ มีการโหวตไปแล้ว นั่นจะเป็นการแสดงเจตจำนงที่ไม่แท้จริงนั่นเอง” ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าว
ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าวว่า ภาพรวมของรัฐธรรมนูญกลายเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการเมืองบางอย่าง มีการตั้งประเด็นเรื่องการทำนิติสงคราม มีการใช้คำว่า “
ลอว์แฟร์” เราอาจจะไม่ได้เห็นเป็นเพียงคำว่า “
ลอว์แฟร์” เพราะในทางหลักรัฐธรรมนูญมีอะไรที่มากกกว่าคำว่าลอว์แฟร์
“
เขาเรียกว่า Constitutional Lawfare นั่นคือไม่ใช่นิติสงครามแบบปกติ แต่คือการทำนิติสงครามผ่านการใช้บทบัญญติของรัฐธรรมนูญมาทำ ซึ่งมีผลกระทบมากกว่าลอว์แฟร์ทั่วไปๆ เพราะกำลังที่จะเอาองค์กรต่างๆ ทางรัฐธรรมนูญไปใช้โดยไม่สอดคล้องกับคุณค่าในทางรัฐธรรมนูญ คุณกำลังปรับใช้บทรัฐธรรมนูญโดยไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ผลกระทบตกไปอยู่กับประชาชนที่ถูกบังคับใช้กับรัฐธรรมนูญตรงนั้น เขาจะมองว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ชอบธรรม เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ชอบธรรมก็ถูกมองว่าเป็นบ่อนทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญนั้นไม่มี” ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าว
จากนั้น ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าวถึงผลกระทบการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญ 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. การกระทบกับระบบการเมือง ทำให้ประชาธิปไตยลดน้อยถอยลง
2. ผลกระทบทางระบบกฎหมาย เมื่อความเป็นประธิปไตย ย่อมเข้าไปในหลักนิติธรรมของประเทศ การทำให้ประเทศไทยมีความเป็นเสรีประชาธิปไตย เขาให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม และหลักประชาธิปไตยต้องมาคู่กัน เมื่อหลักประชาธิปไตยมีปัญหา หลักนิติธรรมดก็มีปัญหาแน่นอน เพราะสิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกถอยหาย ใน 142 ประเทศ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 82 จากงานผลสำรวจวิจัยด้านนิติธรรมของ Wold Justice Projrct ได้ 49 คะแนน เต็ม 100 นั่นคือสอบตก สะท้อนให้เห็นคำอธิบายในเชิงหลักการถึงปัญหาผลกระทบที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่ลดน้อยถอยลง
3. ผลกระทบทางสังคม ต่างประเทศนั้นให้ความสำคัญอย่างมากกับรัฐธรรมนูญอย่างมาก ทั้งเรื่องของการจัดสรรอำนาจในทางการเมือง ยุคหลังๆเขามองว่ารัฐธรรมนูญเขาไปเกี่ยวข้องกับการจัดวางโครงสร้างทางสังคม
“
ผมมองว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ไปเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหาร ส่งผลกระทบทางสังคม จากข้อมูล Fragile States Index เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องรัฐอ่อนแอ ความหมายคือรัฐล้มเหลว เกิดจากสังคมที่เกิดจากความขัดแย้ง ประเทศไทยในปี พ.ศ.2549 เราได้คะแนน 7.2 ปี, พ.ศ.2550 ได้ 8, พ.ศ.2551 ได้ 7.7 และ พ.ศ.2563-ปัจจุบัน เราได้ 9.7 ซึ่งคะแนนเต็ม 10 หมายถึงความขัดแย้งมากสูงสุด ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายใต้ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มันเชื่อมกันอยู่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคม ฉะนั้น ตัวมันเองทำให้ขาดคุณสมบัติความสมัยใหม่ รัฐธรรมนูญสมัยใหม่ต้องวางโครงสร้างอำนาจ คุ้มครองสิทธิประชาชน ต้องเป็นสิ่งที่แก้ไขความขัดแย้งในสังคม แต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 นั้นสร้างความแตกแยก ขยายความขัดแย้งให้รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ” ผศ.ดร.
