เมื่อเร็วๆนี้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ได้เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวและการช็อปปิ้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับสินค้าที่เข้าข่ายจะลดหรือยกเว้นภาษี นั่นก็คือ
สินค้าฟุ้มเฟือย กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา เสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรือแบนด์เนมนั่นเอง เช่นแบรนด์ เช่น แอร์เมส ปราดา หลุยส์ วิตตอง โรเล็กซ์
โดยปัจจุบัน เสียภาษีนำเข้าเฉลี่ย 30% โดยภาครัฐกล่าวว่า
"หากลดลงมาก็ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักเข้ามาช็อปปิ้งในเมืองไทย และส่งเสริมการท่องเที่ยวได้"
จากข่าวที่อ่านมา ความเห็นของเราส่วนตัวมองว่า นโยบายนี้ ไม่น่าจะเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ ยังสงสัยว่าคนในประเทศได้ประโยชน์อย่างไรหากภาครัฐมีนโยบายนี้ออกมา โดยเรา(อาจจะความรู้น้อย) เห็นว่ามีข้อเสีย หรือเรียกว่าเสียผลประโยชน์มากกว่าได้ โดยขอแบ่งตามนี้
ข้อดี
- สินค้าอาจถูกลง แต่ก็สงสัยว่า สินค้าแบรนด์เนม หากบอกว่าถูกลงได้อย่างไรเพราะ จะต้องมีการควบคุมราคาให้อยู่ในระดับสากล
- พนักงานขายในไทย อาจจะได้ค่าคอมเยอะขึ้น?
- บริษัทตัวแทนนำเข้า ได้ผลประโยชน์ (อันนี้ส่วนมากเป็นบริษัทไทย)
ข้อเสีย
- บริษัทต่างชาติได้เจ้าของแบรนด์ ผลประโยชน์เต็มๆ เพราะเสียภาษีน้อยลง
- ภาษีเข้าประเทศน้อยลง เงินพัฒนาประเทศน้อยลง
ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวนั้นที่หวังนทท.กระเป๋าหนักมาซื้อ เราว่า เป้าหมายหลักของนทท.นั้นคือการ รีฟันภาษี แต่หากการรีฟันภาษีเท่าเดิมเราว่าไม่ได้จูงใจกระตุ้นนทท.กระเป๋าหนักแต่อย่างไร
ส่วนตัวเห็นว่า ควรนำเงิน หรือคิดโครงการ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยมากกว่านี้ เช่น ผลักดันซอฟพาวเวอร์ สินค้าไทย อาหารไทย ให้มีกำลัง และยอดขายมากขึ้น มันน่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่าและได้ผลกับประชาชนหมู่มากในประเทศ
หรือเพื่อนๆเห็นอย่างไรกัน??
คลังจ่อหั่นภาษีแบรนด์เนม ไม่ใช่คำตอบของการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับสินค้าที่เข้าข่ายจะลดหรือยกเว้นภาษี นั่นก็คือ
สินค้าฟุ้มเฟือย กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา เสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรือแบนด์เนมนั่นเอง เช่นแบรนด์ เช่น แอร์เมส ปราดา หลุยส์ วิตตอง โรเล็กซ์
โดยปัจจุบัน เสียภาษีนำเข้าเฉลี่ย 30% โดยภาครัฐกล่าวว่า