พรสันต์กล่าว
ก้าวไกลเล็งซักฟอกรบ.ก่อนสงกรานต์-เล็งคุยปชป.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_652200/
ก้าวไกลเล็งซักฟอกรัฐบาลก่อนสงกรานต์ ย้ำยึดเนื้อหา-มูลเป็นสำคัญ ขณะเตรียมหารือ ปชป. กระชับมิตรฝ่ายค้าน หลังเปิดสมัยประชุม ยืนยันให้เกียรติ ปชป. ไม่ระแวงสบช่องร่วมรัฐบาล
นาย
ชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะหัวหน้าพรรคฯ กล่าวถึงการขอเปิดอภิปรายรัฐบาลในห้วงสมัยประชุมสุดท้ายของปี 2566 ว่า การเปิดประชุมสภาในช่วงต้น ฝ่ายค้านจะให้ความสำคัญกับการพิจารณาร่างกฎหมายก่อน ทั้งจากคณะรัฐมนตรี สส.และประชาชน เพราะสภาสมัยประชุมที่แล้ว ไม่มีโอกาสได้พิจารณาร่างกฎหมายเลย แต่ขณะนี้ มีร่างกฎหมายหลายฉบับที่เตรียมรอการพิจารณาอยู่ รวมถึงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ที่น่าจะพิจารณาเสร็จสิ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งระหว่างนั้นก่อนปิดสมัยประชุม หรือก่อนสงกรานต์ น่าจะทำให้ฝ่ายค้าน มีเวลาในการอภิปรายได้ ซึ่งจะเป็นการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ หรือการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ จะต้องมีการหารือกับพรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมกันอีกครั้ง และจะต้องขึ้นอยู่กับเนื้อหา ข้อมูล และข้อเท็จจริงในการทำงานของฝ่ายค้านว่า พร้อมเพียงใด
ส่วนจำเป็นหรือไม่ที่ฝ่ายค้านจำเป็นจะต้องรักษาสิทธิในการอภิปรายสมัยประชุมประจำปีละ 1 ครั้ง ไม่ปล่อยผ่านรัฐบาลไปนั้น นาย
ชัยธวัช ย้ำว่า จะต้องยึดเนื้อหาเป็นหลัก ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการหามูล แต่ยืนยันว่า ในฐานะฝ่ายค้าน จะใช้โอกาสในสภาในการตรวจสอบ ถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหารทุกช่องทางให้เป็นประโยชน์ที่สุดกับประชาชน แต่การอภิปรายทั่วไป หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ถือเป็นกลไกสำคัญ
สำหรับการทำหน้าที่ของพรรคฯ ในฐานะฝ่ายค้าน หลังการเปิดสมัยประชุมสภาสามัญประปีจำ ครั้งที่ 2 ปี 2566 ในวันที่ 12 ธันวาคมเป็นต้นไป ร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังนาย
เฉลิมชัย ศรีอ่อน ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ คนใหม่ นาย
ชัยธวัช ระบุว่า พรรคร่วมฝ่ายค้าน จะมีการพูดคุยกันให้ใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งในสมัยประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการว่า จะรอกระบวนการโปรดเกล้าฯ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจะมีการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการ แต่ขณะนี้ เมื่อกระบวนการโปรดเกล้าฯ ยังไม่เสร็จสิ้น แต่การทำงานในสภาผู้แทนราษฎร ก็จะเริ่มต้นแล้ว จึงคิดว่า หลังสัปดาห์หน้าจะมีการพูดคุยร่วมกัน
ทั้งนี้ การขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ของนาย
เฉลิมชัย จะเป็นอุปสรรคการทำงานของฝ่ายค้านหรือไม่ หลังมักปรากฏกระแสข่าวพรรคประชาธิปัตย์หาช่องทางไปเป็นพรรคร่วมรัฐบาล นาย
ชัยธวัช ยืนยันว่า การทำงานร่วมกันต้องให้เกียรติกัน เพร
JJNY : พรสันต์ชำแหละ รัฐประหารผ่านรธน.│ก้าวไกลเล็งซักฟอกก่อนสงกรานต์│ซุปเปอร์มาร์เก็ตจีน ผุดพรึบ│ซูดานสั่งขับนักการทูต
https://www.matichon.co.th/politics/news_4325036
พรสันต์ เปิดปม รัฐประหารผ่าน รธน. เผยคะแนนขัดแย้งพุ่ง 9.7 เต็ม 10
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ จัดกิจกรรม PRIDI Talks #23 x PBIC : รื้อ ร่าง สร้าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อประชาชน โดยมี วิทยากร ได้แก่ นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล, รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก, นายนิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ, รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ กล่าวนำ และนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ ดำเนินรายการ
ในช่วงเสวนา ผศ.ดร.พรสันต์กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นฉบับที่สร้างปัญหาค่อนข้างมาก ใช้เทคนิคการร่างซับซ้อน
“มันไม่ได้ทำหน้าที่ของมันเอง โดยเราไปนับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 มีการยกร่างโดยการใช้เทคนิคในการร่างที่ซับซ้อนพอสมควร เนื่องจากมีการผนวกรวมเอากับรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2557 มาใส่ให้สอดคล้องด้วย ทำให้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 มีปัญหาอย่างยิ่ง กว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 จะฟังก์ชั่นของมันจริงๆ คือช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาในปี พ.ศ.2562 เราจะไปดูตอนประกาศใช้ พ.ศ.2560 แล้วมันฟังก์ชั่นเลย มันคงไม่ใช่” ผศ.ดร.พรสันต์กล่าว
จากนั้น ผศ.ดร.พรสันต์กล่าวถึงประเด็น Constitutional Coup d’etat ว่า อาจแปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า ‘การทำรัฐประหารซ้อน 2 ชั้น’ กล่าวคือ เวลาที่ทหารทำการรัฐประหาร เริ่มมีกลไกในทางรัฐธรรมนูญเข้ามาช่วยเหลือในการทำรัฐประหารมีความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง และอยู่ต่ออย่างมีความเป็นเสถียรภาพ ซึ่งกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย
“ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 เป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจที่ไม่ชอบธรรม ขัดต่อหลักการในรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักประชาธิปไตย ให้มันปรากฏขึ้นอยู่ในกฎหมายอย่างเป็นทางการ ให้มีการต่อขยายอำนาจต่อไปเรื่อยๆ
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มีการใช้ตัวรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการต่อขยายอำนาจหลังจากมีการใช้รัฐประหารเสร็จขึ้นแล้ว มันสร้างความยุ่งยากลำบากกับการเข้าไปแก้ไขปัญหาสำหรับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นด้วย เพราะมีการใช้กลไกประชาธิปไตยบางประการที่ทำให้ประชาชนพูดว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้องนั่นเอง” ผศ.ดร.พรสันต์กล่าว
ผศ.ดร.พรสันต์กล่าวอีกว่า การทำ Constitutional Coup คือการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญ วัตถุประสงค์มี 4 ประการ ได้แก่
1. พยายามเข้าไปลดทอนความเป็นประชาธิปไตยให้มันลดน้อยถอยลง
2. เป็นการพยายามควบคุมครอบงำ กำกับทางการเมืองผ่านรัฐธรรมนูญ
3. ใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องในการกำจัดศัตรูในทางการเมือง
4. คงสถานะของอำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ให้กลับมาชอบด้วยกฎหมาย และให้มีการต่อขยายอำนาจให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะยาวนานได้
“รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ก็เข้าไปพยายามที่จะทำให้วัตถุประสงค์ 4 ประการ ในการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญบรรลุผล หากถามว่าทำผ่านบทบัญญติใด
1.การเข้าไปปรับเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง กลายมาเป็นระบบการจัดสรรปันส่วนแบบผสม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมือง และมีการใช้สูตรคำนวณต่างๆ ออกมา กกต.ในตอนนั้นก็ยังคำนวณไม่ได้ จึงให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปทำการวินิจฉัยเกี่ยวกับการคิดคำนวณสูตร เป็นกลไกอย่างหนึ่งที่พยายามเข้าไปล้างไพ่ของระบบการเมืองให้มันปรับเปลี่ยนให้กับสถานการณ์ที่เข้ามา
2. ถ้าเราไปตรวจสอบของบทบัญญติของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 หรือ 2550 ในบทบัญญัติที่ว่า คุณสมบัติ การกระทำต้องห้ามต่างๆ ยาวขึ้นเรื่อยๆ เวลาที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องดูว่าอะไรคือคุณสมบัติ และอะไรคือการกระทำต้องห้ามในทางรัฐธรรมนูญซึ่งไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าคนยกร่างนำ 2 เรื่องดังกล่าวมาปะปนกันเอง ส่งผลทำให้ไปควบคุมการดำเนินกิจการฝ่ายนักการเมืองเข้ามาอยู่ในภูมิทัศน์ทางการเมืองได้ลดน้อยถอยลง” ผศ.ดร.พรสันต์กล่าว
ผศ.ดร.พรสันต์กล่าวด้วยว่า ปัญหาในขณะนี้คือการให้ ส.ว. 250 คน เข้ามาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และอำนาจ ส.ว.ยังมีอำนาจที่มากกว่านั้น นั่นคือเรื่องของการเห็นชอบของผู้ดำรงตำแหน่งขององค์กรอิสระต่างๆ หรือกระทั่งการออกแบบให้ ส.ว.เข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์กรการปฎิรูปประเทศ ทั้งการดูเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ และยังไม่รวมเรื่องขององค์กรอิสระต่างๆ
“ฉะนั้น กลไกที่เราได้เห็นการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญคือเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และเรื่องการทำประชามติ เป็นกลไลที่เป็นลักษณะล็อกให้ประเทศอยู่กับที่ช่วง 8-9 ปีที่ผ่านมา การแก้ไขรัฐธรรมนูญเราก็จะพบว่า มาตรา 256 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 แก้ไขไม่ได้เลย นี่เป็นการล็อกตาย ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นทำไม่ได้” ผศ.ดร.พรสันต์กล่าว
ผศ.ดร.พรสันต์ยังกล่าวถึง การทำประชามติ ว่า ครั้งนี้มีปัญหาอย่างมาก ที่ผ่านมาก็มีข้อจำกัดเรื่องการแสดงออก การแสดงความคิดเห็นต่างๆ การให้ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ฉะนั้น ตามหลักการรัฐธรรมนูญนี่เป็นการทำประชามติโดยมิชอบธรรม ยกตัวอย่างกรณีที่เคยเกิดขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
“ศาลที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์บอกว่าการทำประชามติแบบนี้ถือว่าไม่ชอบ เพราะประชาชนไม่ได้รับข้อมูลที่ไม่เพียง หลักการที่แท้จริงคือการที่ประชาชนออกไปทำประชามติต้องได้รับชข้อมูลอย่างเพียงพอ เพราะถ้าผู้ที่อออกไปเลือกตั้งประชามติได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ มีการโหวตไปแล้ว นั่นจะเป็นการแสดงเจตจำนงที่ไม่แท้จริงนั่นเอง” ผศ.ดร.พรสันต์กล่าว
ผศ.ดร.พรสันต์กล่าวว่า ภาพรวมของรัฐธรรมนูญกลายเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการเมืองบางอย่าง มีการตั้งประเด็นเรื่องการทำนิติสงคราม มีการใช้คำว่า “ลอว์แฟร์” เราอาจจะไม่ได้เห็นเป็นเพียงคำว่า “ลอว์แฟร์” เพราะในทางหลักรัฐธรรมนูญมีอะไรที่มากกกว่าคำว่าลอว์แฟร์
“เขาเรียกว่า Constitutional Lawfare นั่นคือไม่ใช่นิติสงครามแบบปกติ แต่คือการทำนิติสงครามผ่านการใช้บทบัญญติของรัฐธรรมนูญมาทำ ซึ่งมีผลกระทบมากกว่าลอว์แฟร์ทั่วไปๆ เพราะกำลังที่จะเอาองค์กรต่างๆ ทางรัฐธรรมนูญไปใช้โดยไม่สอดคล้องกับคุณค่าในทางรัฐธรรมนูญ คุณกำลังปรับใช้บทรัฐธรรมนูญโดยไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ผลกระทบตกไปอยู่กับประชาชนที่ถูกบังคับใช้กับรัฐธรรมนูญตรงนั้น เขาจะมองว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ชอบธรรม เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ชอบธรรมก็ถูกมองว่าเป็นบ่อนทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญนั้นไม่มี” ผศ.ดร.พรสันต์กล่าว
จากนั้น ผศ.ดร.พรสันต์กล่าวถึงผลกระทบการทำรัฐประหารผ่านรัฐธรรมนูญ 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. การกระทบกับระบบการเมือง ทำให้ประชาธิปไตยลดน้อยถอยลง
2. ผลกระทบทางระบบกฎหมาย เมื่อความเป็นประธิปไตย ย่อมเข้าไปในหลักนิติธรรมของประเทศ การทำให้ประเทศไทยมีความเป็นเสรีประชาธิปไตย เขาให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม และหลักประชาธิปไตยต้องมาคู่กัน เมื่อหลักประชาธิปไตยมีปัญหา หลักนิติธรรมดก็มีปัญหาแน่นอน เพราะสิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกถอยหาย ใน 142 ประเทศ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 82 จากงานผลสำรวจวิจัยด้านนิติธรรมของ Wold Justice Projrct ได้ 49 คะแนน เต็ม 100 นั่นคือสอบตก สะท้อนให้เห็นคำอธิบายในเชิงหลักการถึงปัญหาผลกระทบที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่ลดน้อยถอยลง
3. ผลกระทบทางสังคม ต่างประเทศนั้นให้ความสำคัญอย่างมากกับรัฐธรรมนูญอย่างมาก ทั้งเรื่องของการจัดสรรอำนาจในทางการเมือง ยุคหลังๆเขามองว่ารัฐธรรมนูญเขาไปเกี่ยวข้องกับการจัดวางโครงสร้างทางสังคม
“ผมมองว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ไปเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหาร ส่งผลกระทบทางสังคม จากข้อมูล Fragile States Index เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องรัฐอ่อนแอ ความหมายคือรัฐล้มเหลว เกิดจากสังคมที่เกิดจากความขัดแย้ง ประเทศไทยในปี พ.ศ.2549 เราได้คะแนน 7.2 ปี, พ.ศ.2550 ได้ 8, พ.ศ.2551 ได้ 7.7 และ พ.ศ.2563-ปัจจุบัน เราได้ 9.7 ซึ่งคะแนนเต็ม 10 หมายถึงความขัดแย้งมากสูงสุด ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายใต้ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มันเชื่อมกันอยู่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคม ฉะนั้น ตัวมันเองทำให้ขาดคุณสมบัติความสมัยใหม่ รัฐธรรมนูญสมัยใหม่ต้องวางโครงสร้างอำนาจ คุ้มครองสิทธิประชาชน ต้องเป็นสิ่งที่แก้ไขความขัดแย้งในสังคม แต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 นั้นสร้างความแตกแยก ขยายความขัดแย้งให้รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ” ผศ.ดร.พรสันต์กล่าว
ก้าวไกลเล็งซักฟอกรบ.ก่อนสงกรานต์-เล็งคุยปชป.
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_652200/
ก้าวไกลเล็งซักฟอกรัฐบาลก่อนสงกรานต์ ย้ำยึดเนื้อหา-มูลเป็นสำคัญ ขณะเตรียมหารือ ปชป. กระชับมิตรฝ่ายค้าน หลังเปิดสมัยประชุม ยืนยันให้เกียรติ ปชป. ไม่ระแวงสบช่องร่วมรัฐบาล
นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะหัวหน้าพรรคฯ กล่าวถึงการขอเปิดอภิปรายรัฐบาลในห้วงสมัยประชุมสุดท้ายของปี 2566 ว่า การเปิดประชุมสภาในช่วงต้น ฝ่ายค้านจะให้ความสำคัญกับการพิจารณาร่างกฎหมายก่อน ทั้งจากคณะรัฐมนตรี สส.และประชาชน เพราะสภาสมัยประชุมที่แล้ว ไม่มีโอกาสได้พิจารณาร่างกฎหมายเลย แต่ขณะนี้ มีร่างกฎหมายหลายฉบับที่เตรียมรอการพิจารณาอยู่ รวมถึงร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ที่น่าจะพิจารณาเสร็จสิ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งระหว่างนั้นก่อนปิดสมัยประชุม หรือก่อนสงกรานต์ น่าจะทำให้ฝ่ายค้าน มีเวลาในการอภิปรายได้ ซึ่งจะเป็นการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ หรือการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ จะต้องมีการหารือกับพรรคร่วมฝ่ายค้านร่วมกันอีกครั้ง และจะต้องขึ้นอยู่กับเนื้อหา ข้อมูล และข้อเท็จจริงในการทำงานของฝ่ายค้านว่า พร้อมเพียงใด
ส่วนจำเป็นหรือไม่ที่ฝ่ายค้านจำเป็นจะต้องรักษาสิทธิในการอภิปรายสมัยประชุมประจำปีละ 1 ครั้ง ไม่ปล่อยผ่านรัฐบาลไปนั้น นายชัยธวัช ย้ำว่า จะต้องยึดเนื้อหาเป็นหลัก ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการหามูล แต่ยืนยันว่า ในฐานะฝ่ายค้าน จะใช้โอกาสในสภาในการตรวจสอบ ถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหารทุกช่องทางให้เป็นประโยชน์ที่สุดกับประชาชน แต่การอภิปรายทั่วไป หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ถือเป็นกลไกสำคัญ
สำหรับการทำหน้าที่ของพรรคฯ ในฐานะฝ่ายค้าน หลังการเปิดสมัยประชุมสภาสามัญประปีจำ ครั้งที่ 2 ปี 2566 ในวันที่ 12 ธันวาคมเป็นต้นไป ร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฯ คนใหม่ นายชัยธวัช ระบุว่า พรรคร่วมฝ่ายค้าน จะมีการพูดคุยกันให้ใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งในสมัยประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการว่า จะรอกระบวนการโปรดเกล้าฯ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรก่อน แล้วจะมีการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการ แต่ขณะนี้ เมื่อกระบวนการโปรดเกล้าฯ ยังไม่เสร็จสิ้น แต่การทำงานในสภาผู้แทนราษฎร ก็จะเริ่มต้นแล้ว จึงคิดว่า หลังสัปดาห์หน้าจะมีการพูดคุยร่วมกัน
ทั้งนี้ การขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ของนายเฉลิมชัย จะเป็นอุปสรรคการทำงานของฝ่ายค้านหรือไม่ หลังมักปรากฏกระแสข่าวพรรคประชาธิปัตย์หาช่องทางไปเป็นพรรคร่วมรัฐบาล นายชัยธวัช ยืนยันว่า การทำงานร่วมกันต้องให้เกียรติกัน เพร